INTRODUCTION ติว GED Science วันละนิด
เรื่องที่ต้องเราต้องเจอในการเรียน GED Science แน่ๆคือเรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) คือ กระบวนการทางเคมีที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ภายใต้สภาวะที่มีแสงและรงควัตถุสีเขียว หรือ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ สารประกอบน้ำตาลกลูโคส และ ผลิตภัณฑ์เสริม ได้แก่ ก๊าซออกซิเจน ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการทางเคมีตามด้านล่างนี้
การสังเคราะห์ด้วยแสงพบได้ในสิ่งที่มีชีวิตที่มีคลอโรฟิลล์ ได้แก่ พืช (plant), แบคทีเรียประเภทสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (cyanobacteria) หรือ โปรโตซัวบางชนิด (protozoa) ประโยชน์หลักของการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ การสร้างกลูโคสเพื่อใช้เป็นสารอาหารในการดำรงชีพ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จะเรียกโดยรวมว่า autotroph ซึ่งหมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ และยังเป็นผู้ผลิต (producer) ที่สำคัญในห่วงโซ่อาหารอีกด้วย นอกจากนี้ประโยชน์ทางอ้อมของการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ การผลิตก๊าซออกซิเจนซึ่งเป็นก๊าซที่จำเป็นในการหายใจของสัตว์ทุกชนิด ด้วยเหตุนี้สัตว์ส่วนใหญ่จึงนิยมอาศัยอยู่ในป่าซึ่งอุดมไปด้วยก๊าซออกซิเจน ดังนั้นการสังเคราะห์ด้วยแสงจึงส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างมีนัยสำคัญทั้งต่อสัตว์รวมไปถึงมนุษย์อีกด้วย เราต้องเข้าใจกระบวนการนี้เมื่อเราติว GED Science ก่อนสอบนะครับ
ภาพขยาย 700 เท่า ของปากใบ (stomata) ในพืช
ในการติว GED Science ข้อสอบวิชานี้ หัวข้อการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดหัวข้อหนึ่ง โดยข้อสอบจะเน้นการสังเคราะห์ด้วยแสง ที่พบในพืชเป็นหลัก โดยข้อสอบสามารถออกได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ทำข้อสอบอย่างรวดเร็วควรจำสมการเคมีของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงอย่างแม่นยำ นอกจากนี้ปัญหาที่พบได้มากในผู้เข้าสอบ GED คือ การจำสมการสังเคราะห์ด้วยแสงโดยไม่เข้าใจว่ากระบวนการทั้งระบบเกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งเป็นหนึ่งในคำถามที่พบได้มากที่สุดในหัวข้อนี้
การสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นในบริเวณปากใบของพืช ซึ่งทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจน โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับน้ำ โดยน้ำจะถูกดูดขึ้นมาจากใต้ดินผ่านทางราก และลำเลียงผ่านทางท่อลำเลียงน้ำ (xylem) ไปยังปากใบ ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นโดยมีแสงเป็นตัวกระตุ้นให้คลอโรฟิลล์ทำงาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาเคมีซึ่งได้ กลูโคสและก๊าซออกซิเจนเป็นผลิตภัณฑ์ โดยกลูโคสจะถูกลำเลียงไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆของพืช ทางท่อลำเลียงอาหาร (phloem) และก๊าซออกซิเจนจะถูกปล่อยออกมาทางปากใบสู่ชั้นบรรยากาศ โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสามารถในการสังเคราะห์แสง ได้แก่ ปริมาณสารตั้งต้น, ปริมาณและชนิดของคลอโรฟิลล์, ความเข้มแสง, ความยาวคลื่นแสง, อายุของพืช, ขนาดของพืช และ อุณหภูมิ
หากก่อนสอบเรามีการติว GED Science กระบวนการของเรื่องนี้ก็สำคัญ นอกจากนั้นอย่าลืมเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยนะครับ เพราะข้อสอบ GED เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด