GED RLA : FANBOYS Sentence 1, FANBOYS Sentence 2

เครื่องหมายที่นิยมออกข้อสอบตัวแรก และเป็นตัวที่เด็กชอบสับสนเมื่อติว GED RLA คือ comma หรือ “,” โดยวันนี้เราจะมาดูหลักการพื้นฐานครึ่งแรกในการใช้ comma ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งในส่วนของไวยากรณ์และการเขียน กันดีกว่าครับ

เมื่อเราเรียน GED RLA กฎการใช้ comma ข้อที่ 1 คือ เราจะใช้เครื่องหมายนี้ข้างหน้าคำชื่อกลุ่ม FANBOYS ในกรณีที่คำเชื่อมกลุ่มนี้เชื่อมประโยคกับประโยคเข้าด้วยกัน

Sentence 1 , For And Nor But Or Yet So Sentence 2

พี่เชื่อว่าคำเชื่อมส่วนใหญ่น้อง ๆ น่าจะคุ้นเคยเพราะเจอได้บ่อยในชีวิตประจำวัน แต่จะมีสามคำที่เด็กส่วนใหญ่มักจะเข้าใจความหมายมันผิดและทำข้อสอบ GED RLA ผิด นั่นก็คือ For , Nor และก็ Yet โดยเราจะมาดูการใช้งานหลัก ๆ ของสามตัวนี้ทีละตัวกันครับ

For ในบริบทที่เป็นคำเชื่อมนี้แปลว่า “เพราะว่า” ใช้นำหน้าประโยคที่บอกสาเหตุ

“The sale has increased, for we have launched new campaigns.”

ยอดขายเพิ่มขึ้นเพราะบริษัทเราเพิ่งจะปล่อยแคมเปญใหม่

Nor หากน้อง ๆ เจอคำนี้ปรากฏอยู่ตัวเดียว จะแปลว่า “and not” ครับ

“She does not eat pork, nor does she eat beef.”

สังเกตนะครับในประโยคนี้ ประโยคข้างหลังคำเชื่อม nor ดูแปลกตาไป เพราะ มีการสลับ เอา Verb ช่วย does ขึ้นมาไว้หน้าประโยค ซึ่งการกระทำนี้เราเรียกว่า Inversion หรือ การกลับ/สลับ ประธาน ไปอยู่หลัง  กริยา

ประโยคดั้งเดิมก่อนที่จะถูกสลับประธาน คือ nor she does eat beef แต่เนื่องจากคำว่า nor มักใช้กับโครงสร้างประเภท Inversion เราจึงสลับเอากริยา does  ขึ้นมาไว้ข้างหน้าประธาน ประโยคนี้จะแปลว่า “เธอไม่กินเนื้อหมูและไม่กินเนื้อวัว”

น้อง ๆ สงสัยไหมครับ ทำไมประโยคหลังถึงยังแปลว่า “ไม่” ทั้งที่ไม่มีคำว่า “not”  ปรากฏ นั่นก็เพราะว่า  “nor = and not” ตัวมันเองมีความเป็นปฏิเสธอยู่แล้วประโยคที่ตามมาเลยไม่ต้องเติม “not” อีก

สุดท้ายในส่วนของ Yet ในบริบทนี้แปลว่า “แต่” ครับ มาถึงตรงนี้น้องบางคนอาจสงสัยความต่างระหว่าง Yet กับ But ซึ่งวิธีการจำง่าย ๆ คือ Yet เป็นคำที่สุภาพกว่า But ครับ นี่ก็เลยเป็นเหตุผลที่เรามักไม่ค่อยได้ยินคนใช้ Yet ในภาษาพูดไงครับ

“Other dancers try to imitate her style, yet they have failed.”

นักเต้นคนอื่นพยายามที่จะเลียนแบบท่าทางของเธอแต่พวกเขาก็ล้มเหลว

ในส่วนตัวอื่น ๆ ก็แปลตามที่น้องคุ้นเคยเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น และ = and , หรือ = or, ดังนั้น = so

เช่น

The schedule cannot be changed, so please make your decision carefully.

ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตารางนัดหมายได้ ดังนั้น กรุณาตัดสินใจอย่างระมัดระวัง

อ๊ะ ๆ แต่ระวังนะครับ กรณีที่เราจะใส่ comma ไว้หน้าคำเชื่อมพวกนี้ก็ต่อเมื่อมันเชื่อมประโยคกับประโยคอยู่เท่านั้นนะครับ อย่างเช่นในกรณีของประโยคข้างล่างพวกนี้ หากพวกมันเชื่อมแค่ ประธานกับประธาน, กริยากับกริยา หรือ ส่วนขยายกับส่วนขยาย เราไม่เติมคอมมาข้างหน้ามันนะครับ

“Planning and list-making are two key organizational techniques.” (เชื่อมประธานกับประธาน)

“Making a list reduces disorganization and helps you control everything at the party easier.” (เชื่อมคำกริยา reduces กับ คำกริยา helps)

เมื่อเรากำลังเรียน GED RLA หรือ ติวเพื่อเตรียมสอบ GED RLA อีกกฎการใช้ comma แบบที่ 2 ในกรณีที่คำเชื่อมเชื่อมคำประเภทเดียวกัน มากกว่า 2 ตัว เราจะถือว่ามันเป็น series หรือ ชุดคำ นะครับ โดยเราจะต้องนำ comma ไปใส่คั้น ระหว่าง item ใน series เอาไว้ เพื่อป้องกันความสับสนในการอ่าน โดย comma ตัวสุดท้ายก่อนหน้าคำเชื่อมเราจะเติมหรือไม่เติมก็ได้นะครับ (optional)  เช่น Noun1, Noun2, Noun3 ,and Noun4   หรือ Verb 1, Verb 2 , and Verb 3

Cinderella, Aurora, Ariel, Belle, and Jasmine are Disney princesses’ names.” (เชื่อมคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานทั้งหมด 5 ตัว)

“They have taken a class, studied together, and prepared well.” (เชื่อมคำกริยา 3ตัว)

เนื่องจากหนังสือไวยากรณ์บางเล่มบอกไม่จำเป็นต้องเติม บางเล่มบังคับให้เติม พี่เลยแนะนำว่าเติมไปก่อนก็ได้ครับไม่มีปัญหาใส่เกินดีกว่าใส่ขาด แต่อย่าลืมใส่ comma คั้น item ใน series ด้านหน้าด้วยล่ะครับอย่ามัวแต่โฟกัสแค่บริเวณคำเชื่อม

เอาล่ะครับวันนี้ประมาณนี้ก่อนนะครับไว้ครั้งหน้าเราจะมาดูวิธีการใช้เครื่องหมายคอมมากันต่อ และจะติว GED RLA ในหัวข้อที่สำคัญๆและออกสอบประจำกันนะครับ ช่วงนี้ก็ทบทวนในส่วนนี้ให้แม่น ฝึกทำโจทย์อื่น ๆ เพิ่ม แล้วกลับมาพบกันครั้งหน้านะครับ เกือบลืมช่วงนี้อากาศก็เริ่มเปลี่ยน ดูแลตัวเองกันให้ดีจะได้พร้อมสอบ GED นะครับ

ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 02-253-2533 หรือ 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply