ทางออกเมื่อไม่มี SAT Subject Test ต้องสอบอะไรแทน?

หลังจากการประกาศยกเลิก SAT Subject Test หรือ SAT II เมื่อต้นปี 2021 น้องๆ ต่างก็มีข้อสงสัยเกี่ยวกับทิศทางของการใช้คะแนน SAT II ว่าหลังจากรอบสุดท้ายในวันที่ 5 มิถุนายน จบลง เกณฑ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ น้องๆ นักเรียนที่มีเป้าหมายในคณะไหนบ้างที่ได้รับผลกระทบ แล้วจะมีการสอบอะไรมาแทนที่? โดยเบื้องต้นในแต่ละมหาวิทยาลัยที่มีการเปิดให้ยื่นคะแนน SAT II ยังไม่มีอัปเดตการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ (อัปเดตวันที่ 11/5/21) และอย่างที่เราทราบกันดี ว่าคะแนน SAT จะสามารถเก็บไว้ใช้ได้ 2 ปี จึงเป็นไปได้ว่าระหว่างนี้ยังสามารถใช้คะแนน SAT II ในรอบสุดท้ายยื่นสมัครเรียนได้ตามปกติ ยื่นคณะไหนได้รับผลกระทบ?ทั้งนี้คณะส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจะเป็นคณะสายวิทย์ฯ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงคณะแพทยศาสตร์ ที่มักจะต้องการคะแนนวัดผลเฉพาะทาง ซึ่งเป็นวิชาที่น้องๆ นิยมสอบของ SAT II อย่าง Physics, Chemistry, Biology หรือทางฝั่งคณิตศาสตร์ อย่าง Math[…]

นักทดลองเข้าห้องแล็บ มาทางนี้ รวมคณะอินเตอร์สายวิทยาศาสตร์

เดินทางมาถึงคณะอินเตอร์สายวิทยาศาสตร์ที่น้องๆ รอคอย คณะในสายวิทยาศาสตร์แยกเป็นความเฉพาะทางอีกหลากหลาย ที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น สายเคมี สายชีวภาพ สายฟิสิกส์ สายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งน้องๆ ที่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์ การค้นพบอะไรใหม่ๆ รักการเรียนภาคทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ ห้ามพลาดบทความนี้เด็ดขาด เพราะเราได้รวบรวมทางเลือกคณะสายวิทยาศาสตร์ภาคอินเตอร์ 5 คณะ จาก 3 มหาวิทยาลัยสุดปัง! ได้แก่ ?BSAC, BBTECH จุฬาฯ ?Bachelor of Science วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล ?Bioscience and Technology, Integrated Chemistry เกษตรศาสตร์ การเรียนการสอนทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติของคณะสายวิทยาศาสตร์ ในระดับอินเตอร์ จะผลักดันให้น้องๆ ได้มีโอกาสในอาชีพที่กว้างมากขึ้น สามารถประกอบอาชีพ เช่น นักวิจัย, นักพัฒนาผลิตภัณฑ์, นักสิ่งแวดล้อม, งาน QA / QC ฯลฯ โดยสามารถทำงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในระดับประเทศหรือระดับโลก  BSAC : Bachelor[…]

อัปเดตเกณฑ์เทียบวุฒิ ม.ปลาย ปี 64 คะแนนเท่าไหร่? ยื่นมหาวิทยาลัยได้

ทางเลือกของการศึกษาไม่ได้อยู่แค่ในโรงเรียนเท่านั้น เพราะน้องๆ สามารถใข้การเทียบวุฒิการศึกษา หรือการสอบเทียบชั้นมัธยมปลาย เพื่อนำวุฒิการศึกษาไปยื่นเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งต้องเป็นเกณฑ์ที่ได้รับการรองรับจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยวุฒิที่น้องๆ นิยมใช้ยื่นได้แก่ GED หรือ General Educational Development การสอบเทียบวุฒิระบบอเมริกัน, IGCSE และ A-Level ระบบอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติ IB หรือ International Baccalaureate สามารถยื่นเทียบวุฒิได้ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน ข้อดีของการสอบเทียบวุฒิ– กระชับเวลามากกว่าการศึกษาในโรงเรียน– วิชาเรียนน้อยกว่า เหมาะกับน้องที่มีเป้าหมายชัดเจน– วางแผนการเรียนได้เป็นสัดเป็นส่วน– ยื่นคะแนนเข้าภาคอินเตอร์ มาส่องเกณฑ์การเทียบวุฒิมัธยมปลาย อัปเดทของปี 64 จากมหาวิทยาลัยรัฐฯ ที่น้องๆ  มักจะถามถึงบ่อยๆ ทั้งของ GED, IGCSE และ A-Level ระบบอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติ IB ไปพร้อมๆ กัน* ทั้งนี้ในการยื่นคะแนนแต่ละครั้ง ขอให้น้องๆ เช็คเกณฑ์การเทียบวุฒิจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยโดยตรง เพราะในแต่ละปีมักจะมีการเปลี่ยนแปลงค่ะ   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบบอเมริกัน– สมัครสอบ GED ตั้งแต่[…]

10 FACTS คะแนน SAT ไม่รู้ไม่ได้ !

การสอบ SAT ใกล้จะวนมาอีกครั้งแล้ว บทความนี้ได้รวบรวม FACT ข้อควรรู้ที่เกี่ยวข้องกับคะแนน SAT มาไว้ 10 ข้อด้วยกัน โดยเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ของ College Board ผู้จัดสอบ SAT นั่นเอง อาจมีข้อเท็จจริงบางข้อที่น้องๆ ยังไม่รู้ หรือหากรู้อยู่แล้วก็ถือว่าเป็นการอุ่นเครื่องทบทวนไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบในรอบถัดไป มาเตรียมพร้อมพิชิต High Score ไปพร้อมๆ กัน ? Score Structureโครงสร้างของข้อสอบ SAT แบ่งออกเป็น 2 วิชา คะแนนเต็ม 1,600 แบ่งออกเป็น 2 พาร์ทคือ Evidence-Based Reading & Writing – ซึ่งถูกแยกออกเป็นพาร์ท Reading จำนวน 52 ข้อ และ พาร์ท Writing and Language จำนวน[…]

SAT Vocabulary Part 2 70 ศัพท์ จาก 7 หมวดที่มักออกสอบ

ศัพท์ SAT ขึ้นชื่อว่าค่อนข้างยากและมักจะเป็นศัพท์ที่ไม่ค่อยเห็นผ่านตา โพสต์นี้เราจึงมาพบกันอีกครั้งใน Part 2 ที่ได้รวบรวมอีก 7 หมวด และ 70 คำศัพท์ที่มักจะปรากฏในข้อสอบ SAT สำหรับน้องๆ ที่เตรียมตัวสอบ SAT ในรอบถัดไป เรายังมีทริคในการจำศัพท์มาฝากด้วยค่ะ ย้อนอ่านศัพท์ SAT 7 หมวด 70 คำ พาร์ท 1 ?? https://theplannereducation.com/home/blog/ศัพท์-sat-7-หมวด-70-คำ-ท่องให้คร/ ? ทริคจำศัพท์– ใช้สมุดจดศัพท์ให้เป็นระเบียบ อ่านง่าย– หลังท่องศัพท์ 24 ชั่วโมงให้ทบทวนความจำอีกครั้ง– ทำให้ตัวเอง “เห็น” คำศัพท์ผ่านตาบ่อยๆ อาจใช้วิธีตั้งเป็นรูป wallpaper– ทายศัพท์กับเพื่อน สนุกกว่า– จำวันละ 8 – 10 คำ เป็นจำนวนที่กำลังดี– ใช้คำศัพท์บ่อยๆ ประมาณ 10 ครั้งเราจะจำคำศัพท์นี้ได้ขึ้นใจ หมวด friends and[…]

เทียบหลักสูตรอินเตอร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์

เทียบหลักสูตรนานาชาติของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งวันนี้เราได้หยิบยกภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมโดยตรงจาก 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความแตกต่างกันออกไปในสาขาวิชา เป้าหมายการเรียนและการประกอบอาชีพ จะมีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร ศึกษาเบื้องต้นได้จากบทความนี้เลย นอกจากหลักสูตรอินเตอร์ของสถาปัตยกรรมศาสตร์ ยังมีหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ โดยบางหลักสูตรนั้นสังกัดอยู่ในคณะสถาปัตฯ เช่นกัน โดยเราจะรวบรวมมาให้อ่านในอีกบทความค่ะ   International Program in Design and Architecture (INDA)การออกแบบสถาปัตยกรรม หลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ  หลักสูตร : การออกแบบและสถาปัตยกรรม หลักสูตร 4 ปี สังกัดอยู่ใน Faculty of Architecture หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้นิสิตที่จะศึกษาต่อในต่างประเทศ รวมถึงเป็นการสร้างองค์ความรู้ระดับอินเตอร์เพื่อเปิดโอกาสในการทำงานได้กว้างขึ้น นิสิตจะไม่ได้เรียนแค่การออกแบบสถาปัตยกรรม แต่ยังได้เรียนรู้โครงสร้าง, Landscape Architecture และ Urban Design โดยจะได้เรียนกับอาจารย์ต่างชาติมากมาย และหลักสูตรยังมีทริปและการเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ[…]

ศัพท์ SAT 7 หมวด 70 คำ ท่องให้ครบก่อนสอบ!

ใกล้สอบ SAT แล้ว #เซฟไว้ได้ใช้แน่นอน SAT Vocabulary ที่ควรจำ  ศัพท์ 7 หมวด 70 คำ ยิ่งรู้ศัพท์เยอะยิ่งทำข้อสอบได้ไวและแม่นยำมากขึ้น  การท่องศัพท์จึงสำคัญมากๆ สำหรับการเตรียมตัวสอบ เราจึงรวบรวมศัพท์ 7 หมวด ที่มักเจอในข้อสอบ SAT มาทั้งหมด 70 คำ พร้อมกับทริคเล็กๆ น้อยๆ สำหรับการท่องศัพท์มาฝากค่ะ ทริคจำศัพท์ ใช้สมุดจดศัพท์ให้เป็นระเบียบ อ่านง่าย หลังท่องศัพท์ 24 ชั่วโมงให้ทบทวนความจำอีกครั้ง ทำให้ตัวเอง “เห็น” คำศัพท์ผ่านตาบ่อยๆ อาจใช้วิธีตั้งเป็นรูป wallpaper ทายศัพท์กับเพื่อน สนุกกว่า ช่วยให้จำได้มากกว่า จำวันละ 8 – 10 คำ เป็นจำนวนที่กำลังดี ใช้คำศัพท์บ่อยๆ ประมาณ 10 ครั้งเราจะจำคำศัพท์นี้ได้ขึ้นใจ   หมวด 1 : Size[…]

หลักสูตรอินเตอร์ด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศ จุฬา vs ธรรมศาสตร์ vs มหิดล

CommArts จุฬาฯ J.M. ธรรมศาสตร์ Com.Arts วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล สื่ออยู่รอบตัวเราในทุกๆ ที่ไม่ใช่แค่ในทีวีเท่านั้น ในปัจจุบันโลกถูกขับเคลื่อนด้วยสื่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความรู้ความเข้าใจ, ความเชื่อ, มีอิทธิพลในการโน้มน้าวใจ และทำให้ผู้คนในโลกขยับเข้าใกล้กันมากขึ้น จึงไม่แปลกใจเลยที่คณะทางด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศศาสตร์จะกลายเป็นคณะยอดนิยมของน้องๆ ยุคใหม่ เพราะเป็นสาขาวิชาที่มีการเรียนรู้อย่างก้าวไกล ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี อีกทั้งยังแตกสาขาวิชาออกไปอีกหลากหลาย ได้เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จบนิเทศฯ, วารสารฯ อินเตอร์ ทำอาชีพอะไรดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดังมักจะจบจากคณะนิเทศฯ หรือวารสารฯ แต่อาชีพของบัณฑิตจากคณะเหล่านี้แตกไลน์ออกไปอย่างกว้างขวางมากๆ เช่น เบื้องหลังงานโปรดักชั่น, สื่อมวลชน, กองบรรณาธิการ, นักประชาสัมพันธ์, เอเจนซีโฆษณา ฯลฯ โดยหลักสูตรอินเตอร์ทางด้านสื่อสารมวลชนและนิเทศฯ ของไทยได้รับการยอมรับฝีมือในสากล น้องๆ ภาคอินเตอร์ที่ได้เรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษยังมีโอกาสได้ทำงานกับบริษัทต่างชาติ, พาร์ทเนอร์ระดับอินเตอร์ หรือการทำงานในต่างประเทศ CommArts จุฬาฯ หลักสูตร : CommArts หรือ Bachelor of Arts (Communication Arts) International Program คือ นิเทศศาสตร์หลักสูตรอินเตอร์ คณะยอดนิยมของน้องๆ[…]

ข้อสอบ CU-AAT สอบวัดผลคณิต – อังกฤษ เข้าคณะอินเตอร์จุฬาฯ อัปเดตวันสอบปี 64!

คณะอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกได้ว่าเป็นเป้าหมายของน้องๆ หลายคน เนื่องจากมาตราฐานของหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล คณาจารย์ที่มีชื่อเสียง และหลักสูตรที่หลากหลาย เหมาะกับความสนใจในวิชาชีพของเด็กๆ ในยุคปัจจุบัน โดยปัจจุบันมีหลักสูตรอินเตอร์ 17 หลักสูตร และเป็นอันดับต้นๆ ในหลากหลายสาขาระดับประเทศ อาทิ BBA การบัญชี, EBA เศรษฐศาสตร์, BALAC ภาษาและวัฒนธรรม, CommDe ออกแบบนิเทศศิลป์, INDA การออกแบบสถาปัตยกรรม รวมไปถึง SIE รวมหลักสูตรทางวิศวกรรม และยังมีอีกหลากหลายหลักสูตร (ดูข้อมูลได้ที่ : https://www.chula.ac.th/admissions/international-programs/) เกณฑ์การสมัครเข้าเรียนหากต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาฯ  น้องๆ ต้องมีวุฒิม.6 หรือวุฒิเทียบเท่าที่ได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการ เช่น GED หรือ IGCSE และ A-Level ประกอบกับคะแนนที่ใช้วัดผลทางภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ โดยอาจใช้คะแนนสอบที่ได้รับการยอมรับเป็นสากลอย่าง SAT, IELTS หรือการสอบ CU-AAT ซึ่งเปิดสอบโดยศูนย์ทดสอบทางวิชาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการสอบความถนัดทางวิชาการ เพื่อวัดผลทางภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ที่สามารถใช้ยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์ต่างๆ ของจุฬาฯ ได้ สอบ CU-AAT คือข้อสอบ[…]

รวมคณะเศรษฐศาสตร์อินเตอร์ 5 มหาวิทยาลัย TOP

หลักสูตรอินเตอร์ของคณะเศรษฐศาสตร์ จาก 5 มหาวิทยาลัยรัฐบาล EBA จุฬาฯ BE ธรรมศาสตร์ Business Economics วิทยาลัยนานาชาติ มหิดล Econ. มศว BEcon และ EEBA เกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์เป็นการเรียนเชิงลึกเกี่ยวกับภาคเศรษฐกิจ การเงิน ธุรกิจ ซึ่งในส่วนของภาคอินเตอร์น้องๆ จะได้เรียนรู้เรื่องดังกล่าวในระดับประเทศไปจนถึงระดับโลก ซึ่งเรื่องเศรษฐกิจโลกมีความเชื่อมโยงกันอยู่เสมอโดยเป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์ จบเศรษฐศาสตร์อินเตอร์ ทำอาชีพอะไร ?น้องๆ ที่เรียนในหลักสูตรอินเตอร์ จะได้เรียนทั้งทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ พร้อมเสริมสร้างความแข็งแรงในการสื่อสารภาษาอังกฤษ มีโอกาสได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบาย ทำงานในสถาบันการเงิน หรือองค์กรระดับนานาชาติ พร้อมโอกาสทางอาชีพอีกมากมาย EBA จุฬาฯ หลักสูตร : EBA หรือชื่อเต็ม The Bachelor of Arts Program in Economics ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2545 สังกัดอยู่ในคณะเศรษฐศาสตร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติที่โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับด้านมาตรฐานในระดับสากล ด้วยหลักสูตรที่เสริมความเชี่ยวชาญด้านทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์, เศรษฐกิจ,[…]

เรียน BBA อินเตอร์ที่ไหนดี? ข้อมูล BBA จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, มหิดล, เกษตรฯ, ลาดกระบัง

วุฒิปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) Bachelor of Business Administration หรือที่เรียกเป็นชื่อคณะสั้นๆ ว่า BBA นับเป็นคณะยอดนิยมของน้องๆ มัธยมที่ต้องการศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจ ระดับมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาที่หลากหลาย เช่น Accounting, Management, Finance, Marketing ซึ่งปัจจุบันได้มีการเปิดการเรียนการสอน BBA หลักสูตรอินเตอร์ เพื่อรองรับการทำธุรกิจที่ก้าวหน้าและไร้พรมแดน เราได้รวบรวมข้อมูลหลักสูตร BBA อินเตอร์ยอดนิยมในมหาวิทยาลัยรัฐ ได้แก่ จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, วิทยาลัยนานาชาติมหิดล, เกษตรศาสตร์ และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีข้อมูลอะไรที่น้องๆ ควรรู้ก่อนเลือกเรียน BBA ในสถาบันต่างๆ มาดูกัน 🙂 BBA จุฬาฯ หลักสูตร : Bachelor of Business Administration หรือ BBA เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีหลักสูตรแรกที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดอยู่ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (Faculty of Commerce and[…]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ ทางเลือกเด็กยุคใหม่ จาก 9 มหาวิทยาลัยรัฐ

การเรียนการสอนหลักสูตรอินเตอร์ในระดับชั้นมหาวิทยาลัย เป็นทางเลือกยอดนิยมของน้องๆ รุ่นใหม่ ในช่วงที่ผ่านมามหาวิทยาลัยของภาครัฐจึงได้เปิดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรอินเตอร์อย่างแพร่หลาย เราได้คัด 9 มหาวิทยาลัยภาครัฐยอดนิยมของน้องๆ ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยเปิดสอนในหลักสูตรอะไรบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับน้องที่กำลังวางแผนเข้ามหาวิทยาลัยในภาคอินเตอร์ 1.หลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯEBA เศรษฐศาสตร์BSAC เคมีประยุกต์BBTech BiotechnologyINDA การออกแบบสถาปัตยกรรมCommDe การออกแบบนิเทศศิลป์COMMARTS การจัดการการสื่อสารBAScii นวัตกรรมบูรณาการBALAC ภาษาและวัฒนธรรมPGS การเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษาJIPP วิทยาศาสตร์จิตวิทยาBBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชี BBA การบัญชี BBA การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ISE (International school of Engineering) AERO วิศวกรรมอากาศยาน ICE วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร RAIE วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ADME วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์ NANO วิศวกรรมนาโน   2.หลักสูตรอินเตอร์ ธรรมศาสตร์BBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชีBEC ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารBAS หลักสูตรอังกฤษและอเมริกันศึกษาBE เศรษฐศาสตร์BIR การเมืองและการระหว่างประเทศBJM วารสารศาสตร์BSI นวัตกรรมการบริการDBTM การจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยีISC วิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการSIIT[…]

อัพเดต 12 คำถาม ที่ถูกถามบ่อย เตรียมสอบ SAT ปี 2021 ต้องรู้!

การสอบ SAT คือการสอบวัดผลวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษสำหรับนำผลคะแนนไปใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในคณะอินเตอร์ หรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ รวมไปถึงการสอบ SAT Subject Test ในวิชาเฉพาะ สำหรับคณะที่ต้องการผลสอบในวิชาเฉพาะทาง เช่น Physics, Chemistry หรือ Biology ในการสอบ SAT จะสามารถเก็บคะแนนไว้ได้ 2 ปี สำหรับน้องๆ ที่ต้องการจะสอบในปี 2021 The Planner Education ได้รวบรวมคำถามที่ถูกถามบ่อยจากนักเรียน รวมไปถึงผู้ปกครอง มาอัพเดตก่อนเข้าสู่สนามสอบจริง มีอะไรที่ต้องรู้ก่อนสอบ มาเช็คกัน! Q: SAT สอบได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่A: การสอบ SAT ไม่จำกัดอายุผู้สอบ แต่ส่วนมากน้องๆ จะเริ่มสอบในช่วงมัธยมปลาย เนื่องจากคะแนนสอบ SAT จะมีอายุ 2 ปี Q: มีการสอบกี่ครั้งใน 1 ปี /รอบสอบปี 2021 มีวันไหนบ้าง?A: มีการสอบประมาณ 4-5 ครั้ง /ปี[…]

รวมข้อควรรู้ของ SAT Subject Test อยากติดอินเตอร์ต้องอ่าน!

SAT Subject Test คืออะไร? นอกจากการสอบ SAT สำหรับวัดความสามารถเพื่อยื่นเข้ามหาวิทยาลัยตามหลักสูตรสากลแล้ว น้องๆ น่าจะเคยได้ยิน SAT Subject Test หรือ SAT II  ซึ่งถ้าให้อธิบายง่ายๆ ก็คือการวัดความสามารถ “แบบเฉพาะ” ในวิชานั้นๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับคณะที่น้องๆ จะยื่นเข้าเรียนซึ่งคณะอินเตอร์มักจะมี Requirement ให้ยื่นทั้ง SAT และ SAT Subject Test ในกรณีที่ต้องการคะแนนวัดผลเฉพาะ  โดยเจ้า SAT Subject Test จะมีวิชาที่แยกย่อยไปอีกเยอะมากๆ และวิชา SAT Subject Test ที่มหาวิทยาลัยในไทยนิยมใช้ ได้แก่ Mathematics (Level 1,2) ,Physics, Chemistry, Biology เพื่อใช้ยื่นเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ เป็นต้น SAT Subject Test มีวิชาอะไรบ้าง? มี[…]

รู้ก่อนสอบ SAT 2021 เตรียมตัวฟิต พิชิตคณะอินเตอร์

การสอบ SAT รอบปี 2020 กำลังจะผ่านไป สำหรับน้องๆ ที่กำลังเตรียมความพร้อมสอบ SAT ปีหน้า วันนี้ The Planner Education มาชวนอุ่นเครื่องทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับข้อสอบ SAT พร้อมอัพเดตตารางการสอบ SAT ของปีหน้า เพื่อพิชิตเป้าหมายการสอบเข้าคณะอินเตอร์ของน้องๆ กันค่ะ ?? SAT Exam Pattern – โครงสร้างข้อสอบ ข้อสอบ SAT ได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตราฐานสากลที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดความถนัดของน้องๆ ในวิชาภาษาอังกฤษ Reading & Writing และวิชาเลข Mathematics จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในประเทศไทย อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหิดล ธรรมศาสตร์ฯลฯ ได้มีการใช้เกณฑ์คะแนนดังกล่าววัดผลการเข้าศึกษาในหลักสูตรอินเตอร์ โดยโครงสร้างของข้อสอบ SAT แบ่งออกเป็น 2 วิชาตามที่กล่าวไปเบื้องต้น จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 พาร์ทคือ Evidence-Based Reading & Writing – ซึ่งถูกแยกออกเป็นพาร์ท[…]

SAT Passage-based Reading and Writing : Future Simple VS Future Perfect

            สวัสดีครับ วันนี้เรามาดูภาษาอังกฤษในบทเรียน SAT Passage-based Reading and Writing กันนะครับ หากเราต้องการที่จะบรรยายเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นหรือเล่าเหตุการณ์ในอนาคต เราสามารถใช้โครงสร้างประเภท Future Tense มาช่วยประกอบการบรรยายได้ แต่ทราบกันไหมครับว่าอันที่จริงอนาคตในภาษาอังกฤษมีวิธีเล่าทั้งหมดถึง 4 แบบด้วยกัน แต่วันนี้พี่จะมาสอนวิธีการใช้รวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างของ Future Simple กับ Future Perfect ให้น้องฟัง เพราะข้อสอบและบทเรียน SAT พาร์ท English ชอบทดสอบว่าน้องสามารถแยกแยะและใช้งาน Tense คู่นี้ได้หรือเปล่า             ปกติแล้วเรามักจะใช้ Future Tense ในการบรรยายเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียงแต่ผู้พูดวางแผนหรือคาดการณ์ว่าเหตุการณ์น่าจะเกิดขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญของ Tense นี้คือคำว่า “will” (จะ) และอย่าลืมนะหลัง will ต้องตามด้วย Infinitive Verb เสมอ ( Verb ไม่ผันและห้ามเติม -s/-es/-ed หรือ -ing ต่อท้ายเด็ดขาด!)[…]

SAT Chemistry : Energy change

วันนี้มาเรียน SAT Chemistry กับเรื่อง Energy Change กันครับ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีเสมอ เกิดจากมุมมองอันประกอบไปด้วย ระบบ (System) คือ สิ่งที่เราให้ความสนใจ และ สิ่งแวดล้อม (Surroundings) คือ สิ่งที่อยู่นอกเหนือขอบเขตที่เราสนใจ ตัวอย่าง ในบทเรียน SAT Chemistry จะมีเรื่องการละลายของน้ำแข็ง (ระบบ คือ น้ำแข็ง และ สิ่งแวดล้อม คือ อากาศภายนอกหรือสิ่งอื่นที่ไม่ใช่น้ำแข็ง) ในวิชา SAT Chemistry เคมี ความรู้แขนงนี้ถูกต่อยอด ด้วยการนำหลักการทางความร้อนมาใช้พบว่า การเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยส่วนมากแล้ว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพลังงานตามมาเสมอ   เมื่อติว SAT Chemistry เราจะต้องเรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่ การคายพลังงาน (ภาพด้านซ้ายมือ) เกิดขึ้นเมื่อระบบปล่อยพลังงานออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้พลังงานภายในระบบลดลง ส่งผลให้พลังงานของระบบ ณ จุดสุดท้าย[…]

SAT Math : Conversion factor

ในการเรียน SAT Math เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ปัญหาที่ทำให้เด็กตอบคำถามผิด มาจากคำนวณหน่วยผิดซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่เด็กทุกคนเรียนกันมาตั้งแต่สมัยประถม เนื้อหานี้เป็นหนึ่งในเนื้อหาที่สำคัญมากที่สุด เพราะอยู่ในข้อสอบทุกประเภท โดยเฉพาะใน SAT Mathematics นอกจากนี้ยังออกในข้อสอบ SAT Chemistry และ SAT Physics อีกด้วย จะเห็นได้ว่าเนื้อหาบทนี้สำคัญมากเพียงใด ตัวอย่าง  มีลูกอม 20 เม็ด แบ่งให้เพื่อนไป 1 โหล จะเหลือลูกอมกี่เม็ด สังเกตว่าเราไม่สามารถคำนวณ “20 เม็ด – 1 โหล” ได้ เพราะการบวกลบหน่วยต้องตรงกันเสมอ การบวกลบ หน่วยต้องเหมือนกัน                                 เช่น 2 เมตร + 5 เมตร = 7 เมตร หรือ 12 นาที – 4 นาที =[…]

SAT English – Confusing Words

            ติว SAT กัน วันละตอน วันนี้จะมาดูคำที่ต้องรู้ความแตกต่าง ในชีวิตนี้ทุกคนน่าจะเคยประสบปัญหาเวลาเจอคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีลักษณะคล้ายกัน (อย่างการออกเสียงคล้ายกันหรือการสะกดคำคล้ายกัน) มักจะทำให้เราสับสนและเผลอใช้คำศัพท์เหล่านั้นผิดบริบท เช่น two VS to VS to, than VS then และ advice VS advise             จะเห็นได้ชัดเลยว่าคำกลุ่มนี้มักสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้เสมอ พี่เจอบ่อยๆจากน้องๆที่เรียน SAT กัน คำกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า Confusing Words (ลักษณะคล้ายแต่มีความหมายและการใช้งานแตกต่าง) ข้อสอบ SAT เองก็มักจะทดสอบว่าพวกเรารู้คำศัพท์ รู้ความแตกต่างและการใช้งานคำศัพท์แต่ละคำมากเพียงพอที่จะไม่สับสนเวลาทำข้อสอบหรือเปล่า             วันนี้พี่ก็เลยจะมานำเสนอคำศัพท์ที่มีลักษณะคล้ายกันมากจนสร้างความสับสนให้กับน้องๆที่ติว SAT และผู้ใช้ภาษา เรื่องนี้มักจะออกข้อสอบ SAT กันครับ เราลองมาดูกันทีละคู่เลยดีกว่า Affect VS Effect             คำคู่แรกนี้เป็นคำคู่ที่ง่ายที่สุด แต่ก็ยังมีเด็กหลายคนที่ใช้งานผิดนะครับ สองคำนี้มีความหมายคล้ายกัน แปลว่า “(มี)ผลกระทบ” แตกต่างกันคือ affect =[…]

SAT : Answer Choice

                เวลาที่น้อง ๆ ทำโจทย์หรือติว SAT Reading หลายคนน่าจะเคยลังเล เลือกคำตอบที่ถูกต้องไม่ได้ถึงแม้ว่าจะอ่านบทความเสร็จแล้วก็ตาม หรือแม้ว่าจะพยามยามตัดchoice แล้วสุดท้ายก็จะเหลือตัวเลือกไว้สองข้ออยู่ดี ซึ่งเราก็ต้องเสี่ยงดวง 50% ว่าเราจะตอบถูกไหม ดังนั้นวันนี้พี่ก็เลยจะมาแนะนำหลักการตัด choice ที่พี่ชอบใช้เวลาทำโจทย์ เพื่อเพิ่มโอกาสการทำโจทย์ SAT ให้ถูกต้องกับทุกคนนะครับ                 เราลองมาดูกันนะครับว่าลักษณะคำตอบที่ผิดและมักจะเป็นตัวหลอก (Distractor) ใน Reading ภาษาอังกฤษมีอะไรกันบ้าง ในการติว SAT เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ Off-topic คือ choice ที่นอกเรื่องไปเลย อยู่ดี ๆ โจทย์ก็หยิบประเด็นหรือคำอะไรไม่รู้มาเติมทำให้ประโยคหลุดประเด็นไป เช่น ในบทความพูดถึงการทำอาหาร แต่ใน choice พูดเรื่องการทำอาหาร Too broad/narrow ลักษณะ choice นี้จะผิดเพราะกว้างเกินไป หรือแคบเกินไป เช่น ในบทความพูดถึงนักชีวะวิทยา (Biologist) แต่ใน choice ใช้คำว่า Scientists ซึ่งหมายถึงนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ก็จะทำให้[…]