เจาะลึกโครงสร้างข้อสอบ IELTS 4 พาร์ท พาคะแนนทะยานสู่ BAND 6.0+

IELTS สอบอะไรบ้าง? เจาะลึกโครงสร้างข้อสอบ 4 พาร์ท ทั้งฟัง, พูด, อ่าน และเขียน IELTS ถือเป็นใบเบิกทางสู่การสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในหลักสูตรนานาชาติ การทำความเข้าใจโครงสร้างทั้งหมดของข้อสอบ IELTS จึงจำเป็นมาก ๆ ก่อนลงสนามสอบจริง The International English Language Testing System หรือ IELTS คือการทดสอบวัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล สามารถใช้ในการสมัครงาน เรียนต่อ หรือขอวีซ่าทำงานต่างประเทศได้ด้วย  การสอบ IELTS จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ Academic: การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่มีความเป็นทางการ มักใช้กับการสมัครเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา General Training: การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่ใช้ทั่วไป มักใช้กับการสมัครวีซ่าหรือสมัครเรียนสายวิชาชีพ แม้ว่าข้อสอบพาร์ท Listening และ Speaking ของการสอบทั้ง 2 ประเภทจะเหมือนกัน แต่ข้อสอบพาร์ท Reading และ Writing มีความแตกต่างกัน โดยรูปแบบข้อสอบและภาษาที่ใช้ของ Academic[...]

เปิดคลังศัพท์ SAT English “ชวนสับสน” ใช้ไม่ถูกจุด คะแนนหลุดไปไกล

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงเคยพบปัญหา เจอคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่หน้าตาหรือการออกเสียงคล้ายกัน และไม่มั่นใจว่าจะเลือกใช้คำไหนดี จึงจะเหมาะสมกับบริบทของการใช้งานที่ถูกต้อง เช่น Two - To, Than - Then หรือ Advice - Advise ซึ่งกลุ่มคำเหล่านี้ จัดเป็น Confusing Words ที่หากน้อง ๆ ไม่ได้มีความเข้าใจหรือใช้งานอยู่เป็นประจำ ก็จะทำให้เกิดการใช้งานที่ไม่ตรงจุดหรือสร้างความสับสนได้ ทั้งในชีวิตประจำวันและในการทำข้อสอบ  โดยเฉพาะกับการสอบ SAT พาร์ท English ที่ในข้อสอบมักจะมีการทดสอบความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ แม้โจทย์จะไม่ได้ถามกันตรง ๆ ว่าคำศัพท์ที่กำหนดให้แปลว่าอะไร แต่น้อง ๆ จะต้องได้ใช้ความรู้พื้นฐานด้านคำศัพท์เพื่ออ่านและวิเคราะห์ Passage รวมถึงข้อมูลด้านอื่น ๆ ในข้อสอบอย่างแน่นอน   เพื่อให้น้อง ๆ มีความเข้าใจและคุ้นเคยมากขึ้นกับคำศัพท์ลักษณะนี้ บทความนี้ The Planner จึงคัดคำศัพท์ออกสอบ SAT English ที่มีลักษณะคล้ายหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด จนสร้างความสับสนและอาจเป็นตัวฉุดคะแนนของน้อง ๆ ในขณะสอบได้ จะมีคำไหนบ้าง[...]

IELTS vs TOEFL เทียบคะแนนสอบภาษาอังกฤษยอดฮิต พิชิตเรียนต่อ ม.อินเตอร์

เทียบให้ชัด! คะแนนสอบภาษาอังกฤษยอดฮิต IELTS และ TOEFL ต่างกันอย่างไร และมีวิธีนับคะแนนอย่างไรบ้าง? หลายคนอาจจะรู้จักการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษอย่าง IELTS และ TOEFL กันอยู่แล้ว ซึ่งการสอบทั้งสองแบบนั้นต่างก็ได้การรับยอมรับจากสถาบันและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในระดับสากล แต่สิ่งที่ The Planner จะมาไขข้อกระจ่างให้อ่านกันในบล็อกนี้คือความแตกต่างระหว่างการสอบทั้งสองแบบ ที่สำคัญคือ ‘การเปรียบเทียบคะแนน’ เพราะแม้ว่า IELTS และ TOEFL จะเป็นการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษเหมือนกัน แต่จัดสอบโดยคนละองค์กรและมีวิธีการนับคะแนนที่แตกต่างกัน การเทียบคะแนนจึงช่วยให้น้อง ๆ พอจะทราบได้ว่าคะแนนที่สอบได้ของอีกที่จะเทียบได้เท่ากับเลเวลใดของอีกที่  ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงไว้ก่อนว่าบล็อกนี้จะกล่าวถึงการสอบ TOEFL แบบ iBT หรือ Computer-based เป็นหลัก ซึ่งเป็นการสอบที่สามารถใช้ยื่นสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันได้เลย! ข้อแตกต่างระหว่าง IELTS และ TOEFL (iBT) รูปแบบการสอบ IELTS: มีการจัดสอบทั้งแบบ paper-based คือ การเขียนสอบบนกระดาษ กับ computer-based คือ การสอบกับคอมพิวเตอร์ โดยมหาวิทยาลัยไม่ได้จำกัดว่าต้องใช้ผลสอบในรูปแบบใดในการยื่นสมัครเรียน[...]

เปิดเกณฑ์การรับสมัครเข้าจุฬาฯ ภาคอินเตอร์ ฉบับอัปเดต 2025

เตรียมตัวให้พร้อม! ข้อมูลที่ควรรู้ก่อนเข้าจุฬาฯ ภาคอินเตอร์ กับเกณฑ์การรับสมัครฉบับอัปเดตปี 2025  ใกล้เข้ามาแล้วกับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสำหรับ DEK68 ใครที่เล็งจุฬาฯ หลักสูตรนานาชาติไว้จะต้องอ่านบล็อกนี้ เพราะ The Planner ได้รวบรวมข้อมูลสำคัญที่น้อง ๆ ต้องรู้ รวมถึงเกณฑ์การรับสมัครในปี 2025 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในฝันของใครหลายคน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นภาคอินเตอร์การแข่งขันก็ไม่ได้น้อยไปกว่าภาคไทยเลย เพราะนอกจากคนไทยที่ต้องการเข้าศึกษาต่อแล้ว นักเรียนต่างชาติในประเทศไทยก็สนใจเข้าเรียนที่จุฬาฯ ไม่ต่างกัน การเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง จึงไม่เกินจริงสำหรับการสมัครเรียนจุฬาฯ อินเตอร์ เพราะถ้าเรารู้เกณฑ์คะแนนและข้อมูลต่าง ๆ ไว้ก่อน ก็จะช่วยเตรียมความพร้อมให้น้อง ๆ ได้เข้าไปเป็นนิสิตจุฬาฯ ได้มากขึ้น Source: www.chula.ac.th ทำไมอินเตอร์จุฬาฯ น่าเรียน มหาวิทยาลัยชั้นนำ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของไทยที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยติดอันดับ Impact Rankings 2021 ที่ 1 ในเอเชีย และที่ 23 ของโลก จัดอันดับโดย Times Higher Education[...]

เปิดปฏิทินเด็กอินเตอร์ TCAS68 กำหนดการวันไหน? เตรียมคะแนนยังไง? ต้องรู้!

TCAS67 กำลังจะผ่านไป ใกล้เข้ามาแล้วกับหนทางเข้าสู่มหาวิทยาลัยของน้อง ๆ TCAS68 โดยเฉพาะน้อง ๆ ที่มีเป้าหมายอยากเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติ ที่อาจต้องมีการเตรียมตัวมากขึ้นเป็นพิเศษ ทั้งในเรื่องของกำหนดการรับสมัครของแต่ละหลักสูตร และการเตรียมสอบอินเตอร์เพื่อยื่นสมัครในหลักสูตรที่ต้องการ เนื่องจากในทุก ๆ ปี กำหนดการของทุกรอบรับสมัคร TCAS จาก ทปอ. หรือจากทางมหาวิทยาลัยเอง มักจะมีกำหนดออกมาใกล้เคียงกับปีก่อนอยู่เสมอ ในบทความนี้ The Planner จึงขอมาเปิดปฏิทิน TCAS68 สำหรับเด็กอินเตอร์ ฉบับคาดการณ์ ให้ได้เตรียมใจ เตรียมคะแนนกันตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่ละจุดที่น้อง ๆ TCAS68 ภาคอินเตอร์ต้องให้ความสำคัญจะมีอะไรบ้าง? อ่านข้อมูลด้านล่างนี้ได้เลย  กำหนดการ TCAS68 หลักสูตรอินเตอร์ Pre-TCAS: ช่วงก่อนสิงหาคม 2567 ในช่วงนี้ถือเป็นช่วงโอกาสทองของน้อง ๆ สายอินเตอร์ทุกคน ที่จะได้ใช้เวลาเต็มที่ในการติวสอบและเตรียมคะแนนสอบที่ต้องการ เช่น คะแนน GED, SAT, IELTS หรือคะแนนสอบอินเตอร์อื่น ๆ รวมถึงการเริ่มเก็บสะสมผลงานของตัวเอง เพื่อให้ใช้ยื่นได้ทันตั้งแต่รอบแรกของการรับสมัครหรือรอบ Portfolio [...]

PAPER PRACTICE VS FAST TRACK l เลือกคอร์ส SAT แบบไหนให้ตอบโจทย์

อยากหาคอร์สติว SAT ที่ตรงจุดแต่ไม่แน่ใจว่าคอร์ส Paper Practice หรือ Fast Track จะตอบโจทย์กว่ากัน บล็อกนี้มีคำตอบ SAT (Scholastic Aptitude Test หรือ Scholastic Assessment Test) คือ การสอบวัดความรู้ความสามารถของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา จัดขึ้นโดยหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า College Board ปัจจุบันข้อสอบ SAT เป็นข้อสอบที่มหาวิทยาลัยทั่วโลกให้การยอมรับ รวมถึงมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทยก็รับพิจารณาคะแนนนี้เช่นกัน  ข้อสอบ SAT จะวัดความถนัดในวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics) และภาษาอังกฤษ (Evidence-Based Reading and Writing) คะแนนเต็มพาร์ทละ 800 คะแนน และคะแนนรวมทั้ง 2 พาร์ท เต็ม 1600 คะแนน เกณฑ์การรับนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยจะแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนมากมักใช้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 1200 ในการสมัคร ปัจจุบันได้มีการปรับรูปแบบการสอบมาเป็น Digital SAT ซึ่งเป็นการทดสอบผ่านแอปพลิเคชัน Bluebook[...]

ตามรอย Civil Rights Movement ยุค 1950s เหตุการณ์สำคัญออกสอบ GED Social Studies

ย้อนอดีตสู่ยุค 50s กับ Civil Rights Movement เหตุการณ์สำคัญที่ออกสอบ GED Social Studies “ความเท่าเทียม” หรือ Equality เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนในสังคมควรได้รับโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะเป็นความเท่าเทียมทางการศึกษา ความเท่าเทียมทางการทำงาน ความเท่าเทียมทางเพศ หรือความเท่าเทียมทางสีผิวก็ตาม  แต่ในความเป็นจริง เรื่องของ ความเท่าเทียมในสังคม กลับถูกหยิบยกออกมาพูดถึงหรือเรียกร้องในหลาย ๆ ครั้ง ผ่านประเด็นทางการเมืองและการบริหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ในบางพื้นที่หรือบางประเทศ ความเท่าเทียมหลายเรื่องจะได้รับการยอมรับและสนับสนุนจนเกิดขึ้นจริงแล้ว แต่ในบางพื้นที่ ปัญหาในเรื่องของความเท่าเทียมหลาย ๆ ด้าน ก็ยังคงไม่ได้รับการแก้ไขหรือคลี่คลายอย่างถูกต้อง ทำให้เรายังสามารถเห็นบรรยากาศของการออกมาประท้วงสิทธิ์เพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ผู้คนเหล่านั้นควรจะได้รับอยู่เนือง ๆ  ในการสอบ GED Social Studies ในพาร์ทของเนื้อหา Civics and Government น้อง ๆ ก็มีโอกาสเจอเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพด้านต่าง ๆ ของพลเมืองในอเมริกาด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในไทม์ไลน์ของ The Civil Rights Movement ในยุค 1950s ซึ่งมีเรื่องราวในเหตุการณ์ค่อนข้างเข้มข้นและต้องอาศัยความเข้าใจในเนื้อหาก่อนไปสอบอยู่พอสมควร[...]

From Passion to Profession l Interview with Our A-Level Student Accepted to MUIC

From a teenage boy passionate about Biology and Chemistry to a Biological Sciences student at MUIC.  Interview with ‘It’, a talented student from The Planner Education who secured admission to Mahidol University’s Biological Sciences Major. Let’s find out how an A-LEVEL course can help him achieve his dreams. ‘It’ has been fond of Biology and[...]

5 ไวยากรณ์ต้องรู้ ก่อนลุย GED RLA!

ก่อนสอบ GED ต้องรู้! แนะนำ 5 ไวยกรณ์สำคัญไว้ใช้ในการสอบ GED พาร์ท Reasoning Through Language Arts (RLA) สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบ GED เทียบวุฒิ ม.6 ต้องบอกก่อนเลยว่า ข้อสอบทั้ง 4 วิชาของ GED นั้นเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ดังนั้นน้อง ๆ ต้องเตรียมพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนเริ่มติว GED ตั้งแต่ไวยากรณ์พื้นฐาน หากน้อง ๆ กำลังลังเลว่าจะติว GED ที่ไหนดี อยากมีคนช่วยแบบครบทุกขั้นตอน ขอแนะนำมาที่ The Planner Education แนะนำ 5 ไวยากรณ์สำคัญที่จะช่วยให้น้อง ๆ ตะลุยข้อสอบได้อย่างง่ายดายตามนี้เลย 1. ประเภทของคำ (Parts of Speech) ในภาษาอังกฤษได้แบ่งประเภทของคำทั้งหมดไว้ 8 ประเภท ได้แก่ คำนาม[...]

GED Social Studies ยากตรงไหน? ทำไมใคร ๆ ก็กลัว

ใครวางแผนติวสอบ GED อยู่บ้าง? อย่างที่น้อง ๆ ได้ทราบกันมาเบื้องต้นแล้วว่า หลักสูตร GED จะต้องเรียนและสอบให้ผ่านครบทั้ง 4 วิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts (RLA), Mathematical Reasoning, Science และ Scocial Studies จึงจะสามารถเข้ารับวุฒิ GED หรือวุฒิเทียบเท่า ม.6 ของไทยได้  ซึ่งจากที่ The Planner ได้สำรวจความคิดเห็นของน้อง ๆ คอร์สติว GED ที่สถาบัน The Planner Education แนวโน้มส่วนใหญ่ให้น้ำหนักตรงกันว่า วิชา GED Social Studies เป็นวิชาที่ “ค่อนข้างยากและซับซ้อน” ซึ่งหากติวเองหรืออ่านหนังสือสอบเองก็อาจจะต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษในการสรุปเนื้อหาให้เข้าใจได้ทั้งหมด  ดังนั้น ในบทความนี้ The Planner ขอมาแบไต๋ ไขข้อกระจ่างให้เข้าใจไปพร้อมกันว่า วิชา GED[...]

SAT คะแนนไม่สูง ยังมีโอกาสรอด! รวมหลักสูตรอินเตอร์ 3 ม.ดัง รับ SAT ไม่โหด

คะแนน SAT เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติเกือบทุกที่ และด้วยเหตุผลที่ข้อสอบมีการวัดทักษะทั้งด้าน Mathematics และ English จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้สอบหลายคนจะได้คะแนนแตกต่างกัน ตามความพร้อมในการติว SAT และความถนัดของแต่ละบุคคล สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ได้คะแนน SAT อยู่ในเกณฑ์กลาง ๆ หรือไม่สูงมาก (ไม่เกิน 500 คะแนนต่อพาร์ท หรือมีคะแนนรวมไม่เกิน 1000) หรือน้อง ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าจะติว SAT ที่ไหนดี แต่ยังต้องการยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์ที่มีความนิยมอยู่ ในบทความนี้ The Planner ได้รวบรวม หลักสูตรอินเตอร์จากรั้วจุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีเกณฑ์รับ SAT ไม่สูงมาก ปี 2024 มาให้ ซึ่งอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการยื่นสมัครในหลักสูตรที่ใกล้เคียงหรือหลักสูตรที่คะแนน SAT ของตนเองไปไหว โดยในแต่ละที่จะมีหลักสูตรน่าสนใจอะไรบ้าง? ไปอ่านรายละเอียดกัน รวมหลักสูตรอินเตอร์ รับ SAT ไม่โหด! 3 ม.ดัง[...]

Understanding the Differences: IGCSE EFL (First Language) vs. ESL (Second Language)

Learning the English language can be challenging, especially when students have to choose various IGCSE courses like IGCSE EFL and IGCSE ESL. In this blog, we will provide in-depth information on both subjects. What is IGCSE EFL? IGCSE EFL, or International General Certificate of Secondary Education English as a First Language, is designed for students[...]

IELTS One Skill Retake คืออะไร? สรุปรวมทุกเรื่องต้องรู้ อัปเดต 2024!

IELTS สอบบางพาร์ทได้ไหม? ปกติแล้วในการสอบ IELTS หรือ International English Language Testing System น้อง ๆ จะต้อง สอบทั้งหมด 4 พาร์ทให้ผ่านในรอบเดียวตามลำดับ ซึ่งก็เหมือนกับเป็นการ “วัดกึ๋น” กันไปเลย ถ้าสอบแล้วได้คะแนนดี มี Band สูงตามเป้าที่หวังไว้ก็โล่งอกไป แต่ถ้าคะแนนบางพาร์ทของน้อง ๆ น้อยกว่าที่ตั้งใจเตรียมตัวมา จนฉุดคะแนน Overall ให้น้อยลงไปด้วย หรือรู้สึกว่ายังไม่พึงพอใจในบางพาร์ทและต้องการที่จะ สอบ IELTS ใหม่ น้อง ๆ ก็จำเป็นจะต้องกลับไป “สอบใหม่ทั้ง 4 พาร์ท” เพื่อให้ได้คะแนน Band ที่สูงมากขึ้นกว่าเดิม อ่านแล้วแอบเป็นท้อกันอยู่ใช่ไหม? แต่สบายใจได้แล้ว เพราะปัจจุบัน น้อง ๆ ที่ติว IELTS หรือกำลังจะไปสอบ IELTS สามารถ “สอบ IELTS บางพาร์ทได้”[...]

How to สอบ IELTS Speaking แบนด์สูง!

“เตรียมตัวดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” คำพูดนี้ไม่ใช่เรื่องเกินจริงเลย เพราะถ้าน้อง ๆ มีการเตรียมตัวสำหรับ IELTS Speaking มาอย่างเต็ม 100% ย่อมไม่มีอะไรให้ต้องกังวลเลย ดังนั้น เรามาดู How to สอบ IELTS Speaking แบนด์สูง ด้วยคำแนะนำด้านล่างนี้กัน 1. ทำความเข้าใจรูปแบบการสอบ สิ่งสำคัญอันดับ 1 ก่อนที่จะเริ่มฝึกคือ น้อง ๆ ต้องทำความเข้าใจรูปแบบการสอบ IELTS Speaking ว่า มีลักษณะอย่างไร แต่ละพาร์ทมีสัดส่วนคะแนนเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้วางแผนฝึกฝนสำหรับทักษะนี้ต่อไป สัดส่วน IELTS Speaking (3 Parts) Part 1 Questions about the test taker (4 - 5 mins) สำหรับพาร์ทเริ่มต้นนี้ กรรมการจะถามข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเราโดยทั่วไป เช่น ครอบครัว งาน[...]

5 ปัญหาที่ชาว GEN Z เจอ!? แถมเทคนิคทำยังไงให้โฟกัสดีขึ้น

คิดว่าชาว Gen Z ที่ยังอยู่ในวัยเรียนหลายคนต้องเคยเจอปัญหาหรือความกังวลเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น เรียนหนัก ตารางเรียนแน่น เรียนหลายวิชา เรียนต่อสาขาอะไรให้ไม่ตกงาน และสารพัดความกังวลที่ทำให้น้อง ๆ อดไม่ได้ที่จะเผลอปวดหัวอยู่หลายครั้ง The Planner รวบรวมปัญหาและทางออกดี ๆ สำหรับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วไว้ในกระทู้นี้แล้ว เรียนหนัก การบ้านเยอะ ตารางเรียนโดยทั่วไปจะมีทั้งวิชาหลักและวิชาเพิ่มเติม ในแต่ละภาคการศึกษาอาจต้องเรียนมากถึง 13 วิชา ดังนั้นหากสมมุติว่าแต่ละวิชามอบหมายงานให้ 1 ชิ้นต่อสัปดาห์ การบ้านหรือชิ้นงานต่อ 1 ภาคการศึกษาก็ถือว่าไม่น้อย ทำให้น้อง ๆ ต้องแบ่งเวลาแบบรัดตัวมาก ๆ ทางออกที่ใช่ เขียน To-do List: แนะนำให้น้อง ๆ เขียนรายการชิ้นงานหรือการบ้านที่ได้รับมอบหมายในทุกครั้งที่มีการอัปเดตจากแต่ละรายวิชา เพราะการเขียนออกมาจะทำให้เราเห็นการเตือนตัวเองที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ทำให้น้อง ๆ สามารถนำรายการเหล่านี้ไปจัดลำดับความสำคัญ ระบุวันกำหนดส่งได้ชัดเจน และสามารถวางแผนจัดเวลาในการทำชิ้นงานให้เสร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น *ไม่แนะนำให้จำอย่างเดียวโดยไม่จด เพราะน้อง ๆ อาจจะเผลอลืมได้ การเขียนเป็นหลักฐานที่เราสามารถย้อนกลับมาดูอีกครั้งนั่นเอง ตารางเรียนแน่น ตารางเรียนรายสัปดาห์แน่นจนแทบไม่มีช่วงว่างให้ได้ผ่อนคลายเลยทีเดียว เนื่องจากใน 1 วัน[...]

อัปเดต 2025! อยากเป็นหมอ ยื่น GED เข้าแพทย์ในไทยที่ไหนได้บ้าง

แพทยศาสตร์ ไม่ว่าจะอีกกี่ปีก็ยังคงเป็นหลักสูตรยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของเด็กไทยและหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก เนื่องด้วยบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะ “แพทย์รักษาโรค” ยังคงขาดแคลนและไม่เพียงพอต่อประชากรโลกที่ต้องการเข้าถึงการรักษา และทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า แพทย์ เป็นหลักสูตรที่เรียนค่อนข้างยาก และต้องใช้ความสามารถทางวิชาการสูงในการสอบเข้าศึกษา ซึ่งนักเรียนที่จะสามารถเข้าไปเรียนแพทย์ได้ส่วนใหญ่ มักอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเรียนจบในหลักสูตรแกนกลาง หรือหลักสูตร ม.ปลาย ที่มีการรองรับคุณภาพ   แต่ในปัจจุบัน หลักสูตรแพทยศาสตร์ เปิดกว้างให้กับผู้ที่ต้องการเรียนแพทย์หรืออยากเป็นหมอมากขึ้น โดยการขยายโอกาสยื่นเข้าศึกษาผ่านการใช้วุฒิการศึกษาเทียบเท่า GED จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่เริ่มมีการเปิดรับหลักสูตร GED ให้ยื่นเข้าเรียนแพทย์ได้มากขึ้นในหลาย ๆ สถาบัน และในบทความนี้ The Planner จะขอพาน้อง ๆ ไปดูกันว่า วุฒิ GED เรียนแพทย์ในไทยที่ไหนได้บ้าง? อัปเดตล่าสุดปี 2025!  GED เรียนแพทย์ในไทยที่ไหนได้บ้าง? คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  หลักสูตรแพทย์ ภาคอินเตอร์ ลาดกระบัง อีกหนึ่งหลักสูตรแพทย์ที่มีชื่อเสียงยาวนานในเรื่องของคุณภาพการสอนและการวิจัยทางการแพทย์ และเปิดกว้างในการรับน้อง ๆ เข้าศึกษาทั้งระดับ[...]

GED เรียนเภสัชได้! เภสัช อินเตอร์ มข. สานฝันเด็กเทียบวุฒิเป็น “หมอยา”

เภสัชศาสตร์ หลักสูตรยอดนิยมสายวิทย์ติดอันดับต้น ๆ ที่มียอดการแข่งขันเข้าเรียนสูงไม่แพ้สายแพทย์ โดยทั่วไปแล้ว นักเรียนหรือน้อง ๆ ที่จะยื่นคะแนนเข้าในหลักสูตรนี้ จำเป็นที่จะต้องเรียนจบในสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือสายการเรียนที่มีความเข้มข้นในเรื่องของวิทยาศาสตร์ตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่หลักสูตรเภสัชศาสตร์ ก็มักจะมีความชัดเจนในเรื่องของการ “ไม่รับนักเรียนเทียบวุฒิ” แบบนี้หลายคนคงจะสงสัยกันไม่น้อยว่า แล้วเภสัชรับ GED ไหม ถ้าเป็นหลักสูตรอินเตอร์? คำตอบก็คือ “มีหลักสูตรรับ GED อยู่ 1 ที่” นั่นคือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ นานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้เปิดโอกาสอย่างเป็นทางการในการ “รับวุฒิ GED หรือนักเรียนสายเทียบวุฒิ” เพื่อพิจารณาเป็นนักศึกษา ที่มาและรายละเอียดของหลักสูตรเภสัช อินเตอร์ ม.ขอนแก่นจะเป็นอย่างไร? ยื่นหลักสูตรนี้ใช้คะแนน GED อย่างเดียวหรือไม่? อ่านข้อมูลด้านล่างได้เลย เภสัช อินเตอร์ ม.ขอนแก่น หลักสูตรแรกในไทยที่สอนเภสัชแบบ “นานาชาติ” เมื่อพูดถึง หลักสูตรเภสัชศาสตร์ ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษล้วน หรือสอนแบบนานาชาติ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คงเป็นคำตอบแรก ๆ ที่น้อง ๆ[...]

IGCSE for Applying Arts and Literature

Do you find yourself passionate about Arts rather than Math or Science? This blog is here to help you prepare your future goals! What are Arts and Literature about? Simply, students of Arts and Literature are going to study several subjects such as Literature Studies, Global Cultures, World History, Philosophy, and a lot more! While[...]

IELTS VS CEFR ต่างกันอย่างไร?

ในหัวข้อนี้ The Planner จะพาไปทำความรู้จัก CEFR และ IELTS แบบละเอียดยิบกันก่อนเปรียบความต่างระหว่างทั้งสองข้อสอบ CEFR คืออะไร? Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) เป็นมาตรฐานสากลในการวัดระดับความเชี่ยวชาญภาษาที่ไม่ได้มีเพียงแค่ภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่ง CEFR เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทางยุโรป สำหรับภาษาอังกฤษจะแบ่งระดับความเชี่ยวชาญภาษาเป็น 6 ระดับ ใน 3 กลุ่มผู้ใช้ภาษา ดังตารางด้านล่าง (จากมากไปน้อย) ระดับเชี่ยวชาญ C2 C1 ระดับกลาง B2 B1 ระดับเริ่มต้น A2 A1 CEFR เหมาะกับใคร? สำหรับน้อง ๆ ที่อยากทดลองวัดระดับความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษสามารถเริ่มต้นจากการสอบ CEFR ผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแหล่งอาจมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป เช่น บางเว็บไซต์ให้บริการฟรี บางที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย รวมไปถึงใบรับรองระดับภาษา (Certificate) ที่อาจจะมีให้หรือไม่มี ขึ้นอยู่กับแต่ละแหล่ง[...]