GED
อยากเป็นศิลปิน ควรเรียน GED หรือ IGCSE/A-Level
ในปัจจุบันสังคมเปิดกว้างให้กับความหลากหลายมากยิ่งขึ้น การเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่การศึกษาในรูปแบบวิชาการแบบสายสังคมศาสตร์หรือสายวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีหลายคณะและหลายมหาวิทยาลัย เปิดกว้างให้พื้นที่ของความฝันน้องๆ ได้เรียนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเป็นศิลปิน ตลอดจนฝึกฝนให้เป็นศิลปินอาชีพ ดังนั้นสำหรับคนที่กำลังสนใจอยากเป็นศิลปิน อาจมีข้อสงสัยกันว่าควรเลือกเรียนและสอบ GED หรือ IGCSE/A-Level ดี วันนี้ The Planner Education มีคำตอบ อาชีพศิลปินเป็นคำกว้างๆ ที่มีอาชีพหลากหลายแตกแขนงไปอีกมากมาย ยกตัวอย่างอาชีพที่เป็นที่นิยมเช่น นักร้อง นักดนตรี นักแสดง จิตกร ประติมากร ฯลฯ ซึ่งอาชีพที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแล้วแต่ใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน รวมไปถึงทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมาก อย่างการสื่อสาร เพราะตัวศิลปินคือผู้สร้างงานศิลปะที่ต้องสื่อสารเรื่องราวให้ผู้ชมเข้าใจ ดังนั้นการตัดสินใจว่าจะเรียน GED หรือ IGCSE/A-Level จึงต้องขึ้นอยู่กับว่าหลักสูตรไหนให้ทักษะทางด้านนี้ได้ดีกว่ากัน ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการเรียนการสอบ GED เป็นหลักสูตรที่ต้องเรียนและสอบ 4 วิชาดังนี้ Reasoning through Language Arts (RLA), Social Studies (สังคม), Science (วิทยาศาสตร์) และ Mathematical Reasoning (คณิตศาสตร์)[…]
เรียน Homeschool ควรสอบเทียบ GED ไหม? The Planner มีคำตอบ!
หลายๆ คนที่สนใจการสอบเทียบน่าจะเคยได้ยินชื่อการติว GED, การสอบเทียบ GED หรือคอร์สเรียน GED กันมาบ้าง ซึ่งชื่อเต็มๆ ของหลักสูตรนี้ก็คือ…. เช่นเดียวกับคนที่สนใจการเรียน หรือกำลังเรียนแบบ Homeschool ซึ่งมักจะมีคำถามว่าเมื่อเรียน Homeschool แล้ว ควรติว GED และสอบเทียบ GED ด้วยหรือไม่ วันนี้ The Planner จะมาอธิบายให้เข้าใจกัน การเรียน Homeschool มีให้เริ่มเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ไปจนถึงชั้นมัธยมปลาย โดยจะมีรูปแบบการเรียน Homeschool อยู่ 4 แบบด้วยกัน คือ 1. จดทะเบียนกับเขตพื้นที่การศึกษา 2. จัดการศึกษาแบบ Umbrella School 3. ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรต่างประเทศ 4. เรียนกับสถาบันการศึกษาทางไกล โดยในแต่ละแบบก็จะมีข้อดีที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ที่เรียนแบบ Homeschool จนถึงชั้นมัธยมต้นแล้ว และกำลังคิดจะต่อชั้นมัธยมปลาย และการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะหลักสูตรนานาชาติ หรือการเรียนต่อต่างประเทศ การเรียนแบบ Homeschool[…]
4 Reasons Why English Remains The Global Language Instead of Others.
English is now practically used in every part of our lives. It therefore permeates every aspect of our everyday life, including communication, employment, television drama, signs and others. One point of view is why the English language is still in use and is used more frequently and with greater significance than other languages. We are[…]
เจาะลึก 7 Tips พิชิตข้อสอบ GED RLA
GED RLA หรือ Reasoning Through Language Arts หนึ่งใน 4 วิชาสอบเทียบวุฒิระดับมัธยมปลายของหลักสูตรจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิชาที่หลายคนกังวลว่าจะทำออกมาได้ดีหรือเปล่า วันนี้ The Planner จึงจะมาเจาะลึกแนะนำ 7 เทคนิคที่จะช่วยให้สามารถทำข้อสอบในวิชานี้ได้ดียิ่งขึ้น จะมีวิธีอะไรบ้าง มาดูกัน อ่านให้จบย่อหน้าเพื่อเข้าใจศัพท์ที่ไม่รู้ความหาย ในหลายๆ ครั้งที่เราอ่านบทความในข้อสอบแล้วเจอศัพท์ยากหรือศัพท์ที่เราไม่รู้ความหมาย แล้วเรามักจะหยุดคิดหรือพยายามกลับไปอ่านต้นประโยคหรือต้นย่อหน้าใหม่ ตรงนี้อาจทำให้เสียเวลาและไม่รู้ความหมายของศัพท์ ซึ่งในหลายๆ ครั้ง ศัพท์ที่ยากมักจะมีคำอธิบายในประโยคถัดไป, ภายในย่อหน้านั้นเพิ่ม หรือสามารถเดาความหมายจากบริบทของเรื่องราวได้จากย่อหน้านั้น ดังนั้น ควรอ่านให้จบประโยคหรือย่อหน้านั้นก่อนที่จะเสียเวลามาหาความหมายของศัพท์ยากๆ ที่เราไม่เข้าใจ ผสมความรู้ของเราเข้ากับเนื้อหาที่กำลังอ่าน หากบทความในข้อสอบเป็นบทความที่ให้ความรู้ เช่น เรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือข่าวอื่นๆ ที่เราพอจะมีความรู้อยู่บ้าง ให้นำความรู้เหล่านั้นมาผนวกด้วย อาจจะทำให้เห็นมุมกว้างและภาพรวมของเรื่องได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะง่ายต่อการเชื่อมโยง และทำข้อสอบ ดำดิ่งไปกับเรื่องราวเพื่อวิเคราะห์ให้ดียิ่งขึ้น การบรรยายรายละเอียดของเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร สิ่งของ สถานที่ หรือแม้กระทั่งความรู้สึก คือหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราว และจะดียิ่งขึ้นถ้าเราสามารถจินตนาการให้เห็นภาพสิ่งที่ผู้เขียนกำลังจะนำเสนอ ส่วนนี้จะทำให้สามารถวิเคราะห์เนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ตั้งคำถามนอกเหนือจากคำถามในข้อสอบ ในส่วนนี้จะเป็นการฝึกให้เราคิดและวิเคราะห์เพื่อตั้งคำถามสำหรับใช้ในการเขียนเรียงความแบบArgumentative เพราะช่วยให้มีจุดยืนต่อเรื่องนั้นๆ[…]
Pre-GED เรียนเกี่ยวกับอะไร ควรเรียน Pre-GED ก่อน หรือเรียน GED เลย บทความนี้มีคำตอบ
General Educational Development หรือที่เราคุ้นชื่อย่อกันว่า GED ซึ่งก็คือการสอบเทียบวุฒิการศึกษาระดับ High School Diploma ของระบบการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าเทียบกับในประเทศไทยเราก็คือ การสอบเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้สอบจะต้องมีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้น และไม่จำเป็นต้องอยู่ในระบบการศึกษามาก่อน หากมีความรู้ความสามารถพร้อม สามารถสมัครสอบ ซึ่งคุณสมบัติของผู้สอบก็คือ จะต้องมีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป จึงจะสามารถสมัครสอบได้ โดยไม่จำกัดว่าผู้สอบจะต้องอยู่ในระบบการศึกษามาก่อน ดังนั้นผู้ที่สนใจสอบ GED จึงมีคำถามที่สำคัญเลยคือตัวเองมีความรู้มากแค่ไหน ควรเข้าติวคอร์ส GED เลยหรือไม่ หรือต้องมีการปรับพื้นฐานเตรียมความพร้อมก่อนในคอร์ส Pre-GED วันนี้ The Planner Education จะมาไขข้อสงสัยกันว่าควรเลือกเรียนคอร์สไหนกันแน่ ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าในการสอบ GED จะต้องสอบ 4 วิชา โดยมีความรู้ในแต่ละวิชาดังนี้ Reasoning through Language Arts (RLA); Reading & Writing วิชาภาษาอังกฤษประกอบไปด้วยข้อสอบแบบ ที่จำเป็นต้องมีทักษะการอ่านจับใจความ ความรู้ด้านไวยากรณ์พื้นฐาน[…]
Let’s talk about BALAC CU ARTS
เชื่อว่าหากกล่าวถึงคณะในฝันของเด็กศิลป์ภาษาหรือเด็กที่อยากเรียนต่อสายภาษา แน่นอนว่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น1ในคณะนั้นอย่างแน่นอน แล้วรู้กันไหมคะว่าเด็กอักษรต้องเผชิญกับการเรียนอะไรบ้าง จบมาประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง และBALACของคณะนี้ มันคือสาขาอะไร อักษรศาสตร์ไม่ได้เรียนเพียงแค่ภาษาเท่านั้น การที่เราจะเข้าใจมนุษย์ได้ ไม่ได้มีแค่ทักษะภาษาเพียงอย่างเดียว ยังต้องอาศัยทักษะอื่นประกอบ ทั้งสังคม การเมือง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวรรณกรรม ของตัวประเทศนั้น ๆ ด้วย เราต้องทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อเสริมให้ทักษะทางด้านภาษาของเรามีความลึกซึ้งและเข้าใจการแปลตามบริบทต่าง ๆ ได้อย่างถ่องแท้ การเรียนคณะอักษรศาสตร์จึงเป็นการเรียนเพื่อให้เราเข้าใจมนุษย์ผ่านบริบทต่าง ๆ ทั้งในสาขาหลักที่เราเลือกเรียนเป็นเอก-โท และบริบทอื่นประกอบอีกที หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาว่าจบคณะอักษรศาสตร์สามารถประกอบอาชีพได้ทุกอาชีพที่ไม่ต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพ คำกล่าวข้างต้นนั้นเป็นเรื่องจริง การเรียนจบคณะนี้ไม่มีอาชีพแน่นอนตายตัว เพราะทักษะที่เราได้มาจากการเรียนคณะนี้เป็นทักษะหนึ่งที่ใช้ในการต่อยอดในอนาคต จบมาเราจึงสามารถทำงานได้แทบทุกอาชีพ อาชีพส่วนใหญ่ที่เด็กอักษรทำ เช่น ล่าม นักแปล นักเขียน นักพากย์ นักข่าว นักการทูต แอร์โฮสเตส ฯลฯ BALAC (Bachelor of Arts in Language and Culture) คือ คณะอักษรศาสตร์ สาขาภาษาและวัฒนธรรม[…]
รัฐศาสตร์ไม่ใช่แค่เรื่องการเมือง – IR INTER
คณะรัฐศาสตร์ไม่ได้เรียนแค่เรื่องการเมืองเท่านั้น หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำถามจากผู้ใหญ่ว่าเรียนรัฐศาสตร์จบไปจะเป็นนักการเมืองหรือไง วันนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับคณะรัฐศาสตร์ว่าจบมาทำได้แค่อาชีพสายการเมืองจริงไหม แล้วคณะนี้เรียนอะไรบ้าง น้อง ๆ จะได้มีคำตอบไปตอบผู้ใหญ่หลาย ๆ คนได้ว่า จบรัฐศาสตร์เป็นอะไรได้อีกเยอะ คณะรัฐศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการบริการของรัฐที่นำความรู้หลายแขนงมาผนวกไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสังคม การเมือง การปกครอง ตลอดจนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นลักษณะการเรียนรู้แบบสหวิทยาการ เราต้องอาศัยทักษะเหล่านี้ในการวิเคราะห์สภาวะต่าง ๆ และบริหารสังคมเมือง แขนงวิชาในคณะรัฐศาสตร์หลัก ๆ มีสาขาการเมืองการปกครอง สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขางานยุติธรรมและความปลอดภัย น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า สิงห์ดำ สิงห์แดง ฯลฯ แล้วรู้กันไหมคะว่า “สิงห์” เป็นสัญลักษณ์ ประจำคณะรัฐศาสตร์ สิงห์ถือว่าเป็น “ราชาแห่งสัตว์ป่า” สัญลักษณ์นี้จึงสื่อถึงพลังอำนาจเปรียบได้กับกับผู้มีอำนาจ นักปกครองในเชิงรัฐศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีชื่อเรียก “สิงห์” ที่แตกต่างกันไปส่วนใหญ่จะใช้คำว่าสีมารวมกับคำว่าสิงห์ เช่น สิงห์ดำของจุฬาลงกรณ์ สิงห์แดงของธรรมศาสตร์ สิงห์เขียวของเกษตรศาสตร์ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าศาสตร์ต่าง ๆ ที่คณะรัฐศาสตร์เปิดสอน ไม่ได้มีเพียงเรื่องการเมืองเท่านั้น จบรัฐศาสตร์จึงสามารถประกอบอาชีพอื่นได้อีกไม่ใช่แค่นักการเมือง เหล่าสิงห์ต่าง[…]
KMITL สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หลักสูตรนานาชาติ มีคณะอะไรบ้าง อ่านเลย!
วันนี้มาแชร์ข้อมูลเด็ด! สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang) ที่นี่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากจะมีสาขาแตกแขนงจนเรียกได้ว่าครอบคลุมความถนัดและความสนใจของน้องๆ แถมยังมีการอัปเดตหลักสูตรให้เท่าทันโลกและสังคมที่เปลี่ยนไปอีกด้วย หากน้องๆ เรียนในหลักสูตรนานาชาติจะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้และช่องทางอาชีพได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าที่ KMITL มีคณะและสาขาในหลักสูตรนานาชาติอะไรกันบ้าง หลักสูตรนานาชาติของ ม.ลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟท์แวร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรรมพลังงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการเงิน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาการจัดการวิศวกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีวิศวกรรมและอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยาประยุกต์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ คณะอุตสาหกรรมอาหาร สาขาวิทยาศาสตร์การประกอบอาหารและการจัดการการบริการอาหาร วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง หลักสูตรควบสองปริญญา Smart Materials[…]
KU มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ มีคณะอะไรบ้าง อ่านเลย!
รู้กันไหมว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetseart University) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรการเกษตร หลายคนอาจจะคิดว่าที่นี่ต้องเน้นแต่เรื่องของเกษตรกรรมแน่ๆ ขอบอกว่าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีคณะให้เลือกเรียนมากมาย รวมถึงหลักสูตรนานาชาติ หรือหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษนั่นเอง DEK66 ที่กำลังมองหาคณะอินเตอร์เพื่อสอบเข้าเรียนต่อในอนาคต มาดูกันเลยว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีคณะและสาขาในหลักสูตรนานาชาติอะไรบ้าง หลักสูตรนานาชาติของ ม.เกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว คณะเศรษฐศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การประกอบการ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีบูรณาการ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ และสาขาบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาการผลิตดิจิทัลและการบูรณาการหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ คณะวิทยาศาสตร์ สาขานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร ผลสอบที่สำคัญในการใช้ยื่นสมัครสอบ ได้แก่ GED, A-Level, IB, TOEFL, IELTS, SAT[…]
GED 165 Up สมัครแพทย์อินเตอร์ ม.ลาดกระบัง KMITL ได้!
คณะแพทยศาสตร์ในหลายมหาวิทยาลัยจะไม่เปิดรับผู้สมัครที่ใช้การเทียบวุฒิ GED (General Educational Development) แต่ก็ไม่ใช่ทุกมหาวิทยาลัยที่จะปฏิเสธ เพราะยังมีคณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (Faculty of Medicine: KMITL) ที่อ้าแขนเปิดรับน้องๆ อยู่ เกณฑ์คะแนนผลสอบ GED ที่สามารถยื่นได้▪ GED ทั้ง 4 วิชา จะต้องมีคะแนนขั้นต่ำวิชาละ 165 คะแนน ซึ่งผลคะแนน GED นี้ สามารถเลือกใช้ยื่นสมัครแทนบรรดาผลสอบอื่นๆ ได้เลย และตัวเลือกในการยื่นผลสอบอื่นๆ ก็คือ▪ SAT คะแนนรวมขั้นต่ำ 1200▪ BMAT Section 1 และ 2 ขั้นต่ำ 4 / Section 3 ขั้นต่ำ 2.5C▪ A-Level Biology, Chemistry, Physics และ Mathematics รายวิชาละ A[…]
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรนานาชาติ มีคณะอะไรบ้าง อ่านเลย!
มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ (มศว.) มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคม หรือภาษาอังกฤษก็คือ Learning University fro Society ที่นี่มีคณะให้เลือกมากมาย รวมไปถึงน้องๆ ที่กำลังมองหาคณะอินเตอร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ มศว. ก็มีหลักสูตรนานาชาติที่รองรับความต้องการและความถนัดของน้องๆ อยู่หลากหลายคณะ เพราะฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าที่ มศว. มีคณะอินเตอร์อะไรบ้างที่น้องๆ สามารถเลือกเรียนได้ รายชื่อคณะอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรนานาชาติ (International Programs) ศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาเพื่อการสื่อสารเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในการสมัคร GPAX 2.75 ขึ้นไป IGCSE เกรด C ขึ้นไป IELTS Overall 5.0 ขึ้นไป หรือ TOEFL PBT 500 ขึ้นไป หรือ TOEFL CBT 173 ขึ้นไป หรือ TOEFL iBT 61 ขึ้นไป หรือ CU-TEP 60 ขึ้นไป[…]
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลักสูตรนานาชาติ มีคณะอะไรบ้าง อ่านเลย!
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าถิ่นดินแดนล้านนา มหาวิทยาลัยที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ ใกล้ภูเขาและร้านคาเฟ่ กาแฟดีมีให้เลือกจนลายตา ใครที่อยากเรียนต่อปริญญาตรีในสภาพแวดล้อมแบบ Slow-life แนะนำที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับรองว่าถูกใจสายอินเตอร์ เพราะเขามีหลักสูตรนานาชาติให้เลือกเรียนหลายสาขาเลยทีเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีคณะอินเตอร์กี่คณะหลักสูตรนานาชาติ (International Programs) มีทั้งหมด 12 คณะ Bachelor of Arts in Humanities and Sustainability (HS)เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในการสมัคร IELTS Overall 5.5 ขึ้นไป (ทุกพาร์ทต้องผ่าน 5.5) หรือ TOEFL PBT 525 ขึ้นไป หรือ TOEFL CBT 196 ขึ้นไป หรือ TOEFL iBT 70 ขึ้นไป หรือ CU-TEP 73 ขึ้นไป หรือ TU-GET PBT 600 ขึ้นไป[…]
International Relations เรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไหนดี จบไปทำงานอะไร มาดู!
เรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไหนดี International Relations (IR), International Affairs (IA) International Studies (IS) แต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะเรียกชื่อสาขาที่หลากหลาย และอาจจะมีความแตกต่างแบบปลีกย่อยในด้านเนื้อหาของบทเรียน แต่ในใจความสำคัญโดยรวมที่เหมือนกันก็คือการศึกษาเกี่ยวกับ “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ไม่ว่าจะแง่กฏหมาย การเมือง ธุรกิจหรือวัฒนธรรมก็ตาม โดยบางมหาวิทยาลัยอาจจะจับสาขานี้ไว้ในคณะที่แตกต่างกัน เช่น รัฐศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือแม้กระทั่งบริหารธุรกิจ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับรายละเอียดเนื้อหาของบทเรียนนั่นเอง เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่ามีมหาวิทยาลัยไหนที่เปิดสอนสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations) กันบ้าง ➤ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษาBachelor of Political Science Program in Politics and Global Studies (PGS)https://pgschula.org/ ➤ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองและการระหว่างประเทศBachelor of Political Science Program in Politics and[…]
Medical School เปิดไอเดียมหา’ลัยสำหรับคนอยากเรียนแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ
คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ คณะแพทยศาสตร์เป็นคณะเรียนที่ใครๆ ก็มองว่ายาก แต่ก็ยังคงเป็นคณะที่มีการแข่งขันสูงและทุกคนก็ต่อสู้ฟาดฟันกันเพื่อเข้ามาเรียนคณะแพทยศาสตร์ โดยนอกจากหลักสูตรภาษาไทย ก็ยังมีหลักสูตรภาษาอังกฤษ หรือที่เรียกกันจนชินปากว่า “แพทย์อินเตอร์” ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน หากใครกำลังอยากรู้ว่ามีมหาวิทยาลัยไหนที่เปิดสอนคณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ก็มาดูกันเลย! ➤ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU) คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (CU-Medi) ผลสอบที่สำคัญในการใช้ยื่นสมัครสอบ ได้แก่ วุฒิ ม.6, A-Level, IB, TOEFL, IELTS, MCAT, CV (Curricurum Vitae) เป็นต้นดูข้อมูลอย่างละเอียดได้ที่ https://cu-medi.md.chula.ac.th/ ➤ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ (CICM) ผลสอบที่สำคัญในการใช้ยื่นสมัครสอบ ได้แก่ วุฒิ ม.6, A-Level, IB, TOEFL, IELTS, TU-GET, BMAT เป็นต้นดูข้อมูลอย่างละเอียดได้ที่ http://www.cicm.tu.ac.th/cicmN4/index.php ➤ มหาวิทยาลัยมหิดล (MU)[…]
Architecture เปิดไอเดียมหา’ลัยสำหรับคนอยากเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นคณะที่ว่าด้วยเรื่องของการออกแบบสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งรวมทุกรายละเอียดที่เกี่ยวกับการออกแบบ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบภายในต่างๆ หรือที่เราเรียกทับศัพท์กันบ่อยๆ ว่า Interior Design ก็จะดูแลความสวยงามและการใช้งานภายในอาคารทั้งหมด โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จะไม่ใช่แค่ออกแบบเพื่อความสวยงามและทรงคุณค่าทางศิลปะเท่านั้น แต่จะต้องเน้นตามหลักการใช้งานได้จริง หรือก็คือการวางแผนในแง่ของความปลอดภัยของผู้ใช้งานหรือผู้อยู้อาศัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จึงมีสาขาวิชาที่แยกแตกแขนงกันออกมาอีกหลายสาขา ทั้งในการออกแบบสิ่งใหญ่ๆ ไปจนถึงรายละเอียดเล็กๆ เพราะการทำงานใหญ่ต้องใช้ทีมเวิร์กค่อนข้างสูง จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีคนที่มีความรู้ความสามาถเฉพาะทางมาดูแลแต่ละรายละเอียด ตัวอย่างสาขาวิชาที่มีสอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภูมิสถาปัตย์ (Urban Architecture) สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง (Urban Architecture) สาขาสถาปัตยกรรม (Architectural Design) สาขาสถาปัตยกรรมไทย (Thai Architecture) สาขาสถาปัตยกรรมภายใน (Interior Architecture) สาขาออกแบบอุตสาหกรรมหรือศิลปอุตสาหกรรม (Inductrial Design) ➤ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU) การออกแบบสถาปัตยกรรม (Bachelor of Science in Architectural Design: INDA) ผลสอบที่สำคัญในการใช้ยื่นสมัครสอบ ได้แก่ วุฒิ ม.6, GED,[…]
นิเทศศาสตร์อินเตอร์ เปิดไอเดียมหา’ลัยสำหรับคนอยากเรียนด้านสื่อฯ หลักสูตรนานาชาติ
คณะนิเทศศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะเรียนของวัยรุ่นยุคใหม่ที่กล้าแสดงออกและไม่อายที่จะตั้งคำถาม บอกเลยว่านี่คือคณะที่นอกจากจะสร้างความบันเทิง ยังเปิดโลกทัศน์ให้กับสังคมที่เราอยู่อีกด้วย น้องๆ ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ ชอบวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ทันโลกทันเหตุการณ์ และมีความสามารถด้านการพูด คณะนิเทศศาสตร์อาจจะเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งของน้องๆ ได้เลย! แล้วถ้าผนวกกับการเรียนคณะนิเทศศาสตร์ในหลักสูตรนานาชาติด้วยล่ะก็ รับรองว่าการพัฒนาทักษะของน้องๆ จะยิ่งกว้างและเปิดโอกาสมากมายให้กับน้องๆ แน่นอน เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าโลกของอุตสาหกรรมบันเทิงและสื่อสารมวลชนนั้นเชื่อมต่อกันอย่างไม่มีอะไรกั้น โลกอินเทอร์เน็ตสามารถดึงทุกคนจากทั่วทุกมุมโลกมาหากันได้อย่างง่ายดาย คณะนิเทศศาสตร์ในหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเป็นหลักจึงมีส่วนช่วยให้น้องๆ ไปถึงฝันระดับโลกได้เร็วขึ้น! แต่อย่างที่เรารู้กันว่าคณะนิเทศศาสตร์ในบางมหาวิทยาลัยอาจถูกจัดอยู่ในหลักสูตรของศิลปศาสตร์ เนื่องด้วยวิชาเฉพาะทางนั้นๆ อาจจะใช้ภาษาเป็นหลัก เช่น การเขียนข่าว ซึ่งทักษะการเขียนข่าวจะต้องมีความแข็งแรงในการใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเที่ยงตรง เพื่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วย เพราะฉะนั้นเรามาดูตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะนิเทศศาสตร์ในหลักสูตรนานาชาติกันเลย! ➤ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU) Bachelor of Arts in Communication Management (International Program), Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University (CommArts) ผลสอบที่สำคัญในการใช้ยื่นสมัครสอบ ได้แก่ วุฒิ ม.6, GED, A-Level, IB, TOEFL,[…]
คณะสายศิลป์ภาษา หลักสูตรนานาชาติ มหา’ลัยไหนเปิดสอนบ้าง อ่านเลย!
อักษรศาสตร์ – ศิลปศาสตร์ – มนุษยศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ทีมสายศิลป์ภาษาที่เข้ามาในบทความนี้จะต้องกำลังหาที่เรียนอยู่แน่ๆ และเราก็ไม่ทำให้น้องๆ ต้องผิดหวัง เพราะเราได้รวบรวมตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะเกี่ยวกับการใช้ภาษาต่างประเทศในหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งการเรียนการสอนในทุกวิชาจะเป็นภาษาอังกฤษนั่นเอง การเรียนคณะอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์ เหมาะกับน้องๆ ที่ชื่นชอบการใช้ภาษาต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งการสอนภาษาไทยให้กับคนต่างชาติ ทั้งสองแบบล้วนแล้วต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในรายละเอียดเชิงลึกทางด้านภาษานั้นๆ เสมอ และยิ่งถ้าได้เรียนในหลักสูตรนานาชาติ แน่นอนว่าจะต้องทำให้น้องๆ คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้นหลายเท่าตัว โดยเฉพาะหากน้องๆ จะต้องเดินทางไปฝึกงานหรือเรียนต่อต่างประเทศ ทุกคนจะซึมซับและปรับตัวได้ง่ายขึ้นมากๆ แต่อย่างที่เรารู้กันว่าคณะเกี่ยวกับภาษาจะมีชื่อเรียกหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงรายละเอียดการเรียนการสอนของคณะและมหาวิทยาลัยนั้นๆ ก็ไม่ได้เหมือนกันแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ บางที่อาจจะแตกแขนงสาขาไปในทางการใช้ภาษาเพื่อธุรกิจ หรือการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เพราะฉะนั้นเรามาดูกันคร่าวๆ เผื่อเป็นไอเดียกันดีกว่าว่ามีที่ไหนเปิดสอนคณะของศิลป์ภาษาบ้าง ไปดูกันเลย! ➤ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU) คณะอักษรศาสตร์ สาขาภาษาและวัฒนธรรม หลักสูตรนานาชาติ (Bachelor of Arts in Language and Culture) ผลสอบที่สำคัญในการใช้ยื่นสมัครสอบ ได้แก่ วุฒิ ม.6, GED, A-Level, IB,[…]
BBA Inter เปิดไอเดียมหา’ลัยสำหรับคนอยากเรียนบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ
BBA (Bachelor of Business Administration) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หรือที่หลายมหาวิทยาลัยจะเรียกแตกต่างกันไปอย่างเช่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หรือคณะบริหารธุรกิจ ด้วยคณะนี้เป็นการรวมการเรียนการสอนเกี่ยวกับการบริหารทุกๆ รายละเอียดแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการบริหาร การบัญชี การตลาด รวมไปถึงการเงินด้วย เรียกว่ารู้ลึกทุกภาคส่วนของบริษัท แล้วเชื่อไหมว่า BBA คณะเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจนี้เป็นที่นิยมของน้องๆ นักเรียนที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกๆ ปีเลยด้วย โดยเฉพาะ BBA อินเตอร์ที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง เพราะเป็นอีกคณะหนึ่งที่จำนวนผู้เข้าสอบมากกว่าจำนวนที่รับเข้าเรียนหลายเท่าตัว เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาดูลิสต์ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะ BBA อินเตอร์ กันดีกว่า! ➤ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU)หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี”The Bachelor of Business Administration or BBA International Program เงื่อนไขเกณฑ์อายุผู้สมัคร: ต้องมี 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผลสอบที่สำคัญในการใช้ยื่นสมัครสอบ ได้แก่ วุฒิ ม.6, GED, A-Level, IB, TOEFL,[…]
Engineering วิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ เปิดไอเดียมหา’ลัยสำหรับคนอยากเรียนวิศวะอินเตอร์
ไม่ว่าจะยุคสมัยไหนก็ตาม หนึ่งในคณะที่เป็นที่นิยมตลอดกาลก็ต้องมีคณะวิศวกรรมศาสตร์อยู่ในลิสต์แน่นอน เพราะคณะวิศวกรรมศาสตร์ (B.Eng) มีการแตกแขนงสาขาออกไปอย่างหลากหลาย และยังเป็นสาขาอาชีพที่เป็นที่ต้องการอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญยังมีรายได้ที่ดีอีกด้วย และหากน้องๆ เลือกเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ แน่นอนว่าจะยิ่งเพิ่มช่องทางการทำงานในอนาคตให้กว้างยิ่งขึ้น รวมถึงได้คว้าประสบการณ์ที่หลากหลาย เพราะฉะนั้นต้องรีบเตรียมคะแนนให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็น GED, IGCSE, A-Level, SAT, IELTS และอื่นๆ ใครที่กำลังครุ่นคิดวางแผนเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์อินเตอร์ แต่ยังไม่ค่อยรู้รายละเอียด มาลองดูตัวอย่างสาขาวิชาต่างๆ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์กันก่อนดีกว่า สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) ใครที่ชื่นชอบคอมพิวเตอร์เป็นชีวิตจิตใจ สาขานี้ถือว่าเกิดมาเพื่อน้องๆ เลย ไม่ว่าจะอยากมีอาชีพยอดฮิตอย่าง Programmer หรือจะ Computer systems engineer เรียนสาขานี้รับรองว่าคว้าฝันได้แน่ๆ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) น้องๆ ที่ชอบเกี่ยวกับเครื่องจักรกล มีความสนใจในกระบวนการผลิตต่างๆ อย่างในระบบโรงงาน แล้วยิ่งชอบการคำนวณด้วยล่ะก็ สาขานี้เหมาะสมมากที่สุด! สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) สาขานี้ต้องมาพร้อมกับความถนัดทางด้านวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ใครที่ชอบเรื่องการประยุกต์เทคโนโลยีต่างๆ ต้องเดินหน้าสมัครสาขานี้เลย สาขาวิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engieering)[…]