ติว GED Mathematical Reasoning & GED Science
Data visualization คือ กระบวนการนำข้อมูลดิบมานำเสนอในรูปแบบ เช่น กราฟเส้น (line graph), แผนภูมิแท่ง (histogram) หรือ แผนภูมิวงกลม (pie chart) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดข้อมูลเชิงปริมาณที่มีความซับซ้อนให้เกิดความน่าสนใจ เข้าใจง่าย เห็นภาพรวมได้ชัดเจน ซึ่งนิยมนำมาใช้ประกอบในการรายงาน การวิเคราะห์ การสรุปผลข้อมูล นอกจากนี้การนำเสนอข้อมูลโดยใช้รูปภาพสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในแง่การเปรียบเทียบแนวโน้ม พฤติกรรม และความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นต้น
Data visualization นิยมออกในข้อสอบทั้ง GED Mathematical Reasoning และ GED Science ดังนั้นหากเราติวกันอยู่ ก็ควรมั่นใจว่าเราเข้าใจเรื่องนี้ก่อนไปสอบจริงนะครับ เนื่องจาก Data visualization มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่าย ดังนั้นเวลาทำข้อสอบ ควรอ่านกราฟหรือแผนภูมิเป็นอันดับแรกเพื่อช่วยให้เข้าใจภาพรวมของเนื้อหาที่นำเสนอได้อย่างรวดเร็ว โดยกราฟและแผนภูมิที่นิยมออกข้อสอบ GED ได้แก่ 1. กราฟเส้น (line graph) 2. แผนภูมิแท่ง (histogram) และ 3. แผนภูมิวงกลม (pie chart)
- กราฟเส้น (line graph) มีลักษณะเป็นเส้นต่อเนื่อง ซึ่งปรากฎอยู่บนพิกัดกราฟที่ประกอบด้วยแกนตั้ง (vertical axis) และ แกนนอน (horizontal axis) ข้อสังเกต แกนนอนส่วนมากใช้เป็นแกนของเวลา เพื่อบอกปริมาณข้อมูลตามแกนตั้งที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
กราฟการให้ความร้อนของน้ำกลั่นที่ความดันบรรยากาศ
- กราฟแท่ง (histogram) มีลักษณะเป็นแท่งหลายอันซึ่งปรากฎอยู่บนพิกัดกราฟที่ประกอบด้วยแกนตั้ง (vertical axis) และ แกนนอน (horizontal axis) โดยความสูงของกราฟแท่งบ่งบอกถึงปริมาณของข้อมูลที่ต้องการ จะนำเสนอ ข้อสังเกต กราฟแท่งนิยมใช้ในการเปรียบเทียบปริมาณโดยดูจากความสูงของกราฟ
กราฟแท่งแสดงประเภทการเดินทางผ่านร้านค้าตามช่วงเวลา
- แผนภูมิวงกลม (pie chart) มีลักษณะเป็นพื้นที่วงกลมซึ่งแบ่งเป็นหลายส่วนตามสัดส่วนของข้อมูล โดยทั้งแผนภูมิวงกลมเทียบเท่าปริมาณทั้งหมดของข้อมูล ข้อสังเกต ปริมาณข้อมูลในแผนภูมิ นิยมระบุเป็นร้อยละ (percent)
แผนภูมิวงกลมแสดงองค์ประกอบของอากาศ
ในช่วงก่อนสอบที่เรากำลังติว GED Math หรือ GED Science อยู่นั้นข้อควรระวัง จุดผิดพลาดของผู้เข้าสอบ GED ที่พบโดยส่วนมากในหัวข้อ Data visualization คือ การอ่านค่าในกราฟผิด ในกรณีที่หน่วยปริมาณ (Unit) ของกราฟไม่ตรงกับคำถาม ซึ่งลำดับแรกในการอ่านกราฟจำเป็นต้องดูหน่วยของปริมาณทั้งแกนตั้งและแกนนอนในการทำข้อสอบเสมอ เช่น กราฟเส้นที่มีแกนนอนเป็นหน่วยนาที หากโจทย์ถามในหน่วยวินาที ค่าที่อ่านได้จากกราฟจำเป็นต้องเปลี่ยนจากหน่วยนาทีเป็นหน่วยวินาที ด้วยการคูณ 60 ก่อนนำค่าที่คำนวณไปตอบ เพราะฉะนั้นเวลาเราติว GED Math หรือ Science เพื่อไปสอบก็ให้ระวังเรื่องนี้กันดีๆด้วยนะครับ
EXAMPLE
ตัวอย่าง จงวิเคราะห์กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศและผลต่างอุณหภูมิเฉลี่ยเทียบกับเวลา
ผู้ที่จะสอบ GED ส่วนมากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของกราฟ วิธีการวิเคราะห์ของกราฟให้ พิจารณาแยกกราฟแต่ละตัวโดยดูจากภาพรวม จากนั้นทำการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของกราฟ 2 ตัว และศึกษารายละเอียดเชิงลึกเพิ่มเติม หากพบว่าข้อมูลบางส่วนขัดแย้งกับข้อมูลในภาพรวม ให้อ่านข้อมูลจากบทความเพื่อหาสาเหตุดังกล่าว
ผลการวิเคราะห์ ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในอนาคต เนื่องจากความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นใน 20 ปีหลัง (ค.ศ. 1980 – 2000) มีค่าใกล้เคียงเมื่อเทียบกับความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นใน 80 ปีก่อนหน้านั้น (ค.ศ. 1900 – 1980)
ความสัมพันธ์ระหว่างผลต่างอุณหภูมิเฉลี่ยและความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน ในภาพรวม โดยยกเว้นในช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1880 – 1920 ที่มีความสัมพันธ์สวนทางกันเล็กน้อย เป็นการแสดงให้เห็นว่า ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ส่งต่อภาวะโลกร้อนอย่างมีนัยสำคัญ
โดยทั่วไปในการติว GED เพื่อเตรียมตัวไปสอบก็ควรมีการฝึกเรื่องการวิเคราะห์ ในบางข้อต้องวิเคราะห์เชิงลึกด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นข้อสอบ GED ก็ไม่ได้ง่ายเกินไป แต่ก็ไม่ยากเกินไปเช่นกันครับ