Schwa /ə/ เสียงสระง่าย ๆ ทำให้การสอบ IELTS Speaking Native ขึ้นในพริบตา

“ออกเสียงได้เหมือนเจ้าของภาษา” ความใฝ่ฝันของใครหลายคนที่มีแผนในการสอบ IELTS พาร์ท Speaking หรืออยากประสบความสำเร็จในการพูดภาษาอังกฤษได้อย่าง Native

แต่สำหรับน้อง ๆ บางคน แม้ได้ลองแล้ว หาวิธีแล้ว กลับไม่ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ และทำให้รู้สึกท้อในการฝึกฝน ลองมารู้จักเสียง “ชวา” หรือ Schwa Sound (/ə/) กับพี่ The Planner Education สถาบันติว IELTS กันหน่อยดีกว่า เสียงสระง่าย ๆ ที่บอกเลยว่าถ้าใช้เป็น ช่วยให้การออกเสียงใน IELTS Speaking Part ของน้อง ๆ ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาได้มากขึ้นแน่นอน ถ้าอยากรู้ว่า Schwa (/ə/) คืออะไร? อย่ารอช้า ไปทำความรู้จักพร้อมกันเลย

“/ə/” เสียงสระแปลกตา แต่ใช้บ่อยสุดในภาษาอังกฤษ

/ə/  อ่านว่า ชวา (Schwa) คือ ตัวกำกับการออกเสียงแทนเสียงสระ มีลักษณะเหมือนตัว e กลับหัว ซึ่งจะออกเสียงคล้ายสระ เออะ หรือ อะ ซึ่งพบบ่อยมากในการออกเสียงภาษาอังกฤษ เช่น คำว่า Computer /kəmˈpjuː.tər/ ฝรั่งหรือเจ้าของภาษาจะไม่ออกว่า คอม-พิ่ว-เทอะ ตรง ๆ แต่จะออกเสียงเป็น เคิม-พิ่ว-เทอะ (หรือ เคิม-พิ่ว-เดอร์ แบบ US Sound) ซึ่ง Com และ ter ในที่นี้จะออกเสียงเหมือนมีสระ เออะ และ อะ อยู่ด้วยนั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีคำศัพท์อีกมากมาย ที่มีเสียง Schwa Sound (/ə/) พี่ ๆ ขอยกตัวอย่าง 10 คำศัพท์อังกฤษพบบ่อย (UK Sound: อ้างอิงจาก dictionary.cambridge.org) ให้เห็นกันชัด ๆ เช่น

  1. Agree /əˈɡriː/ เออะ-กรี
  2. Banana /ˈnɑː./ เบอะ-นา-เนอะ
  3. Bottom /ˈbɒt.əm/ บัท-เทิม หรือ บัท-เอิม
  4. Family /ˈfæli/ แฟ-เมอะ-ลี
  5. Know /nəʊ/ เนิว
  6. Woman /ˈwʊmən/ วู-เมิน
  7. Problem /ˈprɒb.ləm/ พรา-เบลิม หรือ พราบ-เลิม
  8. Promotion /prəˈməʊ.ʃən/ เพรอะ-เมิว-เชิ่น
  9. Support /ˈpɔːt เสอะ-พอท (UK มักไม่ออกเสียง r)
  10. Visa /ˈviː./ ฝิ-เสอะ

 **จะสังเกตได้ว่า คำแปลในการออกเสียงที่ยกตัวอย่าง นอกจากตัว ə แล้ว ยังมีตัวอักษรหน้าตาแปลกตัวอื่นด้วย พี่ ๆ อยากให้โฟกัสแค่ตัว ə นี้ก่อนนะคะ จะได้ไม่สับสน

แต่ถ้าหากน้องคนไหนอยากเจาะลึกด้านการออกเสียงภาษาอังกฤษมากขึ้น รวมถึงฝึกสกิลภาษาอังกฤษด้านอื่น ๆ ไม่ต้องรอจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ก็สามารถลงทะเบียนรับคำแนะนำจากคุณครูคอร์ส IELTS ที่สถาบันสอน IELTS The Planner Education ได้ คุณครูของเราพร้อมให้คำปรึกษา และแนะเทคนิคการพูด รวมถึงทริคการทำข้อสอบ IELTS ให้น้อง ๆ คว้า IELTS Band สูง ๆ ได้เพียบเลย: ดูข้อมูลคอร์ส IELTS และลงทะเบียนทันทีที่ คลิก

รู้ได้ไง ว่าคำศัพท์ไหนมี Schwa Sound (/ə/)?

  1. ฝึกสังเกตการออกเสียงของเจ้าของภาษา
    หากน้อง ๆ ไม่มีเพื่อนหรือคนรู้จักที่เป็นชาวต่างชาติให้สังเกตการออกเสียงแบบใกล้ชิด อาจใช้วิธีการดูภาพยนตร์ต่างชาติเพื่อฝึกทักษะการสังเกตแทนได้
  • ภาพยนตร์สำหรับคนถนัดสำเนียงบริทิช เช่น Harry Potter, Sherlock และ Enola Holmes หรือ Notting Hill เป็นต้น
  • ภาพยนตร์สำหรับคนถนัดสำเนียงอเมริกัน เช่น Forrest Gump, Charlie and the Chocolate Factory หรือ Lalaland เป็นต้น

หรืออีกวิธี คือการฟังเพลงสากลไปพร้อมกับดู Music Video (ที่เน้นตัวนักร้อง) เนื่องจากจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องสังเกตการขยับลิ้นและริมฝีปาก เพื่อศึกษาและพูดตามได้อย่างถูกต้อง

  1. ตรวจสอบผ่านหนังสือ Dictionary หรือ Dictionary ออนไลน์
    หากน้อง ๆ มีเล่ม Dictionary อยู่แล้ว สามารถเปิดเพื่อตรวจเช็กการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษได้ (แต่ในบางเล่มก็อาจจะไม่มีให้ตรวจนะคะ) และหากหาเล่ม Dictionary เพื่อตรวจสอบเสียง Schwa ไม่ได้ ปัจจุบันมีวิธีที่ง่ายกว่า นั่นคือการตรวจสอบกับเว็บไซต์ออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ เช่น dictionary.com หรือ dictionary.cambridge.org เป็นต้นค่ะ
  1. ปรึกษาคุณครูผู้เชี่ยวชาญภาษาจาก The Planner Education
    ไม่ต้องเรียนไกลถึงเมืองนอก หรือรอเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างมือโปร ที่สถาบัน The Planner Education มีคุณครูและหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษ IELTS ที่มีคุณภาพ น้อง ๆ สามารถเลือกเรียนตามความถนัดได้ ไม่ว่าจะเรียนและรับคำปรึกษาในรูปแบบคอร์สเรียนเดี่ยว เรียนคู่ หรือเรียนแบบกลุ่ม นอกจากนี้ ที่คอร์ส IELTS จาก The Planner ยังมีพี่ ๆ แอดมินคอยดูแลและอัปเดตวันเวลาในการสอบและสมัครสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ IELTS ให้น้อง ๆ ฟรีอีกด้วย มั่นใจ ติวจบ พร้อมคว้า IELTS Band สูงได้อย่างแน่นอน! ลงทะเบียนเลย!

สนใจติว IELTS | IGCSE | A-Level | SAT | GED | TOEFL-MUIC | CU-TEP | TU-GET | GSAT | CU-ATT | CU-ATS | BMAT | ACT | IB
เพื่อคว้าคะแนนและมหาวิทยาลัยในฝันหรือยัง? ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!

เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการเรียนต่อ ไม่ว่าจะมหาลัยในไทยหรือต่างประเทศ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply