5 ไวยากรณ์ต้องรู้ ก่อนลุย GED RLA!

ก่อนสอบ GED ต้องรู้! แนะนำ 5 ไวยกรณ์สำคัญไว้ใช้ในการสอบ GED พาร์ท Reasoning Through Language Arts (RLA)

สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบ GED เทียบวุฒิ ม.6 ต้องบอกก่อนเลยว่า ข้อสอบทั้ง 4 วิชาของ GED นั้นเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ดังนั้นน้อง ๆ ต้องเตรียมพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนเริ่มติว GED ตั้งแต่ไวยากรณ์พื้นฐาน

หากน้อง ๆ กำลังลังเลว่าจะติว GED ที่ไหนดี อยากมีคนช่วยแบบครบทุกขั้นตอน ขอแนะนำมาที่ The Planner Education แนะนำ 5 ไวยากรณ์สำคัญที่จะช่วยให้น้อง ๆ ตะลุยข้อสอบได้อย่างง่ายดายตามนี้เลย

1. ประเภทของคำ (Parts of Speech)

ในภาษาอังกฤษได้แบ่งประเภทของคำทั้งหมดไว้ 8 ประเภท ได้แก่ คำนาม (Nouns), คำสรรพนาม (Pronouns), คำกริยา (Verbs), คำคุณศัพท์ (Adjectives), คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs), คำบุพบท (Prepositions), คำสันธาน (Conjunctions) และคำอุทาน (Interjections) ซึ่งแต่ละประเภทสามารถนำไปประกอบสร้างในรูปประโยคได้ด้วยหน้าที่ที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

1.1 คำนาม (Nouns) คำนิยามโดยทั่วไปของคำนามคือ คำที่ใช้เรียนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือสิ่งต่าง ๆ รอบตัว รวมไปถึงอารมณ์ ความรู้สึก หรือสภาวะต่าง ๆ อีกด้วย

หน้าที่ของคำนาม (Nouns)

  • ประธาน (Subject) โดยมีตำแหน่งวางไว้หน้าคำกริยาแท้
    ตัวอย่าง The lady is walking along the river at the moment.
    จากประโยคข้างต้น The lady ถือเป็นกลุ่มคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน โดยแสดงกริยา is walking นั่นเอง
  • กรรม (Object) โดยมีตำแหน่งวางไว้หลังคำกริยาแท้, คำบุพบท, หรือคำกริยาไม่แท้ก็ได้ โดยจะถือว่าเป็นกรรมของคำที่อยู่ด้านหน้านั่นเอง
    ตัวอย่าง Jenny has been teaching her students for 1 hour now.
    จากประโยคข้างต้น students ถือเป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา has been teaching ที่วางอยู่ด้านหน้านั่นเอง น้อง ๆ อาจจะสงสัยว่า แล้วคำว่า ‘her’ ในที่นี้คืออะไร จริง ๆ แล้วคำนี้คือ คำคุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Adjective) สามารถวางไว้หน้าคำนามได้

1.2 คำสรรพนาม (Pronouns) เป็นประเภทคำหนึ่งที่สามารถใช้แทนคำนามเพื่อลดการพูดหรือใช้คำเรียกเดิมซ้ำ ๆ นั่นเอง ดังนั้นหน้าที่ของคำสรรพนามก็สามารถใช้เสมือนคำนามได้เลยทั้งหน้าที่ประธาน (Subject Pronouns) และกรรม (Object Pronouns)
ตัวอย่าง The lady is walking along the river at the moment.
ปรับเป็น She is walking along the river at the moment.
จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่า เราสามารถใช้ประธาน She เข้ามาแทนที่ประธาน The lady ได้ โดยเลือกเป็นคำที่เป็นเอกพจน์และระบุเพศหญิงตามแบบภาษาอังกฤษ

1.3 คำกริยา (Verbs) เป็นคำที่ใช้แสดงกิริยา สถานภาพ ความเป็นอยู่ หรือสิ่งที่ปรากฏขึ้น ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างประโยคให้มีใจความที่สมบูรณ์

ตัวอย่าง She runs every morning before work.
จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่า ‘runs’ แสดงกริยาท่าทางเพราะเป็น Action Verb หากตัดคำนี้ไป ใจความนี้จะไม่ถือว่าเป็นประโยคเพราะขาดองค์ประกอบสำคัญอย่าง ‘คำกริยา’ ไปนั่นเอง

1.4 คำคุณศัพท์ (Adjectives) จากชื่อประเภทก็มั่นใจได้เลยว่า คำประเภทนี้มีไว้บอกคุณลักษณะแน่นอน คำคุณศัพท์มีไว้ตกแต่งคำนามหรือคำสรรพนามเพื่อให้มีข้อมูลเพิ่มเติมที่ชัดเจนขึ้น อย่างเช่น สี ขนาด อารมณ์ เป็นต้น

ตัวอย่าง The big red apple looked delicious.
จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่า ‘big’, ‘red’, ‘delicious’ เป็นคำคุณศัพท์ที่บรรยายลักษณะของ ‘apple’ ทั้งหมด แต่สังเกตได้ว่าตำแหน่งที่วางนั้นแตกต่างกัน อยากให้น้อง ๆ ทำความเข้าใจก่อนว่า คำ 1 คำสามารถทำหน้าที่เดียวกัน แต่วาง ณ ตำแหน่งที่แตกต่างกันได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎของไวยากรณ์นั่นเอง ในที่นี้ ‘big’ และ ‘red’ วางไว้หน้าคำนามจึงทำหน้าที่เป็น Modifiers ส่วน ‘delicious’ วางไว้หลัง Linking Verb ‘looked’ เราจึงเรียกตำแหน่งนี้ว่า Complement

1.5 คำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) เมื่อมีประเภทคำที่ไว้ขยายคำนาม/สรรพนามแล้ว เราก็มีคำที่ไว้ขยายข้อมูลเพิ่มเติมให้กับคำกริยา (Verbs), คำคุณศัพท์ (Adjectives), และคำกริยาวิเศษณ์ (Adverbs) เช่นกัน ด้วยความที่คำประเภทนี้สามารถขยายคำอื่นได้อย่างหลากหลาย จึงมีประเภทแยกย่อยลงไปอีก ซึ่งทำให้การวางตำแหน่งในประโยคมีหลากหลายไปตามประเภท น้อง ๆ จึงควรศึกษาเพิ่มเติมและระวังการใช้คำประเภทนี้ไว้ค่ะ

ตัวอย่าง She sings beautifully.
จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่า ‘beautifully’ วางไว้หลังคำกริยา ‘sings’ ซึ่งเป็น Action Verb ทำให้คำนี้บรรยายลักษณะการร้องของเธอว่าช่างไพเราะและงดงามเสียจริง

1.6  คำบุพบท (Prepositions) ประเภทของคำนี้มีหน้าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำนามหรือคำสรรพนามนั้น ๆ ที่มีต่อคำอื่น ๆ ในประโยคเดียวกัน ซึ่งมักให้ข้อมูลเกี่ยวกับเวลา ตำแหน่งสถานที่ ทิศทาง หรืออยู่ในอากัปกิริยาใด ๆ

ตัวอย่าง The book is on the table.
จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่า ‘on’ มีคำว่า ‘the table’ ตามหลัง ซึ่งเป็นการบอกความสัมพันธ์ในด้านตำแหน่งสถานที่ว่า หนังสือเล่นนั้นอยู่บนโต๊ะนะ
สิ่งสำคัญสำหรับการใช้คำบุพบท (Prepositions) นั่นก็คือ คำที่ตามหลังนั้นจะต้องเป็นคำนาม นามวลี หรือคำสรรพนามเท่านั้น ไม่สามารถสร้างประโยคมาต่อหลังคำบุพบทนี้ได้ค่ะ

1.7 คำสันธาน (Conjunctions) เป็นประเภทคำที่มีไว้เชื่อมคำ วลี หรือประโยคเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งการเสริมความ การแสดงความขัดแย้ง หรือการบอกเหตุและผล

ตัวอย่าง She wants to go to the beach, but it’s raining.
จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่า ‘but’ ทำหน้าที่เชื่อมใจความด้านหน้าและด้านหลังเข้าด้วยกัน โดยแสดงความหมายในเชิงขัดแย้งกันนั่นเอง
สิ่งที่อาจทำให้น้อง ๆ สับสนก็คือ คำสันธาน (Conjunctions) ยังมีประเภทย่อยอีก 3 ประเภท ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์ประเภทของประโยคว่าจะเป็นแบบความรวมหรือความซ้อน ซึ่งต้องศึกษาเพิ่มเติมในระดับประเภทของประโยคอีกที หากน้อง ๆ ยังไม่มั่นใจว่าจะติว GED ที่ไหนดี ลองปรึกษาพี่ ๆ The Planner เพื่อช่วยกันวางแนวทางสู่การสอบผ่านตั้งแต่ครั้งแรกได้เลยค่ะ

1.8 คำอุทาน (Interjections) ประเภทคำอันสุดท้ายที่ไว้แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกขณะใช้ มักจะเป็นคำหรือวลีตั้งแต่เริ่มประโยค แบบที่เราดีใจหรือตกใจแล้วอุทานออกมานั่นเอง เอกลักษณ์ของการเขียนคำอุทานคือ มีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) ต่อท้ายคำหรือวลีนั้น แทนที่จะเป็นจุด (.) จบประโยคแบบปกติ

ตัวอย่าง Wow! That’s amazing!
การทำข้อสอบ GED ต้องใช้พื้นฐานทางภาษาอังกฤษในการอ่าน วิเคราะห์ และทำโจทย์ ดังนั้นหัวข้อไวยากรณ์อย่างแรกที่สำคัญอย่าง ประเภทของคำ (Parts of Speech) ที่กล่าวไปด้านบนนั้นจึงสำคัญมาก หากน้อง ๆ รู้ประเภทและหน้าที่ของคำที่เจอในการทำข้อสอบ GED ก็ถือว่าได้เปรียบในการทำความเข้าใจและเลือกตอบข้อที่ถูกต้องได้นั่นเอง

 

2. โครงสร้างประโยค (Sentence Structures)

การเข้าใจโครงสร้างของประโยคเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเขียนและการพูดภาษาอังกฤษ ประโยคประกอบด้วยส่วนสำคัญที่ช่วยให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาและความหมายที่อยู่ในประโยค

2.1 Subject เป็นบุคคล สิ่งของ หรือคำใด ๆ ที่เป็นผู้แสดงกริยานั้น ๆ ในประโยค ดังนั้นตำแหน่งของประโยคจึงมักจะอยู่หน้าประโยค (แต่ไม่เสมอไปนะ)

ตัวอย่าง ‘The cat’ (แมว) ในประโยค ‘The cat is sleeping under the chair.’ (แมวกำลังหลับอยู่ใต้เก้าอี้)

2.2 Predicate เป็นส่วนที่บรรยายการกระทำหรือสภาวะของประธาน ดังนั้นยกประโยค ‘The cat is sleeping under the chair.’ มาอีกครั้ง ส่วนที่เป็น Predicate คือ ‘is sleeping under the chair’ หรือก็คือส่วนประกอบหลังตำแหน่งประธานที่แสดงกริยานั่นเอง

เพื่อไม่ให้น้อง ๆ รู้สึกสับสน ในบล็อกนี้จะเล่าเรื่อง Sentence Structure ไว้เพียงคร่าว ๆ เท่านั้น หากน้อง ๆ คิดว่า หัวข้อเหล่านี้น่าสนใจและอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อเตรียมตัวติว GED แล้วล่ะก็ แอดไลน์ @theplanner เพื่อปรึกษาแนะแนวทางการติวได้เลย พี่ ๆ The Planner พร้อมดูแลแบบครบครันตั้งแต่วางแผนไปจนสอบเข้ามหาวิทยาลัยเลยนะ

 

3. กาลเวลา (12 Tenses)

เรื่องสำคัญที่เป็นเสมือนคู่ปรับตลอดกาลของทุกคนก็คือ กาลเวลา (Tenses) นั่นเอง น้อง ๆ อาจจะพบเจอหรือเคยท่องจำว่า เทนส์มีทั้งหมด 12 เทนส์ ภาพรวมคือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยมีแยกย่อยอีก 4 หัวข้อในแต่ละเทนส์ ซึ่งท่องกันไม่ไหวเลยทีเดียว ดังนั้นในหัวข้อนี้ หากน้อง ๆ ต้องการเตรียมสอบ GED โดยเฉพาะวิชา RLA ในการเขียน Essay ล่ะก็ ห้ามพลาดแม้แต่นิดเดียว!

3.1 ปัจจุบัน (Present)

  • Simple Present: ปัจจุบันแบบทั่วไป มักใช้บอกเล่าสิ่งที่เป็นกิจวัตรทั่วไป หรือความจริงตามธรรมชาติ/วิทยาศาสตร์
    โครสร้าง: Subject + Verb ช่อง 1
    ตัวอย่าง Jenny and Tom like apples.
    สิ่งที่ต้องระวังคือการผันคำกริยาให้อยู่ในรูป Verb ช่อง 1 ดังนั้นพจน์หรือจำนวนของประธานในประโยคนี้จึงสำคัญมาก หากประธานเป็นบุรุษที่ 3 หรือเอกพจน์ คำกริยาต้องเติม -s หรือ -es ด้วยนะคะ
  • Present Progressive: กล่าวถึงปัจจุบันแบบต่อเนื่องโดยมักสื่อถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ณ ขณะนี้ หรือเร็ว ๆ นี้ก็ได้เช่นกัน
    โครสร้าง: Subject + is, am, are + V.ing
    ตัวอย่าง Jenny and Tom are playing badminton right now.
    สิ่งที่ต้องระวังคือ การใช้ Verb to be เพื่อผันเทนส์นี้ น้อง ๆ ต้องดูประธานของกริยาอีกทีว่าเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ เพื่อจะได้เลือกใช้ is, am, are ได้อย่างถูกต้อง
  • Present Perfect: ปัจจุบันที่เสร็จสมบูรณ์ นิยมใช้ในการเล่าประสบการณ์ที่เริ่มต้นตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน หรือแสดงถึงเหตุการณ์ที่จบลงไปแล้วแต่ยังเห็นผลลัพธ์อยู่ในตอนนี้
    โครสร้าง: Subject + has, have + Verb ช่อง 3
    ตัวอย่าง Jenny and Tom have been best friends since childhood.
    สิ่งที่ต้องระวังคือ การใช้ Verb to have เพื่อผันเทนส์นี้ น้อง ๆ ต้องดูประธานของกริยาอีกทีว่าเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ เพื่อจะได้เลือกใช้ has หรือ have ได้อย่างถูกต้อง
  • Present Perfect Progressive: หากน้อง ๆ ต้องการสื่อถึงความต่อเนื่องของการกระทำ สามารถใช้เทนส์นี้ได้เลย เช่น ต้องการเน้นสุด ๆ ว่าเรารอเพื่อนมา 3 ชั่วโมงแล้ว จะเป็นแบบโครงสร้างและตัวอย่างด้านล่างนี้เลย
    โครสร้าง: Subject + has, have + been + V.ing
    ตัวอย่าง I have been waiting for Thomas for 3 hours now.
    สิ่งที่ต้องระวังคือ การใช้ Verb to have เพื่อผันเทนส์นี้ น้อง ๆ ต้องดูประธานของกริยาอีกทีว่าเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ เพื่อจะได้เลือกใช้ has หรือ have ได้อย่างถูกต้อง
    ไม่ต้องกังวลว่าเรื่อง 12 Tenses จะเป็นเรื่องยาก น้อง ๆ สามารถยึดประโยคจาก Present Tenses แล้วนำมาปรับแต่งเล็กน้อยในส่วนของคำกริยาก็จะได้ประโยคใหม่ในช่วงเวลาใหม่ ลองดูเทนส์ถัดไปในตัวอย่างด้านล่าง ห้ามละสายตาเด็ดขาด ใบ้ให้ว่าเปลี่ยนจากด้านบนแค่นิดเดียวเท่านั้น!

3.2 อดีต (Past)

  • Simple Past: อดีตแบบทั่วไป มักใช้บอกเล่าสิ่งที่เป็นกิจวัตรทั่วไป หรือเหตุการณ์ที่จบลงเรียบร้อยแต่หยิบยกมาเล่าสู่กันฟัง
    โครสร้าง: Subject + Verb ช่อง 2
    ตัวอย่าง Jenny and Tom liked apples.
    ไม่ยากเลยใช่ไหม เพียงใช้คำกริยาช่อง 2 โดยส่วนมากมักเติม -ed แต่ระวังเรื่องการผันกริยา 3 ช่องด้วยนะ เพราะคำกริยาบางตัวเป็น Irregular Verbs ไม่สามารถเติม -ed แบบทั่วไปได้นั่นเอง
  • Past Progressive: กล่าวถึงอดีตแบบต่อเนื่องโดยมักสื่อถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ณ ขณะนั้น เน้นย้ำว่ากำลังลงมือทำในอดีตจริง ๆ
    โครสร้าง: Subject + was, were + V.ing
    ตัวอย่าง Jenny and Tom were playing badminton right now.
    สิ่งที่ต้องระวังคือ การใช้ Verb to be เพื่อผันเทนส์นี้ น้อง ๆ ต้องดูประธานของกริยาอีกทีว่าเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ เพื่อจะได้เลือกใช้ was หรือ were ได้อย่างถูกต้อง
  • Past Perfect: อดีตที่เสร็จสมบูรณ์ นิยมแต่งเทนส์นี้คู่กับ Simple Past เพื่อลำดับเหตุการณ์ว่า Past Perfect คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ Simple Past ค่ะ
    โครสร้าง: Subject + had + Verb ช่อง 3
    ตัวอย่าง Jenny and Tom had been best friends since childhood before they separated to different towns.
    หากน้อง ๆ มองจาก Present Perfect แล้วมาเจออันนี้ล่ะก็ ดูง่ายขึ้นนะเพราะเราไม่ต้องกังวลในส่วนของ Verb to have แล้ว ในเทนส์นี้สามารถใช้รูปแบบนี้ได้เลย แต่! ต้องระวังการผันกริยาช่อง 3 ให้ดีนะคะ
  • Past Perfect Progressive: หากน้อง ๆ ต้องการสื่อถึงความต่อเนื่องของการกระทำ ณ จุดหนึ่งในอดีต (เท่ากับว่าปัจจุบันเหตุการณ์จบไปแล้ว) เช่น จากตัวอย่างเดิม ต้องการเน้นสุด ๆ ว่าเรารอเพื่อนมา 3 ชั่วโมงแล้ว แต่เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวาน จะเป็นแบบโครงสร้างและตัวอย่างด้านล่างนี้เลย
    โครสร้าง: Subject + had + been + V.ing
    ตัวอย่าง I had been waiting for Thomas for 3 hours yesterday.
    ผ่านไปแล้ว 2 กาลเวลา ไปต่ออันสุดท้ายกันเลย ส่วนใครที่ยังไม่มั่นใจ อ่านเองก็ยังไม่เข้าใจ สามารถแอดไลน์ @theplanner เพื่อร่วมกันวางแผนติว GED และเตรียมตัวสอบ GED ได้เลยนะคะ เอาล่ะ ไปต่อที่กาลเวลาสุดท้ายกันเลย!

3.3 อนาคต (Future)

  • Simple Future: อนาคตแบบทั่วไป มักใช้บอกเล่าว่าจะเกิดอะไร หรือผู้พูดจะทำอะไรในอนาคต
    โครสร้าง: Subject + will + Infinitive Verb
    ตัวอย่าง Jenny and Tom will like apples.
    จุดสังเกตในเทนส์นี้คือ จะมีกริยาช่วยอย่างคำว่า ‘will’ อยู่ประจำ ให้น้อง ๆ ฝึกแต่งจากคำนี้ก่อนเบื้องต้นนะคะ อีกสิ่งสำคัญคือ คำที่ตามหลัง ‘will’ จะต้องเป็น Infinitive Verb หรือคำกริยาที่ยังไม่ได้ผัน แม้แต่ -s หรือ -es ก็ห้ามเติมเด็ดขาดเลยนะ
  • Future Progressive: กล่าวถึงอนาคตแบบต่อเนื่องโดยมักสื่อถึงสิ่งที่จะกำลังเกิดขึ้น ณ ขณะเวลาที่ระบุไว้ หรือจะกำลังทำเร็ว ๆ นี้ก็ได้เช่นกัน
    โครสร้าง: Subject + will be + V.ing
    ตัวอย่าง Jenny and Tom will be playing badminton soon.
    น้อง ๆ สามารถจดจำว่า Progressive / Continuous Tenses จะมี Verb to be ก่อน V.ing ดังนั้นในเทนส์นี้ Verb to be มาคู่กับ ‘will’ เรียบร้อย ดังนั้น เราสามารถใช้ will be + V.ing ได้เลย
  • Future Perfect: อนาคตที่เสร็จสมบูรณ์ สามารถใช้บอกเล่าว่า ณ เวลาหนึ่งในอนาคต เราจะทำสิ่งนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว
    โครสร้าง: Subject + will have + Verb ช่อง 3
    ตัวอย่าง Jenny and Tom will have celebrated their anniversary tomorrow.
  • Future Perfect Progressive: หากน้อง ๆ ต้องการสื่อถึงความต่อเนื่องของการกระทำ ว่า ณ เวลาในอนาคตจะทำสิ่งนี้อยู่และจะยังทำต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่หยุด สามารถใช้เทนส์นี้ได้เลย
    โครสร้าง: Subject + will have + been + V.ing
    ตัวอย่าง I will have been waiting for Thomas at 4 o’clock.
    เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย? หัวข้อเรื่อง ‘กาลเวลา (12 Tenses)’ จบลงเรียบร้อย เท่านี้ก็ถือได้ว่ามาเกินครึ่งทางของบล็อกแล้วนะ ปรบมือให้ตัวเองด่วน เพราะเราเก่งมากจริง ๆ เนื่องจาก 3 หัวข้อนี้เป็นพื้นฐานที่เรียกว่า จุดอุปสรรคเริ่มต้น หากใครผ่านไปได้ก็จะทำให้ไวยากรณ์ที่เคยคิดว่ายากกลายเป็นเรื่องที่ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นเลยนะ

 

4. Subject and Verb Agreement

หัวข้อนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คนไทยพลาดอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากความแตกต่างของภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับการสร้างประโยคภาษาอังกฤษจะต้องใส่ใจในเรื่องความสอดคล้องกันระหว่างประธาน (Subject) และกริยา (Verb) เรียกได้ว่าทั้งสองอย่างนี้จะต้องไปด้วยกันเสมอ เช่น ‘The cat eat.’ เป็นประโยคที่ผิดเนื่องจาก ประธาน ‘The cat’ เป็นเอกพจน์ ดังนั้นคำกริยาที่ใช้จะต้องสอดคล้องกับพจน์ของประธาน ประโยคที่ถูกต้องจึงควรเป็น ‘The cat eats.’ นั่นเอง

อีกข้อสังเกตที่เห็นได้จากตัวอย่างด้านบนคือ นอกจากคำกริยาจะต้องสอดคล้องกับพจน์หรือจำนวนของประธานแล้ว น้อง ๆ ห้ามลืมเรื่องของกาลเวลา (Tenses) เด็ดขาด จากประโยค ‘The cat eats.’ มีการใช้เทนส์ Simple Present ดังนั้นกริยาจึงเติม -s ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ ในส่วนนี้ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า ไวยากรณ์เป็นกฎของภาษาที่คอยจัดระเบียบภาษาที่เราต้องการจะสื่อสาร ดังนั้นน้อง ๆ ต้องฝึกผสมผสานความรู้เรื่องไวยากรณ์ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการแต่งประโยคบ่อย ๆ นะคะ

ข้อผิดพลาดที่มักพบบ่อย

  1. เอกพจน์หรือพหูพจน์?
    ในหนึ่งประโยคไม่จำเป็นต้องมีประธานแค่เพียง 1 คนเท่านั้น บางครั้งเราเจอคำสันธานเชื่อมทำให้ประธานเป็นพหูพจน์ อย่างประโยค ‘The dog and the cat play in the yard.’ มีการเชื่อมประธาน 2 อันเข้าด้วยคำว่า ‘and’ เมื่อที่ทั้ง dog และ cat คำกริยาที่ใช้จึงต้องเป็นแบบพหูพจน์ จึงได้เป็นคำว่า ‘play’ แบบที่ไม่ต้องเติม -s
  2. สมุหนาม (Collective Nouns) ตัวร้ายอีก 1 ตัวที่ทำให้เด็กไทยสับสน เพราะคำนามประเภทนี้เป็น ‘คำนามที่เป็นกลุ่มก้อน’ หากอ่านโดยผิวเผินก็จะให้เซนส์ของการมีคนหรือจำนวนเยอะเพราะเป็นกลุ่ม จึงคิดว่ามันต้องเป็นพหูพจน์ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ ‘The team is winning.’ คำว่า ‘team’ ฟังดูแล้วจะต้องมีหลายคน แต่จริง ๆ เราสนใจเพียงคำว่า ‘team’ ก็พอ ว่านี่คือทีมเดียว กลุ่มเดียว ก้อนเดียวกัน จึงถือว่าเป็นเอกพจน์ ทำให้ประโยค ‘The team are winning.’ เป็นประโยคที่ผิดนะคะ

 

5. เครื่องหมาย (Punctuations)

หัวข้อสุดท้ายที่เป็นจุดเล็ก ๆ แต่สามารถทำให้การเขียนเรียงความ (Essay) มีประสิทธิภาพและมีความเป็นมืออาชีพมายิ่งขึ้นก็คือ ‘เครื่องหมาย (Punctuations)’ ซึ่งจุดนี้เป็นอีกหนึ่งความแตกต่างของภาษาอังกฤษที่ภาษาไทยไม่มี ดังนั้นเรามาไล่เรียงกันทีละเครื่องหมายกันเลยว่ามีวิธีการใช้อย่างไร ย้ำอีกครั้ง! การทำข้อสอบ GED RLA (Essay) จะดูมีระดับขึ้นด้วยการใช้เครื่องหมายที่เหมาะสม

  1. Period (.)
    มีไว้เพิ่มเป็นจุดจบประโยคทั่วไป (บอกเล่า/ปฏิเสธ) หรือประโยคคำสั่งก็สามารถใช้เครื่องหมายนี้ได้
    ตัวอย่าง She went to the store.
    Please turn on the light.
  2. Comma (,)
    หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า ‘ลูกน้ำ’ สำหรับเครื่องหมายนี้ในภาษาอังกฤษมักใช้คั่นเพื่อลิสต์รายการ บอกลำดับขั้นตอน หรือเป็นตัวคั่นให้เว้นจังหวะในการอ่านประโยค
    ตัวอย่าง Before we begin, let’s review the agenda.
  3. Semicolon (;)
    ใช้เชื่อมใจความ Independent Clauses ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเข้าด้วยกัน ในกรณีที่น้อง ๆ ไม่อยากใช้คำสันธาน (Conjunction) เป็นตัวเชื่อม
    ตัวอย่าง She finished her homework; then she went for a walk.
  4. Colon (:)
    ใช้ในการบอกลิสต์รายการ ให้คำอธิบายเพิ่มเติม หรือยกตัวอย่างค่ะ
    ตัวอย่าง There are three things I love: reading, writing, and traveling.
  5. Question Mark (?)
    ใช้จบประโยคคำถาม สิ่งที่ต้องระวังสำหรับประโยคคำถามคือ การเรียงคำ (Word Order) ที่แตกต่างจากประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ ดังนั้นอย่าลืมศึกษาโครงสร้างส่วนนี้เพิ่มเติมด้วยนะคะ
    ตัวอย่าง What time is the meeting?
  6. Exclamation Mark (!)
    เครื่องหมายตกใจเป็นเครื่องหมายหนึ่งที่ใช้สื่อถึงอารมณ์ที่หนักแน่นหรือต้องการเน้นย้ำ
    ตัวอย่าง Congratulations on your promotion!

Tips: ฝึกอ่านและเขียนบ่อย ๆ เพื่อให้น้อง ๆ คุ้นเคยกับการใช้เครื่องหมายและสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาตินั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ 5 หัวข้อไวยากรณ์สำคัญติว GED ต้องรู้! The Planner ให้คำอธิบายแบบครบถ้วน ขอเพียงน้อง ๆ ฝึกทำโจทย์บ่อย ๆ ก็ช่วยให้มีความมั่นใจมากขึ้นในการทำข้อสอบ GED แน่นอน

อยากติว GED 4 วิชา แต่ยังไม่มั่นใจเรื่องภาษาอังกฤษ ให้ The Planner Education ช่วยวางแผนเตรียมตัวได้เลย เปิดแล้วสำหรับคอร์ส Pre-GED เน้นไวยากรณ์เข้มข้นพร้อมติว GED ได้แน่นอน นอกจากนี้ The Planner ยังมีทีมแอดมินดูแลแบบ ALL-IN-ONE SERVICE ไม่ต้องกลัวว่าจะเคว้งหรือทำอะไรไม่ถูก เพราะที่นี่ดูแลให้ทุกขั้นตอนตั้งแต่สมัครสอบจนขอวุฒิ พร้อมวางแผนเตรียมเข้ามหาวิทยาลัยอินเตอร์ ปรึกษาเลย LINE: @theplanner

ติว GED หรือเตรียมพื้นฐานภาษาอังกฤษกับคอร์ส Pre-GED มาวางแผนร่วมกัน แอดไลน์ @theplanner

สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT | IELTS | ACT | GSAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ATS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing

ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Line: @theplanner หรือ Phone: 095-726-2666

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply