INDA คณะอินเตอร์ยอมฮิตแห่งยุค ทั้งชื่อที่มีความเก๋ การเรียนที่เปิดกว้างทางไอเดีย และจินตนาการอย่างเต็มที่ ทำให้ INDA ซึ่งมีชื่อเต็ม ๆ ว่า International Program In Design & Architecture หรือคณะสถาปัตยกรรม หลักสูตรนานาชาติ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นชื่อแรกในความคิดของน้อง ๆ หลายคน หากมีคนถามว่า “คณะในฝันที่อยากเรียนคือคณะอะไร” ถ้าน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่อยากเข้าคณะนี้ แล้วยังไม่รู้ว่าควรเริ่มเตรียมตัวยังไงดี น้อง ๆ สามารถเริ่มติววิชาการอย่าง ติว SAT ติว IELTS ติว TOEFL ติว CU – ATT ไปพร้อม ๆ กับการติววิชาออกแบบได้เลยค่ะ หากเราวางแผนการติวแต่เนิ่น ๆ ไว้อย่างดีแล้ว เชื่อได้เลยค่ะว่า ว่าที่เด็กอินด้า จุฬาฯ อยู่ไม่ไกลเกินฝันน้อง ๆ แน่ บทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับคณะนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ
INDA เรียนอะไร
INDA เป็นคณะแรกที่ไม่ได้เรียนเจาะไปทางสถาปัตยกรรมหรือออกแบบด้านใดด้านหนึ่งโดยตรง INDA จะเรียนการออกแบบไปพร้อม ๆ กับความรู้ด้านสถาปัตยกรรม เน้นให้นิสิตได้ฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด INDA เรียนการออกแบบหลายศาสตร์ โดยเฉพาะการออกแบบในเชิงสามมิติ หากจะยกตัวอย่างให้น้อง ๆ เห็นภาพ เช่น “ห้องเล็ก ๆ พื้นที่มีจำกัด แต่ข้าวของของเยอะมาก ถ้าคิดแบบปกติคือต้องทุบขยายห้องเพิ่ม แต่หากใช้หลักความคิดเชิงสามมิติเข้ามาช่วย จะสามารถออกแบบห้องเล็ก ๆ ห้องนี้ให้ได้มีพื้นที่ใช้สอยเก็บของที่มีทั้งหมดได้อย่างลงตัว” และนี่แหละคือหนึ่งในศาสตร์ที่น้องจะได้เรียนรู้จากหลักสูตรนี้
จบ INDA ทำงานอะไรได้บ้าง
น้อง ๆ อาจจะกังวลเกี่ยวกับการเรียนใน INDA ว่าเรียนแค่ 4 ปี แต่คณะสถาปัตยกรรมปกติเรียน 5 ปี แล้วจบ INDA มาจะสามารถทำอาชีพสถาปนิก อินทีเรีย ได้ไหม คำตอบคือ “มีทั้งได้ และไม่ได้ค่ะ” คำตอบมันดูก้ำกึ่งใช่ไหมคะ ที่ตอบว่า “ไม่ได้” ก็เพราะว่า จบ INDA แล้ว น้อง ๆ จะยังไม่สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพได้เหมือนกับเด็กที่เรียนจบคณะสถาปัตยกรรมปกติที่จะได้รับสิทธิ์ในการเข้าสอบใบประกอบเมื่อเรียนจบ แต่ INDA จุฬาเรียนเพียงแค่ 4 ปี ยังไม่ครบหลักสูตรที่สภาสถาปนิดบังคับนั่นเองค่ะ และตอบว่า “มี” เพราะเด็ก INDA มีโอกาสได้รับสิทธิ์สอบใบประกอบวิชาชีพด้วยเช่นกัน หากน้อง ๆ เรียนต่อในระดับปริญญาโท หรือทำงานในบริษัทเกี่ยวกับสถาปนิกครบ 2 ปี ใบประกอบอาชีพแม้บางบริษัทจะไม่ได้กำหนดไว้ แต่หากมีไว้อุ่นใจทำงานสายนี้ได้ทุกที่มากกว่าค่ะ หากน้องเรียน INDA ฟังดูอาจจะเสียเปรียบภาคปกติ แต่จริง ๆ แล้ว ศาสตร์การออกแบบของ INDA ไปได้ไกลจริง ๆ นะคะ เพราะความรู้ด้านออกแบบที่น้อง ๆ ได้เรียนมีหลายศาสตร์ ทำให้สายงานของน้อง ๆ บางคนอาจจะได้เบี่ยงไปเป็นดีไซเนอร์ หรือ จิตรกรระดับโลกเลยก็ได้ ใครจะรู้
คะแนนที่ใช้ในการยื่นเข้า INDA จุฬาฯ (อ้างอิงปีการศึกษา 2565)
- คุณสมบัติ
– สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
- มีผลคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
– IELTS ≥6.0
– TOEFL (PBT) ≥550
– TOEFL (IBT) ≥79
– SAT (Verbal) ≥450
– CU – AAT (Verbal) ≥400
– CU – TEP ≥80
- มีผลคะแนนทดสอบคณิตศาสตร์ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
– SAT (Math) ≥570
– CU – AAT (Math) ≥550
- มีผลคะแนนด้านการออกแบบ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
– CU – TAD ≥50
– INDA – TAD ≥50
- แฟ้มสะสมผลงาน
เป็นยังไงกันบ้างคะ คณะ INDA ใช่คณะที่ตอบโจทย์น้อง ๆ กันไหม หากอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่า INDA นี่แหละคณะของฉัน น้อง ๆ ควรเริ่มเตรียมตัววางแผนกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เลยนะคะ หรือเข้ามาปรึกษาอนาคตทางการเรียน การติว ฝากอนาคตว่าที่นิสิตอินด้า จุฬาฯ ไว้กับ The Planner Education ตั้งแต่วันนี้ได้เลยค่ะ
สนใจติว IELTS | IGCSE | A-Level | SAT | GED | TOEFL-MUIC | CU-TEP | TU-GET | GSAT | CU-ATT | CU-ATS | BMAT | ACT | IB
เพื่อคว้าคะแนนและมหาวิทยาลัยในฝันหรือยัง? ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!
เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการเรียนต่อ ไม่ว่าจะมหาลัยในไทยหรือต่างประเทศ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner