ตามสถิติถามเด็กไทยกี่คนกี่คนต่างก็ไม่ค่อยมีคนถูกใจในวิชาสังคมศึกษานัก ทำให้อนุมานกันได้ว่าน้อง ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจติว GED หรือกำลังเตรียมตัวสอบ GED อยู่วิชาที่น้อง ๆ ต่างกลัวและไม่ค่อยถูกใจในความยากของมันก็คงหนีไม่พ้น Social Studies หรือก็วิชาสังคมศึกษาของอเมริกานั่นเองค่ะ ในบทความนี้ The Planner เลยจะพาน้อง ๆ ไปเอาตัวรอดกับ GED Social Studies ผ่านความรู้เรื่อง “Electoral College”
ในข้อสอบ GED Social Studies เรื่องที่ออกข้อสอบในหมวดนี้มากที่สุดคือ Civil and government ซึ่งออกในข้อสอบมากถึง 50% การจะเอาตัวรอดในวิชานี้ให้ได้ การติวและหมั่นฝึกทำข้อสอบในหมวดนี้ให้คล่อง ก็การันตีในการก้าวขาหนึ่งข้างผ่านเส้นยาแดง เข้าใกล้การสอบผ่าน GED Social Studies แล้วค่ะ
Electoral College อีกหนึ่งเรื่องที่ออกในข้อสอบ GED Social Studies ในพาร์ทของ Civil and government ซึ่งถ้าน้อง ๆ เป็นเด็กเจนใหม่ที่ให้ความสำคัญหรือสนใจเกี่ยวกับการเมืองอยู่ การทำความรู้จัก Electoral College หรือคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา คงเป็นอีกเรื่องที่น้อง ๆ จะจดจำได้แน่ ๆ
Electoral College คืออะไร?
Electoral College คือคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งจะมาเป็นตัวแทนประชาชนสหรัฐอเมริกาในการเลือกประธานาธิบดี หรือคล้าย ๆ กับสภาชิกวุฒิสภา หรือ สว. ที่เคยมาจากการเลือกตั้งในการเมืองไทยนั่นเองค่ะ
Electoral College ทำหน้าที่อะไร?
คณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำหน้าที่คัดเลือกประธานาธิบดีแทนประชาชน และจะทำหน้าที่เลือกประธานาธิบดีได้ครั้งเดียวก็จะหมดหน้าที่ลง
สหรัฐอเมริกาเลือกตั้งยังไง
การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา ประชาชนไม่มีสิทธิเลือกประธานาธิบดีโดยตรง ประชาชนจะเลือกคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ขึ้นมา เพื่อให้คณะผู้เลือกตั้งเลือกประธานาธิบดีอีกที คณะผู้เลือกตั้งจึงถือเป็นตัวแทนประชาชนของแต่ละรัฐนั่นเอง
Winner Takes All เป็นระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่แต่ละรัฐเลือกใช้ ซึ่งระบบ Winner Takes All คือคณะผู้เลือกตั้งจะเลือกประธานาธิบดีตามคะแนน Popular Vote ของประชาชนในรัฐ
หมายเหตุ: มี 2 รัฐที่ไม่ใช้ระบบ Winner Takes All คือ รัฐเมน และรัฐเนบราสกา
ทำไม Electoral College ถึงสำคัญกว่า Popular Vote?
คณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) คือผู้ที่เป็นตัวแทนประชาชนในการเลือกประธานาธิบดี และแต่ละมลรัฐของสหรัฐอเมริกามีจำนวนประชากรมากน้อยต่างกัน ทำให้คณะผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐมีจำนวนไม่เท่ากัน การจะเป็นประธานาธิบดีได้ จะต้องได้เสียงจากคณะผู้เลือกตั้งขั้นต่ำ 270 เสียง จาก 538 เสียง จึงจะถือว่าชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดี ทำให้คะแนนความนิยม หรือ Popular Vote ไม่สำคัญเท่า Electoral College ยกตัวอย่างกรณีฮิลลารี คลินตัน ที่มีคะแนนนิยมทั้งประเทศมากกว่าแต่กลับแพ้ให้โดนัลด์ ทรัมป์ เพราะเธอได้คะแนน Electoral Votes เพียง 232 เสียง แต่ทรัมป์ได้ 306 เสียง จากกรณีนี้จึงทำให้เห็นว่า Electoral College สำคัญกว่า Popular Vote
ฟังดูอาจดูเหมือนยุ่งยาก แต่ถ้าน้อง ๆ ลองตามข่าวการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาย้อนหลังเป็นภาษาอังกฤษ จะทำให้น้อง ๆ เข้าใจคำว่า Electoral College มากขึ้น การได้เห็นจากกรณีการใช้จริง ๆ เลยมันเห็นภาพมากกว่าจริง ๆ ค่ะ แล้วยิ่งได้ตามเป็นข่าวภาษาอังกฤษด้วยแล้ว ก็เหมือนเป็นการฝึกการติว GED Social Studies ไปในตัวได้อีก ได้ทั้งความรู้ขจัดข้อสงสัยแล้วยังติว GED ไปในตัวด้วย เยี่ยมไปเลยใช่ไหมคะ
แต่ถ้าน้องกำลังมองหาสถาบันติว GED ดี ๆ สักที่หนึ่ง ต้อง The Planner Education สถาบันที่เป็นหนึ่งเรื่องการติว GED ประสบการณ์แน่น การันตีผล สอบไม่ผ่าน เรียนซ้ำฟรี และยังส่งน้อง ๆ สอบเทียบ GED ผ่าน คว้าวุฒิ ม.6 ยื่นติดมหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุ 16-17 ปี มาแล้ว หลายต่อหลายคน
สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT | IELTS | ACT | GSAT | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ATS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!