วิธีค้นหาคณะที่ใช่ จากวิชาที่ชอบ ฉบับเด็กสายเทียบวุฒิ ม.6

ระยะเวลาช่วง Admission เข้ามหาวิทยาลัยเริ่มใกล้เข้ามา น้อง ๆ หลายคนที่กำลังศึกษาอยู่ใน หลักสูตรเทียบวุฒิ ม.6 ไม่ว่าจะหลักสูตร GED หรือ เตรียมศึกษาในหลักสูตร IGCSE | AS/A-LEVEL อาจจะกำลังเป็นกังวลและกดดันอยู่ไม่น้อย เพราะ “ไม่รู้ว่าตัวเองชอบสายงานอะไร หรืออยากเรียนต่อในคณะอะไรดี?”  The Planner อยากให้น้อง ๆ นักเรียน GED หรือผู้ที่กำลังจะเรียน IGCSE | AS/A-LEVEL ได้พิจารณาจากสิ่งที่น้อง ๆ คุ้นเคยกับมันเป็นประจำดู นั่นคือ วิชาเรียน โดยในแต่ละวิชาจะสามารถทำนายทายทักความชอบ หรือหนทางการเรียนต่อคณะที่ใช่ยังไงได้บ้าง? บทความนี้มีแนวทางที่น่าสนใจมาบอกน้อง ๆ กัน    วิชาที่ชอบบอกคณะที่ใช่ แบบเด็กเทียบวุฒิ GED อย่างที่ทราบกันดีว่าหลักสูตรติวสอบเทียบวุฒิ ม.6 GED ที่ The Planner เป็นหลักสูตรระยะสั้น 90 ชั่วโมง สำหรับคนที่อยากเรียนจบเร็ว ๆ และได้ไปต่อในเส้นทางที่ตนเองมุ่งหวังไว้ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและการตามฝันในรูปแบบอื่น[...]

อัปเดตล่าสุด! GED Ready Q&A ตอบทุกคำถาม การสอบนี้คืออะไร? ทำไมต้องสอบ?

น้อง ๆ ที่กำลังเรียน GED หรือเตรียมสอบ GED อาจพอทราบมาแล้วเบื้องต้นว่านอกจากการสอบ GED เพื่อเทียบวุฒิ ม.6 แล้ว ยังมี การสอบ GED Ready ที่ทาง GED Official บังคับให้นักเรียน GED ทุกคนต้องสอบให้ผ่านด้วย และเพื่อเคลียร์จบทุกข้อข้องใจที่น้อง ๆ มี และเป็นการชี้แนวทางการสอบให้เข้าใจง่ายมากขึ้น The Planner Education จึงรวบรวมทุกคำถามที่น้อง ๆ สงสัยเกี่ยวกับ GED Ready มาตอบไว้ให้แล้วในบทความนี้ 1.Q: GED Ready คืออะไร? A:  GED Ready คือ การทำข้อสอบ GED เสมือนจริงผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ทั้ง 4 วิชา โดยแนวข้อสอบทั้งหมดจะใกล้เคียงกับข้อสอบจริงมากที่สุด และมีการแจ้งผลคะแนนแบบเดียวกับการสอบ GED จริงด้วย โดยจุดประสงค์ของการทดสอบ GED Ready[...]

ทำไมอยากเป็นศิลปินถึงควรสอบเทียบ GED

หากน้อง ๆ เป็นเด็กคนหนึ่งที่มีความฝันอันยิ่งใหญ่ และมีเป้าหมายประจำใจของตัวเองอยู่ตั้งแต่ยังเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นศิลปิน อาชีพที่ต้องอาศัยทักษะอย่างการฝึกฝนและเวลาในการทุ่มเทเพื่อความฝัน แน่นอนว่าการเรียนก็สำคัญ การตามฝันในการเป็นศิลปินก็สำคัญเช่นกัน น้อง ๆ รู้ไหมคะว่าน้อง ๆ สามารถทำตามความฝันไปด้วยแต่การเรียนก็ไม่ทิ้งไปด้วย ได้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จากวุฒิ GED ที่จะช่วยให้น้อง ๆ ประหยัดเวลาในการเรียน และเพิ่มเวลาในการทุ่มเทให้ความฝันกันค่ะ  อาชีพศิลปินเป็นคำกว้าง ๆ ที่มีอาชีพหลากหลายแตกแขนงไปอีกมากมาย ไม่ใช่แค่การเป็นศิลปินนักร้องเท่านั้น ยกตัวอย่างอาชีพในสายศิลปินเช่น นักดนตรี นักแสดง จิตรกร ประติมากร ฯลฯ ซึ่งอาชีพที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนแล้วแต่ใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน รวมไปถึงทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมาก อย่างการสื่อสาร เพราะตัวศิลปินคือผู้สร้างงานศิลปะที่ต้องสื่อสารเรื่องราวให้ผู้ชมเข้าใจ ต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะที่ต้องใช้เวลาอย่างสม่ำเสมอ การเรียนในระบบของโรงเรียนปกติอาจจะไม่ตอบโจทย์น้อง      ที่อยากเป็นศิลปินในเรื่องของเวลา การเรียนในระบบโรงเรียนยากมาก ๆ ที่จะสามารถเรียนไปด้วย ทำงานในด้านศิลปินอย่างเต็มที่ไปด้วย เพราะนอกจากเนื้อหาที่ต้องเรียนแล้ว ยังมีกิจกรรมที่น้อง ๆ ต้องเข้าร่วมอีก แล้วน้อง ๆ จะมีเวลาพอสำหรับการฝึกซ้อมหรือทำตามฝันของตัวไหม[...]

สอบเทียบอะไรดี ระหว่าง GED หรือ IGCSE

ในปัจจุบันสังคมเปิดกว้างให้กับความหลากหลายมากยิ่งขึ้น การเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษาจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่การศึกษาในรูปแบบระบบโรงเรียนเท่านั้นอีกต่อไป เด็กยุคใหม่ก็ต่างเป็นวัยรุ่นที่เต็มเปี่ยมไปด้วยไฟแห่งความฝัน การสอบเทียบจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เด็กยุคใหม่เลือกกัน แล้วการสอบเทียบแบบไหนกันล่ะที่จะใช่สำหรับน้อง ๆ GED หรือ IGCSE กันแน่ที่จะตอบโจทย์ของน้อง ๆ The Planner พร้อมแล้วที่จะพาน้อง ๆ ไปตามหาการสอบเทียบที่จะเหมาะกับน้อง ๆ ในบทความนี้  ไม่ว่าจะเป็นการสอบเทียบ GED หรือ IGCSE ต่างก็มีจุดแข็งของตัวเอง อยู่ที่ว่าเป้าหมายของน้องคืออะไร และจุดประสงค์ที่ต้องการสอบเทียบของน้อง ๆ คืออะไร นอกจากจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับการสอบทั้งสองตัวแล้ว ยังจะพาน้อง ๆ ไปเคลียร์กันให้ชัดว่า “การสอบเทียบ GED หรือ IGCSE การสอบเทียบแบบไหนเหมาะกับเรา”  การสอบเทียบ GED GED (General Educational Development) เป็นการสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของสหรัฐอเมริกา การสอบเทียบสุดฮิตขวัญใจเด็กเจนซี การจะสอบเทียววุฒิ GED ได้ต้องมีอายุอย่างน้อย 16 ปี และต้องได้รับคำยินยอมจากผู้ปกครอง (Parental[...]

วิศวกรรมชีวการแพทย์ อินเตอร์ ม.มหิดล VS ม.ลาดกระบัง ต่างกันยังไง? มาเทียบให้ดู

“วิศวะ ชีววิทยา และการแพทย์” สามหลักสูตรที่ใครก็คงพอทราบว่ามีเป้าหมายทางการศึกษาที่ค่อนข้างแตกต่างกัน แต่รู้หรือไม่? ปัจจุบัน 3 หลักสูตรนี้ เราสามารถเรียนไปพร้อมกันได้แล้วนะ แถมความต้องการในตลาดแรงงานยังมีมากด้วย หลักสูตรนั้นมีชื่อว่า วิศวกรรมชีวการแพทย์ และสำหรับภาคอินเตอร์ ในประเทศไทยเราเปิดสอนเพียงแค่ 2 สถาบันเท่านั้น คือที่มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ คืออะไร? จบไปทำอะไรได้บ้าง? และหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ นานาชาติ ระหว่าง ม.มหิดล และ ม.ลาดกระบัง จะมีความแตกต่างกันอย่างไร? ใครกำลังหาข้อมูลหลักสูตรนี้อยู่ The Planner สรุปข้อมูลมาให้ได้อ่านกันแล้ว หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ คืออะไร?  วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering) คือ คือหลักสูตรที่รวบรวมศาสตร์ของ “วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) และแพทยศาสตร์” เข้าไว้ด้วยกัน จุดประสงค์เพื่อพัฒนา “นวัตกรรม-เทคโนโลยีทางการแพทย์” อย่างที่ทราบกันดีว่าเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน และเทคโนโลยีทันสมัยที่ตอบโจทย์กับการรักษาโรคในปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อวงการการแพทย์และการบำบัดรักษาทั่วโลก เพราะจะช่วยให้การรักษาเป็นไปด้วยความราบรื่น แม่นยำ ทุ่นแรงบุคลากรทางการแพทย์ และยังสร้างความหวังใหม่ให้กับผู้ป่วยที่มีกระบวนการรักษาพิเศษกว่าปกติด้วย[...]

ELECTORAL COLLEGE คืออะไร? เรียน GED SOCIAL STUDIES ควรรู้!

ตามสถิติถามเด็กไทยกี่คนกี่คนต่างก็ไม่ค่อยมีคนถูกใจในวิชาสังคมศึกษานัก ทำให้อนุมานกันได้ว่าน้อง ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจติว GED หรือกำลังเตรียมตัวสอบ GED อยู่วิชาที่น้อง ๆ ต่างกลัวและไม่ค่อยถูกใจในความยากของมันก็คงหนีไม่พ้น Social Studies หรือก็วิชาสังคมศึกษาของอเมริกานั่นเองค่ะ ในบทความนี้ The Planner เลยจะพาน้อง ๆ ไปเอาตัวรอดกับ GED Social Studies ผ่านความรู้เรื่อง “Electoral College”  ในข้อสอบ GED Social Studies เรื่องที่ออกข้อสอบในหมวดนี้มากที่สุดคือ Civil and government ซึ่งออกในข้อสอบมากถึง 50% การจะเอาตัวรอดในวิชานี้ให้ได้ การติวและหมั่นฝึกทำข้อสอบในหมวดนี้ให้คล่อง ก็การันตีในการก้าวขาหนึ่งข้างผ่านเส้นยาแดง เข้าใกล้การสอบผ่าน GED Social Studies แล้วค่ะ  Electoral College อีกหนึ่งเรื่องที่ออกในข้อสอบ GED Social Studies ในพาร์ทของ Civil and government ซึ่งถ้าน้อง ๆ[...]

เคล็ดลับทำยังไงให้สอบ GED Social Studies ผ่าน!

ถ้าพูดถึงข้อสอบ GED วิชาที่น้อง ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจสอบ GED หรือกำลังติว GED อยู่ เป็นกังวลมากที่สุดคงหนีไม่พ้นข้อสอบ GED RLA หรือไม่ก็ข้อสอบ GED Social Studies ใช่ไหมคะ ถ้าน้อง ๆ กำลังเป็นกังวลกับข้อสอบของ GED Social Studies อยู่ล่ะก็ บทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปคลายกังวลกับวิธีเอาตัวรอดในการสอบ GED Social Studies  ทำไมนักเรียนไทยถึงเป็นกังวลกับ GED Social Studies GED Social Studies คือวิชาสังคมศึกษาของสหรัฐอเมริกาจึงเป็นความรู้ใหม่ที่เด็กไทยหลายคนไม่เคยเรียนมาก่อน วิชานี้สำหรับหลายคนจึงเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์ เนื้อหาของตัวข้อสอบที่ค่อนข้างเยอะและกว้างมาก ๆ จึงทำให้อาจอ่านไม่ตรงกับจุดที่ออกข้อสอบ เด็กหลายคนไม่ถนัดวิชาที่ต้องอาศัยการท่องจำ คำศัพท์ภาษาอังกฤษในหมวดนี้ค่อนข้างเป็นคำศัพท์เฉพาะ ทำให้ยากพอสมควร เคล็ดลับการเอาตัวรอดในการสอบ GED Social Studies รู้ภาพรวมและสัดส่วน Topic ที่ออกสอบ ข้อสอบ Social Studies[...]

GED Social Studies: Liberty Bonds คืออะไร

“Shall we be more tender with our dollars than with the lives of our sons” น้อง ๆ ที่กำลังติว GED หรือเรียน GED อาจจะคุ้น ๆ กับประโยคข้างต้นกันมาบ้าง เพราะประโยคข้างต้นหรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับประโยคข้างต้น มักจะมีให้เห็นในการเตรียมตัวสำหรับสอบเทียบ GED ในวิชา GED Social Studies นั่นเอง สังคมศึกษาของอเมริกามีหลากหลายเรื่องราวให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นของอเมริกา ในบทความนี้ The Planner จะพาไปรู้ที่มาของประโยคที่ว่า “เราจะยอมแลกเงินดอลลาร์กับชีวิตของลูกเราได้แน่หรือ” อย่างเหตุการณ์พันธบัตรเสรีภาพ หรือ Liberty Bonds พันธบัตรเสรีภาพคืออะไร ถ้าถามว่าพันธบัตรเสรีภาพ คืออะไร คงต้องเล่าย้อนความกันไปก่อนว่า สมัยก่อนเวลาประเทศตกอยู่ในสภาวะสงครามหรือประเทศกำลังจะประกาศสงคราม จำเป็นต้องใช้เงินสำหรับสงครามเป็นจำนวนมาก สิ่งที่รัฐบาลทำคือการระดมทุนจากประชาชนในประเทศ พันธบัตรเสรีภาพจึงถือว่าเป็นสัญญาเงินกู้ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน โดยที่ประชาชนคือผู้ให้กู้ จะต้องได้รับเงินต้นที่ถูกยืมไปและดอกเบี้ยเงินกู้ คืนจากรัฐบาล [...]

ทำความรู้จัก Bill of Rights หัวข้อน่าสนใจที่ออกสอบใน GED Social Studies

เราคงพอจะทราบกันมาบ้างแล้วว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกในปัจจุบัน จะค่อนข้างสนับสนุนและให้ความสำคัญกับเรื่อง “การมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก” ค่อนข้างมาก เช่น ประชาชนจะสามารถเลือกโหวตสิ่งที่เห็นด้วย หรือออกมาประท้วงต่อต้านในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าไม่ถูกต้องก็ได้ ภายใต้ระเบียบกฎหมาย ซึ่งเหตุผลที่พลเมืองสหรัฐอเมริกาสามารถแสดงออกและมีเสรีภาพในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย ก็เพราะพวกเขาเหล่านั้นได้รับการปกป้องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitution) อยู่นั่นเอง และกฎหมายนี้เกี่ยวข้องกับหัวข้อ Bill of Rights อย่างไร? Bill of Rights คืออะไร และจะเกี่ยวข้องกับ GED Social Studies ในจุดไหน? เรามาดูคำตอบกัน Bill of Rights เพราะเสรีภาพและการแสดงออกเป็นของทุกคน ย้อนกลับไปในสมัยที่อเมริกาเพิ่งก่อตั้งประเทศสำเร็จหลังจากสามารถเอาชนะเจ้าอาณานิคมอย่างจักรวรรดิอังกฤษ ก็ได้เกิดความพยายามรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลาง และเกิดงานประชุมหารือเพื่อร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐขึ้น (The Constitutional Convention)  ในงานประชุมนี้กลุ่มผู้ต่อต้านการรวมอำนาจของรัฐบาลกลาง (Anti-Federalist) ได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม เนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาในตอนแรกยังไม่ได้ระบุและปกป้องสิทธิของประชาชนเอาไว้ ซึ่งจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้มีการเพิ่มเติมร่าง บัญญัติว่าด้วยสิทธิพลเมือง (Bill of Rights) เข้าไปในปี 1791 เพื่อรับประกันสิทธิของประชาชน โดยบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนี้มีจำนวนทั้งหมด 10[...]

ยังสอบ GED ผ่าน ไม่ครบ 4 วิชา สมัคร TCAS ได้ไหม?

น้อง ๆ ที่กำลังจะเริ่มติว GED หรือกำลังติว GED อยู่ และมีแพลนที่จะยื่นเข้ามหาวิทยาลัยเป็น DEK67 ซึ่งเวลาก็ใกล้เข้ามาแล้ว สิ่งที่น้อง ๆ คงเป็นกังวลเลยคือ “กลัวว่าจะสอบ GED ทั้ง 4 วิชา ผ่านครบไม่ทันสมัคร TCAS 2567” ถ้าหากว่าน้อง ๆ กำลังเป็นกังวลในเรื่องนี้กันอยู่ หลังจากอ่านบทความนี้ รับรองได้ว่าน้องจะใจชื้นขึ้นกันแน่นอนเลย  TCAS เกี่ยวอะไรกับเด็ก GED TCAS ย่อมาจาก Thai University Center Admission System ซึ่งก็คือ “ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไทย” แล้วหากถามว่าทำไมถึงเกี่ยวกับเด็ก GED แล้วล่ะก็ คงตอบน้องได้ว่าหากน้อง ๆ ต้องการจะสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยของไทย แทบจะทุกหลักสูตรเลย ทั้งหลักสูตรภาคไทยและหลักสูตรอินเตอร์ต่างก็ต้องลงทะเบียนสมัคร TCAS เพื่อใช้ยื่นคะแนน หรือสำหรับหลักสูตรอินเตอร์หลายหลักสูตร ก็เปิดยืนยันสิทธิ์และสละสิทธิ์เข้าศึกษาต่อในระบบ TCAS เพราะฉะนั้นระบบ TCAS จึงเกี่ยวข้องกับเด็ก GED[...]

เคล็ดลับทำยังไงให้สอบ GED Social Studies ผ่าน!

ถ้าพูดถึงข้อสอบ GED วิชาที่น้อง ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจสอบ GED หรือกำลังติว GED อยู่ เป็นกังวลมากที่สุดคงหนีไม่พ้นข้อสอบ GED RLA หรือไม่ก็ข้อสอบ GED Social Studies ใช่ไหมคะ ถ้าน้อง ๆ กำลังเป็นกังวลกับข้อสอบของ GED Social Studies อยู่ล่ะก็ บทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปคลายกังวลกับวิธีเอาตัวรอดในการสอบ GED Social Studies  ทำไมนักเรียนไทยถึงเป็นกังวลกับ GED Social Studies GED Social Studies คือวิชาสังคมศึกษาของสหรัฐอเมริกาจึงเป็นความรู้ใหม่ที่เด็กไทยหลายคนไม่เคยเรียนมาก่อน วิชานี้สำหรับหลายคนจึงเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์ เนื้อหาของตัวข้อสอบที่ค่อนข้างเยอะและกว้างมาก ๆ จึงทำให้อาจอ่านไม่ตรงกับจุดที่ออกข้อสอบ เด็กหลายคนไม่ถนัดวิชาที่ต้องอาศัยการท่องจำ คำศัพท์ภาษาอังกฤษในหมวดนี้ค่อนข้างเป็นคำศัพท์เฉพาะ ทำให้ยากพอสมควร  เคล็ดลับการเอาตัวรอดในการสอบ GED Social Studies รู้ภาพรวมและสัดส่วน Topic ที่ออกสอบ ข้อสอบ Social Studies[...]

ไขข้อสงสัย สอบเทียบ GED/A-Level เรียนแพทย์ได้ไหม

คณะแพทยศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งคณะยอดนิยมที่หลายคนใฝ่ฝันอยากเข้าไปเรียน ซึ่งน้อง ๆ ที่กำลังตัดสินใจจะติวและสอบเทียบระดับชั้นมัธยมปลาย ไม่ว่าจะเป็น General Educational Development การสอบเทียบวุฒิมัธยมปลายในระบบของสหรัฐอเมริกา หรือที่รู้จักกันในชื่อ GED หรือ A-Level วุฒิการศึกษาในระดับมัธยมปลายของอังกฤษ ก็คงจะมีคำถามสำคัญในหัวว่าทั้งวุฒิ GED และ A-Level สามารถนำไปยื่นเพื่อเข้าเรียนแพทย์ได้หรือไม่ วันนี้ The Planner มีคำตอบค่ะ  GED สามารถยื่นเรียนต่อในคณะแพทยศาสตร์ได้ไหม GED สามารถยื่นเรียนต่อในคณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทยได้ แต่มีเพียงหลักสูตรอินเตอร์บางหลักสูตรเท่านั้นที่รับวุฒิ GED เพราะเกณฑ์การคัดเลือกเข้าคณะแพทยศาสตร์ของหลักสูตรไทย จะกำหนดเกณฑ์ไว้ว่าผู้ที่สมัครได้จะต้องจบระดับชั้นมัธยมปลายในแผนวิทย์-คณิต ซึ่งความรู้จากการสอบ GED ไม่เพียงพอต่อการยื่นคณะแพทยศาสตร์ แต่หลักสูตรนานาชาติ บางหลักสูตรรับวุฒิ GED โดยมีกำหนดเกณฑ์ขั้นพื้นฐานในบางคะแนน หรือต้องสอบ BMAT เพิ่มเติม มาดูตัวอย่างคณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติที่รับวุฒิ GED กันค่ะ  วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ (CICM) หลักสูตรนี้เรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตร CICM เปิดรับวุฒิ GED โดยใช้เกณฑ์เทียบวุฒิของธรรมศาสตร์ คือ[...]

GED vs A-LEVEL vs IB

​​What is a GED?  General Educational Development (GED) is a group of academic subjects that consist of math, science, and reasoning through language arts and social studies. Test-takers who complete and pass the test are certified as having a high school diploma. In addition, there are over 3,200 Official Testing Centers all around the world[...]

5 ข้อต้อง STOP!! ถ้าอยากสอบผ่าน GED

เชื่อว่าน้อง ๆ ที่กำลังเรียน GED หรือเตรียมตัวสอบ GED อยู่ ย่อมมุ่งหวังความสำเร็จในทิศทางเดียวกัน คือการ “สอบ GED ให้ผ่าน” ซึ่งที่ผ่านมาเรามักพูดถึงสิ่งที่จะต้องทำเพื่อสอบ GED ให้ผ่านกันมามากมายหลากหลายเทคนิค ซึ่งหากน้อง ๆ นำเทคนิคเหล่านั้นไปใช้ร่วมกับความขยันหมั่นเพียร การสอบ GED ให้ผ่านก็จะไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อน้อง ๆ ได้ทราบถึงข้อควรทำแล้ว น้อง ๆ ก็ควรต้องทราบใน สิ่งที่ไม่ควรทำถ้าอยากสอบผ่าน GED ด้วย เพราะความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้น้อง ๆ ไปไม่ถึงเป้าหมายได้เช่นกัน ซึ่งบทความนี้ The Planner จะมาสรุปให้ฟัง 5 ข้อใหญ่ ๆ ดังนี้   ไม่มีเป้าหมาย   การไม่มีเป้าหมายในการสอบ GED หรือเรียน GED จะทำให้เราขาดพลัง และขาดแรงจูงใจในการสอบ GED ให้ผ่าน ซึ่งไม่ว่าเราจะกำหนดแผนการอ่านหนังสือ หรือแผนการติว[...]

GED Soc Texas v. Johnson เผาธง

GED Social Studies วิชาสุดหินที่เด็กไทยที่กำลังติว GED อยู่ หรือกำลังคิดที่จะสอบเทียบ GED ต่างเกรงกลัวในวิชานี้ แต่น้อง ๆ อย่าเพิ่งกลัววิชานี้กันไปก่อนเลยนะคะ เพียงแค่เข้าใจบริบทพื้นฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือมาติวกับคุณครูผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง อย่างคุณครูที่ The Planner ก็จะทำให้น้อง ๆ ไม่กลัววิชา GED Social Studies อีกต่อไป ในบทความนี้ The Planner จะมาให้ความรู้น้อง ๆ ในวิชา GED Social Studies อีกครั้ง ก่อนอื่นเลยอยากขอถามน้อง ๆ ก่อนว่า “น้อง ๆ คิดว่าการเผาธงชาติ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย หรือ เป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลในการแสดงออกอย่างเสรี”  การเผาทำลายธงชาติ เป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดและควรได้รับบทลงโทษ หรือมันคือการกระทำส่วนบุคคลที่แสดงออกถึงความเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยกันแน่ เราจะมาไขข้อสงสัยนี้กันผ่านคดีความ Texas v. Johnson  Texas v. Johnson ค.ศ. 1984:[...]

หลักสูตร GED คืออะไร? รวมทุกอย่างที่ควรรู้เกี่ยวกับ GED

ในปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่มีทางเลือกมากมายในการกำหนดชีวิตและอนาคตของตัวเอง นั่นรวมไปถึงการศึกษาก็เช่นกัน เด็กรุ่นใหม่มีโอกาส มีทางเลือกทางการศึกษาหลายทางเลือก และการศึกษานอกระบบโรงเรียนก็เป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้น อีกทั้งในระดับอุดมศึกษาก็เปิดรับเด็กที่จบจากการศึกษานอกระบบโรงเรียนมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะการสอบเทียบ หลักสูตร GED ที่เด็กเจนใหม่หลายคนเลือกการศึกษาทางเลือกนี้ ทว่าอาจมีน้อง ๆ อีกหลายคนและผู้ปกครองอีกหลายท่าน ยังไม่รู้จักการเรียนในระบบทางเลือกอย่างการเรียน GED เท่าที่ควร บทความนี้ The Planner รวบรวมทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับหลักสูตร GED มาไว้ให้เรียบร้อยแล้วค่ะ What is GED? หลักสูตรสอบเทียบ GED คืออะไร? การสอบเทียบ GED คือหนึ่งในหลักสูตรสอบเทียบ ม.6 ซึ่งเป็นการศึกษานอกระบบโรงเรียนของประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อเต็ม ๆ ของ GED คือ General Educational Development นั่นเอง อีกทั้งวุฒิ GED ถือเป็นวุฒิที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ประเทศไทยเองก็ให้การยอมรับว่า “วุฒิ GED เทียบเท่าได้กับวุฒิ ม.6 ของไทย” GED สอบอะไรบ้าง? ข้อสอบ GED[...]

วางแผนเตรียมตัวสอบเข้าวิศวะอินเตอร์

ความฝันตั้งแต่วัยเยาว์ของเด็ก ๆ หลายคน นอกจากอยากโตขึ้นมาเป็นหมอแล้ว อีกอาชีพที่เด็ก ๆ โตขึ้นมาแล้วอยากเป็นคือ อาชีพวิศวกร แล้วน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งไหมคะที่อยากเป็นวิศวกร หากน้อง ๆ เป็นคนคนนั้น มีเป้าหมาย รู้ว่าตัวเองอยากเป็นอะไรแล้ว การสอบเทียบ GED จะช่วยย่นระยะเวลาการไล่ตามฝันของน้อง ๆ ได้นะคะ เพราะวุฒิ GED เทียบเท่าได้กับวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของไทย สอบได้ตั้งแต่อายุ 16 ปี และที่สำคัญวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ทุกหลักสูตรในไทย สามารถใช้วุฒิ GED ยื่นได้แทนวุฒิม.6 The Planner เลยจะพาน้อง ๆ ไปวางแผนกันต่อว่านอกจากวุฒิที่ใช้ยื่นแล้ว น้อง ๆ ต้องทำคะแนนในส่วนไหนเพิ่มเติมบ้างในการยื่นเข้าศึกษาต่อวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ คว้าวุฒิ ม.6 ได้ใน 1 เดือน หากมาติว GED ที่ The Planner Education ทำได้จริงไหม ตามไปอ่านบทความนี้ได้เพิ่มเติม ติว GED จบ[...]

วางแผนเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยได้ตั้งแต่อายุ 17 ปี กับ The Planner

สอบติดมหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุ 17 ปี เป็นไปได้ไหม คำตอบคือ “เป็นไปได้ค่ะ” น้อง ๆ ทุกคนสามารถสอบติดมหาวิทยาลัยได้ตั้งแต่อายุ 17 ปี แต่ต้องเริ่มเตรียมตัวยังไง วางแผนยังไงดี The Planner จะมาไกด์ไลน์วางแผนสอบติดมหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุ 17 ปีให้เองค่ะ ผ่านคอร์สการติวของ The Planner รับรองติวที่ The Planner ครบ จบ ที่เดียว ติดคณะในฝันแน่นอน  เช็คลิสต์รู้ก่อนสิ่งที่จำเป็นต่อการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย สิ่งแรกคือ วุฒิการศึกษา แล้วน้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่า แล้วเราจะได้รับวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 มาได้ยังไง ภายในอายุ 16-17 ปี คำตอบของคำถามนี้ คือ “การสอบเทียบ GED” ซึ่งน้อง ๆ สามารถติว GED เพื่อสอบเทียบกันได้ตั้งแต่อายุ 16 ปี จบม.6 ได้ภายใน 1 เดือนทำได้จริงไหม[...]

วิวัฒนาการของ GED เข้ามาในไทยตอนไหนกันนะ

พ่อแม่หลายคนหรือน้อง ๆ อาจเกิดคำถามในหัวกันว่า การสอบ GED คืออะไร มันเทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของไทยได้จริงไหม หากเกิดคำถามสงสัยในตัว GED แบบนี้ มันไม่แปลกเลยค่ะ เพราะวุฒิ GED พึ่งได้รับการยอมรับในไทยมายังไม่ถึงทศวรรษเลย แล้วก็เพิ่งมามีกระแสบูมขึ้นมาในช่วง 2-4 ปีมานี้เอง ในบทความนี้นอกจาก The Planner จะพาไปรู้จักกับวิวัฒนาการของ GED แล้วยังจะพาไปหาคำตอบของคำถามที่ว่า “การสอบ GED ในไทยกำลังจะถูกยกเลิก” จริงไหม  GED เริ่มต้นมาจากไหน GED หรือ General Education Development คือการสอบเทียบวุฒิการศึกษามัธยมปลายของประเทศสหรัฐอเมริกา การสอบเทียบ GED เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน ให้พวกเขาได้รับการศึกษา ความรู้ต่าง ๆ เหมือนกับผู้ที่อยู่ในระบบโรงเรียน เหตุผลของการมีอยู่ของ GED จึงไม่ต่างจากกศน. ของไทยนั่นเอง การสอบ GED เริ่มต้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จัดสอบครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อ  ค.ศ.1942 เดิมที[...]