GED RLA : Articles (a, an, the)

เมื่อติว GED RLA ก่อนสอบน้อง ๆ เคยประสบปัญหาเวลาที่เขียน essay แล้วใส่ article (คำนำหน้าคำนาม) ไม่เป็น หรือ ไม่รู้จะเติม a, an  หรือ the ไว้หน้าคำนามดีบ้างไหมครับ ไม่ต้องกังวลแล้วนะครับ วันนี้พี่จะมาช่วยไขปริศนานี้ให้กับน้อง ๆ เตรียมตัวจดจำวิธีการใช้งาน articles เหล่านี้ไว้ให้ดีนะครับ ความแตกต่างระหว่าง a / an อันดับแรกเราต้องมาแยกแยะกันก่อนว่า a กับ an ต่างกันอย่างไรซึ่งสำคัญมากในการเรียน GED RLA a ใช้นำหน้าคำนามที่ขึ้นต้นด้วยเสียงพยัญชนะ (Consonant Sound) เช่น a ball, a man, a soccer an ใช้นำหน้าคำนามที่ขึ้นตันด้วยเสียงสระ (Vowel Sound) เช่น an apple, an ox,[...]

GED Math : INTEREST

Compound interest is the 8th wonder of the world Albert Einstein นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในศตวรรษที่ 20 อย่างอัลเบิร์ต ไอสไตน์ เคยให้วลีทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับดอกเบี้ยทบต้นว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นที่ 8 ของโลก เหตุใดนักวิทยาศาสตร์ผู้ที่คร่ำหวอดในวงการฟิสิกส์ ถึงให้ความสำคัญของดอกเบี้ยทบต้นอย่างน่าฉงน ในการติว GED Math เรื่องดอกเบี้ยนั้นก็ออกสอบกันมากเลยทีเดียว มาดูกันครับ ดอกเบี้ย (Interest) คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ได้มาจากผลของมูลค่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งพบได้ในการลงทุนผ่านทางสถาบันหลายแห่ง เช่น การออมเงินผ่านทางธนาคาร, การซื้อกองทุนรวมผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ การลงทุนในหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น เมื่อนำเงินไปฝากหรือลงทุนผ่านสถาบันการเงิน จะได้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน ในทางกลับกัน หากสถาบันการเงินให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้า ทางฝ่ายสถาบันการเงินก็จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยเช่นกัน โดยปัจจัยที่ทำให้ได้ดอกเบี้ยมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ เงินต้น (Principle) คือ เงินลงทุนเริ่มต้น อัตราดอกเบี้ย (Interest rate) คืออัตราผลตอบแทนของการลงทุน โดยนิยมเทียบเป็นผลตอบแทนรายปี ระยะเวลาของการลงทุน (Duration) คือ[...]

GED Social : May Flower Compact

ในการเรียน GED Social Studies มีเรื่องประวัติศาสตร์ด้วยนะครับ น้อง ๆ เคยได้ยินหรือรู้จักเรือลำไหนในประวัติศาสตร์บ้างไหมครับ อย่างเรือ Going Marry หรือ เรือ Sunny จากเรื่อง One Piece (อ่าวผิด โทษ ๆ) เข้าเรื่องดีกว่าวันนี้พี่จะมาแนะนำให้น้องรู้จักเรือลำหนึ่ง ชื่อว่า เรือ May Flower ซึ่งมีความสำคัญมากทางประวัติศาสตร์ของอเมริกา เพราะหากไม่มีเรือลำนี้ ก็อาจไม่มีประเทศอเมริกาเหมือนในปัจจุบันก็ได้! เจ้าเรือลำนี้มีชื่อว่า เรือ May Flower เป็นเรือสัญชาติอังกฤษที่ใช้ขนส่งชาวอังกฤษที่ต้องการอพยพมาตั้งถิ่นฐานใน New World สมัยยุคก่อตั้งอาณานิคม (Colonialism) โดยเรือลำนี้ได้บรรทุกเอาชาวคริสต์ที่ต้องการแสวงหาหนทางการเข้าถึงพระเจ้าในรูปแบบของตน แต่ไม่สามารถสร้างวิถีปฏิบัติ หรือ นิกายใหม่ขึ้นได้ในอังกฤษ (เพราะสมัยนั้นในอังกฤษมีศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกเรืองอำนาจอยู่) ดังนั้นพวกเขาต้องอพยพข้ามมหาสมุทรมายังทวีปอเมริกาเพื่อตามหาเสรีภาพและอิสรภาพในการสร้างดินแดนในอุดมคติตามความเชื่อศาสนาของตน โดยพวกเราเรียกผู้แสวงบุญ (Pilgrim) กลุ่มนี้ว่าชาว Puritan  (พิวริตัน) * (เกร็ดความรู้ติว GED Social คำว่า Puritan มาจากคำว่า[...]

GED Science : VIRUS

ติว GED วันละนิด พิชิตข้อสอบ GED วันนี้เรามาดูเนื้อหาเกี่ยวกับ Science กันครับ ในช่วงต้นปี 2020 ข่าวที่ประเด็นน่าสนใจคงหนีไม่พ้น การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Coronaviruses) ทำให้ผู้คนสนใจ ถึงความอันตรายของไวรัสเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามยังมีหลายคนสงสัยถึงความแตกต่างระหว่างไวรัสกับแบคทีเรีย ว่าแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งในบทเรียน GED Science ก็จะมีด้วย กล่าวคือ ไวรัส (Virus) เป็นสิ่งขนาดเล็กที่สามารถแพร่พันธุ์ได้ เมื่ออยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยส่วนมากมีขนาดเล็กกว่าแบคทีเรีย สามารถมองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเท่านั้น ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างของไวรัสกับแบคทีเรีย คือ ไวรัสไม่จัดเป็นเซลล์ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของการมีชีวิต เนื่องจากไวรัสไม่มีกลไกการเจริญเติบโต กลไกการขับถ่าย รวมไปถึงกลไกการหายใจระดับเซลล์ ในทางตรงกันข้าม กลับพบกลไกตามที่กล่าวข้างต้นทุกอย่างในแบคทีเรีย ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ไวรัสไม่จัดเป็นสิ่งมีชีวิต แต่แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นจุดที่หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ เห็นไหมครับว่าความรู้เรื่องนี้ไม่ได้จำกัดไว้ในเนื้อหาการเรียน GED Science เท่านั้น เราควรรู้ไว้เพื่อป้องกันตนเองจากการติดโรคในชีวิตประจำวันของเราด้วยนะครับ ในปัจจุบันยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดว่า ไวรัสมีประโยชน์อย่างไร ดังนั้น ไวรัสจึงเป็นสิ่งที่เป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมของไวรัสจะอาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตแล้วขยายพันธุ์ เรียกว่า ปรสิต (parasite) โดยไวรัสจะแพร่พันธุ์อยู่ในร่างกายจนเกิดอาการเจ็บป่วย เมื่อผู้ป่วยพบว่าตนติดเชื้อจากไวรัส[...]

GED Math : DATA VISUALIZATION

ติว GED Mathematical Reasoning & GED Science Data visualization คือ กระบวนการนำข้อมูลดิบมานำเสนอในรูปแบบ เช่น กราฟเส้น (line graph), แผนภูมิแท่ง (histogram) หรือ แผนภูมิวงกลม (pie chart) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดข้อมูลเชิงปริมาณที่มีความซับซ้อนให้เกิดความน่าสนใจ เข้าใจง่าย เห็นภาพรวมได้ชัดเจน ซึ่งนิยมนำมาใช้ประกอบในการรายงาน การวิเคราะห์ การสรุปผลข้อมูล นอกจากนี้การนำเสนอข้อมูลโดยใช้รูปภาพสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในแง่การเปรียบเทียบแนวโน้ม พฤติกรรม และความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นต้น Data visualization นิยมออกในข้อสอบทั้ง GED Mathematical Reasoning และ GED Science ดังนั้นหากเราติวกันอยู่ ก็ควรมั่นใจว่าเราเข้าใจเรื่องนี้ก่อนไปสอบจริงนะครับ เนื่องจาก Data visualization มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่าย ดังนั้นเวลาทำข้อสอบ ควรอ่านกราฟหรือแผนภูมิเป็นอันดับแรกเพื่อช่วยให้เข้าใจภาพรวมของเนื้อหาที่นำเสนอได้อย่างรวดเร็ว โดยกราฟและแผนภูมิที่นิยมออกข้อสอบ GED ได้แก่    1. กราฟเส้น (line graph) 2. แผนภูมิแท่ง (histogram)[...]

GED Math : PHOTOSYNTHESIS

INTRODUCTION ติว GED Science วันละนิด เรื่องที่ต้องเราต้องเจอในการเรียน GED Science แน่ๆคือเรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) คือ กระบวนการทางเคมีที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ภายใต้สภาวะที่มีแสงและรงควัตถุสีเขียว หรือ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ สารประกอบน้ำตาลกลูโคส และ ผลิตภัณฑ์เสริม ได้แก่ ก๊าซออกซิเจน ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการทางเคมีตามด้านล่างนี้ การสังเคราะห์ด้วยแสงพบได้ในสิ่งที่มีชีวิตที่มีคลอโรฟิลล์ ได้แก่ พืช (plant), แบคทีเรียประเภทสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (cyanobacteria) หรือ โปรโตซัวบางชนิด (protozoa) ประโยชน์หลักของการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ การสร้างกลูโคสเพื่อใช้เป็นสารอาหารในการดำรงชีพ  ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จะเรียกโดยรวมว่า autotroph ซึ่งหมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ และยังเป็นผู้ผลิต (producer) ที่สำคัญในห่วงโซ่อาหารอีกด้วย นอกจากนี้ประโยชน์ทางอ้อมของการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ การผลิตก๊าซออกซิเจนซึ่งเป็นก๊าซที่จำเป็นในการหายใจของสัตว์ทุกชนิด ด้วยเหตุนี้สัตว์ส่วนใหญ่จึงนิยมอาศัยอยู่ในป่าซึ่งอุดมไปด้วยก๊าซออกซิเจน ดังนั้นการสังเคราะห์ด้วยแสงจึงส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างมีนัยสำคัญทั้งต่อสัตว์รวมไปถึงมนุษย์อีกด้วย เราต้องเข้าใจกระบวนการนี้เมื่อเราติว GED Science ก่อนสอบนะครับ  [...]

GED Math : DATA ANALYSIS

ติว GED วันละนิด พิชิตสอบ ในเนื้อหา GED Mathematical Reasoning วิชานี้ Data analysis เป็นกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เป็นเครื่องมือตัดสินใจในการวางแผนในประเมินผลงานหรือกำหนดนโยบายต่าง ๆ ถูกนำไปใช้ในการวางแผนหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ, ด้านวิทยาศาสตร์ หรือ ด้านการจัดการ เป็นต้น ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ (ค่าสถิติ) และ ข้อมูลเชิงคุณภาพ (ข้อเท็จจริง) ในการติว GED ข้อสอบ GED Mathematical Reasoning มุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นหลัก เนื่องจากเป้าหมายของการวิเคราะห์ข้อมูล คือความรวดเร็ว ดังนั้นหัวข้อนี้จึงมีสูตรสำเร็จรูปที่ช่วยให้ผู้เข้าสอบคำนวณได้อย่างรวดเร็ว แต่ในบทความนี้ยังมุ่งเน้นวิธีการหาค่าทางสถิติโดยเน้นกระบวนการคิดมากกว่าสูตรคำนวณ โดยเนื้อหาที่ออกในข้อสอบนั้น เวลาที่เราเรียน GED Mathematical Reasoning เราจะเจาะลึกในส่วนของการวัดค่าแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง (measures of central tendency) ซึ่งเป็นวิธีทางสถิติที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งชุดจำเป็นต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก การวัดค่าแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลางจึงเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเวลาในการคำนวณ การหาค่าตัวเลขเพียงค่าเดียวที่จะใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลทั้งชุด[...]

GED RLA : mass noun

Mass Noun ไม่ว่าน้องจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษหรือติวสอบ GED RLA กันอยู่ ก็อย่าลืมเรื่องนี้นะครับ น้อง ๆ รู้กันไหมครับต่อให้น้อง ๆ จะมี ”การบ้านมากแค่ไหน” แต่คำว่า Homework ก็เติม s เพื่อทำเป็นนามพหูพจน์ไม่ได้ (Plural Noun) หรือ แม้แต่คำว่า work ที่ปกติเราแปลว่า “ภาระงาน” ก็เติม s ไม่ได้ น้อง ๆ ทราบกันไหมครับว่าทำไม ... เฉลย นั่นก็เพราะว่า คำนามเหล่านี้เราเรียกว่าเป็น Mass Noun หรือ นามนับไม่ได้นั่นเอง ดังนั้น น้อง ๆ จึง ห้ามเติม s เพื่อทำให้คำเหล่านี้กลายเป็นพหูพจน์เด็ดขาด! (Pluralization) เรื่องนี้สำคัญมากๆในห้องสอบ GED RLA หรือในขณะที่ติว GED RLA พี่อยากให้น้อง ๆ[...]

GED RLA : คำศัพท์และสำนวน

ติว GED วันละนิด พิชิตข้อสอบ GED วันนี้เริ่มที่ “อากาศหนาว แสงไฟ ต้นคริสต์มาส และเพลง All I Want for Christmas” สิ้นสุดไปแล้วกับเดือนสุดท้ายแห่งปี เดือนที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งเทศกาล วันหยุด ความสุข เสียงหัวเราะ และการเฉลิมฉลอง สำหรับบทความในอาทิตย์นี้เราขอพักเรื่องเครียดจากการสอบ แล้วเปลี่ยนบรรยากาศมาเรียนอะไรที่มันสนุก ๆ เฮฮา แต่มีสาระกันดีกว่านะครับ วันนี้พี่เลยเตรียมคำศัพท์และสำนวน 8 คำที่เข้ากับเทศกาลเทศกาลคริสต์มาส ปีใหม่ที่ผ่านมาเหล่านี้เพื่อให้น้อง ๆ เอาไปใช้คุยกับเพื่อนต่างชาติ หรือ ไว้อัพเดทกับเพื่อนชาวไทยจะได้ไม่ตกเทรนด์ครับ   เรามาเริ่มจากคำแรก คือ stocking stuffer สำหรับคำนี้ค่อนข้างเข้ากับเทศกาลคริสต์มาสเลย ถ้าแปลตรงตัวจะหมายถึง “สิ่งที่เราเอาไปยัดไว้ในถุงเท้า” ลองเดาสิว่ามันหมายถึงอะไรครับ … ปิ้งป่องมันแปลว่า “ของขวัญเล็ก ๆ ที่มักจะมีราคาไม่แพง” ดังนั้นแล้วถ้าน้องอยากจะหาของขวัญเล็ก ๆ เอาไว้มอบให้คนอื่นหรือจะแอบเอาไปยัดไว้ในถุงเท้าในช่วงคริสต์มาสน้องสามารถเรียกมันว่า a stocking stuffer ครับ[...]

GED RLA : Redundancy หรือ การใช้คำฟุ่มเฟือย

ติว GED วันละนิด จิตแจ่มใส วิชา RLA วันนี้ลองดูกันครับว่าอีกเรื่องนึงที่สำคัญในการเรียน GED คือเรื่องอะไร เริ่มกันที่ “บ้านหลังนี้สวยสดงดงามอลังการงานสร้าง” “ฤษีตนนี้เหาะเหินเดินอากาศได้” หรือ “แจกันใบนี้ค่อนข้างเปราะบาง” หลังจากอ่านประโยคนี้ น้อง ๆ มีความรู้สึกตงิดใจตรงจุดไหนบ้างไหมครับ ถ้ารู้สึกแสดงว่าน้องเป็นคนที่มีสัมผัสในการใช้ภาษาอังกฤษค่อนข้างดีเลยครับ เพราะในภาษาอังกฤษจะมีกฎไวยากรณ์เรื่อง Redundancy หรือ การใช้คำฟุ่มเฟือย ซึ่งหมายถึง การใช้คำที่มีความหมายเดียวกัน หรือ ใกล้เคียงกันในประโยคเดียวกันมากเกินไป ทำให้ประโยคยาวเกินความจำเป็น (เว้นแต่กรณีที่ผู้เขียนจงใจใช้คำซ้ำกันเพื่อเน้น) แต่สำหรับคนที่ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงก็ไม่ต้องคิดมากนะครับ เด็กไทยอีกหลายคนก็มีแนวโน้มที่จะบอกไม่ได้ว่าประโยคด้านบนมีการใช้คำฟุ่มเฟือย เนื่องจากภาษาไทยจะมีลักษณะของการสร้างคำแบบซ้ำซ้อน คือการเอาคำที่มีความหมายเดียวหรือคล้ายกันมารวมกัน เช่น สวยงาม เปราะบาง และเหาะเหินเดินอากาศ อบอุ่น หยิบฉวย และ เดาสุ่ม (ขนาดคำว่าซ้ำซ้อน ยังมีความซ้ำซ้อน เอ๊ะไม่งงใช่ไหม ?) ติว GED RLA รอบนี้เรามาดูตัวอย่าง Redundancy ในภาษาอังกฤษ และตัวอย่างเพิ่มเติมของคำฟุ่มเฟือยที่เราพบได้ในชีวิตประจำวันแต่แยกมันไม่ค่อยออกกันครับ Visible stars can[...]