วิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ Part 2

รวมหลักสูตรนานาชาติของคณะวิศวกรรมศาสตร์  ต่อจาก Part 1 ที่ได้พูดถึง จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, มหิดล และเกษตรศาสตร์ไปแล้ว ใน Part 2 เราจะรวบรวมหลักสูตรนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ของ มศว ที่มีสาขาวิชาแปลกใหม่น่าจับตามอง และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) รวมไปถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ซึ่งมีความโดดเด่นในการเรียนการสอนของคณะวิศวกรรมศาสตร์

วิศวกรรมศาสตร์ International Programs มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ 3 หลักสูตร ได้แก่

  1. Concert Engineering and Multimedia วิศวกรรมคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย เกิดขึ้นจากความต้องการของภาคเอกชนที่ต้องการบุคคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจตลาดอุตสาหกรรมด้านคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย มีความเข้าใจองค์รวมด้านแสง สี เสียง รวมไปถึงด้านวิศวกรรม ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะสามารถตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในด้านนี้ได้ เช่น สามารถประกอบอาชีพ วิศวกรในสถานประกอบการคอนเสิร์ตและมัลติมีเดีย, นักพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือและผู้ออกแบบโครงสร้างและกลไกที่เกี่ยวกับคอนเสิร์ต เป็นต้น อีกทั้งหลักสูตรนี้ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชนระดับประเทศและนานาชาติ
  1. Petroleum and Natural Gas Engineering วิศวกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ หลักสูตรมุ่งสร้างความรู้ความสามารถพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถวางแผนและประยุกต์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม โดยมีอาชีพที่รองรับ เช่น พนักงานในสถานประกอบการปิโตรเลียม ในตำแหน่งวิศวกรปิโตเลียม วิศวพลังงาน, นักพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือและผู้ออกแบบโครงสร้างและกลไกที่เกี่ยวกับปิโตรเลียมในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
  1. Computer Security and Forensics Computing Engineering วิศวกรรมด้านความปลอดภัยและการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ มี 2 วิชาเอก ได้แก่1. Computer Security 2. Forensic Computing หลักสูตรเน้นให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านวิศกรรมด้านความปลอดภัยและการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหาในงานด้านวิศวกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ และสามารถแนะแนวและสามารถให้คำปรึกษาสำหรับงานด้านวิศวกรรมด้านความปลอดภัยและการพิสูจน์หลักฐานทางคอมพิวเตอร์ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ อาชีพที่รองรับเช่น วิศวกรหรือนักวิจัยทางด้านระบบความปลอดภัยข้อมูลทางคอมพิวเตอร์, ผู้ดูแลระบบหรือนักพัฒนาความมั่นคงและความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ เป็นต้น

เรียนที่ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

Requirement : *อ้างอิงข้อมูลปี 2020

  • วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า
  1. GPAX ≥ 2.5 คิดจากเกรด 10 -11 หรือ ภาคการเรียนที่ 1 ของเกรด 12
    (เทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือ ภาคการเรียนที่ 1 ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6)
  1. IGCSE หรือ GCSE หรือ GCE ‘O’ Level จำนวน 5 วิชา ได้คะแนนแต่ละรายวิชา A*-C และต้องมีผลสอบเพิ่มเติมดังนี้
    2.1 AS จำนวน ≥ 5 วิชา เกรด A-E หรือ
    2.2 GCE ‘A’ Level จำนวน ≥ 3 วิชา เกรด A*-E
  1. GED มีผลการสอบ GED 4 วิชา วิชาละ ≥ 145 คะแนน
  2. ระบบการศึกษานิวซีแลนด์
    4.1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป
    NCEA ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualifications Authority (NZQA)
    จำนวน ≥ 80 หน่วยกิต ประกอบด้วย
    – วิชาใน level 2 หรือสูงกว่าจำนวน ≥ 60 หน่วยกิต และ
    – วิชาใน level 1 หรือสูงกว่าจำนวน ≥ 20 หน่วยกิต
    ** นับรวม ESOL เป็นอีก 1 วิชาได้ด้วย
    ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับประกาศนียบัตร NCEA level 2 ใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement)
    หนังสือรับรองระดับ จำนวนวิชา และจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชา จาก New Zealand Qualifications Authority (NZQA)

4.2 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป
NCEA ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualification Authority (NZQA) ใน level 2 หรือสูงกว่าอย่างน้อย 5 วิชา ไม่ซ้ำกัน นับจำนวนรวม ≥ 60 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาบังคับ 2 วิชา ได้แก่
– English (literacy) ใน level 2 หรือสูงกว่า ≥4 หน่วยกิต
– Mathematics (numeracy) ใน level 2 หรือสูงกว่า ≥ 4 หน่วยกิต
** ไม่นับรวมวิชา English for Speakers of Other Languages (ESOL)
ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement) และหนังสือรับรองระดับ
จำนวนวิชาและจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชาจาก New Zealand Qualifications Authority (NZQA)

  1. IB ผู้สมัครจะต้องได้รับประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียน (High School Diploma) และ/หรือ ได้รับ IB Diploma และ/หรือ IB DP Course Results ดังนี้
    5.1 ผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ จะต้องได้รับ IB Diploma กล่าวคือเป็นผู้มีผลคะแนนรวมจาก 5 หมวดวิชา และอีก 1 วิชาเลือก ไม่ต่ำกว่า 24 คะแนน พร้อมกับผ่านการประเมิน Extended Essay (EE), Theory of Knowledge (TOK) และ Creativity, Action & Service (CAS) ตามเกณฑ์ ของ International Baccalaureate Organisation (IBO) ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาให้ยกเว้นการเรียนบางวิชาในปี 1 ที่ผู้สมัครเรียนผ่านมาแล้วตามหลักสูตร IB Diploma ในระดับ Higher level ที่ได้คะแนนสูงกว่า 4-5 ขึ้นไป เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา หรือ
    5.2 ได้รับ IB Diploma Course Results (IBCR) อย่างน้อย 5 วิชา โดยแต่ละวิชาจะต้องไม่ซ้ำกัน และได้ผลการเรียนในแต่ละวิชา ไม่น้อยกว่าเกรด 2 (เทียบเท่ากับ 60 เปอร์เซนต์ หรือ GPA รายวิชา 2 ขึ้นไป) ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาอาจพิจารณาลดจำนวนวิชาเพื่อรับผู้สำเร็จการศึกษาให้เหลืออย่างน้อย 3-4 วิชา ที่ตรงกับสายวิชาที่ผู้สมัครจะสมัครเข้ารับการศึกษา เช่นเดียวกับในต่างประเทศ
  • คะแนนวัดระดับทักษะ : GSAT ≥ 1,200
  • คะแนนวัดความรู้ภาษาอังกฤษ : IELTS ≥ 0 (ข้อกำหนดสำหรับนิสิตที่จะสามารถเดินทางไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยพาร์ทเนอร์ของแต่ละสาขา)

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://eng.swu.ac.th/

 

SIIE สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL)
School of International & Interdisciplinary Engineering Programs

เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ 12 หลักสูตร ได้แก่ 

  1. Computer Innovation Engineering วิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ (CIE) หลักสูตรออกแบบมาเพื่อผลักดันนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการในด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในแต่ละภาคการศึกษาจะมีธีมให้นักศึกษาได้ลงมือทำโปรเจ็กต์ ซึ่งช่วยให้ได้ฝึกฝนและออกแบบวิธีการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ โดยตลอดหลักสูตรจะได้เรียนตั้งแต่แนวคิดการเขียนโปรแกรมพื้นฐานและรากฐานของระบบดิจิทัล ไปจนถึงการออกแบบทางวิศวกรรมเชิงนวัตกรรมที่สำคัญ อาชีพที่รองรับ เช่น Innovation Engineer, Startup Entrepreneurs, Cloud Engineer, Innovation Software Engineer เป็นต้น
  1. Biomedical Engineering วิศวกรรมชีวการแพทย์ มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาวิศวกรนักวิจัยและช่างเทคนิคชีวการแพทย์ เพื่อรองรับอาชีพที่จำเป็นในอุตสาหกรรม Bioelectronic, Biomedical, Pharmaceutical และ Biotechnology Industries ใน 2 ปีแรกจะเน้นเรียนในสาขา เพื่อศึกษา Core Engineering, Science และ Mathematics และเริ่มเรียนหลักสูตรที่หลากหลายมากขึ้นในปี 3, 4 เช่น Biomedical Instrumentation, Healthcare IT และ Bio-pharmaceutical Engineering นักศึกษายังสามารถเลือกไปเรียนปี 3, 4 ที่ Glasgow University และจบปริญญา 2 ใบ
  1. Civil Engineering วิศวกรรมโยธา เป็นหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมให้บัณฑิตสามารถใช้นวัตกรรมที่มีโดยมีการผนวกวิชาด้านทฤษฎีกับการประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาโดยการทำโครงงาน (Project-based learning) ที่มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมโยธา คาดหวังให้นักศึกษาพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านอุตสาหกรรมการก่อสร้างในประเทศไทย โดยยังคำนึงถึงการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน อาชีพรองรับ เช่น วิศวกรโยธา, วิศวกรออกแบบ, วิศวกรควบคุมงานก่อสร้าง, วิศวกรประมาณราคา เป็นต้น
  1. Industrial Engineering and Digital Management Systems วิศวกรรมอุตสาหการและระบบการจัดการเชิงดิจิทัล (IEDMS) เป็นหลักสูตรที่รวมสายงานวิศวะ ไอที และการตลาด ไว้ด้วยกัน เป็นโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม เรียน 4 ปี ได้ปริญญา 3 ใบ คือ 1. EDMS program (B.Eng) certified by The Council of Engineering, Thailand 2. B.Sc. (Computer Science) University of Reading, UK 3. B.B.A. (Digital Marketing) Sripatum University สายงานที่รองรับ ได้แก่ วิศวกรอุตสาหการ, วิศวกรด้านโลจิสติกส์และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน, System Analysis Engineer เป็นต้น
  1. Robotics and AI Engineering หลักสูตรหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (RAI) ระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติ เป็นหลักสูตรที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรม ด้วยการผสมผสานพื้นฐานทางทฤษฎีเข้ากับการทำโครงงาน (Project-based learning) มีพาร์ทเนอร์กับภาคอุตสาหกรรมในบริษัทชั้นนำที่จะช่วยให้นักเรียนได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานจริง ทั้งเรื่องสภาพแวดล้อมและการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ
  1. Electrical Engineering หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า (EE) แบ่งออกเป็น 4 สาขาย่อย คือ 1. Electrical Power 2. Communications and Data 3. Electronics 4. Mechatronics การเรียนผสมผสานระหว่าง Lecture-Based, การสัมมนา, Project-Based และ Laboratory (ห้องปฏิบัติการ) นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านไฟฟ้า การออกแบบ การวิเคราะห์ และการสร้างสรรค์ระบบที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เช่น ระบบไฟฟ้าแรงสูง โรงไฟฟ้า และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ที่กำลังเป็นที่นิยมและกำลังจะเป็นส่วนสำคัญที่มาทดแทนการผลิตไฟฟ้าแบบเก่าในอนาคต อาชีพที่รองรับมีหลากหลายทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), ปตท, การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย, กสทช. เป็นต้น
  1. Energy Engineering วิศวกรรมพลังงาน เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมอย่างกว้างขวาง เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การบริการด้านพลังงาน การจัดการอาคาร วิศวกรรมโรงงาน การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก ซึ่งผสมผสานความรู้ทั้งทางด้านสาขาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์และเคมีเข้ากับการปฏิบัติทางวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โดยหลักสูตรสอดคล้องกับกฎหมายพลังงาน เพื่อความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับสาขาพลังงาน การออกแบบกระบวนการเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน การจัดการพลังงาน พลังงานในอาคารและการขนส่ง รวมถึงแผนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การผลิตหรือพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน
  1. Mechanical Engineering วิศวกรรมเครื่องกล (ME) เป็นหลักสูตรวิศวกรรมหลักที่จำเป็นในแทบทุกอุตสาหกรรม สามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น ยานยนต์, ระบบราง, ระบบอาคาร, การก่อสร้าง, เครื่องจักรกล และโรงงานการผลิตต่างๆ หลักสูตรมีเป้าหมายเพิ่มพูนทักษะทั้งด้านฟิสิกส์ (การคำนวณโครงสร้าง, แรง) ด้านคณิตศาสตร์ (คำนวณการบริหารและจัดการ, การวางแผนการก่อสร้างทั้งแผนงาน งบประมาณ อุปกรณ์) โดยในหลักสูตรนานานชาติยังให้ความสำคัญกับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งด้านศัพท์เฉพาะในสายงาน และการสื่อสารกับพาร์ทเนอร์ต่างชาติ
  1. Software Engineering วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SE) เป็นสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับทุกด้านของการผลิตซอฟต์แวร์ เช่น การวิเคราะห์ซอฟต์แวร์, ออกแบบ, ทดสอบและพัฒนา, การใช้ความคิดเชิงนามธรรมและตรรกะ มาประยุกต์กับคณิตศาสตร์และ Computer Science เพื่อผลิตซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพด้วยทรัพยากรที่มี ซึ่งในยุคปัจจุบันซอฟต์แวร์มีความสำคัญและแพร่หลาย จึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดในโลก ดังนั้นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่มีความเชี่ยวชาญจึงเป็นที่ต้องการสูงทั่วโลก มีโอกาสในการทำงาน เช่น วิศวกรซอฟต์แวร์, สถาปนิกซอฟต์แวร์ และนักพัฒนาซอฟต์แวร์บนแพลตฟอร์มต่างๆ เป็นต้น
  1. Financial Engineering วิศวกรรมการเงิน หลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโทของ KMITL และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ NIDA มีเป้าหมายในการสร้างวิศวกรการเงินที่มีความรู้ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และการเงิน วิธีการทางคณิตศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสามารถบูรณาการความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาทางการเงินที่ซับซ้อน โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้อย่างเชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์การลงทุนขององค์กร รวมไปถึงการจัดการความเสี่ยงและสามารถออกแบบ Financial Tools, Products และ Innovations ที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม
  1. Chemical Engineering วิศวกรรมเคมี เป็นหลักสูตรการเรียนที่บูรณาการศาสตร์ด้านเคมีและวิศวกรรมเข้าด้วยกันในการออกแบบกระบวนการปฏิกิริยาและการเร่งปฏิกิริยา พอลิเมอร์ เทคโนโลยีนาโน ชีวเคมีและการจัดการทางวิศวกรรมเคมีในด้านสิ่งแวดล้อม กระบวนการแยกสาร เทคโนโลยีสะอาด แบบจำลองมลภาวะอากาศ และระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น หลักสูตรมีจุดมุ่งหมายในการช่วยพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรมเคมี ไปพร้อมทั้งดูแลสภาวะแวดล้อม อาชีพที่รองรับเช่น Project Engineer, Production Planning Engineer, Technical Service Engineer และ Quality Assurance Engineer เป็นต้น 
  1. Engineering Management and Entrepreneurship การจัดการวิศวกรรมและการเป็นผู้ประกอบ (EME) เป็นหลักสูตรที่ผลิตวิศกรที่เน้นด้านการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการ นักศึกษาจะได้เรียนคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์ รวมไปถึงศึกษาเรื่อง Decision and Multiple-Criteria Analysis, Project Management, การจัดการการผลิตและการดำเนินงาน, การจัดการเชิงกลยุทธ์ และการควบคุมคุณภาพ อาชีพในอนาคตเช่น Entrepreneur Engineer, Startup Founder, Project Engineer เป็นต้น

เรียนที่ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Requirement : *อ้างอิงข้อมูลปี 2020

  • วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า : *ยื่นผลการศึกษาร่วมกับคะแนนทดสอบอย่างน้อย 1 อย่าง

            เป็นผู้จบการศึกษาจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ ระดับ Grade 12 ตามระบบการศึกษาแบบอเมริกัน หรือ ระดับ Year 13 ตามระบบการศึกษาแบบอังกฤษ หรือ มีวุฒิเทียบเท่าม.ปลายอย่างน้อย 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 75%

  • คะแนนวัดความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง :

            TOEFL (PBT) ≥550
            TOEFL (CBT) ≥ 213
            TOEFL (iBT) ≥ 79
            IELTS ≥ 6.0
            Cambridge English Exam: FCE, CAE หรือ CPE ≥170
            IB English A1 or A2 ≥ 4
            IB  English B (HL) ≥ 5
            KMITL – TEP ≥ B2

  • คะแนนวัดระดับทักษะ อย่างใดอย่างหนึ่ง :

            SAT ≥ 1020
            GSAT ≥ 1020
            ACT (composite score) ≥ 19 หรือ IB Diploma ≥ 29
            ผลสอบอื่นๆ เช่น  A Level, Gaokao, GAT/PAT
            ประกาศนียบัตรอื่นๆที่ได้รับจาก Faculty of Engineering – KMITL

  • หลักสูตร Financial Engineering และ Software Engineering มีข้อกำหนดเพิ่มเติมอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

            SAT หรือ GSAT Math ≥ 600
            SAT Subject Test Math Level 1 หรือ Math Level 2 ≥ 600
            ACT Math ≥ 23
            IB Mathematics ≥ 5
            AP Mathematics ≥ 4
            A-Level หรือ AS-Level Mathematics ≥ B
            Pat 1  ≥ 90
            GPA  วิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นม.ปลาย ≥ 3.00

 ข้อมูลเพิ่มเติม :  http://ieng.kmitl.ac.th/programs/

 

วิศวกรรมศาสตร์ International Program มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT)

เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ 6  หลักสูตร ได้แก่ 

  1. Chemical Engineering วิศวกรรมเคมี เป็นหลักสูตรที่ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้พื้นฐานวิศวกรรมเคมีทั้งจาการศึกษาเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเคมี นอกจากนี้หลักสูตรยังให้ผู้เรียนได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะต่างๆ เช่น การรู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการวิเคราะห์ การใช้เหตุผลและการแก้ปัญหา รวมไปถึงความสามารถในการสื่อสาร อาชีพที่รองรับ เช่น วิศวกรกระบวนการผลิต, วิศวกรออกแบบหน่วยปฏิบัติการและกระบวนการผลิต, วิศวกรความปลอดภัย เป็นต้น
  2. Civil Engineering วิศวกรรมโยธา เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานวิศวกรรมโยธา ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถสื่อสารและร่วมงานกับบุคคลในสาขาวิชาชีพอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี มีความรู้พื้นฐานเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพทำงานด้านวิศวกรรมโยธาในระดับนานาชาติ เช่น งานออกแบบ งานควบคุมการก่อสร้าง งานตรวจสอบคุณภาพพวัสดุ และงานวางโครงการรก่อสร้าง อาชีพที่รองรับ เช่น วิศวกรโยธา, ผู้จัดการโครงการก่อสร้าง, นักวิชาการด้านวิศวกรรมโยธา, นักออกแบบอาคาร เป็นต้น
  1. Automation Engineering วิศวกรรมอัตโนมัติ เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิศวกรรมอัตโนมัติและสารสนเทศการผลิต สามารถทำงานและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ไปคิดวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างมีระบบ การเรียนครอบคลุมความรู้ด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และเครือข่าย เพื่อให้สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องจักรได้ตามความต้องการของการผลิต อาชีพที่รองรับ เช่น วิศวกรระบบอัตโนมัติ, นักวิเคราะห์ระบบอัตโนมัติ, วิศวกรประจำโรงงานที่ควบคุมด้วยเครื่องจักรขั้นสูง, โปรแกรมเมอร์ระบบสารสนเทศอุตสาหกรรมในโรงงาน เป็นต้น
  1. Environmental Engineering วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจในงานวิศวกรรมด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อป้องกันการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมอันเนื่องมาจากการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ สามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การออกแบบและควบคุมระบบประปาบำบัด, บำบัดน้ำเสีย, ระบบควบคุมมลพิษในอากาศ, การจัดการด้านขยะหรือของเสียอันตราย มีแนวคิดเชิงบูรณาการที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อทำงานในระดับชาติและนานาชาติได้ อาชีพที่รองรับ เช่น วิศวกรสิ่งแวดล้อม, นักวิจัยและนักวิชาการสิ่งแวดล้อมและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พลังงานเคมี เป็นต้น
  1. Computer Engineering วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นรากฐานของนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต หลักสูตรนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้เฉพาะทางในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อตอบโจทย์แรงงานคุณภาพในอุตสาหกรรมดังกล่าว สามารถนำความรู้ไปใช้ในเชิงบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจและสังคม และรูปแบบการเรียนรู้ยังปลูกฝังให้มีความพร้อมในการทำงานเป็นทีมในระดับนานาชาติ มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษทั้งในเชิงทั่วไปและเชิงเทคนิค อาชีพที่รองรับ เช่น วิศวกรคอมพิวเตอร์, นักวิชาการคอมพิวเตอร์, นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์, นักพัฒนาซอฟต์แวร์, นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล, ผู้ดูแลระบบ Data เป็นต้น 
  1. Electrical Communication and Electronic Engineering วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทั้งในด้านทักษะและทฤษฎีต่างๆ ที่จะสามารถประกอบอาชีพวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในระดับมาตรฐานนานาชาติ โดยเป็นการเรียนที่เน้นด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม ควบคู่ไปกับการเสริมทักษะภาษาอังกฤษ ให้สามารถรองรับการถ่ายทอด รวมถึงสามารถปรับเทคโนโลยีที่มาจากต่างประเทศให้สอดคล้องกับสภาวะอุตสาหกรรมภายในประเทศได้เป็นอย่างดี อาชีพที่รับรอง เช่น วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์, นักวิเคราะห์และออกแบบพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ประยุกต์ใช้งานด้านโทรคมนาคม, นักวิจัย เป็นต้น

เรียนที่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Requirement : *อ้างอิงข้อมูลปี 2020

  • วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า

1.ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลายหรือเทียบเท่า
2. ผู้ที่มีคะแนนของปีการศึกษา 2019/2562 A-Level 3 วิชาที่ไม่ซ้ำกัน ได้คะแนน A*-E หรือ Cambridge Pre-U 3 วิชาที่ไม่ซ้ำกัน ได้คะแนน M1 หรือ D1-D3
3. ผู้ที่มีคะแนนของปีการศึกษา 2018/2561 IGCSE/GCSE/O-Level 5 วิชาที่ไม่ซ้ำกัน ≥ C ต้องยื่นคู่กับคะแนนในข้อ 3.1 หรือ 3.2
            3.1 GCE ‘AS’ 5 วิชาที่ไม่ซ้ำกัน คะแนน  ≥ C หรือ
            3.2 GCE ‘A’ level 3 วิชาที่ไม่ซ้ำกัน ได้คะแนน A*-E

  1. IB Diploma
                4.1 IB วิชาบังคับ 5 วิชา และ วิชาเลือก 1 วิชา โดยต้องมีวิชา Extended Essay (EE),
    Theory of Knowledge (TOK), Creativity, Action & Service (CAS) คะแนน ≥ 24 หรือ
                4.2 IBCR 5 วิชาที่เป็นวิชาบังคับและวิชาเลือก ได้คะแนน ≥3
  1. GED 4 วิชา วิชาละ ≥145 เทียบเท่ากับทุกแผนการเรียน
  2. ระบบการศึกษานิวซีแลนด์
                6.1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป  NCEA ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualifications Authority (NZQA) จำนวน ≥ 80 หน่วยกิต ประกอบด้วย
    – วิชาใน level 2 หรือสูงกว่าจำนวน ≥ 60 หน่วยกิต และ
    – วิชาใน level 1 หรือสูงกว่าจำนวน ≥ 20 หน่วยกิต
    ** นับรวม ESOL เป็นอีก 1 วิชาได้ด้วย
    ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับประกาศนียบัตร NCEA level 2 ใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement)
    หนังสือรับรองระดับ จำนวนวิชา และจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชา จาก New Zealand Qualifications Authority (NZQA)

            6.2 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป NCEA ซึ่งอยู่ในความดูแลของ New Zealand Qualification Authority (NZQA) ใน level 2 หรือสูงกว่า อย่างน้อย 5 วิชา ไม่ซ้ำกัน นับจำนวนรวม ≥ 60 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาบังคับ 2 วิชา ได้แก่
– English (literacy) ใน level 2 หรือสูงกว่า ≥4 หน่วยกิต
– Mathematics (numeracy) ใน level 2 หรือสูงกว่า ≥ 4 หน่วยกิต
** ไม่นับรวมวิชา English for Speakers of other Languages (ESOL)
ผู้จบการศึกษาจะต้องได้รับใบแสดงผลการสอบ (Record of Achievement) และหนังสือรับรองระดับ
จำนวนวิชาและจำนวนหน่วยกิตของแต่ละวิชาจาก New Zealand Qualifications Authority (NZQA)

  • คะแนนวัดความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง :
    หากได้คะแนนภาษาอังกฤษดังนี้
                IELTS 4.5
                TOEFL (iBT) 53-60
                RMIT Intermediate
                ผู้สมัครจะต้องสอบความถนัดเฉพาะและสอบสัมภาษณ์ หากผ่านการคัดเลือกผู้สมัครจะต้องเรียนปรับพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษ

ไม่ได้ระบุเกณฑ์ขั้นต่ำในการยื่นคะแนน IELTS, TOEFL, SAT ll, CU-TEP, RMIT *ยกเว้น*

  • หลักสูตร Civil Engineering
                IELTS ≥ 5.5
                TOEFL ≥ 61
  • หลักสูตร Chemical Engineering
                IELTS ≥ 5.0
                TOEFL > 61
                CU-TEP > 60

ข้อมูลเพิ่มเติม :  https://admission.kmutt.ac.th/bachelor

เรียน GED, IGCSE, A-Level, SAT และ IELTS เพื่อเข้าคณะอินเตอร์ได้ที่ The Planner Education
คอร์สติวเข้มจากติวเตอร์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในแต่ละวิชา
พร้อม Service ดูแลเรื่องการสอบและให้คำปรึกษาเรื่องการยื่นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัย

สามารถเลือกเรียนคอร์สกลุ่ม/เดี่ยว หรือจับคู่มาเรียน
สนใจสอบถามได้ที่ 095-726-2666 และ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน
Tags:

Leave a Reply