8 เรื่องพลาด ทำให้สอบ IELTS Speaking กี่ครั้งก็ไม่เคยแตะ Band 7.0

รู้สึกไหมว่าพูดภาษาอังกฤษได้ ไม่มีปัญหาในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน แต่ทำไมเวลาสอบ IELTS Speaking ถึงไม่ได้ Band สูงๆ เหมือนคนอื่นเขาบ้าง เหตุผลที่ทำให้คะแนน IELTS Speaking ของเราไม่เป็นไปตามเป้าหมายอาจจะมีอยู่สองเหตุผลหลักๆ หนึ่ง คือ เราไม่เข้าใจรายละเอียดในการสอบ IELTS Speaking ว่ามีจุดประสงค์ในการทดสอบความรู้ส่วนไหนบ้าง ส่วนข้อสองก็คือ เราอาจทำอะไรผิดพลาดและทำให้คะแนน IELTS Speaking หายไปอย่างน่าเสียดาย ในกรณีนี้จะขอเปิด 8 ข้อที่เราไม่ควรจะทำพลาด ถ้าไม่อยากฉุดคะแนน IELTS Speaking ของตัวเองให้น้อยลง ตอบไม่ได้แล้วเงียบ แทนที่จะพูดขอเวลาคิด ในการสอบ IELTS Speaking อาจจะเจอคำถามที่เราไม่คุ้นเคยและอาจต้องใช้เวลาคิดสักหน่อย ในจังหวะนี้จึงเลือกที่จะนิ่งเงียบเพื่อคิด และนี่คือความผิดพลาด ไม่ผิดที่เราจะใช้เวลาคิดในระหว่างการสอบ IELTS Speaking แต่หากเราเงียบนานเกินไป เช่น เงียบไปยาวๆ กว่าสิบวินาที นี่คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ เราขอแนะนำให้เลือกพูดในจังหวะที่คิดหาคำตอบ เช่น That’s a tough question หรือ Let[...]

IELTS Writing จอดสนิท ไปไม่ถึง Band 7.0+ ถ้ายังทำสิ่งเหล่านี้

IELTS Writing 7.0+ ปัญหายอดฮิตและเป้าหมายที่อยากไปให้ถึงของใครหลายคนที่กำลังติว IELTS กันอยู่ พาร์ทการทดสอบอย่าง IELTS Listening และ Reading ทำได้ดีเยี่ยม คว้า Band เป้าหมายได้อย่างง่ายดาย แต่พอถึงพาร์ท Writing ก็เริ่มเกาหัวเหมือนถึงทางตัน ไม่รู้จะไปต่ออย่างไรให้ถึง Band ที่ตั้งใจ ใครที่กำลังกังวลว่าตัวเองจะผิดหวังกับคะแนน IELTS หรือแม้กระทั่งเสียเงินไปสอบ IELTS มาหลายครั้งก็ยังไม่ได้ดั่งใจ ลองมารีเช็คตัวเราเองกันหน่อยดีกว่า ว่าการสอบ IELTS Writing ที่ผ่านมาหลงลืมหรือมองข้ามบางสิ่งบางอย่างไปหรือเปล่า สิ่งที่หลายคนมักพลาดในการสอบ IELTS Writing เขียนไม่ถึงจำนวนคำที่กำหนด เช่น Task 2 ต้องเขียนอย่างน้อย 220 คำ ใส่ความคิดเห็นของตัวเองใน Task 1 อย่างที่ทราบกันว่าใน Task แรกของข้อสอบ IELTS Writing เป็นการเขียนอธิบายตามข้อมูลสถิติหรือภาพแผนภูมิ ไม่ใช่คำถามที่ต้องการความคิดเห็นจากผู้สอบ ไม่เน้นย้ำข้อมูลสำคัญของเนื้อหาใน Task 1 อย่าเอาแต่เขียนข้อมูลรวมๆ[...]

คะแนน IELTS Speaking ไม่ปัง! หากมองข้าม 6 ข้อนี้

กำลังติว IELTS Speaking ท่องจำจนเก่งทฤษฎี แต่เมื่อปฏิบัติจริงกลับทำไม่ได้ตามเป้าหรือเปล่า? ในใจอาจจะคิดว่าตอนเข้าห้องสอบ IELTS speaking  ก็พูดได้น้ำไหลไฟดับขนาดนั้น มีเหตุผลอะไรที่ทำให้ฉันไปไม่ถึง Band ที่ใฝ่ฝัน มาค่ะ! เรามาดู 6 ข้อที่ทุกคนอาจมองข้ามจนทำให้คะแนน IELTS Speaking ไม่ปัง ทำความเข้าใจจุดประสงค์ของการสอบ IELTS Speaking ให้ดีหลายคนเข้าใจว่าการสอบ IELTS Speaking คือการเข้าห้องสอบเพื่อไปพูดแบบน้ำไหลไฟดับ สื่อสารได้ ฟัง Examiner ออกก็เพียงพอแล้ว แต่นั่นอาจจะเพียงพอกับเกณฑ์คะแนนของ Band ที่ไม่สูง การสอบ IELTS Speaking ให้ได้ Band สูงนั้นยังมีปัจจัยหลายอย่างที่อยู่ในแบบทดสอบนี้ เช่น ความรู้เรื่องไวยากรณ์ เป็นต้น ไม่ควรใช้ภาษาที่เป็นกันเองมากเกินไปบางคนอาจจะติดการพูดว่า bro, man หรืออุทานว่า geez (!) ขึ้นมาซะอย่างนั้น เป็นธรรมดาที่ผู้สอบบางคนก็มีความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และอาจจะใช้คำเหล่านั้นเป็นประจำกับคนที่คุ้นเคย แต่อย่าลืมว่านี่คือ IELTS Speaking มันคือ[...]

IELTS Writing ความแตกต่างของไวยากรณ์ Band 7 กับ 8

หลายคนที่กำลังติว IELTS กันอยู่ กำลังครุ่นคิดสงสัยว่าทำอย่างไรให้ทะยานจาก IELTS overall Band 6.0 ไป 7.0 พอถึง 7.0 แล้วก็อยากจะไปต่อที่ 8.0 แต่เมื่อพยายามมาจนได้คะแนน overall ที่ต้องการได้แล้ว ก็มาเจอโจทย์ต่อไปที่อยากให้แต่ละทักษะสูงขึ้นด้วย โดยเฉพาะ IELTS Writing ที่บางคณะหรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศก็กำหนดเกณฑ์ให้มีคะแนนในส่วนของ IELTS Writing ไม่ต่ำกว่า Band 7.0 หรือปาเข้าไป 8.0 ก็ว่าได้ กว่าจะคว้า Band 7.0 ก็ใช้ความพยายามมากแล้ว น้องๆ หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่า แล้ว IELTS Writing Band 7.0 กับ 8.0 มันใช้เกณฑ์อะไรตัดสินในเรื่องของไวยากรณ์ ทั้งๆ ที่เราก็ใช้ไวยากรณ์ได้หลายรูปแบบ แถมยังเป็นไวยากรณ์ยากๆ ทั้งนั้น เรามาทำความเข้าใจจาก IELTS Writing Band Descriptors ในส่วนของ Grammatical[...]

จริงหรือ? ที่ต้องใช้ศัพท์สุดอลังการ ถึงจะได้ IELTS Speaking Band สูง

น้องๆ ที่กำลังติว IELTS น่าจะกำลังทำความคุ้นเคยการใช้คำศัพท์ Academic English หรือไม่ก็กำลังท่องจำให้ได้มากที่สุด เพื่อนำไปสอบ IELTS ในพาร์ท Writing จนบางครั้งก็อาจจะห่วงโฟกัสแต่เรื่องคำศัพท์ทางการหรือคำศัพท์ที่ดูยากๆ ไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวัน และนำไปใช้ตอนสอบ IELTS Speaking เพราะเข้าใจไปว่าเป็นปัจจัยหลักในการทำคะแนนการพูดให้ได้ Band สูง คำถามก็คือ การท่องคำศัพท์ยากๆ ที่ดูอลังการเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้ IELTS Band สูง จริงหรือ? คำตอบคือ ไม่จริง ฉะนั้นเรามาดูเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้การท่องศัพท์ยากเข้าไปสอบ IELTS Speaking ไม่ช่วยให้เราได้ IELTS Band สูง นำคำศัพท์ยากนั้นมาใช้ผิดบริบท ใช้คำศัพท์ยากได้หลากหลาย แต่ไวยากรณ์ผิดหมด ไม่สามารถตอบคำถามในหัวข้อที่หลากหลายได้ ไม่มีไอเดียที่จะสนับสนุนสิ่งที่ตัวเองกำลังพูด ไม่เป็นตัวของตัวเอง อธิบายเพิ่มจาก 5 ข้อข้างต้น การสอบ IELTS Speaking ไม่ใช่การทดสอบคำศัพท์ยากหรือง่าย แต่ทดสอบว่าเรามีคลังคำศัพท์ที่หลากหลาย เพียงพอต่อการพูดคุยในหัวข้อที่แตกต่างกัน และสามารถอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการสอบ IELTS Speaking[...]

แนะนำวิธีทำข้อสอบ SAT Reading เมื่อเจอโจทย์ “ทดสอบคำศัพท์” ได้ผลจริง!

ในการทำข้อสอบ SAT Reading คำถามปราบเซียนที่น้องๆ หลายคนมักโอดครวญ คือ คำถามประเภทวัดความหมายของคำศัพท์ เพราะไม่ว่าเราจะพยายามจำศัพท์เข้าไปแค่ไหน แต่เอาเข้าจริงๆ เวลาอยู่ในห้องสอบ SAT เราก็ยังคงเจอและประหลาดใจกับคำศัพท์หลายคำที่เราไม่รู้เสมอ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว หลายคนที่กำลังติว SAT กันอยู่ ก็คงเริ่มตั้งคำถามว่าจะยังนั่งท่องศัพท์ SAT ในส่วนของ Synonym กันต่อไปอีกทำไม ในเมื่อท่องเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอสำหรับการอ่านบทความในข้อสอบ SAT Reading ใจเย็นกันก่อน... ถึงแม้ว่าเราอาจยังเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้ในข้อสอบ SAT Reading อยู่ตลอดเวลา แต่ก็อยากให้น้องทุกคนยังมีความหวัง และเห็นประโยชน์ของการท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยรู้ไว้ในหัวก็ยังดีกว่าไม่รู้อะไรเลย อีกอย่างการมีคลังศัพท์ที่เยอะก็ช่วยให้เราเตรียมพร้อมทำความเข้าใจบริบทในสถานการณ์ที่หลากหลาย ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อทำข้อสอบ SAT Reading เท่านั้น ข้อสอบ SAT มักจะทดสอบคำศัพท์ 2 รูปแบบ ทดสอบ “คำศัพท์ยาก” ที่คิดว่าคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ (Hard Words) อย่างเช่น agitation (ความยุ่งยาก), abnegation(การละทิ้ง) หรือ gratuitous (ฟรีหรือให้เปล่า) ซึ่งจะเห็นว่าคำศัพท์ยากเหล่านี้ที่จะเจอในข้อสอบ[...]

ข้อสอบ SAT กับการใช้ ‘Who’ และ ‘Whom ที่อาจไม่ได้ยากอย่างที่คิด

น้องๆ ที่กำลังติว SAT English ตอนนี้อาจจะพบว่าในข้อสอบ SAT ที่ว่ายากซับซ้อน ก็ยังมีเรื่องที่เราคุ้นเคยอยู่เป็นประจำอย่างแบบทดสอบการใช้ who และ whom โผล่มาให้เห็น เพราะถึงแม้ว่าจะดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ก็มีหลายคนมองข้ามและใช้ผิดในชีวิตประจำวันอยู่บ่อยๆ เพราะฉะนั้นข้อสอบ SAT จึงแอบหยิบมาทดสอบเราอยู่บ้าง ปกติแล้วเวลาที่เราต้องการจะเพิ่มคำบรรยายหรือขยายความของประโยคเรามักจะใช้โครงสร้าง Relative Clause หรือประโยคย่อยที่ขึ้นต้นด้วย who หรือ whom เพื่อทำหน้าที่ขยายนามตัวข้างหน้าที่เป็นคน ย้ำว่าต้องขยายคนเท่านั้น (เพราะถ้าเป็นนามประเภทอื่นที่ไม่ใช่คนต้องใช้กับ which) แล้วทุกคนเคยสงสัยกันไหมครับ ถ้า who กับ whom ใช้กับคนแล้วสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร Who และ Whom เป็นหนึ่งใน relative pronoun ที่ไว้ใช้ขึ้นต้นส่วนขยายของคำนามที่อยู่ด้านในประโยคหลัก โดยส่วนขยายเหล่านี้เป็นได้ทั้ง dependent (ละไม่ได้) และ independent (ละได้) clause เราจะใช้ who เพื่อทำหน้าที่เป็นประธาน (คนทำกริยา) ของส่วนขยายเสมอ ในขณะที่ whom[...]

IELTS Paper Vs IELTS Computer เลือกสอบแบบไหนดี?

การสอบ IELTS ในปัจจุบันมีให้เลือกทั้งแบบ Computer-delivered และ Paper-based ซึ่งทั้งสองแบบนี้มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แล้วแต่รายบุคคลว่าสะดวกกันแบบไหน เราจึงนำเอาข้อเปรียบเทียบระหว่างการสอบ IELTS แบบคอมพิวเตอร์และแบบกระดาษมาแนะนำให้ทุกคนที่กำลังติว IELTS ได้พิจารณากันค่ะ เริ่มจากการสอบในพาร์ทแรกอย่าง IELTS Listening ในพาร์ทการฟังนี้ ดูๆ แล้วต่างกันตรงที่การสอบ IELTS Computer-delivered ผู้สอบจะสามารถเพิ่มหรือลดเสียงเองได้ อีกทั้งระหว่างการทำข้อสอบพาร์ทนี้ เราจะต้องลาก พิมพ์หรือคลิกคำตอบไปพร้อมๆ กับเสียงที่เราฟัง ทำให้มีสามาธิจดจ่ออยู่ที่หน้าคำถามได้ดีกว่า แถมยังไม่ต้องมานั่งเขียนคำตอบตอนท้ายสุดอีกด้วย พาร์ทต่อมาก็คือ IELTS Reading สำหรับการสอบพาร์ทการอ่านนี้ถือว่า IELTS Computer-delivered ชนะขาดลอยเลยทีเดียว เพราะบนหน้าจอคอมพิวเตอร์จะแสดงหน้าข้อสอบแบบแบ่งครึ่ง ด้านซ้ายเป็นบทความ ส่วนด้านขวาเป็นคำถามรายข้อ ไม่ต้องมานั่งพลิกกระดาษไปมาให้ลายตาอีกด้วย แต่ถ้าหากใครชอบเขียน วงหรือขีดเส้นใตคีย์เวิร์ดต่างๆ กันลืมแล้วล่ะก็ IELTS Paper-based อาจจะตอบโจทย์มากกว่า แต่ IELTS Computer-delivered เขาก็มีฟังก์ชั่นให้เราลากคลุมไฮไลท์คีย์เวิร์ดได้เช่นกันนะ มาต่อที่พาร์ทการเขียน IELTS Writing ในพาร์ทการเขียนน่าจะเป็นพาร์ทที่บ่งบอกถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจนที่สุด และมีปัจจัยอันโดดเด่นที่จะทำให้ผู้สอบตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะสอบแบบไหน นั่นก็คือ[...]

Synonyms IELTS Writing Task 1 ใช้หลากหลาย ได้คะแนนเพิ่ม!

มีใครกำลังติว IELTS writing task 1 แล้วเกิดอาการใช้คำซ้ำไปซ้ำมาเหมือนกินข้าวมื้อเดิมๆ ซ้ำๆ เพราะคิดไม่ออกว่าจะหาเมนูอะไรใหม่ๆ มาลองชิมดี ข้อสอบ IELTS ในพาร์ทการเขียนก็เช่นกันนะคะ หากเราวนเวียนอยู่กับการใช้คำซ้ำๆ แม้จะความหมายถูกที่และถูกต้องก็ตาม แต่นี่เป็นสัญญาณอันตรายที่จะดึงเราลงจาก Band สูงๆ ที่ต้องการไปให้ถึงค่ะ เพราะผู้ตรวจข้อสอบจะเห็นได้เลยว่าผู้สอบมีคลังคำศัพท์ที่จำกัดค่ะ หากน้องๆ เคยลองอ่าน IELTS writing task 1: Band Descriptors (public version) ตั้งแต่ IELTS Band 7 ขึ้นไป หนึ่งในเกณฑ์การตัดสินคะแนนที่นอกจากจะดูว่าน้องๆ ใช้โครงสร้างภาษาอังกฤษได้หลากหลายแล้ว ยังมองหาคำศัพท์ที่หลากหลายด้วยนะคะ เรากำลังหมายถึง synonyms ค่ะ คำที่มีความหมายเหมือนกันนั่นเอง เรามาดูคำความหมายเหมือน (synonyms) ที่จะเป็นประโยชน์ในการทำข้อสอบ IELTS writing task 1 กันค่ะ เริ่มจากคำที่มีความหมายบ่งบอกถึง การเพิ่มขึ้น ข้อสอบ IELTS writing task[...]

อ่านก่อนวางแผนเข้ามหาวิทยาลัย รวมข้อมูลหลักสูตรอินเตอร์ ม.รัฐฯ

การเรียนการสอนหลักสูตรอินเตอร์ในระดับชั้นมหาวิทยาลัย เป็นทางเลือกยอดนิยมของน้องๆ รุ่นใหม่ ในช่วงที่ผ่านมามหาวิทยาลัยของภาครัฐจึงได้เปิดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรอินเตอร์อย่างแพร่หลาย เพื่อเปิดโอกาสและเปิดโลกกว้างให้กับเด็กรุ่นใหม่ บทความนี้เรามาดูตามหลักสูตรความสนใจของน้องๆ ว่ามหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนในหลักสูตรอะไรกันบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับน้องที่กำลังวางแผนเข้ามหาวิทยาลัยในภาคอินเตอร์ สามารถคลิกไปอ่านตามหลักสูตรได้เลย :) 1.หลักสูตรบริหารธุรกิจ - สาย Marketing, Accounting, Management, FinanceCU, TU, MUIC, KU, KMITLhttps://theplannereducation.com/eng/blog/เรียน-bba-อินเตอร์ที่ไหนดี/ 2. หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ - ทางเลือกการเรียนเชิงลึกเกี่ยวกับภาคเศรษฐกิจ การเงิน ธุรกิจ ภาคอินเตอร์CU, TU, MUIC, KU, SWUhttps://theplannereducation.com/eng/blog/รวมคณะเศรษฐศาสตร์อินเต/ 3. หลักสูตรสื่อสารมวลชนและนิเทศฯ - นิเทศ, วารสาร ภาคอินเตอร์ โอกาสทำงานในวงการสื่อและอีกมากมายCU, TU, MUIChttps://theplannereducation.com/eng/blog/หลักสูตรอินเตอร์ด้านสื/ 4. หลักสูตรด้านภาษา - เปิดโลกกว้างด้านภาษาและวัฒนธรรม กับทางเลือกอาชีพมากมายCU, TU, MUIC, SWU 5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ - หลากหลายทางเลือกเฉพาะทาง กว่า 47[...]