ใครวางแผนติวสอบ GED อยู่บ้าง? อย่างที่น้อง ๆ ได้ทราบกันมาเบื้องต้นแล้วว่า หลักสูตร GED จะต้องเรียนและสอบให้ผ่านครบทั้ง 4 วิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts (RLA), Mathematical Reasoning, Science และ Scocial Studies จึงจะสามารถเข้ารับวุฒิ GED หรือวุฒิเทียบเท่า ม.6 ของไทยได้
ซึ่งจากที่ The Planner ได้สำรวจความคิดเห็นของน้อง ๆ คอร์สติว GED ที่สถาบัน The Planner Education แนวโน้มส่วนใหญ่ให้น้ำหนักตรงกันว่า วิชา GED Social Studies เป็นวิชาที่ “ค่อนข้างยากและซับซ้อน” ซึ่งหากติวเองหรืออ่านหนังสือสอบเองก็อาจจะต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษในการสรุปเนื้อหาให้เข้าใจได้ทั้งหมด
ดังนั้น ในบทความนี้ The Planner ขอมาแบไต๋ ไขข้อกระจ่างให้เข้าใจไปพร้อมกันว่า วิชา GED Social Studies ยากตรงไหน? และถ้าต้องการติว GED เพื่อสอบให้ผ่านและได้คะแนนสูงในรอบเดียวต้องทำอย่างไร?
GED Social Studies ออกสอบอะไรบ้าง?
เนื้อหา GED วิชา Social Studies จะมีการเน้นไปที่ข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก โดยจะแบ่งสัดส่วนเนื้อหาในข้อสอบ GED Social Studies ออกมาได้ 4 หัวข้อ ดังนี้
- Civics and Government การเมืองการปกครอง (50%)
เนื้อหาจะมีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางการเมืองอเมริกา, การบังคับใช้กฎหมาย พลเมืองและระบบการเลือกตั้ง เป็นต้น - U.S. History ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา (20%)
เนื้อหาจะมีความเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติผันเปลี่ยนของประเทศอเมริกา, สงคราม, การค้าทาสและการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น - Economics เศรษฐศาสตร์ (15%)
เนื้อหาจะมีความเกี่ยวข้องกับความเป็นไปของเศรษฐกิจ, แนวคิดทางการค้า, การตลาดและบทบาทของผู้บริโภค เป็นต้น - Geography and The World ภูมิศาสตร์และความเป็นไปของโลก (15%)
เนื้อหาจะมีความเกี่ยวข้องกับแนวโน้มด้านสังคมหรือโลกให้ความสนใจ, เรื่องถิ่นที่อยู่หรือการย้ายถิ่นฐาน รวมถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์โลก เป็นต้น
GED Social Studies ยากตรงไหน?
- เป็นวิชาสังคมศึกษาจากฝั่งอเมริกา
เนื่องจาก นักเรียนไทยจะมีความคุ้นเคยหรือมีพื้นฐานกับเนื้อหาวิชาสังคมศึกษาของฝั่งไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมาย ด้านการเมือง หรือข้อมูลทางสังคมอื่น ๆ มากกว่าทางฝั่งของอเมริกา ทำให้เมื่อต้องมาเรียนและสอบในวิชา GED Social Studies จึงเกิด ความไม่คุ้นเคยในเนื้อหา และเหมือนเป็นการเริ่มนับ 1 ใหม่ในบางหัวข้อ
เทคนิคทำคะแนน: อย่ายึดติดกับบริบททางสังคมไทย ให้พยายามหาข้อมูลเพิ่มหรือสร้างความคุ้นเคยกับเนื้อหาสังคมฝั่งอเมริกามากขึ้น เช่น อ่านหรือทำสรุปเนื้อหาวิชาติว GED Social Studies (อย่างค่อยเป็นค่อยไป), การดูข่าวที่เกี่ยวข้องกับอเมริกาหรือจากการรายงานของสำนักข่าวทางฝั่งอเมริกาก็จะช่วยให้น้อง ๆ ซึมซับข้อมูลเพิ่มเติมได้ดีขึ้น - ประวัติศาสตร์ U.S. เชื่อมโยงประวัติศาสตร์โลก
เนื่องจากประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกามีความซับซ้อนพอสมควรอยู่แล้ว ทั้งในเรื่องบุคคลสำคัญ เหตุการณ์สำคัญ หรือแนวคิดอันหลากหลายที่อยู่ในช่วงของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์นั้น ๆ นอกจากนี้ ในบางเนื้อหายังมีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์โลกเข้าไปอีก ทำให้น้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบเกิดความสับสนกับเนื้อหา และรู้สึกว่าต้องมีข้อมูลให้จำเยอะแยะไปหมด
เทคนิคทำคะแนน: ควรมีการสรุป ท่องจำและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Timeline ของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์นั้น ๆ ให้ดี เพราะถ้าน้อง ๆ จำช่วงเวลาของเหตุการณ์เหล่านั้นได้ น้อง ๆ จะสามารถแยกย่อยลงไปได้อย่างเป็นระบบว่าช่วงนั้นเกิดอะไรขึ้น หรือมีสิ่งไหนในเหตุการณ์นั้น ๆ ที่ตรงหรือใกล้เคียงตามที่โจทย์ต้องการ - เจอคำศัพท์ “โบราณ” หรือศัพท์เฉพาะที่ไม่คุ้น
เนื่องจากน้อง ๆ จะต้องเรียนในเนื้อหาที่ตนเองไม่คุ้นเคยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อต้องเจอกับคำศัพท์จากบางเนื้อหาที่ค่อนข้างแปลกไปจากที่เคยเห็นในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเนื้อหาที่เป็นบทความโบราณหรือเอกสารโบราณ จึงอาจทำให้น้อง ๆ แปลคำศัพท์ผิด เข้าใจบริบทของคำถามผิด หรือมากไปกว่านั้นก็อาจจะตีความโจทย์ไม่ได้เลยก็เป็นได้
เทคนิคทำคะแนน: ในระหว่างอ่านเนื้อหาติว GED เมื่อเจอคำศัพท์ไหนที่น้อง ๆ แปลไม่ออกหรือไม่ชัวร์ในความหมาย ให้ทำเครื่องหมายหรือลิสต์ไว้ในโน้ตเพื่อไปหาความหมายต่อไป ห้ามปล่อยผ่านเด็ดขาด นอกจากนี้ การฝึกฝนและทำข้อสอบเก่าซ้ำ ๆ ก็จะช่วยให้น้อง ๆ เห็นแนวโน้มของเนื้อหาและคำศัพท์น่าสนใจที่อยู่ในข้อสอบได้ (วนซ้ำกลับไปวิธีแรก คือ ห้ามปล่อยผ่านศัพท์ใหม่!) - มีคำถามในรูปแบบข้อมูล แผนภูมิหรือรูปภาพ
วิชา GED Social Studies จะมีการใช้วิธีการอ่านตัวเลข กราฟ ตาราง รูปภาพ รวมถึงแผนที่ เข้ามาช่วยขยายความในตัวคำถาม ซึ่งถ้าหากน้อง ๆ ไม่มีพื้นฐานในการอ่านข้อมูลหรือวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้มาก่อนเลย จึงเป็นการยากและค่อนข้างใช้เวลาหมดไปกับการค้นหาว่าโจทย์ต้องการถามอะไรหรือคำตอบอยู่ตรงจุดไหนของข้อมูล
เทคนิคทำคะแนน: ควรรู้พื้นฐานของประเภทข้อมูลนั้น ๆ ว่ามีวิธีการอ่านข้อมูลหรือวิเคราะห์ข้อมูลต่อจากนั้นได้อย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเรื่อง กราฟและแผนภูมิ (Graph and Chart) ซึ่งรูปข้อมูลที่จะถูกเอามาใช้เป็นคำถามจะสามารถเป็นได้ในหลายประเภทมาก เช่น กราฟแท่ง (Bar graph), แผนภูมิเส้น (Line chart), แผนภูมิวงกลม (Pie chart/Pie graph) หรือแผนภูมิรูปภาพ (Pictogram/Pictorial) โดยทั้งหมด ก็จะมีวิธีดูข้อมูลที่แตกต่างกัน
ดังนั้น เมื่อต้องการจะคุ้นกับเนื้อหาประเภทนี้ คือ การทำความรู้จักกับข้อมูลเหล่านั้นผ่านหนังสือเรียนและข้อสอบเก่า โดยเฉพาะการฝึกฝนทำข้อสอบเก่าบ่อย ๆ จะช่วยให้น้อง ๆ คุ้นเคยกับชุดข้อมูลเหล่านั้นมากขึ้น ช่วยประหยัดเวลาและหาคำตอบจากโจทย์ได้ง่ายขึ้นในครั้งถัดไปด้วย
อ่านบทความ กำเนิด New World สหรัฐอเมริกา
ติว GED ให้เข้าใจและสอบผ่านทุกวิชาไม่ใช่เรื่องยาก มาติวคอร์ส GED กับสถาบัน The Planner Education สถาบันติวสอบ GED และติวเข้าคณะอินเตอร์ชั้นนำ น้อง ๆ ที่เรียน GED กับทางสถาบันจะได้รับ Textbook ที่เป็นการสรุปเนื้อหาและแบบฝึกหัดครบถ้วนทั้ง 4 วิชา
โดยเรียนเนื้อหาและฝึกฝนเทคนิคลัดกับคุณครูผู้เชี่ยวชาญตรงสาย เน้นให้ครบทุกจุดแบบรายบุคคล และยังมีทีมพี่แอดมินคอยดูแลแบบ All-in-One Service ตั้งแต่เริ่มสมัครเรียน สมัครสอบ ติดตามผลสอบไปจนถึงขอวุฒิการศึกษา GED ให้
ติว GED ที่ The Planner เรียนจบ ม.6 ไวใน 1 เดือน พร้อมการันตีผลสอบ 100% หากสอบไม่ผ่าน กลับมาเรียนซ้ำฟรี! สนใจสมัครติวและรับการันตี สอบถามตารางได้ทาง LINE Official @theplanner
สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT | IELTS | ACT | GSAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ATS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!