สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในรอบยื่น Portfolio (แฟ้มสะสมผลงาน) อาจจะต้องมีความมั่นใจสักหน่อยว่าตัวเองเคยทำกิจกรรมมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการประกวด เข้าค่ายอัพสกิลความรู้ หรือว่าทำคุณประโยชน์ต่อผู้อื่น เช่น ไปสอนหนังสือเด็กเล็ก ซึ่งถ้าน้อง ๆ มีผลงานที่ดึงดูดใจกรรมการหรือว่าอาจารย์ที่สัมภาษณ์เรา ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการติดมหาวิทยาลับมากขึ้น ซึ่งถ้าน้อง ๆ มีผลงานที่โดดเด่นแล้ว การนำเสนอออกมาในรูปแบบของ Portfolio ก็ต้องทำให้ดีด้วย เพื่อที่จะได้เป็นที่ประทับใจมากยิ่งขึ้นไปอีก
วันนี้พี่ ๆ The Planner จะมาบอกให้ฟังว่าทำ Portfolio ยังไงให้ปัง มหา’ลัยไหน ๆ ก็อยากรับเข้าไปเรียน! ควรทำอย่างไร และควรเลี่ยงอะไร ลองไปอ่านกันดูเลย
สิ่งที่ขาดไม่ได้ใน Portfolio เลยก็คือ:
- ชื่อ-นามสกุล
- คณะที่อยากเข้า
- ประวัติการศึกษา
- เหตุผลที่อยากเข้าคณะที่เลือก
- ผลงานที่ผ่านมา
- กิจกรรมที่เคยร่วม
สิ่งที่ควรทำเวลาสร้าง Portfolio ให้น่าสนใจ เตะตากรรมการหรืออาจารย์
- สะกดคำให้ถูกต้อง
เวลาที่เราพิมพ์ข้อความลงไปใน Portfolio ควรจะต้องอ่านเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอีก 2 รอบเป็นอย่างน้อย เพื่อเช็คคำผิด หรือประโยคไหนที่น้อง ๆ รู้สึกว่ายาวเกินไป ก็สามารถปรับให้กระชับได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะเอาไปยื่นให้กรรมการที่คุมสอบสัมภาษณ์หรืออาจารย์ดู หากมีคำผิด อาจจะทำให้เราดูไม่รอบคอบ และดูไม่ตั้งใจจริงในการที่จะเข้าคณะนั้น ๆ - เน้นใส่ผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะที่อยากเข้า
อยากเข้าคณะไหนก็ควรจะเลือกกิจกรรมหรือว่าผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะนั้น ๆ ใส่ลงไปใน Portfolio เช่นสมมุติน้อง ๆ อยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ น้อง ๆ อาจจะใส่ผลงานที่เคยประกวดการแข่งขันตอบคำถามทางด้านฟิสิกส์ หรือว่าเคยไปเข้าค่ายเกี่ยวกับคณะวิศวกรรม พร้อมทั้งเขียนบอกไปด้วยว่าเราได้อะไรจากการไปทำกิจกรรมเหล่านั้น เช่น ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องวิศวะเพิ่มเติม หรือว่าได้แสดงศักยภาพของตัวเองตอนที่ไปเข้าค่าย เท่านี้ก็จะช่วยให้ Portfolio ของน้อง ๆ ดูน่าสนใจขึ้นมากแล้ว - ใส่รูปภาพ เพิ่มความน่าสนใจ
ถ้าหากว่าใน Portfolio ใส่มาแค่ตัวหนังสือ อธิบายยาวเป็นพรืด ติด ๆ กัน ก็อาจจะทำให้กรรมการไม่แน่ใจว่าควรจะต้องโฟกัสตรงจุดไหนดี เพราะก็คงไม่ได้มีเวลามานั่งอ่าน Portfolio ของเรานานขนาดนั้น เพราะฉะนั้นรูปภาพเป็นสื่อที่ดีในการบอกเล่าผลงานให้กรรมการได้เห็นชัด ๆ กันไปเลย ใส่ข้อความอธิบายรูปภาพสั้น ๆ พอให้กรรมการเห็นว่าในรูปเรากำลังทำอะไรอยู่ หรือว่าเราได้รางวัลอะไร ใส่เยอะ ใส่น้อยก็แล้วแต่เลยว่าน้อง ๆ อยากให้กรรมการเห็นผลงานของเราในด้านไหน ก็เลือกรูปมาใส่ตามความเหมาะสมได้เลย - ตัวหนังสืออ่านง่าย ไม่ต้องฉูดฉาดมากเกินไป น้อยแต่มาก
ควรเลือกใช้ฟ้อนต์หรือสีฟ้อนต์ที่อ่านง่าย สบายตา ไม่ต้องวิบวับหรือว่าโก้เก๋มากจนอ่านไม่ออก หรือว่าใช้สีฉูดฉาดเกินไปก็จะทำให้กรรมการลายตาได้ สิ่งสำคัญสำหรับการทำ Portfolio ไม่ใช่ความสวยงาม แต่คือเนื้อหาที่อยู่ด้านในมากกว่า แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่ต้องจัดแต่งให้เรียบร้อยนะ อย่างไรก็ต้องจัดข้อความให้เป็นระเบียบ หากอยากใช้สีเพื่อเพิ่มความสวยงาม ก็ใช้โทนเดียวไปเลย หรือว่าสีน้อย ๆ ให้ดูสวยงาม น่าอ่าน
สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเรียน GED หรือ A-LEVEL เพื่อที่จะจบการศึกษาระดับมัธยมปลายและไปต่อเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย พี่ ๆ The Planner ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่น้อง ๆ ที่อยากจะยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในรอบ Portfolio หรือถ้าใครกำลังหาที่ติว GED พร้อมจบ ม.6 ใน 1 เดือน! หรือว่าหาที่ติว A-LEVEL อยู่ ก็มาปรึกษา The Planner ได้เลย
สนใจติว GED | IGCSE | A-Level | SAT | IELTS | TOEFL-MUIC | CU-TEP | TU-GET | GSAT | CU-ATT | CU-ATS | BMAT | ACT | IB และคว้าคะแนนและมหาวิทยาลัยในฝัน!
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!
เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการเรียนต่อ ไม่ว่าจะมหาลัยในไทยหรือต่างประเทศ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner