GED MATH ออกสอบแค่ 4 หัวข้อ แค่เตรียมพร้อมก็ผ่านฉลุย

ไม่เก่งคณิตก็สอบผ่านได้! GED Math ออกสอบแค่ 4 หัวข้อ ติวให้ตรงจุดยังไงก็สอบผ่านฉลุยแน่นอน พามาดูสรุป 4 หัวข้อหลักออกสอบ GED Math แม้ไม่เก่งวิชาคณิตศาสตร์ แต่ The Planner ช่วยพาให้สอบผ่านรับวุฒิได้ชัวร์ ในการสอบ General Educational Development (GED) เพื่อขอเทียบวุฒิ ม.6 นั้น น้อง ๆ จะต้องสอบด้วยกัน 4 วิชา คือ Mathematical Reasoning, Reasoning Through Language Arts, Social Studies และ Science ซึ่งความยากอย่างหนึ่งของวิชา Math คือนอกจากจะต้องรู้วิธีการคำนวณสูตรแล้วข้อสอบยังเป็นภาษาอังกฤษอีก จึงไม่แปลกเลยที่น้อง ๆ อาจจะกังวลวิชานี้ก่อนที่จะเริ่มเรียน แต่รู้หรือไม่? จริง ๆ แล้ว GED Math ออกสอบแค่ 4[...]

IELTS Regular VS IELTS UKVI เรียนต่อ UK เลือกสอบแบบไหนดีที่สุด?

น้อง ๆ ที่สนใจสอบ IELTS อาจเคยพบเห็นคำว่า IELTS for UKVI กันมาบ้าง รวมไปถึงน้อง ๆ ที่สนใจศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร (UK) ที่จำเป็นจะต้องรู้ว่า IELTS for UKVI คืออะไร? และแตกต่างจาก IELTS Regular ตรงจุดไหนบ้าง?  ในบทความนี้ The Planner จะมาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการสอบ IELTS Regular (Academic) และ IELTS for UKVI (Academic) ให้ได้รู้กัน และถ้าน้อง ๆ อยากไปเรียนต่อ UK จะต้องสอบ IELTS รูปแบบไหนจึงจะดีที่สุด? บทความนี้ก็มีมาบอกด้วย ก่อนอื่นอยากให้ทำความเข้าใจกันก่อนว่า รูปแบบของข้อสอบ IELTS Regular และ IELTS UKVI นั้น “เหมือนกันทุกประการ” กล่าวคือ มีทั้งหมด 4[...]

8 เรื่องบ้ง ๆ สอบ IELTS Speaking กี่ครั้งก็ไม่เคยแตะ Band 7.0+

น้อง ๆ หลายคนที่เคยไปสอบ IELTS มาแล้วเคยสงสัยกันไหมว่า ทักษะในการพูดภาษาอังกฤษของตัวเองก็อยู่ในเกณฑ์ดีแล้ว หรือสามารถสื่อสารในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ทำไมเมื่อไปสอบ IELTS พาร์ท Speaking น้อง ๆ กลับไม่ได้ Band สูง ๆ หรือได้ Band 7.0+ ตามที่คาดหวังไว้  จากผลลัพธ์ที่ได้ ทางหน่วยงานสอบ IELTS ไม่ได้มีการลำเอียงในการคิดคะแนนแต่อย่างใด แต่บางที อาจเป็นเพราะน้อง ๆ เผลอทำเรื่องผิดพลาดขณะทดสอบโดยไม่รู้ตัวอยู่ก็ได้ ในบทความนี้ The Planner จึงขอมาเปิด 8 ข้อผิดพลาด สอบ IELTS Speaking กี่ครั้งก็ไม่เคยแตะ Band 7.0+ ใครไม่อยากเสียคะแนน IELTS Speaking แบบไม่รู้ตัว อย่าหาทำเด็ดขาด! จะมีเรื่องอะไรบ้าง ไปดูกัน  8 เรื่องพลาด IELTS Speaking ต้องแก้ไข มีอะไรบ้าง? Dead[...]

เขียน GED Essay ให้เป๊ะ! ต้องเช็กอีกรอบด้วย Proofreading

อยากเขียน Essay ให้เป๊ะ! อัปคะแนน GED RLA ให้ปัง! ทำได้ไม่ยากด้วยวิธี Proofreading บล็อกนี้ The Planner จะมาแชร์ทริคลดข้อผิดพลาดในการสอบเขียน GED นอกจากจะช่วยให้ Essay อ่านง่ายขึ้นแล้วยังอาจช่วยเพิ่มคะแนนวิชา RLA ด้วย สำหรับการสอบ GED Reasoning Through Language Arts (RLA) จะมีข้อสอบพาร์ทเขียนที่เรียกว่า Extended Response ซึ่งเป็นการวิเคราะห์บทความที่มีความขัดแย้งกันระหว่างสองมุมมอง และน้อง ๆ จะต้องเขียน essay เพื่ออธิบายโดยใช้หลักฐานในบทความมาสนับสนุนให้ได้ว่า เพราะเหตุใดข้อโต้แย้งของอีกฝ่ายจึงดีกว่าอีกฝ่าย หากน้อง ๆ อยากเข้าใจ GED Extended Response ให้มากขึ้นว่าคืออะไร สามารถแวะไปอ่านบทความ GED RLA Essay เขียนตอบแบบไหน ได้คะแนนชัวร์ ก่อนได้ The Planner ได้อธิบายเกี่ยวกับ GED RLA[...]

อยากเรียนต่อที่ UK ต้องเรียน GED หรือติว IGCSE/A-LEVEL?

เมื่อถามถึงประเทศที่เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก สหราชอาณาจักร (United Kingdom) คงเป็นกลุ่มประเทศอันดับต้น ๆ ที่น้อง ๆ หลายคนนึกถึงและใฝ่ฝันอยากจะยื่นคะแนนเข้าศึกษาต่อ  มหาวิทยาลัยชื่อดังใน UK เช่น University of Oxford, University of Cambridge, University College London (UCL) และ Imperial College London เป็นต้น  สำหรับนักเรียนไทย นอกจากการจบการศึกษาในชั้น ม.6 ที่เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศที่ใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำได้ทั่วโลกแล้ว ยังมีอีก 3 หลักสูตรที่เป็นที่นิยมอย่างมาก ซึ่งสามารถใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยได้ทั้งในไทยและทั่วโลกเช่นกัน คือ หลักสูตรเทียบวุฒิ GED และหลักสูตร IGCSE ที่ควบคู่มากับหลักสูตร A-LEVEL  ทั้ง 3 หลักสูตรนี้คืออะไร? อยากไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย UK ต้องเรียน GED หรือ ติวสอบ IGCSE/A-LEVEL ดีกว่ากัน? บทความนี้มีคำตอบ GED[...]

ออกสอบ! SAT Math: Frequency Table เตรียมตัวมาดี มีคะแนนให้เก็บ

SAT Math ออกสอบอะไรบ้าง? SAT Math จะมีเนื้อหาสอบด้านคณิตศาสตร์ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับ ม.ต้น ไปจนถึง ม.ปลาย ผ่าน 4 หัวข้อใหญ่ นั่นคือ Heart of Algebra, Problem Solving and Data Analysis, Passport to Advanced Math และ Additional Topics  ในการสอบจริง หากน้อง ๆ ทำข้อสอบ SAT Math ได้คะแนนเยอะใน Module ที่ 1 ซึ่งจะมีเนื้อหาความยากระดับพื้นฐานเหมือนกันหมด น้อง ๆ ก็จะมีโอกาสได้เจอกับข้อสอบในส่วนที่ยากมากขึ้นใน Module ที่ 2 และเก็บคะแนนรวมได้เยอะกว่า ถ้าเก็บเนื้อหาพื้นฐานได้หมด โอกาสทำคะแนนสูงก็มากขึ้นไปด้วย! บทความนี้ The Planner เลยอยากขอพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับข้อมูลพื้นฐานเรื่อง[...]

TBAT vs UCAT อยากเข้าแพทย์อินเตอร์ในไทย เลือกสอบแบบไหน

หลังจากที่มีการประกาศจาก Cambridge Assessment Admission Test ว่าข้อสอบ BMAT ที่เป็นข้อสอบเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ ภาคอินเตอร์ จะถูกยกเลิกใช้ตั้งแต่ปี 2567 หรือปี 2024 เป็นต้นมานั้น ทางจุฬาฯ ก็ได้มีการออกมาประกาศว่า จะใช้ข้อสอบ TBAT หรือ Thai Biomedical Admissions Test ที่เป็นข้อสอบข้อเขียน มาใช้แทนข้อสอบ BMAT โดยถูกจัดสอบโดย ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU-ATC และจะเริ่มใช้ใน TCAS68 รอบ Portfolio หรือ TCAS รอบ 1 นี้เลย แต่ทั้งนี้ ในช่วงที่มีประกาศยกเลิกข้อสอบ BMAT ในปี 2566 และยังไม่มีหน่วยงานใดในไทยมาประกาศข้อสอบที่ใช้ทดแทนข้อสอบ BMAT ก็ได้มีการพูดถึงข้อสอบ UCAT (University Clinical Aptitude Test) ที่เป็นข้อสอบวัดระดับทักษะทางคลินิกที่ใช้ยื่นเข้าคณะแพทยศาสตร์โดยเฉพาะเช่นกัน โดยต่อมาก็มีการยอมรับผลสอบ UCAT[...]

เจาะลึกโครงสร้างข้อสอบ IELTS 4 พาร์ท พาคะแนนทะยานสู่ BAND 6.0+

IELTS สอบอะไรบ้าง? เจาะลึกโครงสร้างข้อสอบ 4 พาร์ท ทั้งฟัง, พูด, อ่าน และเขียน IELTS ถือเป็นใบเบิกทางสู่การสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในหลักสูตรนานาชาติ การทำความเข้าใจโครงสร้างทั้งหมดของข้อสอบ IELTS จึงจำเป็นมาก ๆ ก่อนลงสนามสอบจริง The International English Language Testing System หรือ IELTS คือการทดสอบวัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล สามารถใช้ในการสมัครงาน เรียนต่อ หรือขอวีซ่าทำงานต่างประเทศได้ด้วย  การสอบ IELTS จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ Academic: การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่มีความเป็นทางการ มักใช้กับการสมัครเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา General Training: การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่ใช้ทั่วไป มักใช้กับการสมัครวีซ่าหรือสมัครเรียนสายวิชาชีพ แม้ว่าข้อสอบพาร์ท Listening และ Speaking ของการสอบทั้ง 2 ประเภทจะเหมือนกัน แต่ข้อสอบพาร์ท Reading และ Writing มีความแตกต่างกัน โดยรูปแบบข้อสอบและภาษาที่ใช้ของ Academic[...]

เปิดคลังศัพท์ SAT English “ชวนสับสน” ใช้ไม่ถูกจุด คะแนนหลุดไปไกล

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงเคยพบปัญหา เจอคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่หน้าตาหรือการออกเสียงคล้ายกัน และไม่มั่นใจว่าจะเลือกใช้คำไหนดี จึงจะเหมาะสมกับบริบทของการใช้งานที่ถูกต้อง เช่น Two - To, Than - Then หรือ Advice - Advise ซึ่งกลุ่มคำเหล่านี้ จัดเป็น Confusing Words ที่หากน้อง ๆ ไม่ได้มีความเข้าใจหรือใช้งานอยู่เป็นประจำ ก็จะทำให้เกิดการใช้งานที่ไม่ตรงจุดหรือสร้างความสับสนได้ ทั้งในชีวิตประจำวันและในการทำข้อสอบ  โดยเฉพาะกับการสอบ SAT พาร์ท English ที่ในข้อสอบมักจะมีการทดสอบความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ แม้โจทย์จะไม่ได้ถามกันตรง ๆ ว่าคำศัพท์ที่กำหนดให้แปลว่าอะไร แต่น้อง ๆ จะต้องได้ใช้ความรู้พื้นฐานด้านคำศัพท์เพื่ออ่านและวิเคราะห์ Passage รวมถึงข้อมูลด้านอื่น ๆ ในข้อสอบอย่างแน่นอน   เพื่อให้น้อง ๆ มีความเข้าใจและคุ้นเคยมากขึ้นกับคำศัพท์ลักษณะนี้ บทความนี้ The Planner จึงคัดคำศัพท์ออกสอบ SAT English ที่มีลักษณะคล้ายหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด จนสร้างความสับสนและอาจเป็นตัวฉุดคะแนนของน้อง ๆ ในขณะสอบได้ จะมีคำไหนบ้าง[...]

IELTS vs TOEFL เทียบคะแนนสอบภาษาอังกฤษยอดฮิต พิชิตเรียนต่อ ม.อินเตอร์

เทียบให้ชัด! คะแนนสอบภาษาอังกฤษยอดฮิต IELTS และ TOEFL ต่างกันอย่างไร และมีวิธีนับคะแนนอย่างไรบ้าง? หลายคนอาจจะรู้จักการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษอย่าง IELTS และ TOEFL กันอยู่แล้ว ซึ่งการสอบทั้งสองแบบนั้นต่างก็ได้การรับยอมรับจากสถาบันและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในระดับสากล แต่สิ่งที่ The Planner จะมาไขข้อกระจ่างให้อ่านกันในบล็อกนี้คือความแตกต่างระหว่างการสอบทั้งสองแบบ ที่สำคัญคือ ‘การเปรียบเทียบคะแนน’ เพราะแม้ว่า IELTS และ TOEFL จะเป็นการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษเหมือนกัน แต่จัดสอบโดยคนละองค์กรและมีวิธีการนับคะแนนที่แตกต่างกัน การเทียบคะแนนจึงช่วยให้น้อง ๆ พอจะทราบได้ว่าคะแนนที่สอบได้ของอีกที่จะเทียบได้เท่ากับเลเวลใดของอีกที่  ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงไว้ก่อนว่าบล็อกนี้จะกล่าวถึงการสอบ TOEFL แบบ iBT หรือ Computer-based เป็นหลัก ซึ่งเป็นการสอบที่สามารถใช้ยื่นสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันได้เลย! ข้อแตกต่างระหว่าง IELTS และ TOEFL (iBT) รูปแบบการสอบ IELTS: มีการจัดสอบทั้งแบบ paper-based คือ การเขียนสอบบนกระดาษ กับ computer-based คือ การสอบกับคอมพิวเตอร์ โดยมหาวิทยาลัยไม่ได้จำกัดว่าต้องใช้ผลสอบในรูปแบบใดในการยื่นสมัครเรียน[...]

เปิดเกณฑ์การรับสมัครเข้าจุฬาฯ ภาคอินเตอร์ ฉบับอัปเดต 2025

เตรียมตัวให้พร้อม! ข้อมูลที่ควรรู้ก่อนเข้าจุฬาฯ ภาคอินเตอร์ กับเกณฑ์การรับสมัครฉบับอัปเดตปี 2025  ใกล้เข้ามาแล้วกับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสำหรับ DEK68 ใครที่เล็งจุฬาฯ หลักสูตรนานาชาติไว้จะต้องอ่านบล็อกนี้ เพราะ The Planner ได้รวบรวมข้อมูลสำคัญที่น้อง ๆ ต้องรู้ รวมถึงเกณฑ์การรับสมัครในปี 2025 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในฝันของใครหลายคน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นภาคอินเตอร์การแข่งขันก็ไม่ได้น้อยไปกว่าภาคไทยเลย เพราะนอกจากคนไทยที่ต้องการเข้าศึกษาต่อแล้ว นักเรียนต่างชาติในประเทศไทยก็สนใจเข้าเรียนที่จุฬาฯ ไม่ต่างกัน การเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง จึงไม่เกินจริงสำหรับการสมัครเรียนจุฬาฯ อินเตอร์ เพราะถ้าเรารู้เกณฑ์คะแนนและข้อมูลต่าง ๆ ไว้ก่อน ก็จะช่วยเตรียมความพร้อมให้น้อง ๆ ได้เข้าไปเป็นนิสิตจุฬาฯ ได้มากขึ้น Source: www.chula.ac.th ทำไมอินเตอร์จุฬาฯ น่าเรียน มหาวิทยาลัยชั้นนำ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของไทยที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยติดอันดับ Impact Rankings 2021 ที่ 1 ในเอเชีย และที่ 23 ของโลก จัดอันดับโดย Times Higher Education[...]

เปิดปฏิทินเด็กอินเตอร์ TCAS68 กำหนดการวันไหน? เตรียมคะแนนยังไง? ต้องรู้!

TCAS67 กำลังจะผ่านไป ใกล้เข้ามาแล้วกับหนทางเข้าสู่มหาวิทยาลัยของน้อง ๆ TCAS68 โดยเฉพาะน้อง ๆ ที่มีเป้าหมายอยากเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติ ที่อาจต้องมีการเตรียมตัวมากขึ้นเป็นพิเศษ ทั้งในเรื่องของกำหนดการรับสมัครของแต่ละหลักสูตร และการเตรียมสอบอินเตอร์เพื่อยื่นสมัครในหลักสูตรที่ต้องการ เนื่องจากในทุก ๆ ปี กำหนดการของทุกรอบรับสมัคร TCAS จาก ทปอ. หรือจากทางมหาวิทยาลัยเอง มักจะมีกำหนดออกมาใกล้เคียงกับปีก่อนอยู่เสมอ ในบทความนี้ The Planner จึงขอมาเปิดปฏิทิน TCAS68 สำหรับเด็กอินเตอร์ ฉบับคาดการณ์ ให้ได้เตรียมใจ เตรียมคะแนนกันตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่ละจุดที่น้อง ๆ TCAS68 ภาคอินเตอร์ต้องให้ความสำคัญจะมีอะไรบ้าง? อ่านข้อมูลด้านล่างนี้ได้เลย  กำหนดการ TCAS68 หลักสูตรอินเตอร์ Pre-TCAS: ช่วงก่อนสิงหาคม 2567 ในช่วงนี้ถือเป็นช่วงโอกาสทองของน้อง ๆ สายอินเตอร์ทุกคน ที่จะได้ใช้เวลาเต็มที่ในการติวสอบและเตรียมคะแนนสอบที่ต้องการ เช่น คะแนน GED, SAT, IELTS หรือคะแนนสอบอินเตอร์อื่น ๆ รวมถึงการเริ่มเก็บสะสมผลงานของตัวเอง เพื่อให้ใช้ยื่นได้ทันตั้งแต่รอบแรกของการรับสมัครหรือรอบ Portfolio [...]

PAPER PRACTICE VS FAST TRACK l เลือกคอร์ส SAT แบบไหนให้ตอบโจทย์

อยากหาคอร์สติว SAT ที่ตรงจุดแต่ไม่แน่ใจว่าคอร์ส Paper Practice หรือ Fast Track จะตอบโจทย์กว่ากัน บล็อกนี้มีคำตอบ SAT (Scholastic Aptitude Test หรือ Scholastic Assessment Test) คือ การสอบวัดความรู้ความสามารถของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา จัดขึ้นโดยหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า College Board ปัจจุบันข้อสอบ SAT เป็นข้อสอบที่มหาวิทยาลัยทั่วโลกให้การยอมรับ รวมถึงมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทยก็รับพิจารณาคะแนนนี้เช่นกัน  ข้อสอบ SAT จะวัดความถนัดในวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics) และภาษาอังกฤษ (Evidence-Based Reading and Writing) คะแนนเต็มพาร์ทละ 800 คะแนน และคะแนนรวมทั้ง 2 พาร์ท เต็ม 1600 คะแนน เกณฑ์การรับนักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยจะแตกต่างกันออกไป แต่ส่วนมากมักใช้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 1200 ในการสมัคร ปัจจุบันได้มีการปรับรูปแบบการสอบมาเป็น Digital SAT ซึ่งเป็นการทดสอบผ่านแอปพลิเคชัน Bluebook[...]

ตามรอย Civil Rights Movement ยุค 1950s เหตุการณ์สำคัญออกสอบ GED Social Studies

ย้อนอดีตสู่ยุค 50s กับ Civil Rights Movement เหตุการณ์สำคัญที่ออกสอบ GED Social Studies “ความเท่าเทียม” หรือ Equality เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนในสังคมควรได้รับโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะเป็นความเท่าเทียมทางการศึกษา ความเท่าเทียมทางการทำงาน ความเท่าเทียมทางเพศ หรือความเท่าเทียมทางสีผิวก็ตาม  แต่ในความเป็นจริง เรื่องของ ความเท่าเทียมในสังคม กลับถูกหยิบยกออกมาพูดถึงหรือเรียกร้องในหลาย ๆ ครั้ง ผ่านประเด็นทางการเมืองและการบริหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ในบางพื้นที่หรือบางประเทศ ความเท่าเทียมหลายเรื่องจะได้รับการยอมรับและสนับสนุนจนเกิดขึ้นจริงแล้ว แต่ในบางพื้นที่ ปัญหาในเรื่องของความเท่าเทียมหลาย ๆ ด้าน ก็ยังคงไม่ได้รับการแก้ไขหรือคลี่คลายอย่างถูกต้อง ทำให้เรายังสามารถเห็นบรรยากาศของการออกมาประท้วงสิทธิ์เพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ผู้คนเหล่านั้นควรจะได้รับอยู่เนือง ๆ  ในการสอบ GED Social Studies ในพาร์ทของเนื้อหา Civics and Government น้อง ๆ ก็มีโอกาสเจอเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพด้านต่าง ๆ ของพลเมืองในอเมริกาด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในไทม์ไลน์ของ The Civil Rights Movement ในยุค 1950s ซึ่งมีเรื่องราวในเหตุการณ์ค่อนข้างเข้มข้นและต้องอาศัยความเข้าใจในเนื้อหาก่อนไปสอบอยู่พอสมควร[...]

From Passion to Profession l Interview with Our A-Level Student Accepted to MUIC

From a teenage boy passionate about Biology and Chemistry to a Biological Sciences student at MUIC.  Interview with ‘It’, a talented student from The Planner Education who secured admission to Mahidol University’s Biological Sciences Major. Let’s find out how an A-LEVEL course can help him achieve his dreams. ‘It’ has been fond of Biology and[...]

5 ไวยากรณ์ต้องรู้ ก่อนลุย GED RLA!

ก่อนสอบ GED ต้องรู้! แนะนำ 5 ไวยกรณ์สำคัญไว้ใช้ในการสอบ GED พาร์ท Reasoning Through Language Arts (RLA) สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบ GED เทียบวุฒิ ม.6 ต้องบอกก่อนเลยว่า ข้อสอบทั้ง 4 วิชาของ GED นั้นเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ดังนั้นน้อง ๆ ต้องเตรียมพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนเริ่มติว GED ตั้งแต่ไวยากรณ์พื้นฐาน หากน้อง ๆ กำลังลังเลว่าจะติว GED ที่ไหนดี อยากมีคนช่วยแบบครบทุกขั้นตอน ขอแนะนำมาที่ The Planner Education แนะนำ 5 ไวยากรณ์สำคัญที่จะช่วยให้น้อง ๆ ตะลุยข้อสอบได้อย่างง่ายดายตามนี้เลย 1. ประเภทของคำ (Parts of Speech) ในภาษาอังกฤษได้แบ่งประเภทของคำทั้งหมดไว้ 8 ประเภท ได้แก่ คำนาม[...]

GED Social Studies ยากตรงไหน? ทำไมใคร ๆ ก็กลัว

ใครวางแผนติวสอบ GED อยู่บ้าง? อย่างที่น้อง ๆ ได้ทราบกันมาเบื้องต้นแล้วว่า หลักสูตร GED จะต้องเรียนและสอบให้ผ่านครบทั้ง 4 วิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts (RLA), Mathematical Reasoning, Science และ Scocial Studies จึงจะสามารถเข้ารับวุฒิ GED หรือวุฒิเทียบเท่า ม.6 ของไทยได้  ซึ่งจากที่ The Planner ได้สำรวจความคิดเห็นของน้อง ๆ คอร์สติว GED ที่สถาบัน The Planner Education แนวโน้มส่วนใหญ่ให้น้ำหนักตรงกันว่า วิชา GED Social Studies เป็นวิชาที่ “ค่อนข้างยากและซับซ้อน” ซึ่งหากติวเองหรืออ่านหนังสือสอบเองก็อาจจะต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษในการสรุปเนื้อหาให้เข้าใจได้ทั้งหมด  ดังนั้น ในบทความนี้ The Planner ขอมาแบไต๋ ไขข้อกระจ่างให้เข้าใจไปพร้อมกันว่า วิชา GED[...]

SAT คะแนนไม่สูง ยังมีโอกาสรอด! รวมหลักสูตรอินเตอร์ 3 ม.ดัง รับ SAT ไม่โหด

คะแนน SAT เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติเกือบทุกที่ และด้วยเหตุผลที่ข้อสอบมีการวัดทักษะทั้งด้าน Mathematics และ English จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้สอบหลายคนจะได้คะแนนแตกต่างกัน ตามความพร้อมในการติว SAT และความถนัดของแต่ละบุคคล สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ได้คะแนน SAT อยู่ในเกณฑ์กลาง ๆ หรือไม่สูงมาก (ไม่เกิน 500 คะแนนต่อพาร์ท หรือมีคะแนนรวมไม่เกิน 1000) หรือน้อง ๆ ที่ยังไม่รู้ว่าจะติว SAT ที่ไหนดี แต่ยังต้องการยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์ที่มีความนิยมอยู่ ในบทความนี้ The Planner ได้รวบรวม หลักสูตรอินเตอร์จากรั้วจุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีเกณฑ์รับ SAT ไม่สูงมาก ปี 2024 มาให้ ซึ่งอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการยื่นสมัครในหลักสูตรที่ใกล้เคียงหรือหลักสูตรที่คะแนน SAT ของตนเองไปไหว โดยในแต่ละที่จะมีหลักสูตรน่าสนใจอะไรบ้าง? ไปอ่านรายละเอียดกัน รวมหลักสูตรอินเตอร์ รับ SAT ไม่โหด! 3 ม.ดัง[...]

Understanding the Differences: IGCSE EFL (First Language) vs. ESL (Second Language)

Learning the English language can be challenging, especially when students have to choose various IGCSE courses like IGCSE EFL and IGCSE ESL. In this blog, we will provide in-depth information on both subjects. What is IGCSE EFL? IGCSE EFL, or International General Certificate of Secondary Education English as a First Language, is designed for students[...]