GED Math : DATA VISUALIZATION

ติว GED Mathematical Reasoning & GED Science

Data visualization คือ กระบวนการนำข้อมูลดิบมานำเสนอในรูปแบบ เช่น กราฟเส้น (line graph), แผนภูมิแท่ง (histogram) หรือ แผนภูมิวงกลม (pie chart) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดข้อมูลเชิงปริมาณที่มีความซับซ้อนให้เกิดความน่าสนใจ เข้าใจง่าย เห็นภาพรวมได้ชัดเจน ซึ่งนิยมนำมาใช้ประกอบในการรายงาน การวิเคราะห์ การสรุปผลข้อมูล นอกจากนี้การนำเสนอข้อมูลโดยใช้รูปภาพสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในแง่การเปรียบเทียบแนวโน้ม พฤติกรรม และความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นต้น

Data visualization นิยมออกในข้อสอบทั้ง GED Mathematical Reasoning และ GED Science ดังนั้นหากเราติวกันอยู่ ก็ควรมั่นใจว่าเราเข้าใจเรื่องนี้ก่อนไปสอบจริงนะครับ เนื่องจาก Data visualization มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่าย ดังนั้นเวลาทำข้อสอบ ควรอ่านกราฟหรือแผนภูมิเป็นอันดับแรกเพื่อช่วยให้เข้าใจภาพรวมของเนื้อหาที่นำเสนอได้อย่างรวดเร็ว โดยกราฟและแผนภูมิที่นิยมออกข้อสอบ GED ได้แก่    1. กราฟเส้น (line graph) 2. แผนภูมิแท่ง (histogram) และ 3. แผนภูมิวงกลม (pie chart)

  1. กราฟเส้น (line graph) มีลักษณะเป็นเส้นต่อเนื่อง ซึ่งปรากฎอยู่บนพิกัดกราฟที่ประกอบด้วยแกนตั้ง (vertical axis) และ แกนนอน (horizontal axis) ข้อสังเกต แกนนอนส่วนมากใช้เป็นแกนของเวลา เพื่อบอกปริมาณข้อมูลตามแกนตั้งที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

กราฟการให้ความร้อนของน้ำกลั่นที่ความดันบรรยากาศ

  1. กราฟแท่ง (histogram) มีลักษณะเป็นแท่งหลายอันซึ่งปรากฎอยู่บนพิกัดกราฟที่ประกอบด้วยแกนตั้ง (vertical axis) และ แกนนอน (horizontal axis) โดยความสูงของกราฟแท่งบ่งบอกถึงปริมาณของข้อมูลที่ต้องการ จะนำเสนอ ข้อสังเกต กราฟแท่งนิยมใช้ในการเปรียบเทียบปริมาณโดยดูจากความสูงของกราฟ

 

กราฟแท่งแสดงประเภทการเดินทางผ่านร้านค้าตามช่วงเวลา

  1. แผนภูมิวงกลม (pie chart) มีลักษณะเป็นพื้นที่วงกลมซึ่งแบ่งเป็นหลายส่วนตามสัดส่วนของข้อมูล โดยทั้งแผนภูมิวงกลมเทียบเท่าปริมาณทั้งหมดของข้อมูล ข้อสังเกต ปริมาณข้อมูลในแผนภูมิ นิยมระบุเป็นร้อยละ (percent)

 

แผนภูมิวงกลมแสดงองค์ประกอบของอากาศ

ในช่วงก่อนสอบที่เรากำลังติว GED Math หรือ GED Science อยู่นั้นข้อควรระวัง จุดผิดพลาดของผู้เข้าสอบ GED ที่พบโดยส่วนมากในหัวข้อ Data visualization คือ การอ่านค่าในกราฟผิด ในกรณีที่หน่วยปริมาณ (Unit) ของกราฟไม่ตรงกับคำถาม ซึ่งลำดับแรกในการอ่านกราฟจำเป็นต้องดูหน่วยของปริมาณทั้งแกนตั้งและแกนนอนในการทำข้อสอบเสมอ เช่น กราฟเส้นที่มีแกนนอนเป็นหน่วยนาที หากโจทย์ถามในหน่วยวินาที ค่าที่อ่านได้จากกราฟจำเป็นต้องเปลี่ยนจากหน่วยนาทีเป็นหน่วยวินาที ด้วยการคูณ 60 ก่อนนำค่าที่คำนวณไปตอบ เพราะฉะนั้นเวลาเราติว GED Math หรือ Science เพื่อไปสอบก็ให้ระวังเรื่องนี้กันดีๆด้วยนะครับ

 

EXAMPLE

ตัวอย่าง จงวิเคราะห์กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศและผลต่างอุณหภูมิเฉลี่ยเทียบกับเวลา

ผู้ที่จะสอบ GED ส่วนมากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของกราฟ วิธีการวิเคราะห์ของกราฟให้ พิจารณาแยกกราฟแต่ละตัวโดยดูจากภาพรวม จากนั้นทำการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของกราฟ 2 ตัว และศึกษารายละเอียดเชิงลึกเพิ่มเติม หากพบว่าข้อมูลบางส่วนขัดแย้งกับข้อมูลในภาพรวม ให้อ่านข้อมูลจากบทความเพื่อหาสาเหตุดังกล่าว

ผลการวิเคราะห์  ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในอนาคต เนื่องจากความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นใน 20 ปีหลัง (ค.ศ. 1980 – 2000) มีค่าใกล้เคียงเมื่อเทียบกับความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นใน 80 ปีก่อนหน้านั้น (ค.ศ. 1900 – 1980)

ความสัมพันธ์ระหว่างผลต่างอุณหภูมิเฉลี่ยและความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน ในภาพรวม โดยยกเว้นในช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1880 – 1920 ที่มีความสัมพันธ์สวนทางกันเล็กน้อย เป็นการแสดงให้เห็นว่า ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ส่งต่อภาวะโลกร้อนอย่างมีนัยสำคัญ

โดยทั่วไปในการติว GED เพื่อเตรียมตัวไปสอบก็ควรมีการฝึกเรื่องการวิเคราะห์ ในบางข้อต้องวิเคราะห์เชิงลึกด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นข้อสอบ GED ก็ไม่ได้ง่ายเกินไป แต่ก็ไม่ยากเกินไปเช่นกันครับ

ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 02-253-2533 หรือ 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply