University pathways ฉบับ Inter program เข้าคณะอินเตอร์ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

คณะหรือภาคอินเตอร์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของน้องๆ นักเรียน การเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษช่วยเปิดกว้างองค์ความรู้ใหม่ๆ พร้อมกับครูผู้สอนและเพื่อนๆ ต่างเชื้อชาติ ถือเป็นทางเลือกที่สร้างโอกาสและได้ฝึกฝนสกิลด้านภาษา เพื่อนำมาใช้ในอนาคต ปัจจุบันคณะอินเตอร์ในไทยมีอยู่หลากหลายสถาบันทั้งของเอกชนอย่าง ม.กรุงเทพ ABAC ฯลฯ หรือมหาวิทยาลัยชั้นนำของภาครัฐ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหิดล เกษตรศาสตร์ มศว และอีกมากมาย เปิดโอกาสให้น้องๆ สามารถยื่นคะแนนเข้าศึกษาในหลักสูตรอินเตอร์ เพื่อสร้างทางเลือกของอาชีพในอนาคต แต่การจะสมัครเข้าไปเรียนในคณะอินเตอร์จะมีความเฉพาะบางอย่างที่เพิ่มขึ้นมา เช่น เรื่องการวัดผลทางด้านภาษาอังกฤษ การวัดผลความเฉพาะทางอื่นๆ เพื่อเข้าเรียนในคณะ นอกจากนี้เนื่องจากเป็นหลักสูตรอินเตอร์ที่เปิดกว้างสำหรับคนไทยและต่างชาติ จึงสามารถใช้วุฒิเทียบ ม.6 ของหลักสูตรต่างประเทศยื่นได้ รายละเอียดสามารถติดตามได้ในบทความนี้เลย ? High School Diploma : วุฒิ ม.6 หรือเทียบเท่า ก่อนจะไปถึงคะแนนวัดผลต่างๆ แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ วุฒิจบ ม.6 หรือเทียบเท่า เพื่อยืนยันว่าเราได้ผ่านการศึกษาในระดับมัธยมปลายมาแล้ว ทั้งนี้เราสามารถใช้ ”วุฒิเทียบเท่า” ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่าเทียบเท่ากับการศึกษาระดับมัธยมปลายของไทยยื่นเข้าภาคอินเตอร์ได้ โดยวุฒิเทียบเท่าหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง ได้แก่ GED ระบบอเมริกา/แคนนาดา, IGCSE &[...]

รวมข้อควรรู้ของ SAT Subject Test อยากติดอินเตอร์ต้องอ่าน!

SAT Subject Test คืออะไร? นอกจากการสอบ SAT สำหรับวัดความสามารถเพื่อยื่นเข้ามหาวิทยาลัยตามหลักสูตรสากลแล้ว น้องๆ น่าจะเคยได้ยิน SAT Subject Test หรือ SAT II  ซึ่งถ้าให้อธิบายง่ายๆ ก็คือการวัดความสามารถ “แบบเฉพาะ” ในวิชานั้นๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับคณะที่น้องๆ จะยื่นเข้าเรียนซึ่งคณะอินเตอร์มักจะมี Requirement ให้ยื่นทั้ง SAT และ SAT Subject Test ในกรณีที่ต้องการคะแนนวัดผลเฉพาะ  โดยเจ้า SAT Subject Test จะมีวิชาที่แยกย่อยไปอีกเยอะมากๆ และวิชา SAT Subject Test ที่มหาวิทยาลัยในไทยนิยมใช้ ได้แก่ Mathematics (Level 1,2) ,Physics, Chemistry, Biology เพื่อใช้ยื่นเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ เป็นต้น SAT Subject Test มีวิชาอะไรบ้าง? มี[...]

รู้ก่อนสอบ SAT 2021 เตรียมตัวฟิต พิชิตคณะอินเตอร์

การสอบ SAT รอบปี 2020 กำลังจะผ่านไป สำหรับน้องๆ ที่กำลังเตรียมความพร้อมสอบ SAT ปีหน้า วันนี้ The Planner Education มาชวนอุ่นเครื่องทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับข้อสอบ SAT พร้อมอัพเดตตารางการสอบ SAT ของปีหน้า เพื่อพิชิตเป้าหมายการสอบเข้าคณะอินเตอร์ของน้องๆ กันค่ะ ?? SAT Exam Pattern - โครงสร้างข้อสอบ ข้อสอบ SAT ได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตราฐานสากลที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดความถนัดของน้องๆ ในวิชาภาษาอังกฤษ Reading & Writing และวิชาเลข Mathematics จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในประเทศไทย อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหิดล ธรรมศาสตร์ฯลฯ ได้มีการใช้เกณฑ์คะแนนดังกล่าววัดผลการเข้าศึกษาในหลักสูตรอินเตอร์ โดยโครงสร้างของข้อสอบ SAT แบ่งออกเป็น 2 วิชาตามที่กล่าวไปเบื้องต้น จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 พาร์ทคือ Evidence-Based Reading & Writing - ซึ่งถูกแยกออกเป็นพาร์ท[...]

SAT Passage-based Reading and Writing : Future Simple VS Future Perfect

            สวัสดีครับ วันนี้เรามาดูภาษาอังกฤษในบทเรียน SAT Passage-based Reading and Writing กันนะครับ หากเราต้องการที่จะบรรยายเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นหรือเล่าเหตุการณ์ในอนาคต เราสามารถใช้โครงสร้างประเภท Future Tense มาช่วยประกอบการบรรยายได้ แต่ทราบกันไหมครับว่าอันที่จริงอนาคตในภาษาอังกฤษมีวิธีเล่าทั้งหมดถึง 4 แบบด้วยกัน แต่วันนี้พี่จะมาสอนวิธีการใช้รวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างของ Future Simple กับ Future Perfect ให้น้องฟัง เพราะข้อสอบและบทเรียน SAT พาร์ท English ชอบทดสอบว่าน้องสามารถแยกแยะและใช้งาน Tense คู่นี้ได้หรือเปล่า             ปกติแล้วเรามักจะใช้ Future Tense ในการบรรยายเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียงแต่ผู้พูดวางแผนหรือคาดการณ์ว่าเหตุการณ์น่าจะเกิดขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญของ Tense นี้คือคำว่า “will” (จะ) และอย่าลืมนะหลัง will ต้องตามด้วย Infinitive Verb เสมอ ( Verb ไม่ผันและห้ามเติม -s/-es/-ed หรือ -ing ต่อท้ายเด็ดขาด!)[...]

SAT Chemistry : Energy change

วันนี้มาเรียน SAT Chemistry กับเรื่อง Energy Change กันครับ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีเสมอ เกิดจากมุมมองอันประกอบไปด้วย ระบบ (System) คือ สิ่งที่เราให้ความสนใจ และ สิ่งแวดล้อม (Surroundings) คือ สิ่งที่อยู่นอกเหนือขอบเขตที่เราสนใจ ตัวอย่าง ในบทเรียน SAT Chemistry จะมีเรื่องการละลายของน้ำแข็ง (ระบบ คือ น้ำแข็ง และ สิ่งแวดล้อม คือ อากาศภายนอกหรือสิ่งอื่นที่ไม่ใช่น้ำแข็ง) ในวิชา SAT Chemistry เคมี ความรู้แขนงนี้ถูกต่อยอด ด้วยการนำหลักการทางความร้อนมาใช้พบว่า การเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยส่วนมากแล้ว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพลังงานตามมาเสมอ   เมื่อติว SAT Chemistry เราจะต้องเรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่ การคายพลังงาน (ภาพด้านซ้ายมือ) เกิดขึ้นเมื่อระบบปล่อยพลังงานออกมาสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้พลังงานภายในระบบลดลง ส่งผลให้พลังงานของระบบ ณ จุดสุดท้าย[...]

SAT Math : Conversion factor

ในการเรียน SAT Math เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ปัญหาที่ทำให้เด็กตอบคำถามผิด มาจากคำนวณหน่วยผิดซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่เด็กทุกคนเรียนกันมาตั้งแต่สมัยประถม เนื้อหานี้เป็นหนึ่งในเนื้อหาที่สำคัญมากที่สุด เพราะอยู่ในข้อสอบทุกประเภท โดยเฉพาะใน SAT Mathematics นอกจากนี้ยังออกในข้อสอบ SAT Chemistry และ SAT Physics อีกด้วย จะเห็นได้ว่าเนื้อหาบทนี้สำคัญมากเพียงใด ตัวอย่าง  มีลูกอม 20 เม็ด แบ่งให้เพื่อนไป 1 โหล จะเหลือลูกอมกี่เม็ด สังเกตว่าเราไม่สามารถคำนวณ “20 เม็ด – 1 โหล” ได้ เพราะการบวกลบหน่วยต้องตรงกันเสมอ การบวกลบ หน่วยต้องเหมือนกัน                                 เช่น 2 เมตร + 5 เมตร = 7 เมตร หรือ 12 นาที – 4 นาที =[...]

SAT English – Confusing Words

            ติว SAT กัน วันละตอน วันนี้จะมาดูคำที่ต้องรู้ความแตกต่าง ในชีวิตนี้ทุกคนน่าจะเคยประสบปัญหาเวลาเจอคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีลักษณะคล้ายกัน (อย่างการออกเสียงคล้ายกันหรือการสะกดคำคล้ายกัน) มักจะทำให้เราสับสนและเผลอใช้คำศัพท์เหล่านั้นผิดบริบท เช่น two VS to VS to, than VS then และ advice VS advise             จะเห็นได้ชัดเลยว่าคำกลุ่มนี้มักสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้เสมอ พี่เจอบ่อยๆจากน้องๆที่เรียน SAT กัน คำกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า Confusing Words (ลักษณะคล้ายแต่มีความหมายและการใช้งานแตกต่าง) ข้อสอบ SAT เองก็มักจะทดสอบว่าพวกเรารู้คำศัพท์ รู้ความแตกต่างและการใช้งานคำศัพท์แต่ละคำมากเพียงพอที่จะไม่สับสนเวลาทำข้อสอบหรือเปล่า             วันนี้พี่ก็เลยจะมานำเสนอคำศัพท์ที่มีลักษณะคล้ายกันมากจนสร้างความสับสนให้กับน้องๆที่ติว SAT และผู้ใช้ภาษา เรื่องนี้มักจะออกข้อสอบ SAT กันครับ เราลองมาดูกันทีละคู่เลยดีกว่า Affect VS Effect             คำคู่แรกนี้เป็นคำคู่ที่ง่ายที่สุด แต่ก็ยังมีเด็กหลายคนที่ใช้งานผิดนะครับ สองคำนี้มีความหมายคล้ายกัน แปลว่า “(มี)ผลกระทบ” แตกต่างกันคือ affect =[...]

SAT Math – Average from frequency table

ติว SAT Math วันละนิดวันนี้เรื่อง frequency นะครับ อันนี้เป็นตารางแจกแจงความถี่ (Frequency table) เป็นการแสดงผลข้อมูลเป็นตารางอย่างง่ายด้วยการแปลงข้อมูลดิบมาใส่ในตาราง เช่น อายุของนักเรียน 12 คน ในห้องเรียน มีดังต่อไปนี้ 16, 17, 19, 20, 17, 18, 19, 18, 16, 16, 18, 16 จะสามารถเขียนเป็นตารางแจกแจงความถี่ได้ดังนี้ องค์ประกอบของตารางแจกแจงความถี่จะประกอบไปด้วย Column x นิยมเขียนอยู่ทางด้านซ้ายมือ แสดงค่าของข้อมูล ในกรณีนี้ คือ อายุ Column นิยมเขียนอยู่ทางด้านขวามือ แสดงความถี่ของข้อมูลหรือจำนวนของข้อมูลที่สนใจ ในกรณีนี้ คือ จำนวนนักเรียน   สังเกตว่า การแสดงตารางแจกแจงความถี่มีช่วยให้อ่านข้อมูลได้อย่างสะดวกมากขึ้น เพราะถ้าจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจาก 12 คนเป็น 20 คน หรือ 30 คน แน่นอนว่า[...]

SAT : Answer Choice

                เวลาที่น้อง ๆ ทำโจทย์หรือติว SAT Reading หลายคนน่าจะเคยลังเล เลือกคำตอบที่ถูกต้องไม่ได้ถึงแม้ว่าจะอ่านบทความเสร็จแล้วก็ตาม หรือแม้ว่าจะพยามยามตัดchoice แล้วสุดท้ายก็จะเหลือตัวเลือกไว้สองข้ออยู่ดี ซึ่งเราก็ต้องเสี่ยงดวง 50% ว่าเราจะตอบถูกไหม ดังนั้นวันนี้พี่ก็เลยจะมาแนะนำหลักการตัด choice ที่พี่ชอบใช้เวลาทำโจทย์ เพื่อเพิ่มโอกาสการทำโจทย์ SAT ให้ถูกต้องกับทุกคนนะครับ                 เราลองมาดูกันนะครับว่าลักษณะคำตอบที่ผิดและมักจะเป็นตัวหลอก (Distractor) ใน Reading ภาษาอังกฤษมีอะไรกันบ้าง ในการติว SAT เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ Off-topic คือ choice ที่นอกเรื่องไปเลย อยู่ดี ๆ โจทย์ก็หยิบประเด็นหรือคำอะไรไม่รู้มาเติมทำให้ประโยคหลุดประเด็นไป เช่น ในบทความพูดถึงการทำอาหาร แต่ใน choice พูดเรื่องการทำอาหาร Too broad/narrow ลักษณะ choice นี้จะผิดเพราะกว้างเกินไป หรือแคบเกินไป เช่น ในบทความพูดถึงนักชีวะวิทยา (Biologist) แต่ใน choice ใช้คำว่า Scientists ซึ่งหมายถึงนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ก็จะทำให้[...]

SAT Math : COMPLEX NUMBER

วันนี้เราจะมาดูเนื้อหาการเรียน SAT Math เรื่อง complex number หลายคนเคยสงสัยว่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเอาตัวเลขติดลบมาถอด square root ของตัวเลขติดลบ เช่น  คำตอบ ก็คือ เป็นไปไม่ได้ เพราะตัวเลขเหมือนกัน 2 ตัว คูณกันแล้วไม่มีทางที่จะได้จำนวนลบเลย เช่น 1 x 1 = 1 หรือ -1 x -1 = 1 อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดทางคณิตศาสตร์ถูกกำจัดทิ้งไปด้วยการสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมาด้วยการคิดสัญลักษณ์ค่าหนึ่งออกมาเพื่อให้สามารถตอบข้อสงสัยดังกล่าวได้ ด้วยการกำหนดว่า  =   โดย  เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่เป็นองค์ประกอบในจำนวนเชิงซ้อน (complex number) ซึ่งเป็นตัวเลขที่เขียนในรูป a + b โดย a และ b คือจำนวนจริง ติว SAT Math ก่อนสอบน้องๆอย่าลืมติวกันเรื่องนี้ด้วยนะครับ จำนวนเชิงซ้อนแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่[...]