แนะนำวิธีทำข้อสอบ SAT Reading เมื่อเจอโจทย์ “ทดสอบคำศัพท์” ได้ผลจริง!

ในการทำข้อสอบ SAT Reading คำถามปราบเซียนที่น้องๆ หลายคนมักโอดครวญ คือ คำถามประเภทวัดความหมายของคำศัพท์ เพราะไม่ว่าเราจะพยายามจำศัพท์เข้าไปแค่ไหน แต่เอาเข้าจริงๆ เวลาอยู่ในห้องสอบ SAT เราก็ยังคงเจอและประหลาดใจกับคำศัพท์หลายคำที่เราไม่รู้เสมอ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว หลายคนที่กำลังติว SAT กันอยู่ ก็คงเริ่มตั้งคำถามว่าจะยังนั่งท่องศัพท์ SAT ในส่วนของ Synonym กันต่อไปอีกทำไม ในเมื่อท่องเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอสำหรับการอ่านบทความในข้อสอบ SAT Reading ใจเย็นกันก่อน... ถึงแม้ว่าเราอาจยังเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้ในข้อสอบ SAT Reading อยู่ตลอดเวลา แต่ก็อยากให้น้องทุกคนยังมีความหวัง และเห็นประโยชน์ของการท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยรู้ไว้ในหัวก็ยังดีกว่าไม่รู้อะไรเลย อีกอย่างการมีคลังศัพท์ที่เยอะก็ช่วยให้เราเตรียมพร้อมทำความเข้าใจบริบทในสถานการณ์ที่หลากหลาย ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อทำข้อสอบ SAT Reading เท่านั้น ข้อสอบ SAT มักจะทดสอบคำศัพท์ 2 รูปแบบ ทดสอบ “คำศัพท์ยาก” ที่คิดว่าคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ (Hard Words) อย่างเช่น agitation (ความยุ่งยาก), abnegation(การละทิ้ง) หรือ gratuitous (ฟรีหรือให้เปล่า) ซึ่งจะเห็นว่าคำศัพท์ยากเหล่านี้ที่จะเจอในข้อสอบ[...]

SAT English ‘Skim’ กับ ‘Scan’ เคล็ดลับมาร ตัวช่วยเรื่องการอ่าน

สำหรับใครที่กำลังจะสอบ SAT ทุกคนก็น่าจะเคยได้ยินเสียงร่ำลือถึงความยากของข้อสอบ Sat กันมาแล้วในส่วนของ  SAT Verbal ซึ่งในการสอบ SAT Verbal จะถูกแบ่งออกเป็น 2 Parts นั่นคือ Reading Part และ  Writing Part ทุกคนคิดว่าระหว่างการอ่านและการเขียน แบบไหนยากกว่ากัน?             เชื่อว่าหลายคนน่าจะมองว่า SAT reading จะยากกว่ามาก เนื่องจากการอ่านเป็นทักษะเฉพาะที่ไม่มีกฎตายตัวให้จำ ทำให้ต้องอาศัยการฝึกฝนและประสบการณ์ค่อนข้างมากถึงจะสามารถอ่านบทความได้อย่างคล่องแคล่ว นอกจากนี้ตัวบทความของข้อสอบ SAT เองก็ค่อนข้างโหด เพราะมักจะออกเนื้อหาเฉพาะทางที่ยากและไม่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวันบ่อยนัก เช่น วิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ ข้อสอบ SAT ก็จะมีการใช้คำศัพท์ที่ยากอีกด้วย และต้องอาศัยทักษะการตีความค่อนข้างมาก ถึงจะอ่านบทความได้เข้าใจ             แต่ยังไม่หมดเท่านั้น ความยากอีกอย่างหนึ่งของข้อสอบ SAT คือ เรื่องของเวลา เพราะผู้เข้าสอบทุกคนจะมีเวลาทำข้อสอบแค่ 65 นาที ในการอ่านบทความที่ค่อนข้างยาวถึง 5 เรื่อง เพื่อตอบคำถาม 52 ข้อ ย้ำอีกครั้ง[...]

IGCSE English Literature เช็คลิสต์ที่ต้องมี ถ้าอยากคว้า A*

หลักสูตรการเรียน IGCSE หรือ International General Certificate of Secondary Education เท่าที่หลายคนคงทราบแล้วว่าหลักสูตร IGCSE นี้มีวิชาให้นักเรียนได้เลือกเรียนกันอย่างสนุกสนาน จำนวนมากเป็นสิบวิชา เรียกได้ว่าครอบคลุมความสามารถและความสนใจเฉพาะของนักเรียนกันเลยทีเดียว ถึงขนาดที่ว่าแม้แต่วิชา English ก็ยังมีหลายแขนง เช่น Eng First Language, English as a Second Language, English Literature เป็นต้น สำหรับใครที่กำลังเรียนหลักสูตร IGCSE อยู่แล้วในตอนนี้ แน่นอนว่าต้องคาดหวังคะแนนเกรด A* แน่นอน ครั้งนี้ก็เลยมาแจก checklist สำหรับคนเรียน IGCSE English Literature ที่นอกเหนือจากโครงสร้างภาษาอังกฤษที่ต้องเรียนรู้อย่างลึกซึ้งแล้ว สิ่งสำคัญคือการรอบรู้เรื่องรูปแบบโครงสร้างของบทกวีต่างๆ ที่มีอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละอย่างที่ต้องเจอใน IGCSE English Literature ก็รายละเอียดที่ต้องจดจำ เพราะฉะนั้นเรามาดู checklist สิ่งที่ต้องรู้ใน Poetry, Prose และ[...]

ข้อสอบ SAT กับการใช้ ‘Who’ และ ‘Whom ที่อาจไม่ได้ยากอย่างที่คิด

น้องๆ ที่กำลังติว SAT English ตอนนี้อาจจะพบว่าในข้อสอบ SAT ที่ว่ายากซับซ้อน ก็ยังมีเรื่องที่เราคุ้นเคยอยู่เป็นประจำอย่างแบบทดสอบการใช้ who และ whom โผล่มาให้เห็น เพราะถึงแม้ว่าจะดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ก็มีหลายคนมองข้ามและใช้ผิดในชีวิตประจำวันอยู่บ่อยๆ เพราะฉะนั้นข้อสอบ SAT จึงแอบหยิบมาทดสอบเราอยู่บ้าง ปกติแล้วเวลาที่เราต้องการจะเพิ่มคำบรรยายหรือขยายความของประโยคเรามักจะใช้โครงสร้าง Relative Clause หรือประโยคย่อยที่ขึ้นต้นด้วย who หรือ whom เพื่อทำหน้าที่ขยายนามตัวข้างหน้าที่เป็นคน ย้ำว่าต้องขยายคนเท่านั้น (เพราะถ้าเป็นนามประเภทอื่นที่ไม่ใช่คนต้องใช้กับ which) แล้วทุกคนเคยสงสัยกันไหมครับ ถ้า who กับ whom ใช้กับคนแล้วสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร Who และ Whom เป็นหนึ่งใน relative pronoun ที่ไว้ใช้ขึ้นต้นส่วนขยายของคำนามที่อยู่ด้านในประโยคหลัก โดยส่วนขยายเหล่านี้เป็นได้ทั้ง dependent (ละไม่ได้) และ independent (ละได้) clause เราจะใช้ who เพื่อทำหน้าที่เป็นประธาน (คนทำกริยา) ของส่วนขยายเสมอ ในขณะที่ whom[...]

GED ต้องเก่งภาษาอังกฤษแค่ไหน ถึงจะสอบได้?

การสอบ GED หรือ General Educational Development เป็นข้อสอบเทียบวุฒิมัธยมปลายที่ได้รับการรับรองระดับนานาชาติ ข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ภาษาอื่นที่มีให้เลือกจะมีภาษาสเปนและฝรั่งเศส แต่ไม่มีภาษาไทย เพราะฉะนั้นน้องๆ จะต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษในการสอบ GED นี่จึงเป็นที่มาที่มีน้องๆ หลายคนตั้งคำถามว่า “จะต้องเก่งภาษาอังกฤษขนาดไหน ถึงจะสามารถสอบ GED เพื่อคว้าวุฒิ ม.ปลายได้บ้าง” น้องๆ ที่ตั้งคำถามนี้ก่อนตัดสินใจติว GED แบบจริงๆ จังๆ มองว่าน่าจะพอเข้าใจแล้วว่าข้อสอบ GED มีอยู่ทั้งหมด 4 วิชา พี่ๆ ขอไล่ลำดับวิชาที่ต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษจากมากไปหาน้อย ดังนี้ RLA > Social Studies > Science > Math แน่นอนอยู่แล้วว่าข้อสอบ GED RLA ก็คือการทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษแบบตรงไปตรงมาเลยทีเดียว ต้องเข้าใจโครงสร้างและไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และในข้อสอบ GED RLA ยังมีพาร์ท writing ที่เป็นส่วนที่เรียกได้ว่าใช้ทดสอบทักษะภาษาอังกฤษแบบมวลรวม รวมถึงในส่วนของ GED พาร์ท[...]

GED Social Studies Skill Needed อยากสอบผ่าน คะแนน 145 – 164 ทักษะไหนต้องมี เช็คเลย!

จะสอบ GED ให้ผ่านก็ต้องคว้าให้ครบทั้ง 4 วิชา วันนี้มาถึงทักษะที่จำเป็นในการสอบ GED Social Studies ให้ผ่านเกณฑ์ 145 จนถึง 164 คะแนน น้องๆ ที่กำลังติว GED Social Studies อยู่ตอนนี้ อาจจะเริ่มเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วว่าข้อสอบ GED Social Studies อาจไม่ใช่แค่ท่องจำ แต่ต้องมีความเข้าใจประวัติศาสตร์ สังคมหรือการเมืองอเมริกัน จนถึงวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันได้ เพื่อใช้ในการประกอบการตอบคำถามข้อสอบ GED Social Studies นั่นเอง แต่อย่าเพิ่งตกใจว่ามันจะยากเกินกว่าที่จะสอบผ่านไปได้ เพราะช่วงคะแนนของข้อสอบ GED มีอยู่หลายช่วง หากเรามีเป้าหมายเพื่อคว้าวุฒิมัธยมปลายที่คะแนน 145 - 164 คะแนน ไปอ่านทักษะที่จำเป็นสำหรับ GED Social Studies กันเลยค่ะ ทักษะในการวิเคราะห์และอธิบายในเชิงสังคมศึกษา สามารถระบุลักษณะเชิงประวัติศาสตร์จากมุมมองหรือจุดประสงค์ของผู้เขียนได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ สามารถเปรียบเทียบวิธีเขียนเชิงสังคมศึกษาหรือแสดงแหล่งที่มาของข้อมูลที่หลากหลายมาใช้สนับสนุนหัวข้อเดียวกันได้ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างแหล่งข้อมูลได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ ทักษะในการใช้ความรู้เชิงสังคมศึกษาในการวิเคราะห์และสนับสนุนข้อโต้แย้ง  สามารถระบุโครงสร้างเรื่องราวของประวัติศาสตร์ตามลำดับเวลาและต่อเนื่องกันได้ในระดับที่น่าพึงพอใจ สามารถเปรียบเทียบชุดความคิดหลายทางที่เกี่ยวเนื่องในเชิงการเมือง[...]

สอบ GED RLA ให้ปัง! ต้องแม่นโครงสร้าง Essay!

ข้อสอบ GED Reasoning Through Language Arts หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่า GED RLA เป็นข้อสอบที่วัดทักษะภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่เพียงแค่ความรู้เรื่องไวยากรณ์และการอ่าน แต่ยังมีพาร์ทที่น้องๆ หลายคนกำลังติว GED RLA กันอย่างขมักเขม้นต่างบ่นกันว่ายาก นั่นก็คือพาร์ท Writing ที่ต้องเขียนเรียงความ (GED Essay) นั่นเอง การเขียนเรียงความที่ดีในข้อสอบ GED นอกเหนือจากที่จะต้องคำนึงเรื่องความถูกต้องทางไวยากรณ์และคำศัพท์ที่เลือกใช้ อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเกณฑ์ในการประเมินวัดคุณภาพของงานคือ เรื่องของโครงสร้างและการเรียบเรียงเนื้อหา หรือที่เราเรียกว่า Essay Structure / Organization ภายในเวลา 45 นาทีในการทำข้อสอบ GED RLA Part Writing  ทุกคนทราบไหมว่าเราจำเป็นต้องเขียนกี่ย่อหน้าและแต่ละย่อหน้าทำหน้าที่อะไร?เฉลย: ในข้อสอบ GED RLA ไม่ได้มีการกำหนดย่อหน้าตายตัวว่าแต่ละคนจะเขียนกี่ย่อหน้า แต่ตามหลักการทุกคนควรจะเขียนประมาณ 3-5 ย่อหน้า อย่างไรก็ตามจำนวนย่อหน้าที่คนส่วนใหญ่นิยมเขียนคือ 5 paragraphs (แต่ถ้าไม่ทันจะลดเหลือแค่ 4 ก็พอรับได้) และแต่ละย่อหน้าใน GED[...]

GED Science Skill Needed อยากสอบผ่าน คะแนน 145 – 164 ทักษะไหนต้องมี เช็คเลย!

ใครที่ไม่ถนัดวิชาวิทยาศาสตร์ กำลังติว GED Science ไปก็กุมขมับไปด้วย เริ่มกลัวว่าจะสอบ GED Science ไม่ผ่าน อย่าเพิ่งท้อถอยอ่อนแรงค่ะ ข้อสอบทั้ง 4 รายวิชาต่างก็มีขอบเขตทักษะที่ต้องการวัดและระดับของการทดสอบที่แบ่งออกไปตามช่วงคะแนน GED แต่ละวิชา ซึ่ง GED Science ก็เช่นกันค่ะ ถึงแม้หลายคนจะคิดว่าเนื้อหามันยากและมีหลายอย่างที่จะต้องจดจำ แต่อยากให้น้องๆ ตั้งเป้าหมายคะแนนกันก่อนเป็นอย่างแรกว่าเราต้องการคะแนน GED วิชานี้ที่เท่าไหร่ หากเราต้องการเพียงให้ผ่านเกณฑ์หรือก็คือ Level 2 (Pass/High School Equivalency: 145 - 164)  เราอาจจะปรับการติว GED ให้มีความรู้เพียงพอต่อการสอบ GED Science ให้ผ่านให้ได้ เพราะเมื่อเป้าหมายในการสอบ GED Science ชัดเจน เราก็จะบริหารเวลาและติว GED ถูกทางนั่นเอง เรามาดูทักษะที่จำเป็นต่อการสอบ GED Science ให้ผ่านเกณฑ์ รายละเอียดในการทดสอบผู้สอบ GED Science ที่คะแนน 145[...]

SAT Hot Words ไฮไลท์คำศัพท์ออกสอบในพาร์ท Reading

วันนี้พี่มีคำศัพท์สุดร้อนแรงที่มักจะออกข้อสอบ SAT ในส่วนของ Reading มานำเสนอ! โดยคำศัพท์ที่ออกสอบ SAT กลุ่มนี้เหมาะสำหรับเด็กที่กำลังติว SAT อยู่แต่หลงทางและไม่รู้ว่าจะเริ่มท่องศัพท์จากตรงไหนให้ครอบคลุมเพียงพอต่อการสอบ SAT คำเหล่านี้มีแนวโน้มที่ข้อสอบ SAT จะนำกลับมาใช้อีกในอนาคตอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากเคยออกข้อสอบแล้ว ยกตัวอย่างคำศัพท์ที่ค่อนข้างยากและพบไม่บ่อยในชีวิตประจำวัน แต่มีให้เห็นในข้อสอบ SAT ตามรูปนี้ แต่คำศัพท์ที่ออกสอบ SAT ที่เราไม่คุ้นเคยก็ยังมีอีกมากมาย ไม่ได้มีเพียงแค่ไม่กี่คำนี้ พี่ลิสต์คำศัพท์ SAT มาให้ดูกันแบบหนำใจ อยากให้น้องๆ จดจำและเรียนรู้การใช้งานคำเหล่านี้ให้ดีเป็นพิเศษ เพื่อจะได้ติว SAT อย่างมีขอบเขตและจุดหมาย เพราะนั่นจะทำให้เราติว SAT ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง ไปดูคำศัพท์ที่มักออกสอบ SAT ที่เหลือกันเลย! คำศัพท์ หน้าที่คำ ความหมาย Irrational Adj. ไร้เหตุผล Consternation N. ความตกใจ Gesture N. ท่าทาง Corridor N. ระเบียง/ทางเดิน Enormous Adj. ใหญ่โต/มหึมา[...]

GED Math Skill Needed อยากสอบผ่าน คะแนน 145 – 164 ทักษะไหนต้องมี รีบเตรียมตัวเลย!

ข้อสอบ GED Mathematical Reasoning หนึ่งใน 4 วิชาที่นักเรียนที่กำลังติว GED จะต้องสอบ คะแนนเต็มของวิชานี้ก็ยังเป็น 200 คะแนนเท่ากับวิชาอื่นๆ หากอยากสอบ GED Math ผ่าน เกณฑ์คะแนนในการสอบผ่านหรือ Level 2 (Pass/High School Equivalency: 145 - 164) ก็มีรายละเอียดในการทดสอบผู้สอบ GED ซึ่งจะแตกย่อยออกมาเป็น 3 หัวข้อหลักๆ คือ ทักษะการแก้ปัญหาเชิงปริมาณในจำนวนตรรกยะ ทักษะการแก้ปัญหาเชิงปริมาณในแบบปริมาตร ทักษะการแก้ปัญหาเชิงพีชคณิตในรูปแบบสำนวนและความสมดุล รายละเอียดการทดสอบทักษะเหล่านี้จะทำให้น้องๆ ที่กำลังติว GED กันอยู่ตอนนี้หรือที่กำลังหลงทางอยู่ว่าจะติว GED Math ไปในทิศทางไหนดี ต้องท่องสูตรหรือจำวิธีทำอะไรบ้าง ทุกคนจะเริ่มมองเห็นหนทางและจับต้นชนปลายถูกแล้วว่าจะต้องติว GED Math ในขอบเขตเรื่องอะไร และจะไม่ต้องท้อแท้ว่าสิ่งที่ต้องเรียนรู้มันจะครองจักรวาลเกินไป เพราะหากต้องการสอบ GED ผ่านในระดับคะแนน 145-164 ทักษะ 3 หัวข้อหลักๆ นี้เอง[...]