U.S. Civics and Government หนึ่งใน 4 เนื้อหาหลักของรายวิชา GED Social Studies ที่ขึ้นชื่อว่าหินสุด ๆ สำหรับน้อง ๆ นักเรียนไทยที่ไม่มีความคุ้นชินกับเนื้อหาสังคมศึกษาของอเมริกามาก่อน
โดยในพาร์ทของ U.S. Civics and Government มีเนื้อหาที่ออกสอบจริงในสัดส่วนที่มากถึง 50% ตั้งแต่เรื่องโครงสร้างทางการเมือง ระบบการเลือกตั้งและการเมืองการปกครอง รวมถึงเนื้อหาด้านกฎหมายและพลเมือง ทำให้น้อง ๆ ที่อยากสอบ GED ให้ผ่านในรายวิชานี้ ต้องให้ความสำคัญกับพาร์ทนี้มากเป็นพิเศษ
บทความนี้ The Planner จึงขอยกตัวอย่างเนื้อหาที่ออกสอบบ่อยในพาร์ทของ U.S. Civics and Government มาให้น้อง ๆ ได้ทำความรู้จักกันก่อนในเบื้องต้น นั่นคือ “ระบอบการเมืองการปกครอง” ที่ไม่เพียงแต่ต้องท่องจำเนื้อหา แต่น้อง ๆ ควรต้องทำความเข้าใจและนำไปใช้ในการสอบจริงให้ถูกต้องด้วย ระบอบการเมืองการปกครองคืออะไร? รูปแบบไหนที่ออกข้อสอบบ่อย? และสหรัฐอเมริกามีระบอบการปกครองรูปแบบไหน? มาดูคำตอบทั้งหมดนี้ไปพร้อมกันได้เลย
ระบอบการเมืองการปกครอง คืออะไร?
ระบอบการเมืองการปกครอง (Political Regime) หมายถึง รูปแบบและกติกาที่รัฐบาลหรือองค์กรทางการเมืองปกครองใช้จัดการสังคม ความเป็นอยู่ การตัดสินใจ การกระทำ เสรีภาพ หรืออาจรวมไปถึงชีวิตและโอกาสทั้งหมดของผู้คนในสังคมนั้น ๆ
รูปแบบของระบอบการเมืองการปกครอง
รูปแบบของระบอบการเมืองการปกครองในประวัติศาสตร์จวบจนปัจจุบัน (Types of Governments) สามารถแบ่งออกได้หลากหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่มีออกสอบในวิชา GED Social Studies บ่อยที่สุด จะมีอยู่ 5 รูปแบบ ดังนี้
1. Monarchy
Monarchy หรือ ระบอบราชาธิปไตย คือ รูปแบบการเมืองที่ให้อำนาจแก่คนเพียงคนเดียว อันได้แก่ กษัตริย์หรือราชินี ซึ่งทำหน้าที่เป็นประมุขและออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมสังคม มีอำนาจสูงสุดในการสั่งการหรือปกครอง รวมถึงมีสิทธิ์ขาดในการควบคุมสังคม ซึ่งอำนาจมักถ่ายทอดผ่านราชวงศ์และสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น
Monarchy สามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท คือ
- สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy): กษัตริย์จะมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จทุกด้าน และสามารถตัดสินใจเรื่องการเมืองและกฎหมายได้โดยไม่จำกัด
- ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy): กษัตริย์จะยังคงมีอำนาจอยู่ แต่จะถูกจำกัดอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือไม่มีบทบาทในด้านการบริหาร
2. Democracy
Democracy หรือ ระบอบประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจมาจากประชาชนหรือพลเมืองในประเทศ โดยยึดหลักของอำนาจอธิปไตย (Popular Sovereignty) หลักเสรีภาพ (Liberty) หลักการเสมอภาค (Equality) และหลักกฎหมาย (Rule of Law)
Democracy สามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท คือ
- ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy): ประชาชนลงคะแนนเสียงตัดสินใจในประเด็นต่าง ๆ ด้วยตัวเองอย่างเสมอภาค สามารถมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายและร่วมบริหารประเทศได้โดยตรง โดยถือเสียงมติข้างมากเป็นสำคัญ
- ประชาธิปไตยทางอ้อม (Representative Democracy): ประชาชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการปกครองด้วยตัวเองโดยตรง แต่จะเป็นผู้เลือกตั้งตัวแทนให้เข้ามาทำหน้าที่ตัดสินใจการปกครองแทนตน เช่น ระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี
3. Dictatorship
Dictatorship หรือ ระบอบเผด็จการ คือ การรวมอำนาจการเมืองการปกครองไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียว หรือพรรคเดียว ซึ่งบุคคลหรือกลุ่มคนนั้น ๆ จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการ บริหาร หรือเข้าควบคุมบังคับประชาชนได้อย่างเข้มงวดและเด็ดขาดโดยไม่ถูกตรวจสอบจากสถาบันหรือกลุ่มภายนอก
ระบอบ Dictatorship จะสามารถควบคุมทุกอย่างได้ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคมทั้งหมดได้ โดยประชาชนไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำอย่างเปิดเผย หรือถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพในการออกความคิดเห็นและต่อต้าน
Dictatorship สามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท คือ
- เผด็จการแบบบุคคลเดียว (Autocracy): ผู้นำเพียงคนเดียวมีอำนาจสูงสุด สามารถสั่งการหรือบริหารจัดการทุกอย่างได้ด้วยความคิดเห็นของตนเอง
- เผด็จการแบบคณะหรือคณาธิปไตย (Oligarchy): ระบอบการปกครองที่กระจุกตัวอยู่ในมือคนกลุ่มเล็ก ๆ แบบรุ่นสู่รุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นสมาชิกชนชั้นสูง ร่ำรวย มีการศึกษา หรือมีอำนาจอยู่ในมือขณะนั้น
4. Communism
Communism หรือ ระบอบคอมมิวนิสต์ คือ การปกครองโดยการรวมอำนาจ รวมถึงทรัพยากรทั้งหมดของประเทศไว้ที่รัฐ เป้าหมายเพื่อการสร้างสังคมที่ไม่มีชนชั้น ซึ่งทุกคนจะถือครองทรัพย์สินร่วมกัน การผลิตจะมุ่งให้ทุกคนได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียม คอมมิวนิสต์เป็นระบอบที่ค่อนข้างยึดมั่นในอุดมการณ์ และส่วนใหญ่จะมีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวที่ปกครอง เช่น พรรคคอมมิวนิสต์
เกร็ดความรู้: ระบอบคอมมิวนิสต์ (Communism) และระบอบเผด็จการ (Dictatorship) อาจมีความคล้ายคลึงกัน แต่ที่จริงแล้วมีหลายด้านที่ “แตกต่างกัน” ดังนี้
ระบอบคอมมิวนิสต์: แม้จะมีการควบคุมเสรีภาพหรือการแสดงความคิดเห็นในบางประเทศเพื่อความมั่นคงของรัฐ แต่การจัดการในประเทศจะยึดอุดมการณ์เพื่อสร้างความเสมอภาคและให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนของกลุ่มตน มีการกระจายสินค้าและบริการอย่างเท่าเทียมโดยคณะปกครอง เพื่อป้องกันการสะสมทุนหรือการเกิดชนชั้น
ระบอบเผด็จการ: ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสังคมที่ไม่มีชนชั้นเสมอไป แต่จะมุ่งรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของคณะปกครองมากกว่า มีระบบเศรษฐกิจและการจัดการแบบ “ตามใจ” นอกจากนี้ยังมีการควบคุมเสรีภาพ รวมถึงการแสดงความคิดเห็น และด้านอื่น ๆ ของประชาชนอย่างเข้มงวดกว่า
5. Federalism
Federalism หรือ ระบอบสหพันธรัฐ คือ การปกครองโดยการแบ่งแยกอำนาจระหว่างรัฐบาลกลาง (รัฐบาลส่วนกลางที่ปกครองประเทศโดยรวม) และรัฐบาลท้องถิ่น (เช่น รัฐหรือจังหวัด) โดยที่ทั้งสองฝ่ายมีอำนาจและหน้าที่ของตนเองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของประชาชนในแต่ละภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกข้อแตกต่างของทั้งสองรัฐบาลที่สำคัญ คือ รัฐบาลกลางจะมีอำนาจตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญระดับชาติ เช่น การต่างประเทศและการป้องกันประเทศ ในขณะที่รัฐบาลมลรัฐจะมีอำนาจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเขตปกครองของตนเองมากกว่า
อเมริกามีรูปแบบการปกครองแบบไหน?
ประเทศสหรัฐอเมริกามีระบอบการปกครองแบบ สาธารณรัฐแบบสหพันธรัฐ (Federal Republic) ระบบการปกครองที่แบ่งอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลของแต่ละมลรัฐ ซึ่งมลรัฐแต่ละแห่งมีอำนาจการปกครองบางประการ เช่น การจัดการศึกษา การรักษาความปลอดภัย และการออกกฎหมายท้องถิ่น โดยทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลของแต่ละมลรัฐมีขอบเขตอำนาจตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกายังมีการใช้ระบบเลือกตั้งผู้แทน หรือที่เรียกว่า ประชาธิปไตยระบบตัวแทน (Representative Democracy) เพื่อใช้อำนาจในการบริหาร ออกกฎหมาย และตัดสินใจในนโยบายระดับประเทศ โดยประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกตั้งผู้นำของตนเองด้วย เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดี เป็นต้น
ระบบการปกครองของสหรัฐอเมริกามีการแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย เพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (Check and Balance) ดังนี้
- ฝ่ายบริหาร (Executive Branch): นำโดยประธานาธิบดี ซึ่งมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและนโยบายของประเทศ
- ฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative Branch): ประกอบด้วยรัฐสภาสองสภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร
- ฝ่ายตุลาการ (Judicial Branch): ศาลสูงสุดและศาลต่าง ๆ ทำหน้าที่ตีความกฎหมายและตรวจสอบว่ากฎหมายเป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
อ่านบทความ 5 GED Myths & Facts: รวมความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ GED คลิกที่นี่
ระบอบการปกครองในประวัติศาสตร์รวมถึงโลกปัจจุบัน ยังมีอีกหลากหลายรูปแบบ และแต่ละรูปแบบยังมีที่มาและเนื้อหาที่ซับซ้อน จึงต้องอาศัยคุณครูผู้เชี่ยวชาญในการอธิบายและช่วยเจาะแก่นลึกของเนื้อหา มาติวคอร์ส GED ที่สถาบันติว The Planner Education คุณครูที่มีประสบการณ์สอนตรงสาย จะเน้นปูพื้นฐานทุกเรื่องให้กับน้อง ๆ และพาตะลุยข้อสอบจริงแบบตรงประเด็น เคลียร์ชัดทุก Topic ไม่มีพื้นฐานมาก่อนก็สามารถติว GED และเรียนจบ ม.6 เร็วขึ้น ตั้งแต่อายุ 16 ได้!
นอกจากนี้น้อง ๆ คอร์ส GED ยังสามารถเลือกเรียนและจัดตารางติวได้เองทุกรูปแบบคลาส และตลอดระยะเวลาการติวจะมีทีมพี่แอดมินคอยดูแลทุกด้านแบบ All-in-One Service ตั้งแต่เริ่มสมัครเรียน สมัครสอบ ติดตามผลสอบไปจนถึงขอวุฒิการศึกษาให้ ติว GED เข้มข้นแค่ 1 เดือนก็พร้อมไปสอบจริงแล้ว
ติว GED ที่ The Planner การันตีผลสอบ 100% หากสอบไม่ผ่าน กลับมาเรียนซ้ำฟรี! สนใจสมัครติวสอบและสอบถามตาราง แอดไลน์ @theplanner
สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT | IELTS | ACT | GSAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ATS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!