มารู้จัก สาขาทัศนมาตรศาสตร์ Inter TU ศาสตร์ที่มากกว่าแค่การ “ทำแว่น”

ปัจจุบัน ผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตา มีอยู่เยอะมาก ๆ ไม่ว่าจะสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง และอื่น ๆ ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาก็จะมีหลากหลายรูปแบบ เช่น สวมใส่คอนแทกต์เลนส์ หรือทำการผ่าตัดเลสิกที่โรงพยาบาล แต่หนึ่งสิ่งที่น้อง ๆ ทุกคนคงคิดถึงเป็นอันดับแรกแน่ ๆ คือการ “วัดสายตาประกอบแว่น” เนื่องจากแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด มีระยะเวลาการใช้งานยาวนานพอประมาณ และมีราคาที่ย่อมเยา

แต่เชื่อหรือไม่ว่าการวัดสายตาประกอบแว่นนั้น ไม่ใช่แค่การตัดเลนส์เป็นวงกลมแล้วนำมาสวมใส่แน่นอน เพราะตำแหน่งสำคัญที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ “นักทัศนมาตร” ซึ่งวันนี้ พี่ The Planner ขอพาน้อง ๆ ไปดูความสำคัญของสายอาชีพนี้ และพาไปรู้จักกับ สาขาทัศนมาตรศาสตร์ (นานาชาติ) วิทยาลัยแพทยศาสตร์จุฬาภรณ์ (CICM) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในแง่มุมต่าง ๆ ถ้าสงสัยกันแล้วก็ไปดูพร้อม ๆ กันได้เลย

นักทัศนมาตร คืออะไร?
นักทัศนมาตร หรือ Optometrist มีหน้าที่ตรวจวินิจฉัยปัญหาทางด้านสายตาและระบบการมองเห็น ร่วมกับจักษุแพทย์และช่างตัดแว่น ซึ่งนักทัศนมาตรจะต้องอาศัยอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น กล้องโทรทรรศน์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในการช่วยตรวจวัดสายตา ผ่านการวิเคราะห์ระบบการมองเห็น 3 ระบบ คือ 1.ระบบหักเหของแสง (Refraction) 2.ระบบรับรู้ (Sensory)  และ 3.ระบบกลไก (Motor)

ซึ่งค่าต่าง ๆ เหล่านั้น จะสามารถแสดงให้เห็นถึงกระบวนการรับรู้และปัญหาที่เกิดขึ้นทางสายตาได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถคัดกรองและบ่งบอกการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับสายตา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือต้อประเภทต่าง ๆ ได้อีกด้วย หรือที่เราเรียกกันว่า การดูแลสุขภาพสายตาในสถานประกอบการ (Occupational Eye Health) ซึ่งเมื่อนักทัศนมาตรพบปัญหาในผู้ป่วย ก็จะส่งให้ทางจักษุแพทย์ทำการรักษาเชิงลึกต่อไป

นักทัศนมาตร เงินเดือนและความก้าวหน้าดีไหม?
เนื่องจากนักทัศนมาตร เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะวิชาชีพทั้งด้านวิทยาศาสตร์และศาสตร์เฉพาะทาง ที่ยังพบไม่มากสำหรับสายการทำงานนี้ในประเทศไทย โดยหากจะประกอบอาชีพทัศนมาตรศาสตร์ จะต้องทำการสอบใบประกอบวิชาชีพ หรือ “หนังสืออนุญาตให้ทำการประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์” จากกระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย

เรียกได้ว่าอาชีพนี้สำคัญไม่แพ้แพทย์เลย อีกทั้งยังเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมด้านเลนส์สายตาและเลนส์สัมผัส คลินิกทางการแพทย์ และสถานประกอบการทางด้านสายตาที่มีมาตรฐาน ดังนั้น เรื่องค่าตอบแทนเรียกได้ว่าสมน้ำสมเนื้อ ที่ราว ๆ 40,000 – 60,000 บาทต่อเดือนกันเลยทีเดียว

สาขาทัศนมาตรศาสตร์ (นานาชาติ) CICM TU เป็นอย่างไร?
หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต  (หลักสูตรนานาชาติ) (Doctor of Optometry, International Program) วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Chulabhorn International College of Medicine, Thammasat University) เป็นหลักสูตรที่เปิดให้น้อง ๆ ปี 2565 ได้เรียนเป็นรุ่นแรก เพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และปัญหาทางด้านสายตาที่เพิ่มมากขึ้นของผู้ป่วย ซึ่งต้องให้ความสำคัญด้านการแพทย์ในการดูแลสายตาและสุขภาพตา

รวมไปถึงการสอดรับกับร่างพระราชกฤษฎีกาประกอบวิชาชีพทัศนมาตร ที่กำลังจะมีผลอย่างมากกับการทำงานที่มีมาตรฐานมากขึ้นในสายอาชีพทางด้านสายตาในอนาคต และด้วยเป็นหลักสูตรการสอนแบบนานาชาติ จึงทำให้น้อง ๆ ที่จบการศึกษาจากหลักสูตรนี้ จะมีโอกาสในการทำงานที่กว้างกว่าหลักสูตรปกติอีกด้วย

เรียนทัศนมาตรศาสตร์ จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?

  • นักทัศนมาตรในระบบราชการ
  • นักทัศนมาตรในโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชน
  • ผู้เชี่ยวชาญคลินิกทัศนมาตรศาสตร์เฉพาะทาง
  • อาจารย์ผู้สอนในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
  • เจ้าของกิจการด้านเลนส์สายตาและเลนส์สัมผัส
  • เจ้าหน้าที่ในโรงงานอุตสาหกรรมเลนส์สายตาและเลนส์สัมผัส
  • นักทัศนมาตรในสถานประกอบการเลนส์สายตาและเลนส์สัมผัส
  • นักวิทยาศาสตร์หรือเจ้าหน้าที่วิจัยด้านสายตาและดวงตา เป็นต้น

 และในปี 2566 หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) (Doctor of Optometry, International Program) ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หลักสูตร 6 ปี ได้เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ที่มีความสนใจได้ยื่นคะแนนเพื่อสมัครเรียนกันอีกครั้ง ในมีนี้ เปิดรับทั้งหลักสูตรจำนวน 30 คน โดยมีเกณฑ์ Requirement สำหรับพิจารณา ดังนี้

  1. จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือหลักสูตรเทียบวุฒินานาชาติ (GED/A-Level/IB) ตามแนวทางเทียบวุฒิของมหาวิทยาลัย
  2. มีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
  • TOEFL(PBT): ≥ 500
  • TOEFL(ITP): ≥ 500
  • TOEFL(IBT): ≥ 500
  • TU-GET: ≥ 61
  • TU-GET(CBT): ≥ 500
  • IELTS: ≥ 6.0

โดยน้อง ๆ สามารถยื่นสมัครเข้าศึกษาหลักสูตรนี้ได้ 6 รอบ คือ

  1. Inter Portfolio 1 (1-30 พฤศจิกายน 2565)
  2. Inter Portfolio 2 (2-20 กุมภาพันธ์ 2566)
  3. TCAS 2 QUOTA (1-16 มีนาคม 2566)
  4. Inter Program-Admission 1 (1-28 เมษายน 2566)
  5. TCAS 3 Admission (7-13 พฤษภาคม 2566)
  6. Inter Program-Admission 2 (16-30 พฤษภาคม 2566)

หลักสูตรน่าสนใจแบบนี้ น้อง ๆ ทีมอินเตอร์ไม่ควรพลาด มั่นใจเรียนติวอินเตอร์หลักสูตร GED, IGCSE/A-Level, IB, TOEFL, TU-GET และ IELTS ที่สถาบัน The Planner Education สถาบันติวสอบเข้าอินเตอร์แบบครบสูตร One Stop Service เรียนจบพร้อมต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาทัศนมาตรศาสตร์ นานาชาติ และหลักสูตรอินเตอร์อื่น ๆ ที่ใฝ่ฝันได้เลย

สนใจติว A-LEVEL | IGCSE | GED | SAT/GSAT | ACT | IELTS | IB | AP | BMAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ARTS | TU-GET | Academic Writing ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 095-726-2666
หรือ LINE: @theplanner

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply