เคล็ดลับทำยังไงให้สอบ GED Social Studies ผ่าน!

ถ้าพูดถึงข้อสอบ GED วิชาที่น้อง ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจสอบ GED หรือกำลังติว GED อยู่ เป็นกังวลมากที่สุดคงหนีไม่พ้นข้อสอบ GED RLA หรือไม่ก็ข้อสอบ GED Social Studies ใช่ไหมคะ ถ้าน้อง ๆ กำลังเป็นกังวลกับข้อสอบของ GED Social Studies อยู่ล่ะก็ บทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปคลายกังวลกับวิธีเอาตัวรอดในการสอบ GED Social Studies  ทำไมนักเรียนไทยถึงเป็นกังวลกับ GED Social Studies GED Social Studies คือวิชาสังคมศึกษาของสหรัฐอเมริกาจึงเป็นความรู้ใหม่ที่เด็กไทยหลายคนไม่เคยเรียนมาก่อน วิชานี้สำหรับหลายคนจึงเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์ เนื้อหาของตัวข้อสอบที่ค่อนข้างเยอะและกว้างมาก ๆ จึงทำให้อาจอ่านไม่ตรงกับจุดที่ออกข้อสอบ เด็กหลายคนไม่ถนัดวิชาที่ต้องอาศัยการท่องจำ คำศัพท์ภาษาอังกฤษในหมวดนี้ค่อนข้างเป็นคำศัพท์เฉพาะ ทำให้ยากพอสมควร  เคล็ดลับการเอาตัวรอดในการสอบ GED Social Studies รู้ภาพรวมและสัดส่วน Topic ที่ออกสอบ ข้อสอบ Social Studies[...]

โครงการเรียนล่วงหน้า หลักสูตรนานาชาติ ม.เกษตรศาสตร์

ช่วงชีวิตมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของใครหลายคน เป็นช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจที่สำคัญและใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิตเลยก็ว่าได้ ซึ่งชีวิตมัธยมปลายของน้อง ๆ เพียง 3 ปี อาจไม่สามารถตัดสินใจเลือกเส้นทางในอนาคตสำหรับระดับอุดมศึกษาของตัวเองได้อย่างมั่นใจ เพราะน้อง ๆ อาจเต็มไปด้วยความกังวลว่าคณะที่เราตั้งเป้าหมายไว้มันใช่สำหรับเราจริง ๆ ไหม ถ้าได้เข้าไปเรียนแล้ว มันตอบโจทย์สิ่งที่เราต้องการจริงไหม คณะนั้นเมื่อเข้าไปเรียนจริง ๆ แล้ว มันยังจะใช่สำหรับเราอยู่หรือไม่ เชื่อว่าเด็ก ม.6 หลายคนมีความกังวลและความกลัวในเรื่องเหล่านี้อยู่ในหัว ซึ่งมันไม่แปลกเลยที่เราจะรู้สึกกลัวและกังวล น้อง ๆ ยังเป็นเพียงวัยรุ่นเท่านั้น วัยรุ่นคนหนึ่งที่การสอบเข้ามหาวิทยาลัยอาจเป็นครั้งแรกของการตัดสินใจครั้งใหญ่ในชีวิตของตัวเอง ทว่าจะดีกว่านั้นไหม หากน้องได้มีโอกาสได้เข้าไปลองเรียนในคณะที่ตัวเองอยากเข้าก่อนจบ ม.6 บทความนี้ The Planner เลยจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับโอกาสนั้นของน้อง ๆ อย่าง “โครงการเรียนล่วงหน้าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” โครงการเรียนล่วงหน้าคืออะไร โครงการเรียนล่วงหน้า เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เด็กมัธยมปลาย ได้ลองเรียนวิชาเรียนในมหาวิทยาลัยจริง ๆ เพื่อดูว่าตัวเองชอบวิชาที่เรียนหรือไม่ ซึ่งโครงการนี้ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะทำให้น้อง ๆ ได้ลองหาตัวเองดูว่าคณะที่เราอยากเข้านั้น พอได้ไปเรียนจริง ๆ แล้ว มันยังจะใช่สำหรับเราจริง ๆ[...]

BMAT ยื่นที่ไหนได้บ้าง?

BMAT หรือ Biomedical Admission Test คือ ข้อสอบภาษาอังกฤษเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในคณะสายการแพทย์ โดยมี Cambridge Assessment เป็นผู้ดำเนินการจัดสอบ BMAT จะเปิดสอบครั้งสุดท้ายในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นี้นั่นเอง น้อง ๆ ว่าที่นิสิตนักศึกษารหัส 67 ในคณะสายการแพทย์ BMAT ยังมีความสำคัญกับน้อง ๆ อยู่นะคะ อย่าพลาดการสอบครั้งนี้ ที่จะเริ่มเปิดรับสมัครในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 เหลือเวลาเตรียมตัว เตรียมฟิต เตรียมติว BMAT อยู่ ในบทความนี้ The Planner เลยรวบรวม Requirement ของหลักสูตรที่ยังใช้คะแนน BMAT มาให้น้อง ๆ แล้วค่ะ คะแนน BMAT ไม่ได้ยื่นได้แค่คณะสายการแพทย์ หลักสูตรอินเตอร์เท่านั้น แต่คะแนน BMAT ยังมีความสำคัญต่อการยื่น TCAS รอบ 1 หรือรอบ Portfolio ของคณะสายการแพทย์[...]

ไขข้อสงสัย สอบเทียบ GED/A-Level เรียนแพทย์ได้ไหม

คณะแพทยศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งคณะยอดนิยมที่หลายคนใฝ่ฝันอยากเข้าไปเรียน ซึ่งน้อง ๆ ที่กำลังตัดสินใจจะติวและสอบเทียบระดับชั้นมัธยมปลาย ไม่ว่าจะเป็น General Educational Development การสอบเทียบวุฒิมัธยมปลายในระบบของสหรัฐอเมริกา หรือที่รู้จักกันในชื่อ GED หรือ A-Level วุฒิการศึกษาในระดับมัธยมปลายของอังกฤษ ก็คงจะมีคำถามสำคัญในหัวว่าทั้งวุฒิ GED และ A-Level สามารถนำไปยื่นเพื่อเข้าเรียนแพทย์ได้หรือไม่ วันนี้ The Planner มีคำตอบค่ะ  GED สามารถยื่นเรียนต่อในคณะแพทยศาสตร์ได้ไหม GED สามารถยื่นเรียนต่อในคณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทยได้ แต่มีเพียงหลักสูตรอินเตอร์บางหลักสูตรเท่านั้นที่รับวุฒิ GED เพราะเกณฑ์การคัดเลือกเข้าคณะแพทยศาสตร์ของหลักสูตรไทย จะกำหนดเกณฑ์ไว้ว่าผู้ที่สมัครได้จะต้องจบระดับชั้นมัธยมปลายในแผนวิทย์-คณิต ซึ่งความรู้จากการสอบ GED ไม่เพียงพอต่อการยื่นคณะแพทยศาสตร์ แต่หลักสูตรนานาชาติ บางหลักสูตรรับวุฒิ GED โดยมีกำหนดเกณฑ์ขั้นพื้นฐานในบางคะแนน หรือต้องสอบ BMAT เพิ่มเติม มาดูตัวอย่างคณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติที่รับวุฒิ GED กันค่ะ  วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ (CICM) หลักสูตรนี้เรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตร CICM เปิดรับวุฒิ GED โดยใช้เกณฑ์เทียบวุฒิของธรรมศาสตร์ คือ[...]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ เรียนจบแล้วต่อสายแพทย์ได้

อาชีพแพทย์ หรือ อาชีพคุณหมอ เป็นอาชีพอันดับต้น ๆ ที่ประเทศไทยและหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกมีการสนับสนุนให้นักเรียนที่มีความสามารถได้เข้าศึกษา และได้มีโอกาสจบออกมาดูแลสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะ แพทย์อินเตอร์ ที่เป็นที่ต้องการอย่างมากในสายอาชีพ และด้วยภาระอันยิ่งใหญ่ที่ต้องมาพร้อมกับการศึกษาที่ยากยิ่ง คณะแพทยศาสตร์ส่วนใหญ่จึงมีเกณฑ์การรับเข้าศึกษาหรือเกณฑ์วุฒิการศึกษาที่ค่อนข้างสูงและพิเศษไปกว่าคณะอื่นสักหน่อย แล้วถ้าหากเรายังไม่พร้อม หรือยังต้องการปูพื้นฐานในด้านอื่น ๆ ก่อนไปเรียนแพทย์ แบบนี้จะสามารถกลับมายื่นเข้าแพทย์ 4-5 ปีได้หรือไม่? โดยที่ไม่ต้องกลับไปเริ่มเรียนใหม่ทั้งหมด คำตอบก็คือ “ยื่นได้” แต่อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องเกณฑ์คะแนน หรือต้องเรียนจบในสายวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือมีพื้นฐานในสายเรียนด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์มาก่อน  บทความนี้ The Planner จึงรวบรวมตัวอย่าง หลักสูตรอินเตอร์ ที่สามารถเรียนต่อแพทย์ หรือเรียน Pre-Medicine ได้ มาให้น้อง ๆ ได้รู้กัน  ตัวอย่างหลักสูตรอินเตอร์ที่เรียนต่อแพทย์ได้ Bachelor of Science in Biotechnology (International Program), BBTech หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Bachelor of Science[...]

GED vs A-LEVEL vs IB

​​What is a GED?  General Educational Development (GED) is a group of academic subjects that consist of math, science, and reasoning through language arts and social studies. Test-takers who complete and pass the test are certified as having a high school diploma. In addition, there are over 3,200 Official Testing Centers all around the world[...]

5 ข้อต้อง STOP!! ถ้าอยากสอบผ่าน GED

เชื่อว่าน้อง ๆ ที่กำลังเรียน GED หรือเตรียมตัวสอบ GED อยู่ ย่อมมุ่งหวังความสำเร็จในทิศทางเดียวกัน คือการ “สอบ GED ให้ผ่าน” ซึ่งที่ผ่านมาเรามักพูดถึงสิ่งที่จะต้องทำเพื่อสอบ GED ให้ผ่านกันมามากมายหลากหลายเทคนิค ซึ่งหากน้อง ๆ นำเทคนิคเหล่านั้นไปใช้ร่วมกับความขยันหมั่นเพียร การสอบ GED ให้ผ่านก็จะไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อน้อง ๆ ได้ทราบถึงข้อควรทำแล้ว น้อง ๆ ก็ควรต้องทราบใน สิ่งที่ไม่ควรทำถ้าอยากสอบผ่าน GED ด้วย เพราะความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้น้อง ๆ ไปไม่ถึงเป้าหมายได้เช่นกัน ซึ่งบทความนี้ The Planner จะมาสรุปให้ฟัง 5 ข้อใหญ่ ๆ ดังนี้   ไม่มีเป้าหมาย   การไม่มีเป้าหมายในการสอบ GED หรือเรียน GED จะทำให้เราขาดพลัง และขาดแรงจูงใจในการสอบ GED ให้ผ่าน ซึ่งไม่ว่าเราจะกำหนดแผนการอ่านหนังสือ หรือแผนการติว[...]

GED Soc Texas v. Johnson เผาธง

GED Social Studies วิชาสุดหินที่เด็กไทยที่กำลังติว GED อยู่ หรือกำลังคิดที่จะสอบเทียบ GED ต่างเกรงกลัวในวิชานี้ แต่น้อง ๆ อย่าเพิ่งกลัววิชานี้กันไปก่อนเลยนะคะ เพียงแค่เข้าใจบริบทพื้นฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือมาติวกับคุณครูผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง อย่างคุณครูที่ The Planner ก็จะทำให้น้อง ๆ ไม่กลัววิชา GED Social Studies อีกต่อไป ในบทความนี้ The Planner จะมาให้ความรู้น้อง ๆ ในวิชา GED Social Studies อีกครั้ง ก่อนอื่นเลยอยากขอถามน้อง ๆ ก่อนว่า “น้อง ๆ คิดว่าการเผาธงชาติ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย หรือ เป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลในการแสดงออกอย่างเสรี”  การเผาทำลายธงชาติ เป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิดและควรได้รับบทลงโทษ หรือมันคือการกระทำส่วนบุคคลที่แสดงออกถึงความเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยกันแน่ เราจะมาไขข้อสงสัยนี้กันผ่านคดีความ Texas v. Johnson  Texas v. Johnson ค.ศ. 1984:[...]

อักษรศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ VS BALAC

เด็กศิลป์ภาษาหรือเด็กวิทย์หัวใจศิลป์ แน่นอนว่าคณะในฝันและคณะที่ติดอยู่ในใจทุกคนเป็นอันดับต้น ๆ จะต้องเป็นคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แล้วในคณะอักษรศาสตร์ สิ่งที่เด็กอักษรต้องเผชิญหน้ากับมันมีแค่ภาษาจริง ๆ ไหม แล้วถ้าอยากเป็นเด็กอักษรนอกจากภาคปกติหรือภาคไทยแล้ว น้องรู้หรือไหมว่าอักษรศาสตร์มีภาคอินเตอร์อย่าง BALAC อยู่ด้วยนะคะ บทความนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปเตรียมตัวเป็นเด็กอักษร จุฬาฯ เอกภาษาอังกฤษ และ BALAC กันค่ะ  อักษรศาสตร์เรียนแค่ภาษาจริงไหม การเรียนในคณะอักษรศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อที่จะทำให้เราเข้าใจมนุษย์ในบริบทต่าง ๆ มากขึ้น อักษรศาสตร์จึงไม่ได้เรียนแค่ภาษาเท่านั้น แต่นอกจากวิชาเอกวิชาโทแล้วเด็กอักษรยังจะได้เรียนเกี่ยวกับสังคม การเมือง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ธรรมเนียมต่าง ๆ ไปจนถึงวรรณกรรม เด็กอักษรจำเป็นต้องเรียนเรื่องพวกนี้ เพราะการที่เราจะทำความเข้าใจมนุษย์ได้นั้น ความรู้แค่เพียงเรื่องภาษาอย่างเดียวมันไม่เพียงพอ เราต้องทำความเข้าใจเรื่องบริบทด้านต่าง ๆ เพิ่มด้วย ยกตัวอย่างกระบวนการเรียนผ่านด้านงานที่ทำให้เข้าใจการเรียนของคณะอักษรศาสตร์มากขึ้น เช่น การจะแปลเรื่อง ๆ หนึ่ง นอกจากทักษะด้านภาษาที่ใช้งานการแปลให้ได้อย่างถูกต้องแล้ว เราจะต้องใช้ทักษะได้อื่น ๆ เพื่อปรับการแปลของเราให้เข้ากับบริบทของประเทศที่เรากำลังแปลอยู่ด้วยค่ะ [...]

IELTS คืออะไร? ทำไมต้องสอบก่อนเข้าคณะอินเตอร์

“ภาษาอังกฤษ” ปฏิเสธกันไม่ได้เลยว่าสำคัญมาก ๆ ทั้งในเรื่องของการทำงาน ชีวิตประจำวัน รวมถึงในเรื่องของการศึกษา โดยเฉพาะการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติ ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ ถือว่าสำคัญ “มากที่สุด”    การสอบ IELTS จึงเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่นักเรียนหลักสูตรอินเตอร์หลายคนทั่วโลก เลือกที่จะให้ความสนใจและทำการเข้าทดสอบเพื่อใช้ในการยื่นเข้าศึกษาในหลักสูตรอินเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย แต่ในที่นี้ IELTS คืออะไร? และทำไมคนอยากเข้าคณะอินเตอร์ต้องให้ความสำคัญกันนะ? บทความนี้ The Planner มีคำตอบและเกร็ดความรู้ดี ๆ มาฝาก IELTS คืออะไร?  IELTS (International English Language Testing System) คือ การทดสอบภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักหรือภาษาประจำชาติ ออกแบบมาเพื่อวัดทักษะของผู้ที่ต้องการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสารสำหรับการทำงาน การศึกษา หรือการย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น โดยจะแบ่งระดับคะแนน (Band) ออกเป็น 9 ระดับ โดยเรียงลำดับจากระดับจาก 1 (ต่ำที่สุด) ไปจนถึง 9 สูงที่สุด การสอบ IELTS ในประเทศไทย[...]

SAT Digital คืออะไร? รวมทุกข้อมูลอัปเดตล่าสุด!

หลักสูตรนานาชาติในมหาวิทยาลัยทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ปัจจุบันได้รับความนิยมในกลุ่มนักเรียนนักศึกษารวมถึงผู้ปกครองมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยความหลากหลายของหลักสูตร  โอกาสในการเรียนรู้และโอกาสการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่เป็นสากลกว่า แน่นอนว่าการที่จะเข้าเรียนในหลักสูตรอินเตอร์ หรือนานาชาติได้นั้น นักเรียนต้องใช้ผลการทดสอบภาษาอังกฤษได้ในระดับดี และมีผลการสอบวัดความรู้ความสามารถจากหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  การสอบ SAT ก็เป็นหนึ่งในการวัดผลที่ได้รับการยอมรับในระดับต้น ๆ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยและต่างประเทศ บทความนี้ The Planner จึงได้รวบรวม ทุกข้อมูลที่น้อง ๆ ควรรู้เกี่ยวกับข้อสอบ SAT โดยเฉพาะข้อสอบ SAT Digital อัปเดตล่าสุด! ครบถ้วนก่อนใคร! จะมีอะไรน่าสนใจบ้างมาดูกัน SAT คืออะไร? มารู้จักข้อมูลพื้นฐานกันก่อน SAT (Scholastic Aptitude Test หรือ Scholastic Assessment Test) คือ การสอบวัดความรู้ความสามารถของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา จัดขึ้นโดยหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า College Board ปัจจุบันข้อสอบ SAT เป็นข้อสอบที่มหาวิทยาลัยทั่วโลกให้การยอมรับ รวมถึงมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่รับพิจารณาคะแนนนี้ เมื่อน้อง ๆ ยื่นเข้าเรียนต่อในหลักสูตรอินเตอร์ หรือนานาชาติ ข้อสอบ[...]

AS/A-LEVEL คืออะไร? หลักสูตร High School UK เด็กอินเตอร์ติว AS/A-LEVEL ที่ไหนดี?

หลักสูตร AS/A-LEVEL คืออะไร? AS/A-LEVEL หรือ Advanced Level เป็นหลักสูตรการศึกษา 2 ปี ของประเทศอังกฤษเพื่อให้นักเรียนอายุระหว่าง 16-19 ปี หรือที่ศึกษาอยู่ Year 12 และ Year 13 ได้เตรียมความพร้อมในการเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย หลักสูตร AS/A-LEVEL นั้นถูกต่อยอดมาจาก GCSE/IGCSE หรือ GCE O-LEVEL หลักสูตร AS/A-LEVEL เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า GCE Advanced Level ย่อมาจาก The General Certificate of Education (GCE) Advanced Level แต่เพื่อความสะดวก จึงเรียกสั้น ๆ แค่ A-LEVEL อย่างที่รู้จักกันนั่นเอง หลักสูตร AS/A-LEVEL ถูกแบ่งออกเป็น 2 ระดับด้วยกัน คือ AS-LEVEL [...]

IGCSE คืออะไร? เลือกวิชายังไงให้ตอบโจทย์ Plan แห่งอนาคต

IGCSE คืออะไร? IGCSE (International General Certificate of Secondary Education) เป็นหลักสูตรของประเทศอังกฤษที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกและเป็นการสอบเพื่อศึกษาต่อในระดับ AS/A-LEVEL, Cambridge Pre-U หรือ IB Diploma Programme (International Baccalaureate) โดยผู้สอบจะต้องสอบ IGCSE ให้ผ่านอย่างน้อย 5 วิชา ด้วยเกรดไม่ต่ำกว่า C ซึ่งการให้คะแนนของแต่ละวิชาในการสอบ IGCSE นั้นเริ่มต้นที่เกรด A* ถึง G (A*, A, B, C, D, E, F, G) และ U (Ungraded) ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการประเทศไทยรับรองวุฒิ IGCSE เทียบเท่าแค่ ม.4 เท่านั้น หากต้องการเทียบวุฒิ ม.6 นักเรียนจะต้องสอบ AS/A-LEVEL เพิ่มอีกอย่างน้อย 3 วิชา[...]

หลักสูตร GED คืออะไร? รวมทุกอย่างที่ควรรู้เกี่ยวกับ GED

ในปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่มีทางเลือกมากมายในการกำหนดชีวิตและอนาคตของตัวเอง นั่นรวมไปถึงการศึกษาก็เช่นกัน เด็กรุ่นใหม่มีโอกาส มีทางเลือกทางการศึกษาหลายทางเลือก และการศึกษานอกระบบโรงเรียนก็เป็นที่ยอมรับในสังคมมากขึ้น อีกทั้งในระดับอุดมศึกษาก็เปิดรับเด็กที่จบจากการศึกษานอกระบบโรงเรียนมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะการสอบเทียบ หลักสูตร GED ที่เด็กเจนใหม่หลายคนเลือกการศึกษาทางเลือกนี้ ทว่าอาจมีน้อง ๆ อีกหลายคนและผู้ปกครองอีกหลายท่าน ยังไม่รู้จักการเรียนในระบบทางเลือกอย่างการเรียน GED เท่าที่ควร บทความนี้ The Planner รวบรวมทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับหลักสูตร GED มาไว้ให้เรียบร้อยแล้วค่ะ What is GED? หลักสูตรสอบเทียบ GED คืออะไร? การสอบเทียบ GED คือหนึ่งในหลักสูตรสอบเทียบ ม.6 ซึ่งเป็นการศึกษานอกระบบโรงเรียนของประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อเต็ม ๆ ของ GED คือ General Educational Development นั่นเอง อีกทั้งวุฒิ GED ถือเป็นวุฒิที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ประเทศไทยเองก็ให้การยอมรับว่า “วุฒิ GED เทียบเท่าได้กับวุฒิ ม.6 ของไทย” GED สอบอะไรบ้าง? ข้อสอบ GED[...]

เจาะเกณฑ์คะแนนยื่น MUIC

ถ้าพูดถึงหลักสูตรนานาชาติยอดฮิตในประเทศไทย ที่ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนไทยเอง หรือนักเรียนต่างชาติเอง ล้วนต่างก็อยากเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จะต้องมี MUIC หรือ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคำตอบแรก ๆ ในหัวของน้อง ๆ เลยใช่ไหมคะ MUIC เรียกได้ว่าเป็นวิทยาลัยที่มีความนานาชาติเอามาก ๆ เลย จะเห็นได้ชัดจากการเปิดปิดเทอม ที่ปีหนึ่งมีปิดเทอมถึง 3 ครั้ง เป็นการปิดเทอมตามมหาวิทยาลัยของต่างประเทศ และการที่มีนักศึกษาต่างชาติเรียนเยอะ ก็การันตีความนานาชาติและเป็นที่ยอมรับของ MUIC ได้ดีเลย ตารางการรับนักศึกษาใหม่ทั้ง 4 เทอม เทอม ช่วงเวลาการเปิดรับสมัคร เทอม 1 19 เม.ย. – 8 พ.ค. 66 เทอม 2 28 มิ.ย. – 11 ก.ค. 66 เทอม 3 2 – 17 ต.ค. 66 เทอม 4[...]

อยากติด CommDe & INDA ทำไมต้องมาติวที่ The Planner Education

CommDe และ INDA หลักสูตรนานาชาติของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 หลักสูตรอินเตอร์ยอดฮิตสุดท็อปในใจเด็กรุ่นใหม่ รวมถึงน้อง ๆ นักเรียนหลายคนของ The Planner Education เอง ต่างก็มีคณะในฝันเป็น CommDe หรือไม่ก็ INDA น้องโมจิและน้องปันปันเองก็เช่นกัน จากเด็กที่เมื่อครึ่งปีก่อน เป็นแค่เด็กที่มีความฝันและความตั้งใจที่จะเข้า INDA ไม่ก็ CommDe เท่านั้น มาตอนนี้ทั้ง 2 สาว นักเรียนของ The Planner ก็บรรลุเป้าหมายของพวกเธอทั้งสองคนได้สำเร็จ น้องโมจิว่าที่นิสิต CommDe และน้องปันปันว่าที่นิสิต INDA สองสาวกับชีวิตครึ่งปีสู่รั้วจามจุรี ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า วันนี้ The Planner จะมาแชร์เหตุผลว่า “ทำไมอยากเข้า CommDe หรือ INDA ต้องมาติวที่ The Planner” ทำความรู้จัก CommDe เพิ่มเติมได้ที่ Let’s Talk About CommDe[...]

ประวัติ Abraham Lincoln ประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่แห่งอเมริกา ต้นแบบแห่งการ “เลิกทาส”

10 แกรมม่าที่หลายคนอาจมองข้ามไปเวลากำลังเตรียมสอบ IELTS ทบทวนแกรมม่าซ้ำจะทำให้แม่นมากขึ้นในการเขียนคำตอบ IELTS พาร์ท Writing และจะสามารถเพิ่มโอกาสในการได้แบนด์สูงตามที่ตั้งใจไว้ Relative Clause คือ ประโยคซ้อนที่ทำหน้าที่เป็น Adjective โดยตามหลัง Relative Pronoun อย่างเช่น who, which, that, whom, whose, where, why ซึ่งคนส่วนใหญ่จะพลาดตรงที่เลือกใช้ Relative Pronoun ผิดนั่นเอง ตัวอย่างเช่น Wrong: The person which stays at that hotel is a Thai model. Correct: The person who stays at that hotel is a Thai model. Conditional Clause คือ ประโยคที่แสดงความเป็นเงื่อนไข[...]

BMAT ปี 2023 ยังมีสอบอยู่ไหม พร้อมตารางสอบ BMAT ปี 2023

หลังจากที่มีประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่า ในปี 2024 การสอบ BAMT จะยกเลิก ทำให้น้อง ๆ หลายคนที่กำลังจะเตรียมตัวยื่นคณะสายการแพทย์ในรอบ Portfolio หรือน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมยื่นคณะสายแพทย์ หลักสูตรนานาชาติ ต่างตกใจ และช็อกไปตาม ๆ กัน ว่าแล้วเราควรทำยังไงต่อไป ต้องสอบหรือใช้คะแนนส่วนไหนแทนดี The Planner ขอให้น้องหยุดกังวลกันไปก่อน เพราะน้อง ๆ #DEK67 ที่จะเข้าคณะสายการแพทย์ ทุกอย่างยังคงเดิม เพราะ”ในปี 2023 การสอบ BMAT ยังคงมี และยังไม่ได้ยกเลิกการสอบไปค่ะ” BMAT คืออะไร BMAT ย่อมาจาก The Biomedical Admissions Test ดำเนินการจัดการสอบโดย Cambridge Assessment Admissions Testing, University of Cambridge เป็นข้อสอบเฉพาะทางสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ ทันแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ ในหลายประเทศทั่วโลกต่างก็ใช้ BMAT เป็นตัวช่วยคัดนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในคณะสายการแพทย์ ประเทศไทยเองก็เช่นกัน รู้จักการสอบ BMAT ให้มากขึ้นใน อยากเป็นหมอ ต้องรู้ก่อนสอบ! รวม Tips[...]