GED RLA : “Adjectives are the sugar of literature” Henry James

วันนี้เราจะมาติว GED RLA เรื่องคำคุณศัพท์ หรือ Adjective ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในวิชาภาษาอังกฤษ หากไม่มี Adjective แล้วประโยคภาษาอังกฤษย่อมขาดสีสัน สาเหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะ คำคุณศัพท์ทำหน้าที่ขยายคำนาม เพื่อบ่งบอกหรือเพิ่มเติมคุณลักษณะให้กับคำนาม เช่น beautiful (สวย), careful (รอบคอบ), frugal (ประหยัด) และ enormous (มหึมา)  แล้วน้อง ๆ เคยสงสัยไหมครับ หากเราอยากจะเปรียบเทียบว่า กระเป๋าที่เราซื้อมาสวยกว่ากระเป๋าใบของเพื่อน หรือ ดาราที่น้องชอบหล่อที่สุดในโลกแล้ว เราจะทำได้อย่างไรในภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในภาษาอังกฤษทั่วไปหรือในการเรียน GED RLA เพื่อสอบ วันนี้พี่มีคำตอบให้ครับ หากน้อง ๆ อยากจะเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ น้องสามารถใช้โครงสร้าง Comparison of Adjective มาช่วยได้ครับ โดยการเปรียบคำคุณศัพท์ แบ่งออกเป็น การเปรียบเทียบ Adjective ขั้นกว่า (Comparative Form) หากเราต้องการจะบอกว่า “A นั้น …[...]

GED RLA : ส่วนขยายในภาษาอังกฤษ (Modifier) มีกี่แบบ?

วันนี้เราจะมาติว GED RLA สั้นๆกันต่อนะครับในประเด็นเรื่องการใช้ Comma ซึ่งจะมีกฎการใช้ที่เหลืออีก 2 ข้อ โดยคราวนี้จะเป็นการเชื่อมโยงความรู้เข้ากับเรื่องการใช้ส่วนขยายในภาษาอังกฤษ (Modifier) ในการเตรียมตัวสอบหรือเรียน GED RLA นั้น เรื่องนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมากๆเลยทีเดียว ก่อนไปดูกฎการใช้คอมมา เรามาทวนกันก่อนนะครับว่า ในวิชา GED RLA ส่วนขยายในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็นหลายประเภท หน้าที่ของมันก็ตามชื่อเลยครับ คือ ทำหน้าที่เพิ่มเติมหรือเสริมคำบรรยายและรายละเอียดให้ประโยค โดยส่วนขยายพื้นฐานที่น้องน่าจะรู้จักหรือพอคุ้นหู ได้แก่ คำคุณศัพท์ทำหน้าที่ขยายนาม (Adjective) เช่น gorgeous, economical, useful และ sensitive คำวิเศษณ์ทำหน้าที่ขยายกริยาหรือขยายคำคุณศัพท์ก็ได้ (Adverb) เช่น effectively, usually, และ extremely นอกจากสองตัวนี้แล้วยังมีส่วนขยายประเภทอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้แก่ บุพบทวลี หรือ กลุ่มคำที่ขึ้นต้นด้วยคำบุพบท Prepositional Phrase, ประโยคย่อยที่ขึ้นต้นด้วย who/which/that ทำหน้าที่ขยายนามที่อยู่ด้านหน้า (Adjective Clause) ,[...]

GED Social : 4 กรกฎาคม สำคัญอย่างไรกับประเทศสหรัฐอเมริกา?, สงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกา (American Revolutionary War)

น้อง ๆ รู้กันไหมครับว่าวันที่ 4 กรกฎาคม หรือ 4 of July สำคัญอย่างไรกับประเทศสหรัฐอเมริกา??? สำคัญมากๆเลยสำหรับการเรียนและเตรียมตัวสอบ GED Social เมื่อเราต้องเรียน GED Social เราต้องรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเทศอเมริกาเป็นอย่างแรกเลยครับ โดยเฉพาะวันสำคัญพิเศษแบบนี้ เฉลย วันที่ 4 กรกฎาคม คือ วันชาติของสหรัฐนั่นเอง เป็นวันที่สำคัญมากของอเมริกาเนื่องจากเป็นวันที่อเมริกาประกาศอิสรภาพออกจากอังกฤษว่าจะไม่เป็นอาณานิคม (Colony) ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษอีกต่อไปและถือโอกาสสถาปนาตนเองให้มีศักดิ์เป็นประเทศอเมริกาเหมือนดั่งประเทศอื่นในโลก วันนี้เราเลยจะมาคุยกันเรื่องสาเหตุใดที่ทำให้ชาวอเมริกาประกาศตัดความสัมพันธ์กับอังกฤษจนนำไปสู่สงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกา (American Revolutionary War) กันครับ หากน้องๆคนไหนที่กำลังทบทวนเนื้อหาการเรียน GED สังคมอยู่ เรื่องราวเหตุการณ์นี้ก็เป็นเรื่องที่ออกในข้อสอบ GED Social กันบ่อยเลยนะครับ ก่อนจะไปทำความรู้จักกับสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกาเราลองมาย้อนอดีตดูเหตุการณ์ก่อนหน้าสงครามเพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐานทางประวัติศาสตร์กันก่อนครับ ก่อนหน้านี้ทวีปอเมริกายังเป็นทวีปที่ไม่ถูกค้นพบ เนื่องจากผู้คนในยุคกลางมีความเชื่อว่าโลกแบนหากแล่นเรือไปไกลอาจตกขอบโลกตาย (เป็นความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ในตอนนั้น) แต่หลังจากที่นักเดินเรือชาวโปรตุเกสซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์สเปน นามว่า คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ได้ค้นพบทวีปอเมริกาในปี 1492 ชาวยุโรปต่างพากันอพยพเข้ามาจับจองพื้นที่และสร้างอาณานิคมของตนเองไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ฝรั่งเศส[...]

GED Social : US History, Louisiana Purchase

เมื่อเรียน GED Social Studies จะมีเรื่องประวัติศาสตร์ที่น้องๆต้องรู้กัน วันนี้เราจะมาพูดเรื่อง US History ซึ่งเป็นบทที่ออกสอบแน่ๆ ดังนั้นหากติว GED Social หรือศึกษาเองน้องๆก็ต้องอ่านเรื่องนี้ด้วยนะครับ น้อง ๆ เคยรู้กันไหมครับว่าทำไมสรัฐอเมริกาถึงมีปริมาณพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับ 3 ของโลก? ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่ช่วยเพิ่มอาณาเขตของอเมริกาเป็น 2 เท่าก็คือ Louisiana Purchase หรือ การซื้อลุยเซียน่า เป็นข้อตกลงซื้อขายดินแดนระหว่างสหรัฐกับฝรั่งเศส ซึ่งช่วยเพิ่มพื้นที่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปีกว่า 827,000 ตารางไมล์ให้กับสหรัฐ ซึ่งถือเป็นการขยายพื้นที่ของสหรัฐเป็นสองเท่าและพื้นที่นี้มีมูลค่าถึง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพดินแดนทางด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี ดินแดนลุยเซียน่านี้ก่อนหน้าเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือ โดยดินแดนนี้ถูกเรียกตามพระนามของกษัตริย์ฝรั่งเศส พื่อเป็นเกียรติให้กับพระเจ้าหลุยที่ 14 การซื้อขายลุยเซียน่าเกิดขึ้นในสมัยของประธานาธิบดีทอมัส เจฟเฟอร์สัน  หรือ Thomas Jefferson (ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของสหรัฐ) โดยแรกเริ่มเจฟเฟอร์สันได้ส่งนัการทูตเจมส์ มอนโร (James Monrole) ไปยังกรุงปารีสเพื่อเข้าเจรจาต่อรองขอซื้อพื้นที่บริเวณนิวออลีนส์จากฝรั่งเศสจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แต่พระองค์กลับยื่นข้อเสนอที่จะขายอาณานิคม Louisiana ทั้งหมดให้กับอเมริกาแทน เนื่องจากพระองค์ต้องทำสงครามกับสหราชอาณาจักร[...]

GED Social : อเมริกามีกระทรวงทั้งหมดกี่กระทรวงและแต่ละกรงทรวงทำหน้าที่อะไร, US Department

เรียน GED Social Studies เค้าเรียนอะไรกัน? อีกเรื่องนึงที่น้องๆต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิชานี้ก่อนที่จะไปสอบ GED ให้ผ่านฉลุยก็คือเรื่องกระทรวงครับ เคยสงสัยกันไหมครับว่าอเมริกามีกระทรวงทั้งหมดกี่กระทรวงและแต่ละกรงทรวงทำหน้าที่อะไรบ้าง วันนี้เราเลยจะมาคุยเกี่ยวกับ คณะรัฐมนตรี (cabinet)  ผู้ที่คอยช่วยเหลือประธานาธิบดีในการบริหารประเทศกันครับ โดยในสหรัฐมีกระทรวงทั้งหมด 15 กระทรวง ซึ่งแต่ละกระทรวงจะมีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบที่แตกต่างกัน หากเราได้เรียนรู้เรื่องนี้ของ GED Social Studies แล้วเราก็คงมีโอกาสสอบ GED ผ่านกันตั้งแต่รอบแรกเลยนะครับ พี่สรุปให้สั้น ๆ ดังนี้ ชื่อกระทรวงภาษาอังกฤษ ชื่อกระทรวงภาษาไทย หน้าที่และความรับผิดชอบ U.S. Department of Agriculture   กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ดูแลเรื่องความปลอดภัยของอาหารและควบคุมการทำฟาร์ม U.S. Department of Commerce   กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา ดูแลเรื่องการปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ประชาชนผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจและทำหน้าที่ควบคุมการค้า ธนาคาร และระบบเศรษฐกิจ U.S. Department of Defense (DOD) กระทรวงกลาโหมสหรัฐ เป็นหน่วยงานรัฐบาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดดูแลเรื่องกองทัพสหรัฐเพื่อปกป้องความปลอดภัยของประเทศ U.S. Department[...]

GED Social : Civics and Government รัฐธรรมนูญ (Constitution), Preamble หรือ คำปรารภ, Justice (ความยุติธรรม), Tranquility (ความสงบสุข), Welfare (สวัสดิภาพ หรือ ความปลอดภัย), Liberty (เสรีภาพ) และ Posterity (อนุชน หรือ ลูกหลาน)

ในการติว GED สังคม หรือ Social Studies นั้นจะมีเรื่องที่ข้อสอบ GED จะถามค่อนข้างเยอะประมาณ 50% ของข้อสอบ นั่นคือในส่วนของ Civics and Government นอกเหนือจากโครงสร้างของรัฐบาล ประเด็นที่ชอบออกข้อสอบอีกอย่างหนึ่ง คือ เอกสารประวัติศาสตร์และกฎหมายต่าง ๆ (ซึ่งมักใช้ภาษา หรือ คำศัพท์ยาก ๆ) วันนี้ “Social วันละนิด พิชิตข้อสอบ GED” ก่อนที่เราจะเข้าสู่ตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitution) ซึ่งถือเป็นกฎหมายสูงสุดของสหรัฐอเมริกา อยากให้น้อง ๆ ได้รู้จักกับ Preamble หรือ คำปรารภ (ถ้ายากไปจะแปลว่า “บทนำ”) ของกฎหมายรัฐธรรมนูญกันก่อน เนื่องจากคำปรารภนี้เองที่เป็นตัวเกริ่นและบอกวัตถุประสงค์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญสหรัฐ ผู้ที่เป็นคนคิดประดิษฐ์คำปรารภของรัฐธรรมนูญสหรัฐ ก็คือ หนึ่งในบรรดาบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ หรือ Founding Father ที่มีชื่อว่า Gouverneur Morris หรือ กูวีเนอร์ มอร์ริส ซึ่งร่างคำปรารภขึ้นในปี[...]

GED RLA : FANBOYS Sentence 1, FANBOYS Sentence 2

เครื่องหมายที่นิยมออกข้อสอบตัวแรก และเป็นตัวที่เด็กชอบสับสนเมื่อติว GED RLA คือ comma หรือ “,” โดยวันนี้เราจะมาดูหลักการพื้นฐานครึ่งแรกในการใช้ comma ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งในส่วนของไวยากรณ์และการเขียน กันดีกว่าครับ เมื่อเราเรียน GED RLA กฎการใช้ comma ข้อที่ 1 คือ เราจะใช้เครื่องหมายนี้ข้างหน้าคำชื่อกลุ่ม FANBOYS ในกรณีที่คำเชื่อมกลุ่มนี้เชื่อมประโยคกับประโยคเข้าด้วยกัน Sentence 1 , For And Nor But Or Yet So Sentence 2 พี่เชื่อว่าคำเชื่อมส่วนใหญ่น้อง ๆ น่าจะคุ้นเคยเพราะเจอได้บ่อยในชีวิตประจำวัน แต่จะมีสามคำที่เด็กส่วนใหญ่มักจะเข้าใจความหมายมันผิดและทำข้อสอบ GED RLA ผิด นั่นก็คือ For , Nor และก็ Yet โดยเราจะมาดูการใช้งานหลัก ๆ ของสามตัวนี้ทีละตัวกันครับ For ในบริบทที่เป็นคำเชื่อมนี้แปลว่า “เพราะว่า” ใช้นำหน้าประโยคที่บอกสาเหตุ[...]

GED RLA : Subject & Verb Agreement ผันกริยาให้สอดคล้องกับประธาน

ต่อจากบทความครั้งที่แล้วเราคุยกันไปเรื่องการผันคำกริยา (Verb Conjugation) ในภาษาอังกฤษ วันนี้เราจะมาลงรายละเอียดในประเด็นแรกที่เด็ก ๆ น่าจะคุ้นเคยและท่องกันมาว่า “ประธานเอกพจน์  Verb เติม s/es ประธานพหูพจน์ Verb ไม่เติม s” ซึ่งมีชื่อเรียกเก๋ ๆ ในวงการไวยากรณ์ว่า Subject & Verb Agreement หรือ การผันคำกริยาให้สอดคล้องกับประธาน ในการพัฒนาภาษาอังกฤษหรือติว GED RLA เรื่องนี้ก็จะเป็นหนึ่งเรื่องที่จำเป็นที่สุดเลยล่ะครับ แน่นอนครับว่าหากจะผันกริยาให้ถูกต้องได้ ขั้นแรกน้องจะต้องมองประธานให้ออกก่อนครับ ว่าประธานมี จำนวน เท่าไร (1 = เอกพจน์ , 2 ขึ้นไป = พหูพจน์) โดยสังเกตง่าย ๆ จากการดูว่าข้างหลังคำนามมีการเติม s ไหม ถ้ามีแปลว่านามนั้นส่วนใหญ่น่าจะเป็นพหูพจน์ครับ เช่น a train (รถไฟ 1 ขบวน) VS trains[...]

GED RLA : Finite Verb (กริยาแท้) Non-finite Verb (กริยาไม่แท้)

Hello everyone!!! วันนี้เรากลับมาพบกันกับเนื้อหาวิชาการเรียน GED RLA หรือ Reasoning through Language Arts  (วิชาที่เด็กส่วนใหญ่โอดครวญว่ายากที่สุด) ซึ่งสิ่งที่อยากจะมาแชร์ในวันนี้เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของภาษาเลยก็ว่าได้ ฮั่นแน่พอจะเดาหัวข้อกันออกหรือเปล่าเอ่ย … และหัวข้อนั้นก็คือ Finite Verb (กริยาแท้) ครับ หากเรากำลังติวสอบ GED RLA กันอยู่ เราต้องแบ่งแยกให้ออกว่ากริยานั้นคืออะไรและใช้อย่างไร เพราะในข้อสอบ GED RLA นั้นเราต้องตอบคำถามให้ได้จึงจะสอบผ่านกันนะครับ ทีนี้ว่าแต่ทำไมมันถึงสำคัญล่ะ? นั่นก็เพราะทุกประโยคจะสมบูรณ์ได้จะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานเป็น Finite Verb ครับ ถ้านึกไม่ออกลองนึกถึงประโยคคำสั่งที่เคยได้ยินในชีวิตน้อง ๆ อย่าง Get off (ออกไป!), Be quiet (เงียบ) หรือแม้แต่ Shut up (หุบ…ขอไม่แปลละกันเอาเป็นว่าละไว้ในฐานที่เข้าใจ)   สังเกตนะครับว่าประโยคข้างบนนี้ไม่มีสิ่งที่เราเรียกว่า “ประธาน” ปรากฏจะมีก็แค่คำกริยา ดังนั้นอย่างที่พี่บอกเลยใช่ไหมล่ะ ว่ากริยานี่แหละถือว่าสำคัญที่สุดในประโยค ทีนี้เราก็มาดูกันต่อว่า “กริยาแท้” มันคืออะไร และมันมี[...]

GED Social : Federalism หรือ ระบอบสหพันธรัฐ ประธานาธิบดี (President), ผู้ว่าการรัฐ (Governor), นายกเทศมนตรี (Mayor)

อีกหนึ่งเรื่องหลักในการติว GED เพื่อสอบวิชา Social Studies ที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้คือเรื่อ “Federalism” หรือ ระบอบสหพันธรัฐ (จำยากกว่าภาษาอังกฤษอีก) คือ หลักการแบ่งอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจในการปกครอง (Sovereign) กันระหว่างรัฐบาลส่วนกลางกับรัฐบาลระดับมณฑลหรือรัฐ ซึ่งในสหรัฐอเมริกาแบ่งอำนาจรัฐออกเป็น สามระดับ ได้แก่ รัฐบาลกลางของสหรัฐ (Federal Government) มีอำนาจสูงสุด, รัฐบาลประจำแต่ละรัฐ (State Government) มีอำนาจรองลงมา และ ในแต่ละรัฐเองก็จะมีรัฐบาลท้องถิ่น (Local Government) ทำหน้าที่ดูแลประชาชนในแต่ละท้องที่ถือว่ามีความใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด สาเหตุที่ในสหรัฐอเมริกาจะต้องแบ่งอำนาจรัฐบาลออกเป็นหลายระดับก็เพื่อให้การดูแลประชาชนเป็นไปได้อย่างทั่วถึง เนื่องมาจากพื้นที่ภูมิประเทศที่ค่อนข้างกว้างทำให้รัฐบาลกลางหน่วยงานเดียวอาจไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รัฐบาลแต่ละระดับจะมีอำหน้าหน้าที่ส่วนใหญ่แตกต่างกัน แต่ก็มีอำนาจบางอย่างที่ทับซ้อนกันบ้าง โดยเรามาเริ่มดูจากรัฐบาลกลางกันดีกว่าครับ รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา มีหัวหน้ารัฐบาล คือ ประธานาธิบดี (President) รัฐบาลกลางถือว่าเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจสูงสุด ทำหน้าที่ดูแลและบริหารความเป็นไปของประเทศโดยภาพรวม ซึ่งรัฐบาลกลางเป็นผู้ทำหน้าที่กำหนดนโยบายต่าง ๆ ให้รัฐบาลประจำรัฐนำไปปรับใช้กับรัฐของตน นอกเหนือจากนี้รัฐบาลกลางยังเป็นรัฐบาลเดียวที่สามารถ ผลิตธนบัตรและเหรียญ, ประกาศสงคราม, ดูแลกองทัพ ควบคุมอัตราดอกเบี้ยและการค้าระหว่างประเทศเช่นเดียวกับการดูแลและสร้างความสัมพันธ์กับต่างชาติ รัฐบาลประจำรัฐ มีหัวหน้ารัฐบาลเรียกว่า ผู้ว่าการรัฐ (Governor) จะทำหน้าที่ดูแลและบริหารเฉพาะพื้นที่ต่าง[...]