GED Science – Chromosome

ติว GED Science วันละนิดวันนี้เรื่อง Chromosome ครับ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมมนุษย์แต่ละคนถึงมีหน้าตาไม่เหมือนกันเลย แต่ทำไมฝาแฝดถึงมีหน้าตาเหมือนกันทุกประการ เพื่อไขข้อข้องใจ พี่จึงจะมาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครโมโซม เพราะโครโมโซมนี่แหละที่เป็นองค์ประกอบในเซลล์ที่ทำให้หน้าตาของมนุษย์แต่ละคนแตกต่างกันออกไป โครโมโซม (Chromosome) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่พบในนิวเคลียส (Nucleus) ของเซลล์ และเป็นที่อยู่ของ ยีน (Gene) ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โครโมโซมประกอบไปด้วย 1. ดีเอ็นเอ (DNA, Deoxyribonucleic acid) และ             2. โปรตีนฮิสโตน (Histone protein) ซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน (Amino acid) ตั้งแต่ 100-200 โมเลกุล ในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน เพื่อปรับสมดุลสภาวะความเป็นกรด-เบส ให้เหมาะสมแก่เซลล์ ดังนั้นลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้ จะเกี่ยวข้องกับโปรตีนเสมอ เช่น เส้นผมของมนุษย์ เกิดจากการรวมตัวของโปรตีนที่เรียกว่า เคราติน (Keratin) สามารถถ่ายทอดลักษณะของเส้นผม ได้ 2 ลักษณะ เช่น เส้นผมตรง(Straight hair)[...]

GED Social Studies – Bill of Rights

ล่าสุดนี้สหรัฐอเมริกามีอัตราผู้ติดเชื้อไวรัส COVID -19 ถึง 1,237,633 คนซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อมากที่สุดในโลกและยังมีแนวโน้มว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ (ข้อมูลประจำวันที่ 6/5/2020) แม้ว่าจะมีอัตราผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตสูงขนาดนี้ ประชาชนชาวอเมริกาส่วนหนึ่งก็ยังออกมารวมตัวกันประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกมาตรการปิดเมือง/ประเทศ (Lockdown) เนื่องจากปัญญาด้านเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยลงทำให้ประชาชนเริ่มเผชิญสภาวะอดอยาก อีกทั้งประชาชนกลุ่มนี้มองว่ามาตรการ Lockdown เป็นการละเมิดสิทธิ อิสรภาพและเสรีภาพของประชาชน (ชาวอเมริกาให้ความสำคัญสิทธิดังกล่าวมาก)  จนถึงขั้นให้เหตุผลว่ารัฐบาลกำลังนำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลความรุนแรงของไวรัสโควิดเกินจริงและใช้ไวรัสโควิดเป็นเครื่องมือในการควบคุมและละเมิดสิทธิประชาชน ว่าแต่ทุกคนสงสัยไหมว่ากลุ่มผู้ประท้วงไม่กลัวหรอครับว่าการออกมาเดินขบวนนี้อาจทำให้เขาถูกจับเข้าคุก ?  (ปล. สำหรับคนที่สงสัยว่าพวกเขาไม่กลัวอันตรายของไวรัสบ้างหรอ ถ้าเขาออกมาเดินขบวนได้ขนาดนี้พี่ก็อยากบอกว่าคงไม่ต้องสงสัยแล้วว่าพวกเขากลัวไวรัสหรือเปล่า 555) กลับมาที่ประเด็นของเราดีกว่า ว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับการเรียนGED Social Studies อย่างไร สาเหตุที่ผู้ประท้วงออกมาเดินขบวนท้าทายมาตรการของรัฐและเจ้าหน้าที่ได้ขนาดนี้ เพราะพวกเขาได้รับการปกป้องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitution) อยู่ครับ ในเนื้อหาติว GED Social Studies ย้อนกลับไปในสมัยที่อเมริกาเพิ่งก่อตั้งประเทศสำเร็จหลังจากสามารถเอาชนะเจ้าอาณานิคมอย่างจักรวรรดิอังกฤษ ได้เกิดความพยายามรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลางและเกิดงานประชุมหารือเพื่อร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐขึ้น (The Constitutional Convention) ในงานประชุมนี้กลุ่มผู้ต่อต้านการรวมอำนาจของรัฐบาลกลาง (Anti-Federalist) ได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาในตอนแรกยังไม่ได้ระบุและปกป้องสิทธิของประชาชนเอาไว้ ซึ่งจากการการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้มีการเพิ่มเติมร่างกฎหมายสิทธิพลเมือง (Bill of Rights)เข้าไปในปี 1791 เพื่อรับประกันสิทธิของประชาชน โดยบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนี้มีจำนวนทั้งหมด 10 มาตราซึ่งในการเรียน[...]

GED RLA : Causative Verb

            สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาติว GED RLA กันหน่อยนะครับ น้อง ๆ เคยขอเงินคุณพ่อ คุณแม่ไปตัดผม ทำเล็บ หรือซ่อมรถบ้างไหมครับ ถ้าหากเคย น้อง ๆ บอกพวกท่านอย่างไรกันครับ ระวังดี ๆ นะครับ เพราะถ้าน้องบอกคุณแม่ว่าแม่เดี๋ยวไปตัดผมนะโดยพูดเป็นภาษาอังกฤษว่า I will cut my hair น้องกำลังโกหกท่านอยู่นะครับ เพราะประโยคดังกล่าวแปลว่า “น้องจะตัดผมตัวเอง” (หมายถึง น้องหยิบเอากรรไกร หรือ ปัตตาเลี่ยนขึ้นมาจัดการเล็มผมตัวเอง) แต่ในความเป็นจริงน้องไปจ้าง หรือไปขอให้คนอื่นตัดผมให้ ดังนั้นถ้าไม่อยากสื่อสารแล้วทำให้คนอื่นเข้าใจผิดน้องจะต้องเรียนรู้เรื่อง Causative Verb หรือ คำกริยาที่เอาไว้ใช้บอกว่า “ประธานไม่ได้ทำกริยาเองแต่ขอให้คนอื่นทำให้” ซึ่งนี่ถือเป็นโครงสร้างพิเศษที่ไม่ปรากฏในภาษาไทย โดยเราจะใช้กริยาดังต่อไปนี้มาช่วยบรรยาย คือ have, make, let และ get ในการติว GED RLA เรื่องนี้ก็สำคัญมากเหมือนกันจะครับ วิธีการจำสูตรโครงสร้าง “have, make,[...]

GED Science : HYBRID CAR

ใน 20 ปีข้างหน้าพฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง อันเนื่องมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ไม่เว้นแม้แต่วงการอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ไฮบริดเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตกำลังพัฒนาอย่างแข็งขันในช่วง 5 ปีหลังมานี้ เมื่อติว GED Science เราจะได้เห็นเรื่อง technology ก้นด้วย วันนี้พี่เลยอยากยกตัวอย่างหัวข้อติว GED วิชา Science เรื่องนี้มาดูกัน รถยนต์ไฮบริด (Hybrid Cars) เป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าในการเป็นแหล่งจ่ายพลังงานเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน โดยเครื่องยนต์จะสร้างพลังงานจากการเผาไหม้ของน้ำมัน และมอเตอร์ไฟฟ้าจะได้พลังงานจากความร้อนที่สูญเสียไปกับการเผาไหม้ ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เครื่องยนต์ทำงานโดยสูญเปล่า เช่น ขณะเบรกเพื่อชะลอความเร็ว ข้อดีของรถยนต์ไฮบริด คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของรถยนต์ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่ร่วมกับพลังงานกลจากเครื่องยนต์ อีกทั้งประหยัดการใช้น้ำมันลงเกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เครื่องยนต์ทำงาน ในขณะที่รถยนต์ยังหยุดนิ่ง ทำให้รถไฮบริดเหมาะกับผู้ที่ขับขี่ในตัวเมืองที่มีการจราจรหนาแน่นเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฮบริดจำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่าแบตเตอรี่รถยนต์ธรรมดาเพื่อกักเก็บพลังงานไฟฟ้า และ มีระบบควบคุมที่ซับซ้อน ทำให้แบตเตอร์รี่มีราคาสูงและยังมีค่าซ่อมบำรุงที่สูงมากเช่นกัน แม้ว่าการใช้รถยนต์ไฮบริดจะช่วยลดการใช้น้ำมันลงก็ตาม นอกจากนี้การชาร์จแบตเตอร์รี่ยังต้องใช้เวลานานกว่าการเติมน้ำมันเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้รถยนต์ไฮบริดยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในปัจจุบันผู้พัฒนารถยนต์จึงให้ความสำคัญกับศักยภาพของแบตเตอร์รี่ควบคู่ไปกับการบริหารต้นทุนการผลิตอย่างคุ้มค่า ในระยะยาว รถไฮบริดจะได้รับความนิยมมากขึ้นและเป็นรถยนต์กระแสหลัก เนื่องจากการรถยนต์ไฮบริดช่วยลดมลพิษทางอากาศได้อย่างมากเมื่อเทียบกับการใช้รถยนต์ทั่วไปที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเครื่องยนต์สู่ชั้นบรรยากาศ อีกทั้งยังช่วยลดการใช้น้ำมัน ซึ่งในอนาคตปริมาณน้ำมันจะมีใช้อย่างจำกัด ดังนั้นรถยนต์ไฮบริดจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภคในยุคที่เทคโนโลยีคือกระแสสำคัญ ในคลาสติว GED Science[...]

GED RLA : If Clause

                “ถ้าสมมุติฉันถูกหวย ฉันจะบินไปกลับกรุงเทพ-ลอนดอนสัก 50 รอบ” น้อง ๆ เคยมีจิตนาการหรือเคยสมมุติเรื่องอะไรแปลก ๆ ในหัวบ้างไหมครับ อย่างเช่น ถ้าฉันมีกระเป๋าโดราเอมอน ฉันจะใช้ไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต พี่เองก็เคยจินตนาการแบบนี้มาก่อน คนเราทุกคนต่างมีความฝัน ต่างมีจินตนาการ และเรามักจะตั้งเงื่อนไขบางอย่างให้ตัวเองอยู่เสมอ ว่าแต่น้อง ๆ รู้วิธีถ่ายทอดเงื่อนไขเหล่านี้เป็นภาษาอังกฤษไหมครับ ถ้าไม่รู้วันนี้พี่จะมาติว GED RLA ด้าน Structure เรื่องการใช้ If Clause หรือประโยคแสดงเงื่อนไข เนื่องจากว่าในภาษาอังกฤษมีการกำหนดเงื่อนไข (Condition)โดยการใช้คำว่า if ซึ่งแปลว่า “ถ้า”อยู่หลายรูปแบบ เราเลยจะมาเรียนรู้โครงสร้างของการกำหนดเงื่อนไขแบบต่าง ๆ เพื่อเอาไปใช้ในห้องสอบและชีวิตประจำวันหรือเรียน GED RLA ครับ โดยเราสามารถแบ่งประเภทของ If Clause ออกเป็น 3 ประเภทดังนี้                 เรียน GED RLA: รูปแบบที่ 1 ใช้กับเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้น                 โครงสร้าง[...]

GED Science : CARBON EMISSION

ในปัจจุบันสังคมได้เริ่มตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน ในเนื้อหาการติว GED Science ก็เช่นกัน จะมีออกเรื่องนี้ตลอดเลยครับ ภาวะโลกร้อนนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศเป็นวงกว้าง เช่น การขาดแคลนอาหารของสัตว์ป่า  การสูญพันธุ์ของสัตว์สงวน พื้นที่ป่าและที่อยู่อาศัยถูกทำลาย  ตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมาจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) เมื่อก๊าซเรือนกระจกลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจะทำหน้าที่เสมือนเป็นเกราะป้องกันไม่ใช้รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์หลุดรอดออกไปจากชั้นบรรยากาศโลก ส่งผลให้อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดเป็นปัญหาภาวะโลกร้อนตามมา ด้วยเหตุนี้เอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสิ่งแวดล้อมให้การจับตามอง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide)  เป็นอย่างมาก เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ถูกผลิตมากที่สุด ซึ่งก๊าซชนิดนี้ถูกผลิตจากกระบวนการสันดาปของเชื้อเพลิงเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้กลุ่มประเทศที่มีกำลังการผลิตสูง อาทิ จีน, สหรัฐอเมริกา และอินเดีย จากกราฟแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่าในปี 2019 ทั้งสามประเทศ มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมกันคิดเป็น 48.63% หรือประมาณครึ่งนึงของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาทั้งหมดทั่วโลก นอกจากนี้ยังพบว่าในปัจจุบัน ปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเป็น 8 เท่าของปริมาณการปล่อยก๊าซเมื่อ 80 ปีที่แล้ว และยังพบว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากกราฟพบว่า จีนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในศตวรรษใหม่ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า จีนกำลังจะเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตสูงที่สุดในโลก การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก ย่อมส่งผลต่อระบบนิเวศโดยตรง นานาประเทศทั่วโลกจึงหารือเพื่อหาวิธีรับมือปัญหา ด้วยการวางแผนนโยบายในการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon footprint)[...]

GED Social : Colonialism 1

ก่อนหน้านี้เราเคยคุยกันเกี่ยวกับเรื่องสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกาในการเรียนวิชา GED Social Studies ใช่ไหมครับ ในตอนนั้นเรามีการเกริ่นถึงยุคแห่งการสร้างอาณานิคม (Colonialism) ที่บรรดาประเทศมหาอำนาจฝั่งยุโรปต่างแห่แหนกันเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อสร้างอาณานิคม (Colony) ของตัวเองช่วงภายหลังจากที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาในปี 1492  แต่เรายังไม่ได้ลงรายละเอียดว่าบรรดา 13 อาณานิคมที่เราพูดถึงในบทความครั้งก่อนนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร และประกอบไปด้วยอาณานิคมใดบ้าง วันนี้พี่ก็เลยต้องการจะมาไขความกระจ่างบทความติว GED Social Studies ให้น้อง ๆ ครับ *เกร็ดความรู้เรียน GED Social Studies ในสมัยนั้นโคลัมบัสเข้าใจผิดคิดว่าตนเองเดินทางมาถึงหมู่เกาะบริเวณประเทศอินเดีย เขาจึงเรียกคนที่อยู่บริเวณนั้นว่าอินเดียน (Indians) จนภายหลังเราก็เปลี่ยนมาเรียกกลุ่มคนที่อยู่อาศัยในทวีปอเมริกามาก่อนชาวยุโรปว่าอินเดียแดง หรือชาว Native American จนกระทั่งAmerigo Vespucci - อเมริโก เวสปุชชี นักเดินเรือและนักทำแผนที่ชาวอิตาลีเป็นผู้ชี้ทางสว่างว่าพื้นที่ที่โคลัมบัสค้นพบหาใช่ส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย แต่เป็นแผ่นดินใหม่ที่เพิ่งจะค้นพบ ดังนั้นจึงมีการตั้งชื่อทวีปใหม่นี้ตามชื่อของอเมริโกเพื่อเป็นเกียรติให้แก่เขา (อเมริโกคือภาษาละติน แต่ในภาษาอังกฤษเรียกอเมริกา)   ในปี 1585 ชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งมีความพยายามที่จะเข้ามาตั้งอาณานิคมบริเวณเกาะ Roanoke บริเวณนอกชายฝั่งของ North Carolina แต่ความพยายามของพวกเขาก็ล้มเหลวและคนกลุ่มนี้ก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย กระทั่งประมาณอีก 20[...]

GED Science : FOOD CHAIN

ระบบนิเวศ เป็นหัวข้อสำคัญเมื่อติว GED Science นะครับออกข้อสอบอยู่บ่อยๆ ซึ่งระบบนิเวศนี้เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ต่างอยู่ร่วมกัน การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดอยู่ร่วมกันได้นั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิ แสง ภูมิประเทศ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพ สภาพแวดล้อมดังกล่าว หมายถึงถิ่นที่อยู่ที่สิ่งมีชีวิตสามารถหาอาหารได้อย่างสะดวก ดังนั้นจุดร่วมกันอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์ คือ ความต้องการสารอาหารในการสร้างพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีพ ซึ่งสามารถอธิบายด้วยหลักการของห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ในข้อสอบ GED Science มีเรื่องนี้ทุกรอบเลยก็ว่าได้นะครับ             เมื่อติว GED Science หัวข้อนี้ ที่พลาดไม่ได้ก็จะมีอีกเรื่องคือ ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ที่เป็นกระบวนการถ่ายทอดพลังงานในรูปของอาหารเป็นลำดับขั้นจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกหนึ่งโดยการกินกันเป็นทอดๆ ทำให้สารอาหารและพลังงานถ่ายทอดไปในหมู่สิ่งมีชีวิตและตกลงสู่สิ่งแวดล้อม โดยห่วงโซ่อาหารถูกอธิบายด้วยแผนภาพพีระมิดแสดงลำดับขั้นของสิ่งมีชีวิต โดยฐานของพีระมิดบ่งบอกถึงลำดับขั้นต่ำสุด ในขณะที่ยอดพีระมิดบ่งบอกถึงลำกับขั้นสูงสุด ห่วงโซ่ถูกจำแนกตามลักษณะของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ Producer (ผู้ผลิต) คือ สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ เช่น พืชทุกชนิด และแบคทีเรียจำพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เพราะพืชสร้างอาหารได้เองด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง ผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์แสงคือ น้ำตาลซึ่งนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องบริโภคสิ่งมีชีวิต ในทางชีววิทยาจากภาพแสดงให้เห็นว่า ต้นหญ้าเป็นผู้ผลิต Primary[...]

GED Social : Demand and Supply

น้องเคยสงสัยไหมครับว่าทำไมอยู่ดี ๆ สินค้าที่เราบริโภคในชีวิตประจำวันถึงมีราคาสูงขึ้น เช่น ทำไมปัจจุบันหน้ากากอนามัยถึงมีราคาแพงขึ้น หรือ ทำไมในช่วงเทศกาลตรุษจีนราคาเนื้อหมูและไก่ถึงสูงขึ้น คำตอบนี้ไม่ยากเลยครับ เรื่องนี้หากอาศัยความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ก็สามารถไขคำตอบได้แล้ว และเมื่อติว GED Social Studies ก็อย่าลืมเรื่องนี้กันนะครับ สาเหตุที่ราคาสินค้าต่าง ๆ ในตลาดเปลี่ยนแปลงไปเป็นผลจากกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ อดัม สมิธ (Adam Smith) บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ เป็นผู้คิดค้นทฤษฎีกลไกราคาขึ้นมา ซึ่งถูกบรรยายไว้ในหนังสือ The Wealth of Nations ในปี 1776 อดัม สมิธเสนอว่าในตลาดมีสิ่งที่เรียกว่า Invisible Hands หรือ มือที่มองไม่เห็น ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมราคาสินค้าต่าง ๆ โดยกลไกนี้ประกอบไปด้วยฟันเฟืองสองตัว นั่นคือ Demand (อุปสงค์) และ Supply (อุปทาน) ในคลาสเรียน GED Social Studies เรื่องนี้ก็จะถูกสอนเพราะมันสำคัญมากนะครับ หรือหากน้องๆติว GED Social กันเองก็ต้องทำความเข้าใจให้ดีนะครับ Demand[...]

GED RLA : Adverb

มาติว GED RLA กันอีกแล้ววันนี้พี่เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนน่าจะท่องจำกันมาว่าคำที่ลงท้ายด้วย -ly  เช่น beautifully, faithfully หรือ sincerely จะทำหน้าที่เป็น Adverb หรือ คำกริยาวิเศษณ์โดยทำหน้าที่ขยาย Verb หรือ ไม่ก็ขยาย Adjective กันใช่ไหมครับ แต่น้อง ๆ รู้กันไหมอันที่จริงแล้ว Adverb บางตัวก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย –ly หรือ Adverb บางตัวหากเติม –ly ต่อท้ายจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ในเนื้อหาเรียน GED RLA จะมีเรื่องนี้ วันนี้พี่เลยจะมาแนะนำ Adverb บางตัวที่มักสร้างความสับสนเพื่อที่น้องจะได้ใช้คำวิเศษณ์เหล่านี้อย่างถูกต้องนะครับ                 อยากสอบ GED RLA ผ่านต้องรู้เรื่องนี้นะครับ ปกติแล้ว Adverb ทั่วไป 80%-90% มักจะนำ Adjective มาต่อท้ายด้วย –ly ทำหน้าที่ขยายคำกริยา หรือ คำคุณศัพท์[...]