ติว GED วันละนิด พิชิตข้อสอบ GED วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิชา Science ในเรื่อง “Symbiotic relationship” กันนะครับ
คงเป็นเรื่องน่ายินดี ถ้าชีวิตของมนุษย์ธรรมดาทั่วไปจะมี “คู่หู” อยู่ข้างกายเพื่อเป็นพลังบวกให้แก่กัน แน่นอนว่า ไม่ใช่เพียงแค่มนุษย์ ในทางชีววิทยายังมีสิ่งมีชีวิตที่ความสัมพันธ์แบบ “คู่หู” เรียกว่า “Symbiotic relationship” ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่อย่างน้อยมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ โดยที่อีกฝ่ายไม่เสียประโยชน์ ในเนื้อหาการเรียน GED Science ของเรื่องนี้ เราก็จะเห็นได้ว่า คู่หู ที่ว่านี้จะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
- ภาวะพึ่งพาอาศัย (Mutualism) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อยู่ร่วมกันแล้วต่างฝ่ายได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากถูกแยกออกจากกันเป็นระยะเวลานานจะไม่สามารถดำรงชีพได้ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการขาดอาหาร เช่น ไลเคนส์ (Lichens), ไรโซเบียม (Rhizobium) เป็นต้น
- ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่อยู่ร่วมกันแล้วต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน แต่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีพ เช่น ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล, ผีเสื้อกับดอกไม้ เป็นต้น
- ภาวะอิงอาศัย (Commensalism) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่อยู่ร่วมกันโดยมีฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียผลประโยชน์ เช่น ฉลามกับเหาฉลาม, นกกับต้นไม้ เป็นต้น
ภาพปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล
ไม่ได้สำคัญเพียงแค่ในการเรียน GED Science เท่านั้น เรื่องนี้ก็สำคัญต่อความรู้รอบตัวเช่นกันนะครับ ในโลกใต้ทะเลที่เต็มไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล เป็นอีกคู่หูที่เหล่านักชีววิทยาให้ความสนใจ เพราะสิ่งมีชีวิตสองชนิดนี้มีรูปแบบในการจัดการเพื่อช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation)
ปูเสฉวน (Hermit crab) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เปลือกอ่อนนิ่ม ต่างจากปูสายพันธุ์อื่น ดังนั้นปูเสฉวนจึงนิยมอาศัยอยู่ในเปลือกหอยที่ตายแล้ว โดยดอกไม้ทะเลจะได้ประโยชน์จากปูเสฉวน จากการรอรับอาหารที่เหลือจากปูเสฉวน
ดอกไม้ทะเล (Sea anemone) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เคลื่อนที่ช้า ที่มีสีสันสวยงานสะดุดตา แต่ก็เปี่ยมไปด้วยพิษสงขัดกับภาพลักษณ์ที่สวยงามอย่างสิ้นเชิง โดยบริเวณส่วนบนของดอกไม้ทะเลประกอบไปด้วย หนวดที่มีเข็มพิษซ่อนอยู่ภายใน เรียกว่า “Tentacle” เสมือนเป็นชุดเกราะป้องกันที่ช่วยอำพรางตัวจากนักล่าใต้น้ำขนาดใหญ่
ข้อควรจำ สำหรับเนื้อหาติว GED และข้อสอบ GED Science ดังนั้นควรจำไว้ว่า ความสัมพันธ์ที่ต่างฝ่ายได้ประโยชน์ แต่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีพ เรียกว่า “Protocooperation” โดยอนุโลมเป็นความสัมพันธ์แบบ “Mutualism” ได้ แต่โดยข้อสอบของสถาบันหรือหน่วยงานอื่น เช่น IGCSE, A-level จะมองว่าเป็นความสัมพันธ์คนละรูปแบบกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กสับสนเป็นอย่างมาก