ติว GED วันละนิด พิชิตข้อสอบ GED วันนี้เรามาดูเนื้อหาเกี่ยวกับ Science กันครับ
ในช่วงต้นปี 2020 ข่าวที่ประเด็นน่าสนใจคงหนีไม่พ้น การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Coronaviruses) ทำให้ผู้คนสนใจ ถึงความอันตรายของไวรัสเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามยังมีหลายคนสงสัยถึงความแตกต่างระหว่างไวรัสกับแบคทีเรีย ว่าแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งในบทเรียน GED Science ก็จะมีด้วย กล่าวคือ ไวรัส (Virus) เป็นสิ่งขนาดเล็กที่สามารถแพร่พันธุ์ได้ เมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยส่วนมากมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรีย สามารถมองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเท่านั้น ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างของไวรัสกับแบคทีเรีย คือ ไวรัสไม่จัดเป็นเซลล์ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของการมีชีวิต เนื่องจากไวรัสไม่มีกลไกการเจริญเติบโต กลไกการขับถ่าย รวมไปถึงกลไกการหายใจระดับเซลล์ ในทางตรงกันข้าม กลับพบกลไกตามที่กล่าวข้างต้นทุกอย่างในแบคทีเรีย ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ไวรัสไม่จัดเป็นสิ่งมีชีวิต แต่แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นจุดที่หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่
เห็นไหมครับว่าความรู้เรื่องนี้ไม่ได้จำกัดไว้ในเนื้อหาการเรียน GED Science เท่านั้น เราควรรู้ไว้เพื่อป้องกันตนเองจากการติดโรคในชีวิตประจำวันของเราด้วยนะครับ
ในปัจจุบันยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่า ไวรัสมีประโยชน์อย่างไร ดังนั้น ไวรัสจึงเป็นสิ่งที่เป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมของไวรัสจะอาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตแล้วขยายพันธุ์ เรียกว่า ปรสิต (parasite) โดยไวรัสจะแพร่พันธุ์อยู่ในร่างกายจนเกิดอาการเจ็บป่วย เมื่อผู้ป่วยพบว่าตนติดเชื้อจากไวรัส ไม่ควรทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ เพราะไม่สามารถรักษาอาการที่เกิดจากไวรัสได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อเชื้อดื้อยาได้อีกด้วย วิธีการรักษาโรคที่เกิดจากไวรัส ทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในการปกป้องร่างกายจากไวรัส หรืออาจรับประทานยาที่ช่วยยับยั้งการเพิ่มของไวรัสร่วมด้วย
ภาพฉายของไวรัสโคโรนา (Coronaviruses) ผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ข้อควรจำ
- เมื่อติวเนื้อหาการเรียน GED Science เพื่อสอบเราจำเป็นต้องแยกความแตกต่างระหว่างไวรัสกับแบคทีเรีย ซึ่งเป็นหัวข้อที่พบได้มากในข้อสอบ GED science โดยศึกษาจาก หลักเกณฑ์ตามตารางดังล่าง ก็จะช่วยให้ทำข้อสอบที่ต้องการวัดผลในหัวข้อนี้ไปได้
- การที่ไวรัสและแบคทีเรียแพร่พันธุ์ได้ ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิต เพราะยังต้องพิจารณาในกลไกอย่างอื่นมาประกอบด้วย เช่น การหายใจ, การขับถ่าย, การเจริญเติบโต, การตอบสนองต่อสิ่งเร้า เป็นต้น
- การที่ไวรัสและแบคทีเรียแพร่พันธุ์ได้ แสดงว่าทั้งไวรัสและแบคทีเรียมีสารพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบ
หลักเกณฑ์ | ไวรัส (Virus) | แบคทีเรีย (Bacteria) |
ขนาด | เล็ก | ใหญ่ |
มองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์ | ไม่เห็น | เห็น |
มองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน | เห็น | เห็น |
เยื่อหุ้มเซลล์ | ไม่มี | มี |
ความเป็นเซลล์ | ไม่เป็น | เป็น |
การเพิ่มจำนวน | มี (เมื่ออยู่ในสิ่งมีชีวิต) | มี |
สารพันธุกรรม เช่น DNA, RNA | มี (เพียงชนิดเดียว) | มี (มีทั้ง DNA และ RNA) |
การจัดการเมื่อได้รับเชื้อ | ฉีดวัคซีน | ทานยาปฏิชีวนะ |