ส่อง 7 มหาวิทยาลัย ที่สามารถใช้คะแนน GED สมัครได้ กว่า 80 คณะ! ปังๆ!

หลังจากส่งน้องๆ ถึงเป้าหมายมาแล้วกว่า 1,000+ คน สำหรับคอร์ส GED ที่เราดูแลตั้งแต่เริ่มสมัครจนถึงวางแผนเข้ามหาวิทยาลัย น้องๆ หลายคนที่กำลังวางแผนสอบ GED หรือน้องๆ ที่กำลังสนใจ อาจมีข้อสงสัยว่าเราจะใช้คะแนนเข้าที่ไหนได้บ้าง? วันนี้จึงขอรวบรวมคณะที่สามารถใช้การเทียบวุฒิ GED สมัครเข้าเรียนได้ จาก 7 มหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากคณะและมหาวิทยาลัยเหล่านี้ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยทั้งม.รัฐ และม.เอกชน ให้น้องๆ ลองศึกษาเพิ่มเติมถึง Requirement ต่างๆ เพื่อเริ่มวางแผนได้ตั้งแต่ตอนนี้เลย   สมัครเรียนพร้อมช่วยวางแผนเข้ามหาวิทยาลัยที่ Line @theplanner  หรือคลิกเพื่อดูข้อมูลคอร์สและตารางเรียน https://bit.ly/30mWyFG #theplannereducation #คอร์สกวดวิชา #โรงเรียนกวดวิชา #สอบเทียบ #สอบเทียบชั้น #GED #เรียนGED #ติวGED   ดูคอร์สเรียน ติดต่อสอบถามคอร์สการเรียน GED ได้ที่เบอร์ 02-253-2533 หรือ 095-726-2666หรือ LINE: @theplanner

Q&A เรื่อง GED Ready กับพี่ๆ The Planner Education

GED Ready คืออะไร? ทำไมต้องสอบ? น้องๆ ที่กำลังเรียน GED เตรียมสอบอาจจะเกิดความสงสัยเนื่องจากกฎใหม่จาก Official ที่บังคับให้ต้องสอบ GED Ready ก่อนสอบจริง วันนี้พี่ๆ The Planner Education รวบรวมคำถามที่น้องๆ สงสัยเกี่ยวกับ GED Ready มาตอบไว้ให้ในที่เดียวค่ะ :) Q: GED Ready คืออะไรA:  GED Ready คือการฝึกทำข้อสอบ GED เสมือนจริงทั้ง 4 วิชา แนวข้อสอบใกล้เคียงของจริงมากที่สุด และมีคะแนนแจ้งเราด้วยว่าได้เท่าไหร่ เพื่อวัดความพร้อมของน้องๆ โดยผลการทดสอบ GED Ready จะเป็นตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ของน้องๆ ในการทดสอบ GED อย่างเป็นทางการได้แม่นยำมาก Q:กฏใหม่ของ GED ว่าด้วยเรื่องการสอบ GED ReadyA: ที่ผ่านมาไม่ได้มีกฎบังคับว่าผู้เข้าสอบ GED ทุกคนต้องผ่านการสอบ GED Ready ถึงจะสามารถเข้าสอบได้ แต่ล่าสุดได้มีกฏใหม่สำหรับน้องๆ[...]

GED Social : Brown V. Board of Education

            ในเนื้อหาการเรียน GED Social Studies หลังจากสงครามกลางเมืองของอเมริกา (Civil War) จบลงทำให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 13 (Thirteenth Amendment) ซึ่งประกาศให้มีการเลิกทาสทั่วประเทศอเมริกา เหตุการณ์ความขัดแย้งนี้ดูเหมือนจะจบลงอย่างงดงาม ทว่าแม้ระบบทาสจะสิ้นสุดบุคคลที่เคยเป็นทาสมาก่อน (Former Slaves) ก็ยังต้องทนทุกข์ทรมานกับการถูกชาวอเมริกาผิวขาวกดขี่และปฏิบัติต่อแบบเหยียดสีผิว (Racism)              เราต้องรู้เรื่องราวนี้ในเนื้อหาเรียน GED Social Studies เพื่อทำคะแนนสอบด้วยนะครับ สังคมอเมริกาหลังจบสงครามกลางเมืองเต็มไปด้วยการแบ่งแยกเชื้อชาติระหว่างคนผิดขาวกับคนผิวดำ (Segregation) โดยที่คนผิดขาวมักจะมองว่าตนเหนือกว่าและมีสิทธิมากกว่า กฎหมายในสังคมตอนนั้นก็สนับสนุนให้เกิดการแบ่งแยกและกดขี่พร้อมทั้งลิดรอนสิทธิของอดีตทาส เช่น กฎหมาย Jim Crow ที่ระบุว่าคนขาวกับคนดำห้ามใช้สิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะร่วมกัน อาทิม้านั่งและน้ำดื่มสาธารณะ, คนผิดขาวและคนผิวดำห้ามแต่งงานกัน และห้ามเด็กผิวขาวกับเด็กผิวสีเรียนในโรงเรียนร่วมกัน             แต่การแบ่งแยกเชื้อชาติและการเหยียดสีผิวก็เริ่มลดลงเนื่องจากคำตัดสินของศาลฎีกาสูงสุดของอเมริกา (US Supreme Court) ในคดีครั้งสำคัญที่ชื่อว่า Brown V. Board of Education (คดีนี้ชอบออกข้อสอบ Social ฉะนั้นเรียน GED Social Studies ต้องมีเรื่องนี้นะครับ)[...]

GED Math : Order of operations

ติว GED Math วันนี้เราจะมาดูเรื่องการคำนวณทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น ประกอบไปด้วย การบวก, การลบ, การคูณ และ การหาร เพียงแค่สี่การก็สามารถนำมาประกอบรวมกันกลายเป็นการคำนวณที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การคำนวณร้อยละ, การยกกำลัง และ การหาค่าเฉลี่ย แต่ก่อนที่จะมาคำนวณ เราจะต้องเข้าใจพื้นฐานของลำดับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Order of operations) เสียก่อน เพราะเป็นเนื้อหาสำคัญในการคำนวณโจทย์คณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน หากไม่เข้าใจลำดับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ จะส่งผลกระทบต่อการคำนวณผิดพลาดอย่างรุนแรง แม้ว่าในข้อสอบ GED Mathematical Reasoning จะไม่ได้ออกเนื้อหานี้โดยตรง แต่ก็ถูกนำไปประยุกต์รวมกับเนื้อหากว่าครึ่งหนึ่งของข้อสอบทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเราเรียน GED Math เรื่องนี้ เนื้อหาที่จำเป็นต้องมีพื้นฐานการคำนวณทางคณิตศาสตร์ มีดังต่อไปนี้ พหุนาม (Polynomial) เลขยกกำลัง (Exponential) เศษส่วน, อัตราส่วน และ ร้อยละ (Fraction, Ratio and Percent) การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว (Linear Equation) การแก้ระบบสมการ (System of[...]

GED Science : Atom particles

ในการเรียน GED Science วิชาเคมี ก่อนอื่นต้องเกริ่นก่อนว่า ในธาตุจะประกอบไปด้วยหน่วยที่เล็กที่สุด เรียกว่า (Atom) ซึ่งในอะตอมก็ประกอบไปด้วยอนุภาคทั้งหมด 3 อย่างได้แก่ โปรตอน (Proton, p+) มีประจุเป็นบวกทางไฟฟ้า ธาตุเดียวกันจะต้องมีจำนวนโปรตอนเท่ากันเสมอ ดังนั้นโปรตอนจึงเป็นอนุภาคที่ใช้กำหนดเอกลักษณ์ของธาตุ นักวิทยาศาสตร์คนใดที่อยากคิดค้นธาตุใหม่จำเป็นต้องทำให้จำนวนโปรตอนในธาตุมีปริมาณที่ไม่ซ้ำกับธาตุดั้งเดิม ซึ่งพบว่าในปัจจุบันธาตุใหม่อาจต้องใส่โปรตอนเข้าไปในอะตอม ไม่ต่ำกว่า 120 ตัว ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในวงการวิทยาศาสตร์ นิวตรอน (Neutron, n0) มีสมบัติเป็นกลางทางไฟฟ้า 3. อิเล็กตรอน (Electron, e-) มีประจุเป็นลบทางไฟฟ้า ก่อนสอบเมื่อเราเรียน GED Science เราต้องรู้เรื่องนี้กันด้วยนะครับ ทั้งโปรตอนและนิวตรอนจะรวมตัวกันอยู่บริเวณตรงกลางอะตอม เรียกว่า นิวเคลียส (Nucleus) ซึ่งมีมวลมาก และทั้งสองอนุภาคมีมวลใกล้เคียงกัน โดยนิวตรอนและโปรตอนไม่เคลื่อนที่แต่จะสั่นเพราะมีแรงทางนิวเคลียร์ดึงดูดให้โปรตอนกับนิวตรอนอยู่ติดกัน ในขณะที่อิเล็กตรอนจะมีมวลน้อยกว่าโปรตอนและนิวตรอนกว่ามาก ในการติว GED Science ผู้เข้าสอบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาจำนวนอนุภาคพื้นฐานเหล่านี้ให้ได้ โดยใช้เครื่องมือชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ตารางธาตุ (Periodic Table) เพราะตารางธาตุเป็นหัวใจสำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้ม สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีของธาตุได้[...]

GED RLA : Common Pronoun Errors

          เรียน GED RLA วันละนิด วันนี้เรามาดูว่าเวลาที่เราใช้คำสรรพนาม (Pronoun) แทนคำนามที่ถูกกล่าวถึงไปแล้วในประโยค นอกเหนือจากเราจะต้องคำนึงเรื่องการใช้รูปฟอร์มของสรรพนามให้สอดคล้องกับหน้าที่ เช่น การใช้รูปประธาน  (I, You, We, They) หรือรูปแสดงความเป็นเจ้าของ (his, its, their, my) ทุกคนควรจะระมัดประเด็นต่อไปนี้ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการใช้คำสรรพนามที่เราพบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน (Common Pronoun Errors) และในข้อสอบ GED RLA ด้วย 1 ต้องเปรียบเทียบ Pronoun กับสิ่งที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ - My hair is longer than yours. (My hair is longer than your hair) หากจะเปรียบเทียบความยาวของเส้นผม เราก็ต้องเปรียบเทียบกับความยาวเส้นผมของอีกคนหนึ่ง      ห้ามเปรียบเทียบของคนละประเภท เช่น My hair is longer[...]

GED RLA – Cause and Effect

ติว GED RLA วันละนิดวันนี้ การอ่านบทความประเภท non-fiction นอกเหนือจากเราจะต้องจับใจความสำคัญ หรือ Main Idea ของเรื่องแล้ว สิ่งที่ทุกคนควรจะต้องทำต่อมาคือการทำความเข้าใจของโครงสร้างงานเขียนและตีความหาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดในเรื่อง (Inferring Relationships between Ideas) บ่อยครั้งที่ผู้เขียนมักจะเชื่อมโยงความคิดในเรื่องโดยการใช้ความสัมพันธ์ประเภทสาเหตุและผลลัพธ์ ( Cause and Effect) ความสัมพันธ์ประเภทนี้หมายความว่า “ความคิด” (หรืออาจเป็นเหตุการณ์) หนึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด”ความคิด” (หรือเหตุการณ์)อีกเรื่อง สามารถพูดอีกอย่างได้ว่า “ความคิดที่สอง”เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจาก “ความคิดแรก” เช่น Siri forgot to take medicine, so her symptom got worse. (ลืมกินยา = cause, อาการแย่ลง = effect) สังเกตว่า เวลาเราพยายามแยกแยะความสัมพันธ์ระหว่างสองประโยคเราสามารถใช้คำเชื่อม (transition) เพื่อช่วยระบุความสัมพันธ์ระหว่างความคิดได้ ** จำไว้ว่า คำเชื่อมกลุ่ม “because” จะตามหลังด้วยสาเหตุ[...]

GED Math – Basic concept of functions

วันนี้มาเรียน GED Mathematics กันซักนิด ฟังก์ชัน (Function) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรในคู่อันดับใด ๆ ของความสัมพันธ์นั้น คู่อันดับของฟังก์ชันจะประกอบไปด้วย input variable (ตัวแปรขาเข้า) อันเป็นสมาชิกตัวแรกในคู่อันดับ และ output variable (ตัวแปรขาออก) อันเป็นสมาชิกตัวหลังในคู่อันดับ โดยมีเงื่อนไขว่า ในแต่ละ input จะต้องมี output เพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้น มิเช่นนั้นความสัมพันธ์จะไม่เป็นฟังก์ชัน   ตัวอย่าง คู่อันดับของ (เมือง, ประเทศ) โดยที่เมือง คือ input variable และประเทศ คือ output variable f = {(กรุงเทพ, ประเทศไทย), (ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ)} f เป็นฟังก์ชันเพราะ แต่ละ input จะต้องมี output เพียงแค่ตัวเดียว g =[...]

GED Science – Chromosome

ติว GED Science วันละนิดวันนี้เรื่อง Chromosome ครับ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมมนุษย์แต่ละคนถึงมีหน้าตาไม่เหมือนกันเลย แต่ทำไมฝาแฝดถึงมีหน้าตาเหมือนกันทุกประการ เพื่อไขข้อข้องใจ พี่จึงจะมาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครโมโซม เพราะโครโมโซมนี่แหละที่เป็นองค์ประกอบในเซลล์ที่ทำให้หน้าตาของมนุษย์แต่ละคนแตกต่างกันออกไป โครโมโซม (Chromosome) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่พบในนิวเคลียส (Nucleus) ของเซลล์ และเป็นที่อยู่ของ ยีน (Gene) ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โครโมโซมประกอบไปด้วย 1. ดีเอ็นเอ (DNA, Deoxyribonucleic acid) และ             2. โปรตีนฮิสโตน (Histone protein) ซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน (Amino acid) ตั้งแต่ 100-200 โมเลกุล ในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน เพื่อปรับสมดุลสภาวะความเป็นกรด-เบส ให้เหมาะสมแก่เซลล์ ดังนั้นลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้ จะเกี่ยวข้องกับโปรตีนเสมอ เช่น เส้นผมของมนุษย์ เกิดจากการรวมตัวของโปรตีนที่เรียกว่า เคราติน (Keratin) สามารถถ่ายทอดลักษณะของเส้นผม ได้ 2 ลักษณะ เช่น เส้นผมตรง(Straight hair)[...]

GED Social Studies – Bill of Rights

ล่าสุดนี้สหรัฐอเมริกามีอัตราผู้ติดเชื้อไวรัส COVID -19 ถึง 1,237,633 คนซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อมากที่สุดในโลกและยังมีแนวโน้มว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ (ข้อมูลประจำวันที่ 6/5/2020) แม้ว่าจะมีอัตราผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตสูงขนาดนี้ ประชาชนชาวอเมริกาส่วนหนึ่งก็ยังออกมารวมตัวกันประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกมาตรการปิดเมือง/ประเทศ (Lockdown) เนื่องจากปัญญาด้านเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยลงทำให้ประชาชนเริ่มเผชิญสภาวะอดอยาก อีกทั้งประชาชนกลุ่มนี้มองว่ามาตรการ Lockdown เป็นการละเมิดสิทธิ อิสรภาพและเสรีภาพของประชาชน (ชาวอเมริกาให้ความสำคัญสิทธิดังกล่าวมาก)  จนถึงขั้นให้เหตุผลว่ารัฐบาลกำลังนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลความรุนแรงของไวรัสโควิดเกินจริงและใช้ไวรัสโควิดเป็นเครื่องมือในการควบคุมและละเมิดสิทธิประชาชน ว่าแต่ทุกคนสงสัยไหมว่ากลุ่มผู้ประท้วงไม่กลัวหรอครับว่าการออกมาเดินขบวนนี้อาจทำให้เขาถูกจับเข้าคุก ?  (ปล. สำหรับคนที่สงสัยว่าพวกเขาไม่กลัวอันตรายของไวรัสบ้างหรอ ถ้าเขาออกมาเดินขบวนได้ขนาดนี้พี่ก็อยากบอกว่าคงไม่ต้องสงสัยแล้วว่าพวกเขากลัวไวรัสหรือเปล่า 555) กลับมาที่ประเด็นของเราดีกว่า ว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับการเรียนGED Social Studies อย่างไร สาเหตุที่ผู้ประท้วงออกมาเดินขบวนท้าทายมาตรการของรัฐและเจ้าหน้าที่ได้ขนาดนี้ เพราะพวกเขาได้รับการปกป้องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitution) อยู่ครับ ในเนื้อหาติว GED Social Studies ย้อนกลับไปในสมัยที่อเมริกาเพิ่งก่อตั้งประเทศสำเร็จหลังจากสามารถเอาชนะเจ้าอาณานิคมอย่างจักรวรรดิอังกฤษ ได้เกิดความพยายามรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลางและเกิดงานประชุมหารือเพื่อร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐขึ้น (The Constitutional Convention) ในงานประชุมนี้กลุ่มผู้ต่อต้านการรวมอำนาจของรัฐบาลกลาง (Anti-Federalist) ได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาในตอนแรกยังไม่ได้ระบุและปกป้องสิทธิของประชาชนเอาไว้ ซึ่งจากการการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้มีการเพิ่มเติมร่างกฎหมายสิทธิพลเมือง (Bill of Rights)เข้าไปในปี 1791 เพื่อรับประกันสิทธิของประชาชน โดยบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนี้มีจำนวนทั้งหมด 10 มาตราซึ่งในการเรียน[...]