สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเป็นหมอ อยากเรียนแพทย์ หรือมีความใฝ่ฝันที่จะได้ชื่อว่าเป็นนักศึกษาแพทย์สักครั้งในชีวิต ช่วงเวลาแห่งการยื่นคะแนนผ่านระบบ TCAS ทั้ง 4 รอบ ถือเป็นประตูสำคัญที่น้อง ๆ จะสามารถผ่านเข้าไปทำตามความฝันตัวเองได้
และอย่างที่ทราบกันดีว่าในการยื่น TCAS เพื่อเข้าเรียนในหลักสูตรแพทยศาสตร์ ที่ถือเป็นหลักสูตรยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของประเทศ น้อง ๆ จะต้องใช้ผลคะแนนสอบและคุณสมบัติเฉพาะค่อนข้างสูง ซึ่งแต่ละหลักสูตรแพทย์ ทั้งภาคอินเตอร์และภาคไทย ก็จะมีเกณฑ์ในการรับเข้าศึกษาแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่ในปัจจุบัน หลักสูตรแพทยศาสตร์ ทั้งฝ่ายนานาชาติและภาคไทยส่วนใหญ่ใช้เป็นคุณสมบัติและคะแนนสำคัญในการพิจารณารับเข้าศึกษา คือ “ผลคะแนนสอบ IELTS”
ในบทความนี้ The Planner จึงอยากพาน้อง ๆ ไปรู้ความสำคัญของข้อสอบ IELTS ให้มากขึ้น และถ้าจะยื่นเข้าหลักสูตรแพทยศาสตร์ ทั้งภาคอินเตอร์และไทย ต้องใช้คะแนน IELTS เท่าไหร่? ใครอยากเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าคณะแพทย์ ข้อมูลนี้พลาดไม่ได้เลย
IELTS คืออะไร?
International English Language Testing System หรือ IELTS คือ ข้อสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ 4 ทักษะ ได้แก่ Listening, Reading, Writing และ Speaking สามารถแบ่งรูปแบบข้อสอบออกได้หลายประเภทตามการใช้งาน เช่น IELTS Academic สำหรับใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อ และ IELTS General Training สำหรับการอบรม การย้ายถิ่นฐาน หรือการทำงานในต่างประเทศ เป็นต้น โดย IELTS จะมีระดับคะแนนตั้งแต่ Band 1 ถึง 9 ซึ่ง Band 9 จะถือเป็นระดับคะแนนที่สูงที่สุด
ข้อสอบ IELTS จัดสอบโดย British Counsil, Cambridge และ IDP (IELTS Australia) ปัจจุบันคะแนน IELTS ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและมีการจัดตั้งสนามสอบ IELTS ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยก็มีความนิยมในการใช้ IELTS เพื่อพิจารณาคะแนนในด้านต่าง ๆ และมีสนามสอบ IELTS รองรับอยู่ทั่วประเทศด้วยเช่นกัน
IELTS สำคัญยังไงกับคณะแพทย์?
สำหรับหลักสูตรแพทยศาสตร์ ไม่เพียงแต่หลักสูตรนานาชาติหรือหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นที่มีเกณฑ์รับน้อง ๆ ที่มีทักษะทางภาษาอังกฤษเข้าศึกษา แต่สำหรับหลักสูตรภาคไทย ก็มีความต้องการด้วยเช่นกัน และแทบทุกหลักสูตรที่เปิดรับจะมีการระบุเกณฑ์คะแนนวัดระดับทางภาษาอังกฤษไว้ชัดเจน โดยเฉพาะคะแนนสอบ IELTS ด้วยเหตุผลสำคัญหลัก ๆ ดังนี้
- การเรียนแพทย์มีภาษาอังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้อง
ไม่เพียงแต่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่เป็นประโยชน์กับการศึกษาด้านการแพทย์ แต่ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากเนื้อหาการเรียนและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรแพทย์ จะเป็นคำศัพท์เฉพาะทางภาษาอังกฤษ รวมถึง Paper หรืองานวิจัยด้านการแพทย์ส่วนใหญ่ก็ล้วนมีเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษด้วยทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น น้อง ๆ ที่ยื่นเข้าหลักสูตรแพทยศาสตร์จึงมีความจำเป็นอย่างสูงที่จะต้องมีทักษะด้านการวิเคราะห์และการทำความเข้าใจในภาษาอังกฤษด้วย - บางหลักสูตรแพทย์เน้นเปิดรับรอบแรก ๆ
บางหลักสูตรแพทย์ในประเทศไทย จะเน้นเปิดรับคัดเลือกน้อง ๆ เข้าศึกษาแค่ในรอบ Portfolio, Quota หรือรอบ Direct Admission เท่านั้น ซึ่งในแต่ละปีอาจจะมีเปิดรับเพิ่มเติมหรือไม่รับเพิ่มแล้วในรอบ Admission หรือรอบ TCAS3 ก็ได้ เช่น คณะแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่จะเน้นเปิดรับน้อง ๆ ในรอบ Portfolio เป็นหลัก หรือหากเรียกตามชื่อรอบรับของสถาบันจะมีรอบรับ ดังนี้
2.1) รอบ First Round (Direct Admission 1-1)
2.2) รอบ Second Round (Direct Admission 2-1)
2.3) รอบ Final Round (Direct Admission 4-1)
ซึ่งในรอบดังกล่าว จะเน้นคัดเลือกน้อง ๆ ที่มีเกรดเฉลี่ย ม.ปลาย ในระดับดี มีคะแนนสอบเฉพาะแพทย์ และต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษ เช่น IELTS อยู่ในระดับสูง - บางหลักสูตรแพทย์มี MOU ต่างชาติ หรือได้เรียนต่อต่างประเทศ
ตัวอย่าง หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (โครงการร่วมฯ UCL) (Double Degree – ภาคภาษาไทย) ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-3 น้อง ๆ จะได้ไปศึกษาในชั้น Pre-Clinic ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม สหราชอาณาจักร และกลับมาเรียนต่อที่ประเทศไทยในปีที่ 4-6 จนจบการศึกษา ทำให้ในเกณฑ์การพิจารณาเข้าเรียนในหลักสูตร จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับระดับภาษาอังกฤษของผู้สมัคร - บางหลักสูตรแพทย์เรียนควบหลักสูตรอื่น
ตัวอย่าง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากจะเปิดสอนคณะแพทยศาสตร์หลักสูตรปกติ (ภาคไทย) ยังมีเปิดสอนอีก 2 หลักสูตรแบบ hybrid ที่เรียน 7 ปี ได้ 2 ปริญญา (ปริญญาตรีควบปริญญาโท) ได้แก่
- โครงการร่วม 2 หลักสูตร พ.บ. (แพทยศาสตรบัณฑิต) – กจ.ม. (การจัดการมหาบัณฑิต นานาชาติ)
- โครงการร่วม 2 หลักสูตร พ.บ. (แพทยศาสตรบัณฑิต) – วศ.ม. (วิศวกรรมชีวการแพทย์)
โดยทั้งสองโครงการนี้ จะมีเนื้อหาการเรียนการสอนที่ค่อนข้างกว้างและเข้มข้นมากกว่าหลักสูตรทั่วไป จึงได้มีการพิจารณาใช้ระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษเข้ามาเป็นหนึ่งในการพิจารณารับเข้าด้วย
อยากเรียนแพทย์ ใช้คะแนน IELTS เท่าไหร่?
ตัวอย่าง เกณฑ์ IELTS ยื่นแพทย์ภาคอินเตอร์
- คณะแพทยศาสตร์ (ภาคภาษาอังกฤษ) วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ (CICM)
การคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ CICM เริ่มเปิดรับสมัครรอบแรกผ่านทางเว็บไซต์ของวิทยาลัยในช่วงพฤศจิกายน – ธันวาคม (Portfolio) ของทุกปี
เกณฑ์รับเข้าแพทย์ ภาคภาษาอังกฤษ CICM รอบ 1: Portfolio ใช้เกณฑ์คะแนน IELTS (Academic) ขั้นต่ำ 6.5 ยื่นร่วมกับวุฒิการศึกษาระดับ ม.ปลาย/นานาชาติ และผลคะแนนสอบเฉพาะแพทย์ (UCAT/ข้อสอบที่เกี่ยวข้อง)
ข้อมูลเพิ่มเติม (อ้างอิงปีการศึกษา 2567): http://www.cicm.tu.ac.th/intra/imgCourse/1/r2RbtPkp.pdf - คณะแพทยศาสตร์ (ภาคอินเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
การคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคอินเตอร์ ลาดกระบัง เริ่มเปิดรับสมัครรอบแรกผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ช่วงพฤศจิกายนของทุกปีเป็นต้นไป
สำหรับรอบ 1: Portfolio หรือรอบ Direct Admission 1-1 (ตามชื่อประกาศของมหาวิทยาลัย) ใช้เกณฑ์คะแนน IELTS (Academic) ขั้นต่ำ 7.0 ยื่นร่วมกับวุฒิการศึกษาระดับ ม.ปลาย/นานาชาติ/GED และผลคะแนนสอบเฉพาะแพทย์ (ข้อสอบที่เกี่ยวข้อง) เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม (อ้างอิงปีการศึกษา 2567): https://reg.kmitl.ac.th/TCAS_old/news/files/2567_1_news1_3029_2023_10_30-13-44-34_df902.pdf
ตัวอย่าง เกณฑ์ IELTS ยื่นแพทย์ภาคไทย
- คณะแพทยศาสตร์ (ภาคภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เริ่มเปิดรับสมัครรอบแรกผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยช่วงกันยายน-ตุลาคมของทุกปี
สำหรับรอบ 1: Portfolio โครงการคัดเลือกนักเรียนที่มีความถนัดทางภาษาอังกฤษ ใช้เกณฑ์คะแนน IELTS (Academic) ขั้นต่ำ 7.0 ยื่นร่วมกับวุฒิการศึกษาระดับ ม.ปลาย/นานาชาติ และผลคะแนนสอบเฉพาะแพทย์ (TBAT) เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม (อ้างอิงปีการศึกษา 2568): https://admission.md.chula.ac.th/en-admission2568.pdf - คณะแพทยศาสตร์ (ภาคภาษาไทย) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มเปิดรับสมัครรอบแรกผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยในช่วงพฤศจิกายนของทุกปี
สำหรับรอบ 1: Portfolio มีการระบุการรับคะแนน IELTS แต่ไม่ได้ระบุเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ ซึ่งหากน้อง ๆ มีคะแนน IELTS ยื่นประกอบการสมัครเรียนด้วย จะได้รับการพิจารณาเข้าเรียนวิชาพื้นฐานพื้นฐานภาษาอังกฤษตามระดับภาษาอังกฤษ ไปจนถึงการยกเว้นการเรียนวิชาพื้นฐานพื้นฐานภาษาอังกฤษ ส่วนคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ต้องใช้ยื่นเข้า เช่น วุฒิการศึกษาระดับ ม.ปลาย/นานาชาติ และผลคะแนนสอบเฉพาะแพทย์ (UCAT/ข้อสอบที่เกี่ยวข้อง)
ข้อมูลเพิ่มเติม (อ้างอิงปีการศึกษา 2567): https://www.tuadmissions.in.th/img/2023110214281179.pdf - คณะแพทยศาสตร์ (โครงการร่วมฯ UCL) (Double Degree – ภาคภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์ UCL มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เริ่มเปิดรับสมัครรอบแรกผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยในช่วงตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี
สำหรับรอบ 1: Portfolio ใช้เกณฑ์คะแนน IELTS (UKVI) ขั้นต่ำ 7.0 ยื่นร่วมกับวุฒิการศึกษาระดับ ม.ปลาย/นานาชาติ/GED และผลคะแนนสอบเฉพาะแพทย์ (ข้อสอบที่เกี่ยวข้อง) เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม (อ้างอิงปีการศึกษา 2567): https://admission.swu.ac.th/file_staff_upload/file_news/4120231017113603.pdf - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
การคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มเปิดรับสมัครรอบแรกผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยในช่วงธันวาคมของทุกปี
สำหรับโครงการคัดเลือกนักเรียนที่มีความถนัดทางภาษาอังกฤษ ใช้เกณฑ์คะแนน IELTS (Academic) ขั้นต่ำ 7.0 (โครงการอื่นใช้ IELTS ขั้นต่ำ 6.5) ยื่นร่วมกับวุฒิการศึกษาระดับ ม.ปลาย/นานาชาติ และผลคะแนนสอบเฉพาะแพทย์ (ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของหลักสูตร) เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม (อ้างอิงปีการศึกษา 2567): https://drive.google.com/file/d/1h2_Vn6aCOLDLka8FsNbqetjqmPd9I-Y7/view - คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
การคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มเปิดรับสมัครรอบแรกผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยในช่วงธันวาคมของทุกปี
ทั้ง 3 หลักสูตรแพทย์รามาฯ ใช้เกณฑ์คะแนน IELTS (Academic) ขั้นต่ำ 6.5 ยื่นร่วมกับวุฒิการศึกษาระดับ ม.ปลาย/นานาชาติ และผลคะแนนสอบเฉพาะแพทย์ (ข้อสอบที่เกี่ยวข้อง) เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม (อ้างอิงปีการศึกษา 2567): https://tcas.mahidol.ac.th/qualified/portfolio1-1/0201ra.pdf?
อ่านบทความ IELTS Regular VS IELTS UKVI เรียนต่อ UK เลือกสอบแบบไหนดีที่สุด? คลิกที่นี่
อยากติว IELTS เสริมความมั่นใจก่อนยื่นเข้าแพทย์ เรียนคอร์ส IELTS ที่สถาบันติว IELTS The Planner Education เน้นติวเจาะเนื้อหาและพาตะลุยข้อสอบอัปเดตล่าสุดครบ 4 พาร์ท ทั้ง Listening, Reading, Writing และ Speaking สถาบันเน้นสอนสดทั้งแบบ Onsite และ Online โดยคุณครูประสบการณ์ตรงสายภาษา และมีทีมพี่แอดมินดูแลแบบ All-in-One Service ตั้งแต่เริ่มต้นติวจนสอบผ่าน พร้อมการันตีผล 100% ได้ IELTS Band 6.0++ หากไปสอบแล้วได้ Band ไม่ถึงเป้า เข้ามาเรียนซ้ำที่สถาบันได้ ฟรี!!
ยังไม่รู้ว่าจะติว IELTS ที่ไหนดีให้พร้อมติดหมอ? ติวคอร์ส IELTS กับ The Planner มั่นใจ ได้ IELTS แบนด์สูง พร้อมไปพิชิตคณะในฝันแน่นอน สอบถามตารางติวและวางแผนเข้ามหาวิทยาลัยกับพี่แอดมิน แอดไลน์ @theplanner
สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT | IELTS | ACT | GSAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ATS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!