GED Social Studies: Liberty Bonds คืออะไร

“Shall we be more tender with our dollars than with the lives of our sons” น้อง ๆ ที่กำลังติว GED หรือเรียน GED อาจจะคุ้น ๆ กับประโยคข้างต้นกันมาบ้าง เพราะประโยคข้างต้นหรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับประโยคข้างต้น มักจะมีให้เห็นในการเตรียมตัวสำหรับสอบเทียบ GED ในวิชา GED Social Studies นั่นเอง สังคมศึกษาของอเมริกามีหลากหลายเรื่องราวให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นของอเมริกา ในบทความนี้ The Planner จะพาไปรู้ที่มาของประโยคที่ว่า “เราจะยอมแลกเงินดอลลาร์กับชีวิตของลูกเราได้แน่หรือ” อย่างเหตุการณ์พันธบัตรเสรีภาพ หรือ Liberty Bonds

พันธบัตรเสรีภาพคืออะไร

ถ้าถามว่าพันธบัตรเสรีภาพ คืออะไร คงต้องเล่าย้อนความกันไปก่อนว่า สมัยก่อนเวลาประเทศตกอยู่ในสภาวะสงครามหรือประเทศกำลังจะประกาศสงคราม จำเป็นต้องใช้เงินสำหรับสงครามเป็นจำนวนมาก สิ่งที่รัฐบาลทำคือการระดมทุนจากประชาชนในประเทศ พันธบัตรเสรีภาพจึงถือว่าเป็นสัญญาเงินกู้ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน โดยที่ประชาชนคือผู้ให้กู้ จะต้องได้รับเงินต้นที่ถูกยืมไปและดอกเบี้ยเงินกู้ คืนจากรัฐบาล 

พันธบัตรเสรีภาพในสหรัฐอเมริกา

ครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาออกพันธบัตรเสรีภาพคือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลของประธานาธิบดีวิลสันออกกฎหมายกู้เงินยามฉุกเฉิน (Emergency Loan Act) และขายพันธบัตรที่ใช้ชื่อว่า “เงินกู้เพื่อเสรีภาพ หรือ Liberty bonds”  การออกพันธบัตรของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ทำเพื่อระดมทุนไปทำสงครามและปล่อยเงินกู้ให้กับฝ่ายพันธมิตรกู้เงิน อีกทั้งรัฐบาลของสหรัฐอเมริกายังเรียกเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้นจากทุกสินค้า ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ น้ำหอม เพชรพลอย ฯลฯ ซึ่งการออกพันธบัตรของสหรัฐอเมริกาในครั้งนั้น ทำให้สหรัฐอเมริกามีกำลังเงินมากพอจนชนะในสงคราม และค่อย ๆ ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลก 

“Shall we be more tender with our dollars than with the lives of our sons” แปลว่า “เราจะยอมแลกเงินดอลลาร์กับชีวิตของลูกเราได้แน่หรือ” ประโยคข้างต้นแปลความโดยนัยได้ว่าจะยอมโอนอ่อนให้กับเงินพวกนี้มากกว่าชีวิตของลูกเราที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการทำสงครามนี้ได้เหรอ พันธบัตรเสรีภาพจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความรักชาติซึ่งเป็นจุดที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเอามาซื้อใจและกดดันประชาชนให้ร่วมระดมทุน

“Shall we be more tender with our dollars than with the lives of our sons” ข้อความดั่งกล่าวจึงไปอยู่ตามพวกโปสเตอร์ สติ๊กเกอร์ สำหรับใช้ในการโปรโมทขายพันธบัตรของรัฐบาล นอกจากนี้รัฐบาลยังใช้คนมีชื่อเสียงมาช่วยในการโปรโมทครั้งนี้อีก ผลสรุปแคมเปญนี้ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ระดมทุนไปได้ถึง $17 พันล้านดอลล่าร์ 

เรื่องราวความรู้ดี ๆ ของวิชา GED Social Studies ยังมีอีกหลายเรื่องเลย อีกทั้งบางเหตุการณ์ที่เกิดกับสหรัฐอเมริกาอาจจะเคยเกิดขึ้นกับประเทศอื่นเหมือนกัน อย่างเรื่องพันธบัตรเสรีภาพที่ประเทศอื่นก็เคยใช้เหมือนกัน การมีความรู้เรื่องนี้ไว้ไม่เสียเปล่าแน่ ๆ ค่ะ นอกจากจะได้เอาไปใช้ทำข้อสอบ GED แล้ว อาจนำไปใช้วิเคราะห์นโยบายทางการเงินของรัฐบาลประเทศเราหรือเอาไปลงทุนในการซื้อพันธบัตรของรัฐบาลเก็บไว้นั่นเองค่ะ 

หากใครกำลังมองหาที่ติว GED ที่ครบวงจร เรียนจบ พร้อมสอบ สอบเทียบวุฒิผ่าน ได้ในเวลาเพียงสั้น ๆ The Planner Education สถาบันชั้นนำด้านการติว GED ส่งเด็กสอบเทียบ GED ผ่านมาแล้ว 2,000 กว่าคน ก็เป็นอีกหนึ่งคำตอบดี ๆ สำหรับการมองที่ติว GED ดี ๆ สักที่ค่ะ

สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT | IELTS | ACT | GSAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ATS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing

ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Line: @theplanner หรือ Phone: 095-726-2666

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply