มหาวิทยาลัยบูรพา มีอินเตอร์คณะไหนบ้าง

เอาใจน้อง ๆ ที่ระดับอุดมศึกษาอยากปลีกวิเวกจากความวุ่นวายในเมือง อยากไปอยู่กับธรรมชาติใกล้ทะเลบางแสน The Planner ขอนำเสนอมหาวิทยาชื่อดังในย่านภาคตะวันออกของไทยอย่าง “มหาวิทยาลัยบูรพา” มหาวิทยาลัยขึ้นชื่อของชาวตะวันออก เหมาะกับน้อง ๆ ที่รักทะเล อีกทั้งหากเบื่อทะเล อยากกลับมาเที่ยวในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ก็เดินทางสะดวก ใช้เวลาเดินทางไม่นานอีกต่างหาก อีกทั้งที่มหาวิทยาลัยบูรพายังมีหลายหลักสูตรที่มีชื่อเสียง รวมถึง “วิทยาลัยนานาชาติ” ของที่นี่ก็มีหลักสูตรอินเตอร์ที่น่าสนใจมากมายเปิดสอน ในบทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับหลักสูตรอินเตอร์เหล่านั้นเองค่ะ 

 ทำไมหลักสูตรอินเตอร์ของมหาลัยบูรพาถึงน่าเรียน

  • คุณภาพทางการศึกษา: วิทยาลัยนานาชาติของมหาวิทยาลัยบูรพา เปิดทำการสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 2003 การันตีคุณภาพด้วยระยะเวลาที่เปิดการสอน และยังการันตีคุณภาพได้ด้วยเหล่าอาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
  • โอกาสได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตจริง: วิทยาลัยนานาชาติของมหาวิทยาลัยบูรพา เปิดรับนักศึกษาชาวต่างชาติ เพื่อนร่วมเรียนของน้อง ๆ จะมีเพื่อนชาวต่างชาติร่วมด้วย น้อง ๆ จะได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตจริงเพื่อสื่อสารกับเพื่อน ๆ ต่างชาติแน่ค่ะ อาจจะได้แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันด้วยนะคะ
  • โอกาสในการไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ: วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา มี MOU ร่วมกับสถาบันต่างประเทศหลายแห่ง เช่น Global Business Leadership (เกาหลีใต้) ฯลฯ
  • โลเคชั่นที่ดี: มหาวิทยาลัยบูรพาอยู่ในที่ตั้งที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ และทะเลบางแสน มีแหล่งท่องเที่ยวใกล้มหาวิทยาลัยหลายแห่ง อีกทั้งไม่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ เดินทางไปกรุงเทพฯใช้เวลาไม่นาน

หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา มีหลักสูตรอะไรบ้าง
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา หรือ BUUIC เปิดการสอนหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรีอยู่ทั้งหมด 8 หลักสูตรดังนี้ 

  1.   Bachelor of Business Administration in Holistic Health and Wellness Management (HWM): หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจด้านสุขภาพและการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม

หลักสูตรนี้มาจากความร่วมมือระหว่าง 3 คณะ ได้แก่ วิทยาลัยนานาชาติ คณะแพทยศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์

เรียนอะไร: การบริหารจัดการธุรกิจด้านสุขภาพและสุขภาวะที่ตอบสนองต่อการเติบโตอย่างรวดเร็วในสังคม ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ การจัดการธุรกิจและภาษา

ตัวอย่างอาชีพหลังเรียนจบ:

  • Wellness entrepreneur
  • Health Management Consultant
  • Wellness Ambassador
  • Health Planner
  • Spa Manager
  • Wellness Counselling
  • Aesthetic case specialist
  • Medical Administration 

 

  1.   Bachelor of Business Administration in Hospitality Tourism and MICE Management (HTM): หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบริการและการท่องเที่ยวนานาชาติ

เรียนอะไร: เรียนด้านการจัดการ การบริการ การจัดการการตลาดเพื่อธุรกิจโรงแรม และการท่องเที่ยว เช่น วิชามัคคุเทศก์ ฯลฯ

ตัวอย่างอาชีพหลังเรียนจบ:

  • Travel Consultant
  • Online Travel
  • Tour Guide
  • Event and conference organiser
  • Incentive Travel Consultants
  • Meeting or Convention Planner
  • Hotel associate
  • Restaurant supervisor or manager
  • Hotel Sales and Marketing Manager
  • Affiliate Marketing
  • Airline Crew

 

  1. Bachelor of Business Administration in Digital and Creative Marketing (DCM): หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การตลาด)

เรียนอะไร: เรียนด้านการตลาด เช่น การตั้งราคาตามตลาด การขยายช่องทางทางการค้า ฯลฯ

ตัวอย่างอาชีพหลังเรียนจบ:

  • Marketing analyst
  • Strategic marketing specialist
  • Product management assistant
  • Event planning technician
  • Market research analyst
  • Media planning technician
  • Public relations representative
  • Sales representative
  • Social media coordinator
  • Advertising specialist
  • Digital marketing technician
  • E-Commerce coordinator

  

  1. Bachelor of Business Administration in International Business Management (IBM): หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ)

เรียนอะไร: การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ การวิเคราะห์ทางการตลาด การค้าขายในระดับระหว่างประเทศ วิธีการจัดการความเสี่ยง สนธิสัญญาระหว่างประเทศ และการให้บริการทางการเงินในการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ

ตัวอย่างอาชีพหลังเรียนจบ:

  • Entrepreneur or Business Owner
  • Customer Service Representative
  • Strategic Planning Technician
  • International Trade Analyst
  • Import-Export Representative
  • Business Analyst
  • Product Management Assistant
  • Project Management Assistant
  • Marketing Analyst

 

  1. Bachelor of Business Administration in Finance (FIN): หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การเงิน)

เรียนอะไร: การวิเคราะห์การเงินมุมมองในใหม่ ๆ การลงทุน การบริหารความเสี่ยง วิชาธุรกิจไฟแนนซ์ วิชาการเงิน การธนาคาร และตลาดเงิน ฯลฯ

ตัวอย่างอาชีพหลังเรียนจบ:

  • Budget analysts
  • Financial analysts
  • Personal financial advisors
  • Finance or other areas of business
  • Business entrepreneurs

  

  1. Bachelor of Business Administration in Logistics and Supply Chain Management: หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์

เรียนอะไร: ความรู้ทางการจัดการโลจิสติกส์ เช่น ระบบคลังสินค้า การจัดส่งทางธุรกิจ การขนส่งระหว่างประเทศ ฯลฯ

ตัวอย่างอาชีพหลังเรียนจบ:

  • Logistics and supply chain manager, consultant, or analyst
  • Logistics and supply chain process improvement manager
  • Business owner in logistics and supply chain
  • Quality control manager
  • Freight forwarder
  • Exporter and importer
  • Warehouse and stock manager
  • Procurement manager
  • Logistics deputy manager

  

  1. Bachelor of Arts in International Human Resources (IHR): หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทักษะการติดต่อสื่อสารเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เรียนอะไร: ทักษะการสื่อสารในองค์กร ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในงานฝ่ายบุคคล  การวางแผนและการพัฒนาองค์กร  ฯลฯ

ตัวอย่างอาชีพหลังเรียนจบ:

  • Human resources analyst
  • Training and development coordinator
  • Multinational corporate trainer or facilitator
  • International operations entrepreneur
  • Secretary  

 

  1. Bachelor Of Arts In Global Business Communication (GBC): หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการติดต่อสื่อสาร

เรียนอะไร: เรียนภาษาอังกฤษแบบเจาะลึกในเชิงการสื่อสาร เช่น การสื่อสารภายในองค์กร การสื่อสารสำหรับการเป็นผู้นำ เรียนเกี่ยวกับภาษาที่ 3 เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ

ตัวอย่างอาชีพหลังเรียนจบ:

  • Public Relation Specialist
  • Translator
  • Interpreter
  • Technical Writer
  • International Relations Specialist
  • International Operations Entrepreneur
  • Administrative Analyst
  • Customer Relations Specialist
  • Event Coordinator
  • Secretary 

 

ค่าเทอมสำหรับ BUUIC
ทุกหลักสูตรเรียนทั้งหมด 4 ปี ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรอยู่ที่ 490,000฿ แบ่งเป็นค่าเทอม เทอมละ 60,000฿ และค่าสมัครครั้งแรกอีก 10,000฿

 อยากเข้า BUUIC ต้องทำยังไง

    • วุฒิการศึกษา: มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า *รับวุฒิ GED
    • เกรดเฉลี่ย
      – ระบบการศึกษาของไทย: GPAX ไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ 2.00 (ขึ้นอยู่กับระเบียบการในรอบที่น้อง ๆ สมัคร)
      – ระบบการศึกษาของอังกฤษ: ต้องมีเกรด A, B, C, D หรือ E สำหรับ 3 วิชาหลัก
    • มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษระดับดี: ต้องมีคะแนน TOEFL-ITP คะแนนไม่ควรต่ำกว่า 400 หรือผลสอบอื่น ๆ ที่เทียบเท่าผลสอบนี้

อ้างอิงข้อมูลจาก: https://buuic.buu.ac.th/ 

 

อยากเก็บกระเป๋าไปใช้ชีวิตเป็นเด็กอินเตอร์ #ทีมบูรพา น้อง ๆ ต้องเริ่มเตรียมตัวกับภาษาอังกฤษได้แล้วนะคะ แม้คะแนนที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้อาจจะไม่ได้สูงจนเกินไป แต่ทางวิทยาลัยนานาชาติของมหาวิทยาลัยบูรพา ค่อนข้างเคร่งในเรื่องของการสื่อสารภาษาอังกฤษเลย การได้เตรียมติวคะแนน TOEFL เพื่อยื่นเข้า BUUIC หากได้เรียนกับคุณครูผู้สอนที่เป็นเนทีฟหรือพูดภาษาอังกฤษได้คล่องเหมือนภาษาแม่ของตัวเองอย่างคุณครูของ The Planner Education ที่คัดคุณภาพมากันแล้ว น้อง ๆ จะได้การติวที่ทำให้น้อง ๆ ได้คะแนนตรงตามเป้า และซึมซับการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมือโปรจากคุณครูที่สถาบันไปด้วย มาติวที่ The Planner รับรองไม่มีผิดหวัง

สนใจติว GED | IGCSE | A-LEVEL | SAT | IELTS | ACT | GSAT | TOEFL-MUIC/MUIDS | CU-TEP | CU-AAT | CU-ATS | TU-GET | IB | AP | Academic Writing

ดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจได้เลย!

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Line: @theplanner หรือ Phone: 095-726-2666

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply