GED Science : CARBON EMISSION

ในปัจจุบันสังคมได้เริ่มตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน ในเนื้อหาการติว GED Science ก็เช่นกัน จะมีออกเรื่องนี้ตลอดเลยครับ ภาวะโลกร้อนนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศเป็นวงกว้าง เช่น การขาดแคลนอาหารของสัตว์ป่า  การสูญพันธุ์ของสัตว์สงวน พื้นที่ป่าและที่อยู่อาศัยถูกทำลาย  ตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมาจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) เมื่อก๊าซเรือนกระจกลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจะทำหน้าที่เสมือนเป็นเกราะป้องกันไม่ใช้รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์หลุดรอดออกไปจากชั้นบรรยากาศโลก ส่งผลให้อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดเป็นปัญหาภาวะโลกร้อนตามมา ด้วยเหตุนี้เอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสิ่งแวดล้อมให้การจับตามอง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide)  เป็นอย่างมาก เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ถูกผลิตมากที่สุด ซึ่งก๊าซชนิดนี้ถูกผลิตจากกระบวนการสันดาปของเชื้อเพลิงเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้กลุ่มประเทศที่มีกำลังการผลิตสูง อาทิ จีน, สหรัฐอเมริกา และอินเดีย จากกราฟแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่าในปี 2019 ทั้งสามประเทศ มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมกันคิดเป็น 48.63% หรือประมาณครึ่งนึงของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาทั้งหมดทั่วโลก นอกจากนี้ยังพบว่าในปัจจุบัน ปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเป็น 8 เท่าของปริมาณการปล่อยก๊าซเมื่อ 80 ปีที่แล้ว และยังพบว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากกราฟพบว่า จีนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าในศตวรรษใหม่ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า จีนกำลังจะเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตสูงที่สุดในโลก การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก ย่อมส่งผลต่อระบบนิเวศโดยตรง นานาประเทศทั่วโลกจึงหารือเพื่อหาวิธีรับมือปัญหา ด้วยการวางแผนนโยบายในการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon footprint)[...]

GED Social : Colonialism 1

ก่อนหน้านี้เราเคยคุยกันเกี่ยวกับเรื่องสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกาในการเรียนวิชา GED Social Studies ใช่ไหมครับ ในตอนนั้นเรามีการเกริ่นถึงยุคแห่งการสร้างอาณานิคม (Colonialism) ที่บรรดาประเทศมหาอำนาจฝั่งยุโรปต่างแห่แหนกันเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อสร้างอาณานิคม (Colony) ของตัวเองช่วงภายหลังจากที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาในปี 1492  แต่เรายังไม่ได้ลงรายละเอียดว่าบรรดา 13 อาณานิคมที่เราพูดถึงในบทความครั้งก่อนนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร และประกอบไปด้วยอาณานิคมใดบ้าง วันนี้พี่ก็เลยต้องการจะมาไขความกระจ่างบทความติว GED Social Studies ให้น้อง ๆ ครับ *เกร็ดความรู้เรียน GED Social Studies ในสมัยนั้นโคลัมบัสเข้าใจผิดคิดว่าตนเองเดินทางมาถึงหมู่เกาะบริเวณประเทศอินเดีย เขาจึงเรียกคนที่อยู่บริเวณนั้นว่าอินเดียน (Indians) จนภายหลังเราก็เปลี่ยนมาเรียกกลุ่มคนที่อยู่อาศัยในทวีปอเมริกามาก่อนชาวยุโรปว่าอินเดียแดง หรือชาว Native American จนกระทั่งAmerigo Vespucci - อเมริโก เวสปุชชี นักเดินเรือและนักทำแผนที่ชาวอิตาลีเป็นผู้ชี้ทางสว่างว่าพื้นที่ที่โคลัมบัสค้นพบหาใช่ส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย แต่เป็นแผ่นดินใหม่ที่เพิ่งจะค้นพบ ดังนั้นจึงมีการตั้งชื่อทวีปใหม่นี้ตามชื่อของอเมริโกเพื่อเป็นเกียรติให้แก่เขา (อเมริโกคือภาษาละติน แต่ในภาษาอังกฤษเรียกอเมริกา)   ในปี 1585 ชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งมีความพยายามที่จะเข้ามาตั้งอาณานิคมบริเวณเกาะ Roanoke บริเวณนอกชายฝั่งของ North Carolina แต่ความพยายามของพวกเขาก็ล้มเหลวและคนกลุ่มนี้ก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย กระทั่งประมาณอีก 20[...]

GED Science : FOOD CHAIN

ระบบนิเวศ เป็นหัวข้อสำคัญเมื่อติว GED Science นะครับออกข้อสอบอยู่บ่อยๆ ซึ่งระบบนิเวศนี้เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ต่างอยู่ร่วมกัน การที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดอยู่ร่วมกันได้นั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อุณหภูมิ แสง ภูมิประเทศ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพ สภาพแวดล้อมดังกล่าว หมายถึงถิ่นที่อยู่ที่สิ่งมีชีวิตสามารถหาอาหารได้อย่างสะดวก ดังนั้นจุดร่วมกันอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์ คือ ความต้องการสารอาหารในการสร้างพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีพ ซึ่งสามารถอธิบายด้วยหลักการของห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ในข้อสอบ GED Science มีเรื่องนี้ทุกรอบเลยก็ว่าได้นะครับ             เมื่อติว GED Science หัวข้อนี้ ที่พลาดไม่ได้ก็จะมีอีกเรื่องคือ ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) ที่เป็นกระบวนการถ่ายทอดพลังงานในรูปของอาหารเป็นลำดับขั้นจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกหนึ่งโดยการกินกันเป็นทอดๆ ทำให้สารอาหารและพลังงานถ่ายทอดไปในหมู่สิ่งมีชีวิตและตกลงสู่สิ่งแวดล้อม โดยห่วงโซ่อาหารถูกอธิบายด้วยแผนภาพพีระมิดแสดงลำดับขั้นของสิ่งมีชีวิต โดยฐานของพีระมิดบ่งบอกถึงลำดับขั้นต่ำสุด ในขณะที่ยอดพีระมิดบ่งบอกถึงลำกับขั้นสูงสุด ห่วงโซ่ถูกจำแนกตามลักษณะของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ Producer (ผู้ผลิต) คือ สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ เช่น พืชทุกชนิด และแบคทีเรียจำพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เพราะพืชสร้างอาหารได้เองด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง ผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์แสงคือ น้ำตาลซึ่งนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้แก่ตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องบริโภคสิ่งมีชีวิต ในทางชีววิทยาจากภาพแสดงให้เห็นว่า ต้นหญ้าเป็นผู้ผลิต Primary[...]

GED Social : Demand and Supply

น้องเคยสงสัยไหมครับว่าทำไมอยู่ดี ๆ สินค้าที่เราบริโภคในชีวิตประจำวันถึงมีราคาสูงขึ้น เช่น ทำไมปัจจุบันหน้ากากอนามัยถึงมีราคาแพงขึ้น หรือ ทำไมในช่วงเทศกาลตรุษจีนราคาเนื้อหมูและไก่ถึงสูงขึ้น คำตอบนี้ไม่ยากเลยครับ เรื่องนี้หากอาศัยความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ก็สามารถไขคำตอบได้แล้ว และเมื่อติว GED Social Studies ก็อย่าลืมเรื่องนี้กันนะครับ สาเหตุที่ราคาสินค้าต่าง ๆ ในตลาดเปลี่ยนแปลงไปเป็นผลจากกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ อดัม สมิธ (Adam Smith) บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ เป็นผู้คิดค้นทฤษฎีกลไกราคาขึ้นมา ซึ่งถูกบรรยายไว้ในหนังสือ The Wealth of Nations ในปี 1776 อดัม สมิธเสนอว่าในตลาดมีสิ่งที่เรียกว่า Invisible Hands หรือ มือที่มองไม่เห็น ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมราคาสินค้าต่าง ๆ โดยกลไกนี้ประกอบไปด้วยฟันเฟืองสองตัว นั่นคือ Demand (อุปสงค์) และ Supply (อุปทาน) ในคลาสเรียน GED Social Studies เรื่องนี้ก็จะถูกสอนเพราะมันสำคัญมากนะครับ หรือหากน้องๆติว GED Social กันเองก็ต้องทำความเข้าใจให้ดีนะครับ Demand[...]

GED RLA : Adverb

มาติว GED RLA กันอีกแล้ววันนี้พี่เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนน่าจะท่องจำกันมาว่าคำที่ลงท้ายด้วย -ly  เช่น beautifully, faithfully หรือ sincerely จะทำหน้าที่เป็น Adverb หรือ คำกริยาวิเศษณ์โดยทำหน้าที่ขยาย Verb หรือ ไม่ก็ขยาย Adjective กันใช่ไหมครับ แต่น้อง ๆ รู้กันไหมอันที่จริงแล้ว Adverb บางตัวก็ไม่ได้ลงท้ายด้วย –ly หรือ Adverb บางตัวหากเติม –ly ต่อท้ายจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ในเนื้อหาเรียน GED RLA จะมีเรื่องนี้ วันนี้พี่เลยจะมาแนะนำ Adverb บางตัวที่มักสร้างความสับสนเพื่อที่น้องจะได้ใช้คำวิเศษณ์เหล่านี้อย่างถูกต้องนะครับ                 อยากสอบ GED RLA ผ่านต้องรู้เรื่องนี้นะครับ ปกติแล้ว Adverb ทั่วไป 80%-90% มักจะนำ Adjective มาต่อท้ายด้วย –ly ทำหน้าที่ขยายคำกริยา หรือ คำคุณศัพท์[...]

GED Science : WHAT IS SOLAR SYSTEM?

ภาพจำลองระบบสุริยะแบบตัดขวาง ในการติว GED Science เราจะได้เรียน Earth Science และวันนี้เรามาดูเรื่อง ระบบสุริยะ (Solar system) ประกอบไปด้วย ดวงอาทิตย์ (Sun) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ (Star) เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ และถือว่าเป็นศูนย์กลางและแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ และ วัตถุอื่นที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวเคราะห์ (Planet) และดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) รวมไปถึงยังดาวเคราะห์บางชนิดที่โคจรรอบดาวเคราะห์ เรียกว่า ดวงจันทร์ (Moon) อย่างที่ทราบกันดี โลกของเรามีดวงจันทร์ 1 ดวงเป็นบริวาร ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่า “Lunar” ในขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นอาจมีดวงจันทร์มากกว่า 1 ดวงเป็นบริวารก็ได้ เช่น ดาวพฤหัส (Jupiter) มีดวงจันทร์เป็นบริวารถึง 79 ดวงด้วยกัน หากเรามีความรู้นี้ไว้เมื่อติว GED Science ก่อนสอบหรืออ่านทวนก็ตาม แน่นอนว่าเราก็จะได้เปรียบคนที่ไม่รู้เรื่องนี้เลย อีกอย่างหนึ่งคือในเนื้อเรื่องเรียน GED Science จะมีสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ความแตกต่างสำคัญระหว่างดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ คือ[...]

GED Social : มูลเหตุ World War 1 (เนื้อหาเรียน GED Social Studies)

ล่าสุดนี้เพิ่งมีการจัดงานประกาศรางวัล OSCARS  ครั้งที่ 92 ประจำปี 2020 โดยภาพยนตร์ที่กวาดรางวัลออสการ์ไปถึง 3 รางวัล ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง 1917 ของผู้กำกับชื่อดัง แซม เมนเดส (Sam Mendes) ภาพยนตร์นี้ถ่ายทอดเรื่องราวของคู่หูนายทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้ที่ต้องออกไปปฏิบัติภารกิจลับเพื่อส่งสารหยุดยั้งการบุกโจมตีของกองทหารแนวหน้า เนื่องจากเป็นกลลวงของข้าศึก และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้กับความสำเร็จของภาพยนตร์นี้ เราเลยจะมาคุยกันถึงสาเหตุที่นำไปสู่มหาสงครามโลกครั้งที่ 1 กันครับ ความรู้เรื่อง World History เป็นสิ่งสำคัญมากเมื่อเราติว GED Social Studies กันนะครับ เมื่อเรียน GED Social Studies ที่เราต้องรู้คือ ปัจจัยที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 หรือ World War 1 Militarism – ลัทธินิยมทหาร คือ ความต้องการในสร้างและขยายแสงยานุภาพของกองทัพประเทศตนเพื่อความปลอดภัยและอำนาจ Nationalism – ชาตินิยม หรือ ความรักชาติ ความภูมิใจและการอุทิศตนให้ชาติของตน[...]

GED RLA : Quantifier

หลังจากเรียนรู้เรื่องคำนามไปบ้างแล้ว วันนี้การติว GED RLA เราจะมาดูเรื่อง คำบอกปริมาณ (Quantifier) ที่ไว้ระบุจำนวนหรือบอกปริมาณของคำนามซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจและใช้งานผิดกันนะครับ โดยพี่แบ่งคำต่าง ๆ ที่คนชอบสับสนไว้เป็นคู่ จะได้เปรียบเทียบการใช้งานให้ชัดไปเลย Much VS Many             สำหรับคำบอกปริมาณคู่แรก ทั้งคู่เป็นคำพื้นฐานใช้บอกปริมาณคำนามที่มีจำนวนเยอะโดยแปลว่า “มาก” ส่วนความแตกต่างก็คือ  many จะใช้กับนามพหูพจน์ เช่น many swimmers, many platforms (ชานชาลาจำนวนมาก) และ many pillowsในขณะที่ much ใช้กับคำนามนับไม่ได้ เช่น much water, much time และ much experience             ในคลาสติว GED RLA สั้นๆนี้ลองมาดูตัวอย่างการใช้งานกันนะครับ Many students seem confused with the theory he mentions.[...]

GED Math : TAXES & DISCOUNTS

ในการติว GED Math นั้นมีเรื่องนึงที่เราต้องเรียนรู้ ฝึกทำโจทย์ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อที่จะได้สอบผ่านได้ในรอบเดียวเลย ก็คือเรื่อง Taxes & discounts นั่นเองครับ เนื้อหาเรียน GED Math นั้นเราจะต้องเรียนเรื่อง ส่วนลดและภาษีซึ่งเป็นสิ่งพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน เมื่อผู้ซื้อมีการแลกเปลี่ยนเงินผ่านการใช้สินค้าและบริการ เหตุผลที่สินค้าและบริการจึงมีราคาขายสุทธิแตกต่างจากจากราคาตั้งต้นที่ทางร้านค้าประกาศ อันเกิดจากสองปัจจัยหลัก ได้แก่ อัตราการเพิ่มมูลค่าสินค้าซึ่งพบได้จาก ภาษี (Tax), ค่าบริการ (Service charge) หรือ ค่าธรรมเนียม (Fee) ซึ่งส่งผลให้ราคาสินค้าที่ต้องจ่ายตามจริงนั้นเพิ่มขึ้น และ อัตราการลดมูลค่าสินค้าอันได้แก่ ส่วนลด (Discount), สมนาคุณ (reward), การคืนเงิน (refund) หรือ ของแถม (premium) เป็นต้น   เมื่อติวเนื้อหาเรียน GED Math การทำข้อสอบบทนี้ต้องอาศัยทักษะในชีวิตประจำวันและประสบการณ์จากการซื้อสินค้าและบริการเข้ามาช่วยเป็นกรอบความคิดในการแก้โจทย์ปัญหา สูตรการคำนวณในหัวข้อนี้มีทั้งหมดสองสูตรดังนี้ สูตรที่ 1;               ราคาสุทธิ = ราคาตั้งต้น x (100% +[...]

GED Science : SYMBIOTIC RELATIONSHIPS

ติว GED วันละนิด พิชิตข้อสอบ GED วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิชา Science ในเรื่อง “Symbiotic relationship” กันนะครับ คงเป็นเรื่องน่ายินดี ถ้าชีวิตของมนุษย์ธรรมดาทั่วไปจะมี “คู่หู” อยู่ข้างกายเพื่อเป็นพลังบวกให้แก่กัน แน่นอนว่า ไม่ใช่เพียงแค่มนุษย์ ในทางชีววิทยายังมีสิ่งมีชีวิตที่ความสัมพันธ์แบบ “คู่หู” เรียกว่า “Symbiotic relationship” ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่อย่างน้อยมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ โดยที่อีกฝ่ายไม่เสียประโยชน์ ในเนื้อหาการเรียน GED Science ของเรื่องนี้ เราก็จะเห็นได้ว่า คู่หู ที่ว่านี้จะแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ภาวะพึ่งพาอาศัย (Mutualism) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อยู่ร่วมกันแล้วต่างฝ่ายได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากถูกแยกออกจากกันเป็นระยะเวลานานจะไม่สามารถดำรงชีพได้ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการขาดอาหาร เช่น ไลเคนส์ (Lichens), ไรโซเบียม (Rhizobium) เป็นต้น ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่อยู่ร่วมกันแล้วต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน แต่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อการดำรงชีพ[...]