เทียบชัด! เรียนแพทย์ อินเตอร์ที่ไหนดี CICM หรือลาดกระบัง?

ยังคงครองอันดับ 1 อย่างต่อเนื่องสำหรับคณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรสายสุขภาพยอดนิยมที่มีสถิติการแข่งขันรับเข้าศึกษาสูงแทบทุกปี โดยเฉพาะหลักสูตรที่เป็นภาคอินเตอร์ ที่ได้รับความสนใจมากขึ้น และมีระดับความเข้มข้นในการรับเข้าไม่แพ้แพทย์ภาคไทย  เมื่อพูดถึงแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ หลายคนที่สนใจเข้าศึกษาหรือมุ่งเข้าเรียนสายอินเตอร์คงพอทราบชื่อของ แพทย์ CICM และ แพทย์ อินเตอร์ ลาดกระบัง กันมาพอสมควร เนื่องจากทั้งสองหลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรรูปแบบนานาชาติ ที่อยู่ในสังกัดของสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงอันดับต้น ๆ ของประเทศ แพทย์ CICM TU และแพทย์อินเตอร์ ลาดกระบัง แตกต่างกันยังไง? ต้องใช้คะแนนอะไรยื่นเข้าบ้าง? ใครยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกเรียนหลักสูตรไหน อ่านบล็อกนี้จบอาจช่วยให้น้อง ๆ ตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น   CICM คืออะไร?  CICM หรือ Chulabhorn International College of Medicine คือ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นสถาบันแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ “แห่งแรกของประเทศไทย” และเป็นสถาบันแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ CICM เปิดสอนด้วยกันทั้งหมด 6[...]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ ม.ธรรมศาสตร์ ใช้ GED 660+

Table of contents Bachelor of Arts in Journalism and Mass Communication (BJM) เรียนอะไรบ้าง จบไปทำงานอะไร Requirement เกณฑ์การยื่นสมัคร รอบ Inter Portfolio 1 รอบ Inter Program-Admission 1 & Inter Program-Admission 2 Bachelor of Political Science Program in Politics and International Relations (BIR) เรียนอะไรบ้าง จบไปทำงานอะไร Requirement เกณฑ์การยื่นสมัคร รอบ Inter Portfolio 1 รอบ Inter Portfolio 2 รอบ Inter Program-Admission 1[...]

ระบอบการปกครองใน GED Social Studies มีอะไรบ้าง?

U.S. Civics and Government หนึ่งใน 4 เนื้อหาหลักของรายวิชา GED Social Studies ที่ขึ้นชื่อว่าหินสุด ๆ สำหรับน้อง ๆ นักเรียนไทยที่ไม่มีความคุ้นชินกับเนื้อหาสังคมศึกษาของอเมริกามาก่อน โดยในพาร์ทของ U.S. Civics and Government มีเนื้อหาที่ออกสอบจริงในสัดส่วนที่มากถึง 50% ตั้งแต่เรื่องโครงสร้างทางการเมือง ระบบการเลือกตั้งและการเมืองการปกครอง รวมถึงเนื้อหาด้านกฎหมายและพลเมือง ทำให้น้อง ๆ ที่อยากสอบ GED ให้ผ่านในรายวิชานี้ ต้องให้ความสำคัญกับพาร์ทนี้มากเป็นพิเศษ บทความนี้ The Planner จึงขอยกตัวอย่างเนื้อหาที่ออกสอบบ่อยในพาร์ทของ U.S. Civics and Government มาให้น้อง ๆ ได้ทำความรู้จักกันก่อนในเบื้องต้น นั่นคือ “ระบอบการเมืองการปกครอง” ที่ไม่เพียงแต่ต้องท่องจำเนื้อหา แต่น้อง ๆ ควรต้องทำความเข้าใจและนำไปใช้ในการสอบจริงให้ถูกต้องด้วย ระบอบการเมืองการปกครองคืออะไร? รูปแบบไหนที่ออกข้อสอบบ่อย? และสหรัฐอเมริกามีระบอบการปกครองรูปแบบไหน? มาดูคำตอบทั้งหมดนี้ไปพร้อมกันได้เลย ระบอบการเมืองการปกครอง คืออะไร? ระบอบการเมืองการปกครอง[...]

ติวสอบ GED กับ The Planner ดูแลครบจนได้วุฒิ ดีกว่ายังไง?

หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วโลก ปกติแล้วอาจใช้เวลากว่า 2-3 ปีในการเรียนเต็มหลักสูตรเพื่อจบการศึกษา แต่ในปัจจุบันมีทางเลือกหลากหลาย ที่จะช่วยให้น้อง ๆ ที่ค้นพบหรือรู้เส้นทางของตัวเองแล้วได้จบการศึกษาในระดับเทียบเท่ากันได้ไวขึ้น สามารถออกไปตามฝันได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะหลักสูตร GED ที่หากเตรียมตัวติวสอบแบบเต็มรูปแบบ จะสามารถย่นระยะเวลาเรียนลงไปได้มากกว่า 1-2 ปี The Planner Education สถาบันติว GED และติวสอบเข้าคณะอินเตอร์ชั้นนำ มีประสบการณ์ตรงด้านการติว GED และพาน้อง ๆ ลูกศิษย์สอบผ่าน รวมถึงเข้ามหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุ 16 มาแล้วมากมาย หลักสูตร GED ระยะสั้น 1 เดือนของสถาบัน ไม่ใช่แค่ติวเนื้อหาตรงจุดออกสอบ แต่ยังประกอบด้วยการดูแลแบบ All-in-One Service จากพี่แอดมิน ที่ช่วยให้การเตรียมสอบของน้อง ๆ ราบรื่นตั้งแต่แรกเข้ามาปรึกษาคอร์สติว จนสอบผ่านและได้รับวุฒิการศึกษา ติวสอบ GED ที่ The Planner ดูแลดีกว่ายังไง? บล็อกนี้มาเจาะลึก All-in-One Service ของทางสถาบันกัน The Planner[...]

เรียน GED ที่ไหนดี คุ้มค่าไม่เกินจริง!

Table of Contents - GED คืออะไร? - ค่าเรียน GED เท่าไหร่? The Planner เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการติว GED ในประเทศไทย พิสูจน์ได้จากจำนวนนักเรียน GED ของเดอะแพลนเนอร์ ที่ประสบความสำเร็จแล้วมากกว่า 2,000 คน คอร์สเรียน GED รับรองผลที่ The Planner ไม่ได้เป็นการสอนเนื้อหาทั่วไปแบบกว้าง ๆ แต่เป็นการเจาะไปที่ topic และ scope ของตัวข้อสอบทุกวิชา (RLA, Social Studies, Math, Science) ดังนั้นผู้เรียน GED ที่ The Planner จะได้เรียน GED ที่ตรงกับข้อสอบมากที่สุด และที่สำคัญน้อง ๆ ที่เรียน GED ทุกคนของ The Planner จะได้ติวจากข้อสอบจริงก่อนไปสอบทุกคน เดอะแพลนเนอร์จึงกล้าการันตีว่าถ้าหากน้อง[...]

ทำได้ยังไงให้ GED Math 197/200?! นักเรียนรีวิวติว GED ที่ The Planner

Table of contents - ใช้คะแนน GED ยื่นเข้าคณะ/มหาวิทยาลัยอะไร? - รีวิวสอบ GED ให้ฟังนิดนึงค่ะ ข้อสอบ GED ยากไหม? - รีแอคชั่นหลังรู้คะแนน GED เป็นอย่างไร? - รีวิวติวคอร์ส GED The Planner? - ติว GED ที่ The Planner ดีจริงไหม? “ผมได้คะแนน Math 197 Social Studies 187 Science 182 และ RLA 170 นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้ลองสอบ GED” - น้องฮับ, นักเรียน GED Private ที่ The Planner วันนี้ The Planner เอารีวิวของน้องฮับ[...]

5 GED Myths & Facts: รวมความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ GED

สรุปหัวข้อจากบทความ - ถ้าไม่ได้เรียนอินเตอร์มา ก็สอบ GED ไม่ไหว? - GED ยื่นเข้าหมอไม่ได้? - GED ง่าย? - GED ยื่นได้แค่คณะหลักสูตรอินเตอร์? - ต้องออกจากโรงเรียนก่อนถึงจะสามารถติว GED ได้? - สรุป GED ย่อมาจาก General Educational Development เป็นหลักสูตรเทียบวุฒิ ม.6 จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ถูกรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการไทยแล้วว่าสามารถใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยได้ทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ ขึ้นอยู่กับแต่ละคณะ คุณพ่อคุณแม่จึงมั่นใจได้ว่าถ้าตัดสินใจให้ลูก ๆ ออกจากระบบโรงเรียนมาเพื่อสอบ GED แล้วนั้น จะไม่หลุดจากระบบการศึกษาอย่างแน่นอน แต่หากคุณพ่อคุณแม่ หรือน้อง ๆ ที่สนใจอยากติว GED แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะติว GED ดีไหม หรือยังกังวลว่า ติว GED จบได้จริงเหรอ? ในบทความนี้จะมาบอกเล่าถึง 5 ความเชื่อผิด ๆ ที่จะพาน้อง ๆ[...]

หลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ ยอดฮิตเปิดรับปีละ 2 รอบเท่านั้น!

Table of Contents - รอบการเปิดรับ Inter CU - หลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ น่าสนใจ - How to เตรียมตัวสอบเข้าจุฬา ไขข้อสงสัยสรุปแล้วทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรอินเตอร์เปิดรับปีละกี่รอบ น้อง ๆ หลายคนอาจจะกำลังมีคำถามเกี่ยวกับการยื่นเข้าสมัครหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ มาดูกันบทความนี้ The Planner มีคำตอบ การรับสมัครหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ ในแต่ละปีจะมีเพียง 2 รอบเท่านั้น ซึ่งสาเหตุมาจากทางมหาวิทยาลัยต้องการมุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพราะเป็นหลักสูตรที่เน้นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในระดับสากล นอกจากนี้มาหาคำตอบกันว่าจะเข้าหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ ต้องเตรียมตัวอย่างไร และมีเกณฑ์การรับสมัครอะไรบ้าง รอบการเปิดรับ Inter Chula การเปิดรับสมัครนักศึกษาในหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ จะเปิดเพียงปีละ 2 รอบเท่านั้น โดยหลักสูตรนี้จะเปิดรับสมัครทั้งหมดสองช่วง คือช่วง Early Admission ซึ่งจะเปิดในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม และ Admission ซึ่งจะเปิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์[...]

อยากเขียน GED Essay ให้ปัง! แค่ลองลดคำฟุ่มเฟือย (Redundancy)

ทริคลดคำ เพิ่มคะแนน! Redundancy การใช้คำฟุ่มเฟือยที่ต้องระวังใน GED RLA รู้จักกับ Redundancy การใช้คำฟุ่มเฟือยหรือใช้คำเกินความจำเป็นในการเขียน GED Essay  เขาว่ากันว่าคนไทยมีสกิลการพูดไปเรื่อย! เลยเป็นหัวข้อที่ The Planner อยากเอามาให้อ่านกันในบล็อกนี้ ซึ่งก็คือ “Redundancy” หรือ การใช้คำฟุ่มเฟือยนั่นเอง เป็นการใช้คำซ้ำซ้อนที่มากเกินความจำเป็น หากตัดคำออกแล้วก็ยังทำให้มีความหมายเดิม เขียนแบบนี้อาจไม่เห็นภาพ ลองมาดูตัวอย่างการใช้คำฟุ่มเฟือยในภาษาไทยกันก่อนดีกว่า ตัวอย่างคำฟุ่มเฟือยในภาษาไทย มีความ ทำการ ปีติยินดี อะไรยังไง แล้วก็ อนาคตภายหน้า ได้โปรดกรุณา สวยสดงดงาม เหาะเหินเดินอากาศ จะเห็นได้ว่าคำเหล่านี้ล้วนเป็นคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันเกือบทั้งหมด จึงไม่แปลกเลยหากน้อง ๆ เผลอใช้คำฟุ่มเฟือยในการเขียนโดยไม่รู้ตัว ซึ่งในการสอบ GED วิชา Reasoning Through Language Arts (RLA) นั้นจะมีการสอบเขียน essay ในพาร์ท Extended Response Question ด้วย การระวังไม่ให้เผลอใช้คำฟุ่มเฟือยจึงอาจจะช่วยเพิ่มคะแนนให้น้อง ๆ[...]

GED MATH ออกสอบแค่ 4 หัวข้อ แค่เตรียมพร้อมก็ผ่านฉลุย

ไม่เก่งคณิตก็สอบผ่านได้! GED Math ออกสอบแค่ 4 หัวข้อ ติวให้ตรงจุดยังไงก็สอบผ่านฉลุยแน่นอน พามาดูสรุป 4 หัวข้อหลักออกสอบ GED Math แม้ไม่เก่งวิชาคณิตศาสตร์ แต่ The Planner ช่วยพาให้สอบผ่านรับวุฒิได้ชัวร์ ในการสอบ General Educational Development (GED) เพื่อขอเทียบวุฒิ ม.6 นั้น น้อง ๆ จะต้องสอบด้วยกัน 4 วิชา คือ Mathematical Reasoning, Reasoning Through Language Arts, Social Studies และ Science ซึ่งความยากอย่างหนึ่งของวิชา Math คือนอกจากจะต้องรู้วิธีการคำนวณสูตรแล้วข้อสอบยังเป็นภาษาอังกฤษอีก จึงไม่แปลกเลยที่น้อง ๆ อาจจะกังวลวิชานี้ก่อนที่จะเริ่มเรียน แต่รู้หรือไม่? จริง ๆ แล้ว GED Math ออกสอบแค่ 4[...]

เขียน GED Essay ให้เป๊ะ! ต้องเช็กอีกรอบด้วย Proofreading

อยากเขียน Essay ให้เป๊ะ! อัปคะแนน GED RLA ให้ปัง! ทำได้ไม่ยากด้วยวิธี Proofreading บล็อกนี้ The Planner จะมาแชร์ทริคลดข้อผิดพลาดในการสอบเขียน GED นอกจากจะช่วยให้ Essay อ่านง่ายขึ้นแล้วยังอาจช่วยเพิ่มคะแนนวิชา RLA ด้วย สำหรับการสอบ GED Reasoning Through Language Arts (RLA) จะมีข้อสอบพาร์ทเขียนที่เรียกว่า Extended Response ซึ่งเป็นการวิเคราะห์บทความที่มีความขัดแย้งกันระหว่างสองมุมมอง และน้อง ๆ จะต้องเขียน essay เพื่ออธิบายโดยใช้หลักฐานในบทความมาสนับสนุนให้ได้ว่า เพราะเหตุใดข้อโต้แย้งของอีกฝ่ายจึงดีกว่าอีกฝ่าย หากน้อง ๆ อยากเข้าใจ GED Extended Response ให้มากขึ้นว่าคืออะไร สามารถแวะไปอ่านบทความ GED RLA Essay เขียนตอบแบบไหน ได้คะแนนชัวร์ ก่อนได้ The Planner ได้อธิบายเกี่ยวกับ GED RLA[...]

เปิดเกณฑ์การรับสมัครเข้าจุฬาฯ ภาคอินเตอร์ ฉบับอัปเดต 2025

เตรียมตัวให้พร้อม! ข้อมูลที่ควรรู้ก่อนเข้าจุฬาฯ ภาคอินเตอร์ กับเกณฑ์การรับสมัครฉบับอัปเดตปี 2025  ใกล้เข้ามาแล้วกับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสำหรับ DEK68 ใครที่เล็งจุฬาฯ หลักสูตรนานาชาติไว้จะต้องอ่านบล็อกนี้ เพราะ The Planner ได้รวบรวมข้อมูลสำคัญที่น้อง ๆ ต้องรู้ รวมถึงเกณฑ์การรับสมัครในปี 2025 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในฝันของใครหลายคน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นภาคอินเตอร์การแข่งขันก็ไม่ได้น้อยไปกว่าภาคไทยเลย เพราะนอกจากคนไทยที่ต้องการเข้าศึกษาต่อแล้ว นักเรียนต่างชาติในประเทศไทยก็สนใจเข้าเรียนที่จุฬาฯ ไม่ต่างกัน การเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง จึงไม่เกินจริงสำหรับการสมัครเรียนจุฬาฯ อินเตอร์ เพราะถ้าเรารู้เกณฑ์คะแนนและข้อมูลต่าง ๆ ไว้ก่อน ก็จะช่วยเตรียมความพร้อมให้น้อง ๆ ได้เข้าไปเป็นนิสิตจุฬาฯ ได้มากขึ้น Source: www.chula.ac.th ทำไมอินเตอร์จุฬาฯ น่าเรียน มหาวิทยาลัยชั้นนำ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของไทยที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล โดยติดอันดับ Impact Rankings 2021 ที่ 1 ในเอเชีย และที่ 23 ของโลก จัดอันดับโดย Times Higher Education[...]

เปิดปฏิทินเด็กอินเตอร์ TCAS68 กำหนดการวันไหน? เตรียมคะแนนยังไง? ต้องรู้!

TCAS67 กำลังจะผ่านไป ใกล้เข้ามาแล้วกับหนทางเข้าสู่มหาวิทยาลัยของน้อง ๆ TCAS68 โดยเฉพาะน้อง ๆ ที่มีเป้าหมายอยากเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติ ที่อาจต้องมีการเตรียมตัวมากขึ้นเป็นพิเศษ ทั้งในเรื่องของกำหนดการรับสมัครของแต่ละหลักสูตร และการเตรียมสอบอินเตอร์เพื่อยื่นสมัครในหลักสูตรที่ต้องการ เนื่องจากในทุก ๆ ปี กำหนดการของทุกรอบรับสมัคร TCAS จาก ทปอ. หรือจากทางมหาวิทยาลัยเอง มักจะมีกำหนดออกมาใกล้เคียงกับปีก่อนอยู่เสมอ ในบทความนี้ The Planner จึงขอมาเปิดปฏิทิน TCAS68 สำหรับเด็กอินเตอร์ ฉบับคาดการณ์ ให้ได้เตรียมใจ เตรียมคะแนนกันตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่ละจุดที่น้อง ๆ TCAS68 ภาคอินเตอร์ต้องให้ความสำคัญจะมีอะไรบ้าง? อ่านข้อมูลด้านล่างนี้ได้เลย  กำหนดการ TCAS68 หลักสูตรอินเตอร์ Pre-TCAS: ช่วงก่อนสิงหาคม 2567 ในช่วงนี้ถือเป็นช่วงโอกาสทองของน้อง ๆ สายอินเตอร์ทุกคน ที่จะได้ใช้เวลาเต็มที่ในการติวสอบและเตรียมคะแนนสอบที่ต้องการ เช่น คะแนน GED, SAT, IELTS หรือคะแนนสอบอินเตอร์อื่น ๆ รวมถึงการเริ่มเก็บสะสมผลงานของตัวเอง เพื่อให้ใช้ยื่นได้ทันตั้งแต่รอบแรกของการรับสมัครหรือรอบ Portfolio [...]

ตามรอย Civil Rights Movement ยุค 1950s เหตุการณ์สำคัญออกสอบ GED Social Studies

ย้อนอดีตสู่ยุค 50s กับ Civil Rights Movement เหตุการณ์สำคัญที่ออกสอบ GED Social Studies “ความเท่าเทียม” หรือ Equality เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนในสังคมควรได้รับโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะเป็นความเท่าเทียมทางการศึกษา ความเท่าเทียมทางการทำงาน ความเท่าเทียมทางเพศ หรือความเท่าเทียมทางสีผิวก็ตาม  แต่ในความเป็นจริง เรื่องของ ความเท่าเทียมในสังคม กลับถูกหยิบยกออกมาพูดถึงหรือเรียกร้องในหลาย ๆ ครั้ง ผ่านประเด็นทางการเมืองและการบริหารตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ในบางพื้นที่หรือบางประเทศ ความเท่าเทียมหลายเรื่องจะได้รับการยอมรับและสนับสนุนจนเกิดขึ้นจริงแล้ว แต่ในบางพื้นที่ ปัญหาในเรื่องของความเท่าเทียมหลาย ๆ ด้าน ก็ยังคงไม่ได้รับการแก้ไขหรือคลี่คลายอย่างถูกต้อง ทำให้เรายังสามารถเห็นบรรยากาศของการออกมาประท้วงสิทธิ์เพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ผู้คนเหล่านั้นควรจะได้รับอยู่เนือง ๆ  ในการสอบ GED Social Studies ในพาร์ทของเนื้อหา Civics and Government น้อง ๆ ก็มีโอกาสเจอเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพด้านต่าง ๆ ของพลเมืองในอเมริกาด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในไทม์ไลน์ของ The Civil Rights Movement ในยุค 1950s ซึ่งมีเรื่องราวในเหตุการณ์ค่อนข้างเข้มข้นและต้องอาศัยความเข้าใจในเนื้อหาก่อนไปสอบอยู่พอสมควร[...]

5 ไวยากรณ์ต้องรู้ ก่อนลุย GED RLA!

ก่อนสอบ GED ต้องรู้! แนะนำ 5 ไวยกรณ์สำคัญไว้ใช้ในการสอบ GED พาร์ท Reasoning Through Language Arts (RLA) สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจสอบ GED เทียบวุฒิ ม.6 ต้องบอกก่อนเลยว่า ข้อสอบทั้ง 4 วิชาของ GED นั้นเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ดังนั้นน้อง ๆ ต้องเตรียมพื้นฐานภาษาอังกฤษก่อนเริ่มติว GED ตั้งแต่ไวยากรณ์พื้นฐาน หากน้อง ๆ กำลังลังเลว่าจะติว GED ที่ไหนดี อยากมีคนช่วยแบบครบทุกขั้นตอน ขอแนะนำมาที่ The Planner Education แนะนำ 5 ไวยากรณ์สำคัญที่จะช่วยให้น้อง ๆ ตะลุยข้อสอบได้อย่างง่ายดายตามนี้เลย 1. ประเภทของคำ (Parts of Speech) ในภาษาอังกฤษได้แบ่งประเภทของคำทั้งหมดไว้ 8 ประเภท ได้แก่ คำนาม[...]

GED Social Studies ยากตรงไหน? ทำไมใคร ๆ ก็กลัว

ใครวางแผนติวสอบ GED อยู่บ้าง? อย่างที่น้อง ๆ ได้ทราบกันมาเบื้องต้นแล้วว่า หลักสูตร GED จะต้องเรียนและสอบให้ผ่านครบทั้ง 4 วิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts (RLA), Mathematical Reasoning, Science และ Scocial Studies จึงจะสามารถเข้ารับวุฒิ GED หรือวุฒิเทียบเท่า ม.6 ของไทยได้  ซึ่งจากที่ The Planner ได้สำรวจความคิดเห็นของน้อง ๆ คอร์สติว GED ที่สถาบัน The Planner Education แนวโน้มส่วนใหญ่ให้น้ำหนักตรงกันว่า วิชา GED Social Studies เป็นวิชาที่ “ค่อนข้างยากและซับซ้อน” ซึ่งหากติวเองหรืออ่านหนังสือสอบเองก็อาจจะต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษในการสรุปเนื้อหาให้เข้าใจได้ทั้งหมด  ดังนั้น ในบทความนี้ The Planner ขอมาแบไต๋ ไขข้อกระจ่างให้เข้าใจไปพร้อมกันว่า วิชา GED[...]

5 ปัญหาที่ชาว GEN Z เจอ!? แถมเทคนิคทำยังไงให้โฟกัสดีขึ้น

คิดว่าชาว Gen Z ที่ยังอยู่ในวัยเรียนหลายคนต้องเคยเจอปัญหาหรือความกังวลเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น เรียนหนัก ตารางเรียนแน่น เรียนหลายวิชา เรียนต่อสาขาอะไรให้ไม่ตกงาน และสารพัดความกังวลที่ทำให้น้อง ๆ อดไม่ได้ที่จะเผลอปวดหัวอยู่หลายครั้ง The Planner รวบรวมปัญหาและทางออกดี ๆ สำหรับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วไว้ในกระทู้นี้แล้ว เรียนหนัก การบ้านเยอะ ตารางเรียนโดยทั่วไปจะมีทั้งวิชาหลักและวิชาเพิ่มเติม ในแต่ละภาคการศึกษาอาจต้องเรียนมากถึง 13 วิชา ดังนั้นหากสมมุติว่าแต่ละวิชามอบหมายงานให้ 1 ชิ้นต่อสัปดาห์ การบ้านหรือชิ้นงานต่อ 1 ภาคการศึกษาก็ถือว่าไม่น้อย ทำให้น้อง ๆ ต้องแบ่งเวลาแบบรัดตัวมาก ๆ ทางออกที่ใช่ เขียน To-do List: แนะนำให้น้อง ๆ เขียนรายการชิ้นงานหรือการบ้านที่ได้รับมอบหมายในทุกครั้งที่มีการอัปเดตจากแต่ละรายวิชา เพราะการเขียนออกมาจะทำให้เราเห็นการเตือนตัวเองที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ทำให้น้อง ๆ สามารถนำรายการเหล่านี้ไปจัดลำดับความสำคัญ ระบุวันกำหนดส่งได้ชัดเจน และสามารถวางแผนจัดเวลาในการทำชิ้นงานให้เสร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น *ไม่แนะนำให้จำอย่างเดียวโดยไม่จด เพราะน้อง ๆ อาจจะเผลอลืมได้ การเขียนเป็นหลักฐานที่เราสามารถย้อนกลับมาดูอีกครั้งนั่นเอง ตารางเรียนแน่น ตารางเรียนรายสัปดาห์แน่นจนแทบไม่มีช่วงว่างให้ได้ผ่อนคลายเลยทีเดียว เนื่องจากใน 1 วัน[...]

อัปเดต 2025! อยากเป็นหมอ ยื่น GED เข้าแพทย์ในไทยที่ไหนได้บ้าง

แพทยศาสตร์ ไม่ว่าจะอีกกี่ปีก็ยังคงเป็นหลักสูตรยอดนิยมอันดับต้น ๆ ของเด็กไทยและหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก เนื่องด้วยบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะ “แพทย์รักษาโรค” ยังคงขาดแคลนและไม่เพียงพอต่อประชากรโลกที่ต้องการเข้าถึงการรักษา และทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า แพทย์ เป็นหลักสูตรที่เรียนค่อนข้างยาก และต้องใช้ความสามารถทางวิชาการสูงในการสอบเข้าศึกษา ซึ่งนักเรียนที่จะสามารถเข้าไปเรียนแพทย์ได้ส่วนใหญ่ มักอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเรียนจบในหลักสูตรแกนกลาง หรือหลักสูตร ม.ปลาย ที่มีการรองรับคุณภาพ   แต่ในปัจจุบัน หลักสูตรแพทยศาสตร์ เปิดกว้างให้กับผู้ที่ต้องการเรียนแพทย์หรืออยากเป็นหมอมากขึ้น โดยการขยายโอกาสยื่นเข้าศึกษาผ่านการใช้วุฒิการศึกษาเทียบเท่า GED จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่เริ่มมีการเปิดรับหลักสูตร GED ให้ยื่นเข้าเรียนแพทย์ได้มากขึ้นในหลาย ๆ สถาบัน และในบทความนี้ The Planner จะขอพาน้อง ๆ ไปดูกันว่า วุฒิ GED เรียนแพทย์ในไทยที่ไหนได้บ้าง? อัปเดตล่าสุดปี 2025!  GED เรียนแพทย์ในไทยที่ไหนได้บ้าง? คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  หลักสูตรแพทย์ ภาคอินเตอร์ ลาดกระบัง อีกหนึ่งหลักสูตรแพทย์ที่มีชื่อเสียงยาวนานในเรื่องของคุณภาพการสอนและการวิจัยทางการแพทย์ และเปิดกว้างในการรับน้อง ๆ เข้าศึกษาทั้งระดับ[...]

GED เรียนเภสัชได้! เภสัช อินเตอร์ มข. สานฝันเด็กเทียบวุฒิเป็น “หมอยา”

เภสัชศาสตร์ หลักสูตรยอดนิยมสายวิทย์ติดอันดับต้น ๆ ที่มียอดการแข่งขันเข้าเรียนสูงไม่แพ้สายแพทย์ โดยทั่วไปแล้ว นักเรียนหรือน้อง ๆ ที่จะยื่นคะแนนเข้าในหลักสูตรนี้ จำเป็นที่จะต้องเรียนจบในสายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือสายการเรียนที่มีความเข้มข้นในเรื่องของวิทยาศาสตร์ตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่หลักสูตรเภสัชศาสตร์ ก็มักจะมีความชัดเจนในเรื่องของการ “ไม่รับนักเรียนเทียบวุฒิ” แบบนี้หลายคนคงจะสงสัยกันไม่น้อยว่า แล้วเภสัชรับ GED ไหม ถ้าเป็นหลักสูตรอินเตอร์? คำตอบก็คือ “มีหลักสูตรรับ GED อยู่ 1 ที่” นั่นคือ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ นานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้เปิดโอกาสอย่างเป็นทางการในการ “รับวุฒิ GED หรือนักเรียนสายเทียบวุฒิ” เพื่อพิจารณาเป็นนักศึกษา ที่มาและรายละเอียดของหลักสูตรเภสัช อินเตอร์ ม.ขอนแก่นจะเป็นอย่างไร? ยื่นหลักสูตรนี้ใช้คะแนน GED อย่างเดียวหรือไม่? อ่านข้อมูลด้านล่างได้เลย เภสัช อินเตอร์ ม.ขอนแก่น หลักสูตรแรกในไทยที่สอนเภสัชแบบ “นานาชาติ” เมื่อพูดถึง หลักสูตรเภสัชศาสตร์ ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษล้วน หรือสอนแบบนานาชาติ หลักสูตรเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คงเป็นคำตอบแรก ๆ ที่น้อง ๆ[...]