IELTS vs TOEFL เทียบคะแนนสอบภาษาอังกฤษยอดฮิต พิชิตเรียนต่อ ม.อินเตอร์

เทียบให้ชัด! คะแนนสอบภาษาอังกฤษยอดฮิต IELTS และ TOEFL ต่างกันอย่างไร และมีวิธีนับคะแนนอย่างไรบ้าง? หลายคนอาจจะรู้จักการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษอย่าง IELTS และ TOEFL กันอยู่แล้ว ซึ่งการสอบทั้งสองแบบนั้นต่างก็ได้การรับยอมรับจากสถาบันและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในระดับสากล แต่สิ่งที่ The Planner จะมาไขข้อกระจ่างให้อ่านกันในบล็อกนี้คือความแตกต่างระหว่างการสอบทั้งสองแบบ ที่สำคัญคือ ‘การเปรียบเทียบคะแนน’ เพราะแม้ว่า IELTS และ TOEFL จะเป็นการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษเหมือนกัน แต่จัดสอบโดยคนละองค์กรและมีวิธีการนับคะแนนที่แตกต่างกัน การเทียบคะแนนจึงช่วยให้น้อง ๆ พอจะทราบได้ว่าคะแนนที่สอบได้ของอีกที่จะเทียบได้เท่ากับเลเวลใดของอีกที่  ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงไว้ก่อนว่าบล็อกนี้จะกล่าวถึงการสอบ TOEFL แบบ iBT หรือ Computer-based เป็นหลัก ซึ่งเป็นการสอบที่สามารถใช้ยื่นสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันได้เลย! ข้อแตกต่างระหว่าง IELTS และ TOEFL (iBT) รูปแบบการสอบ IELTS: มีการจัดสอบทั้งแบบ paper-based คือ การเขียนสอบบนกระดาษ กับ computer-based คือ การสอบกับคอมพิวเตอร์ โดยมหาวิทยาลัยไม่ได้จำกัดว่าต้องใช้ผลสอบในรูปแบบใดในการยื่นสมัครเรียน[...]

IELTS One Skill Retake คืออะไร? สรุปรวมทุกเรื่องต้องรู้ อัปเดต 2024!

IELTS สอบบางพาร์ทได้ไหม? ปกติแล้วในการสอบ IELTS หรือ International English Language Testing System น้อง ๆ จะต้อง สอบทั้งหมด 4 พาร์ทให้ผ่านในรอบเดียวตามลำดับ ซึ่งก็เหมือนกับเป็นการ “วัดกึ๋น” กันไปเลย ถ้าสอบแล้วได้คะแนนดี มี Band สูงตามเป้าที่หวังไว้ก็โล่งอกไป แต่ถ้าคะแนนบางพาร์ทของน้อง ๆ น้อยกว่าที่ตั้งใจเตรียมตัวมา จนฉุดคะแนน Overall ให้น้อยลงไปด้วย หรือรู้สึกว่ายังไม่พึงพอใจในบางพาร์ทและต้องการที่จะ สอบ IELTS ใหม่ น้อง ๆ ก็จำเป็นจะต้องกลับไป “สอบใหม่ทั้ง 4 พาร์ท” เพื่อให้ได้คะแนน Band ที่สูงมากขึ้นกว่าเดิม อ่านแล้วแอบเป็นท้อกันอยู่ใช่ไหม? แต่สบายใจได้แล้ว เพราะปัจจุบัน น้อง ๆ ที่ติว IELTS หรือกำลังจะไปสอบ IELTS สามารถ “สอบ IELTS บางพาร์ทได้”[...]

How to สอบ IELTS Speaking แบนด์สูง!

“เตรียมตัวดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” คำพูดนี้ไม่ใช่เรื่องเกินจริงเลย เพราะถ้าน้อง ๆ มีการเตรียมตัวสำหรับ IELTS Speaking มาอย่างเต็ม 100% ย่อมไม่มีอะไรให้ต้องกังวลเลย ดังนั้น เรามาดู How to สอบ IELTS Speaking แบนด์สูง ด้วยคำแนะนำด้านล่างนี้กัน 1. ทำความเข้าใจรูปแบบการสอบ สิ่งสำคัญอันดับ 1 ก่อนที่จะเริ่มฝึกคือ น้อง ๆ ต้องทำความเข้าใจรูปแบบการสอบ IELTS Speaking ว่า มีลักษณะอย่างไร แต่ละพาร์ทมีสัดส่วนคะแนนเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้วางแผนฝึกฝนสำหรับทักษะนี้ต่อไป สัดส่วน IELTS Speaking (3 Parts) Part 1 Questions about the test taker (4 - 5 mins) สำหรับพาร์ทเริ่มต้นนี้ กรรมการจะถามข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเราโดยทั่วไป เช่น ครอบครัว งาน[...]

IELTS VS CEFR ต่างกันอย่างไร?

ในหัวข้อนี้ The Planner จะพาไปทำความรู้จัก CEFR และ IELTS แบบละเอียดยิบกันก่อนเปรียบความต่างระหว่างทั้งสองข้อสอบ CEFR คืออะไร? Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) เป็นมาตรฐานสากลในการวัดระดับความเชี่ยวชาญภาษาที่ไม่ได้มีเพียงแค่ภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่ง CEFR เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทางยุโรป สำหรับภาษาอังกฤษจะแบ่งระดับความเชี่ยวชาญภาษาเป็น 6 ระดับ ใน 3 กลุ่มผู้ใช้ภาษา ดังตารางด้านล่าง (จากมากไปน้อย) ระดับเชี่ยวชาญ C2 C1 ระดับกลาง B2 B1 ระดับเริ่มต้น A2 A1 CEFR เหมาะกับใคร? สำหรับน้อง ๆ ที่อยากทดลองวัดระดับความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษสามารถเริ่มต้นจากการสอบ CEFR ผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแหล่งอาจมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป เช่น บางเว็บไซต์ให้บริการฟรี บางที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย รวมไปถึงใบรับรองระดับภาษา (Certificate) ที่อาจจะมีให้หรือไม่มี ขึ้นอยู่กับแต่ละแหล่ง[...]

ทำความรู้จักเภสัช อินเตอร์ ม.มหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในมหาวิทยาลัยผู้นำด้านวิทย์สายสุขภาพของประเทศ โดยคณะแพทยศาสตร์จาก 2 โรงพยาบาลชื่อดังอย่างโรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลศิริราช ต่างก็อยู่ในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล การเรียนจบในสายวิทย์สุขภาพของที่นี่จึงถือเป็นการการันตีอนาคตการทำงานอันสดใส ในปีการศึกษา 2567 ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้เปิดเรียน หลักสูตรเภสัชศาสตร์ นานาชาติ หลักสูตรอินเตอร์สายวิทย์สุขภาพใหม่แกะกล่องเป็นปีแรก และในบทความนี้ The Planner จะขอพาไปรู้จักหลักสูตรนี้ให้มากขึ้น เภสัชศาสตร์ อินเตอร์ ม.มหิดล คืออะไร?  หลักสูตรเภสัชศาสตร์ นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักสูตรเภสัชศาสตร์ แห่งที่ 2 ต่อจากหลักสูตรเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เปิดการเรียนการสอนในรูปแบบนานาชาติ โดยเภสัชศาสตร์ อินเตอร์ ม.มหิดล ได้มีการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีและเปิดรับนักศึกษาจำนวน 30 คน ในปีการศึกษา 2567 เข้าศึกษาเป็นรุ่นแรก เรียนทั้งหมด 6 ปี หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 223 หน่วยกิต จุดเด่นของหลักสูตร หลักสูตรเภสัชศาสตร์ นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักสูตรที่เรียนเภสัชศาสตร์พร้อมกับองค์ความรู้ด้านการบริหาร เน้นการเรียนในรูปแบบการปฏิบัติทางเภสัชกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม เรียนเกี่ยวกับความรู้ด้านการแพทย์และการดูแลผู้ป่วยแบบจำเพาะแต่ละบุคคล และมีการเรียนรู้ที่จะตอบแทนสังคม อีกทั้งน้อง ๆ[...]

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลักสูตรนานาชาติ มีคณะอะไรบ้าง? บทความนี้รวมให้ครบ!

เมื่อพูดถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือของประเทศไทย หลายคนคงจะนึกถึง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าถิ่นดินแดนล้านนา ที่มีบรรยากาศแวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ ใกล้ภูเขาและร้านคาเฟ่มากมาย  นอกจากจะมีความหลากหลายในสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแล้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังมีหลักสูตรหลากหลายให้น้อง ๆ ได้เลือกสมัครเรียน ทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ ซึ่งเกณฑ์รับเข้าในแต่ละปีก็ถือว่าไม่ธรรมดาและคัดคุณภาพกันสุด ๆ ถ้าหากใครกำลังอยากรู้ว่า มช. หรือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีคณะอินเตอร์อะไรบ้าง? คะแนนสอบแต่ละตัวควรได้เท่าไหร่? บทความนี้มาสรุปให้น้อง ๆ แล้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีคณะอินเตอร์กี่คณะ? มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลักสูตรนานาชาติ (International Programs) มีทั้งหมด 11 คณะ 15 หลักสูตร ดังนี้ 1. Chiang Mai University Business School      1) Bachelor of Accountancy (ACC) | หลักสูตรบัญชีบัณฑิต เกณฑ์คะแนนขั้นต่ำในการสมัคร จบ ม.6 หรือเทียบเท่า (รับวุฒิ AS/A-LEVEL และ GED)[...]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ “ตรีควบโท”

น้อง ๆ วัยมัธยมคนไหนไฟแรงมากด้านการเรียน หลังเรียนจบปริญญาตรีแล้ว มีแพลนที่จะเรียนต่อปริญญาโทเลยไหมคะ ถ้าหากน้อง ๆ เป็นคนนั้น บทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักอีกหลักสูตรทางเลือกที่กำลังมาแรงไม่แพ้กันในยุคนี้คือ “หลักสูตรตรีควบโท” หลักสูตรนี้จะทำให้น้อง ๆ เรียนจบเร็วกว่าการเรียนปริญญาตรี 4 ปี และเรียนต่อปริญญาโทอีก 2 ปี หลักสูตรตรีควบโทน้อง ๆ จะใช้เวลาเรียนประมาณ 4 – 5.5 ปี (ยกเว้นหลักสูตรตรีควบโทของหลักสูตรสายการแพทย์)  ข้อดีของหลักสูตรตรีควบโท คือ เป็นหลักสูตรที่ย่นระยะเวลาการเรียนปริญญาตรีและปริญญาโทลง เมื่อน้อง ๆ เรียนจบจะไม่ใช่แค่เด็กจบใหม่วุฒิปริญญาตรีเท่านั้น แต่น้อง ๆ จะเป็นเด็กจบใหม่ที่พกวุฒิมหาบัณฑิตติดตัว ด้วยอายุประมาณเด็กจบปริญญาตรีและมีวุฒิปริญญาโทติดตัว นี่คือจุดแข็งที่น้อง ๆ จะได้จากการเรียนจบหลักสูตรตรีควบโทเลยค่ะ เพราะเป็นการเปิดโอกาสในการหางานที่มากขึ้นและมั่นคงให้กับตัวน้อง ๆ นั่นเองค่ะ  ตัวอย่างหลักสูตรอินเตอร์ “ตรีควบโท” รัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (BMIR), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ อินเตอร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น้อง ๆ[...]

INDA DBTM CommDe ออกแบบอินเตอร์ เรียนอะไรดี

หากน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่อยากเรียนด้านการออกแบบ โดยเฉพาะการออกแบบของหลักสูตรอินเตอร์ ซึ่งขอบอกเลยว่าหลักสูตรอินเตอร์มีหลักสูตรสายออกแบบเยอะมากให้น้อง ๆ เลือกเรียน บทความนี้เลยขอเอาใจน้อง ๆ ที่รักการออกแบบ ด้วยการรวบรวมคณะอินเตอร์สายออกแบบมาไว้ในบทความนี้เรียบร้อย ไม่ว่าน้อง ๆ จะชื่นชอบการออกแบบสายสถาปัตยกรรม หรือสาย Graphic Design การเลือกเรียนในระดับมหาวิทยาลัยค่อนข้างสำคัญเลย เพราะทั้งสองสายเรียนไม่เหมือนกัน อีกทั้งจบมาบางสายงานยังไม่สามารถทำข้ามสายได้อีก ขึ้นชื่อว่าออกแบบเหมือนกัน แต่จริง ๆ แล้วแตกต่างกันมาก การจัดหลักสูตรสายออกแบบของ Graphic Design หลายมหาวิทยาลัยต่างก็จัดไว้ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เลยอาจทำให้น้อง ๆ สับสนได้ เพื่อกันความสับสนของน้อง ๆ The Planner จึงรวบรวมแต่ละหลักสูตรด้านการออกแบบให้ไว้ในบทความนี้ โดยจะขอเจาะทั้งหมด 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร INDA DBTM และ CommDe  INDA: หลักสูตรด้านสถาปัตยกรรม International Program in Design and Architecture (INDA) หลักสูตรการออกแบบสถาปัตยกรรม หลักสูตรนานาชาติ[...]

เรียน BBA อินเตอร์ที่ไหนดี? รวมข้อมูลบริหารอินเตอร์ 7 มหาวิทยาลัย

BBA หลักสูตรยอดฮิตขวัญใจน้อง ๆ หลายคนที่มีเป้าหมายว่า “จะเข้าเรียนหลักสูตรอินเตอร์” ซึ่ง BBA ย่อมาจากคำว่า Bachelor of Business Administration หรือก็คือหลักสูตรบริหารธุรกิจ เรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจในเชิงลึก และ BBA ยังมีอีกหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น Accounting (บัญชี), Management (การบริหารจัดการ), Finance (การเงิน), Marketing (การตลาด) ฯลฯ  แล้วถ้าน้อง ๆ อยากเรียน BBA มีมหาวิทยาลัยไหนเปิดสอนในหลักสูตรนี้บ้าง The Planner ได้รวบรวมมาให้แล้ว ครบ จบ ในบทความความเดียวกับ “BBA เรียนที่ไหนดีนะ”  BBA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับได้ว่า BBA เป็นอินเตอร์หลักสูตรแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2539 สังกัดอยู่ในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (Faculty of Commerce and Accountancy) อีกทั้งคะแนน[...]

มัดรวมหลักสูตรวิทย์อินเตอร์ มีหลักสูตรอะไรบ้าง?

ในปัจจุบันวงการการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ของไทยรุดหน้าไปไกลกว่าเดิมมาก ตามยุคสมัยที่มนุษย์มีการนำศาสตร์แห่งวิทย์มาปรับใช้ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทำให้หลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะในภาคอินเตอร์ มีความหลากหลาย และตอบโจทย์โลกทุนนิยมที่เปลี่ยนไปเร็วขึ้นทุกวัน บางทีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ทำให้หลักสูตรบางหลักสูตรมีการผสมผสานตัวหลักสูตรระหว่างวิทยาศาสตร์กับศาสตร์ด้านอื่น ๆ The Planner จึงมัดรวมหลักสูตรวิทย์อินเตอร์ที่น่าสนใจมาฝากน้อง ๆ ในบทความนี้แล้วค่ะ  นอกจากวิทย์อินเตอร์สายสุขภาพอย่าง แพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ หรือเภสัชศาสตร์ มีวิทย์อินเตอร์หลักสูตรไหนน่าสนใจอีกบ้าง ตามมาดูกันค่ะ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย BBTech ย่อมาจาก Bachelor of Science in Biotechnology (International Program) หรือชื่อภาษาไทยว่า เทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรนี้อยู่ในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ (B.Sc.) การเรียนเป็นแบบสหสาขาวิชา เรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพหลากหลายด้าน หลักสูตรนี้มีทั้งหมด 8 สาขาดังนี้ Animal Biotechnology Bioinformatics Biotechnology Management Environmental Biotechnology Food Biotechnology Plant Biotechnology Marine Biotechnology Microbial[...]

คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ ที่หลักสูตรอินเตอร์กำหนด ยังมีโอกาสยื่นติด!!

ในปัจจุบันหลักสูตรที่เป็นที่นิยมของน้อง ๆ เด็กมัธยมปลาย หรือน้อง ๆ สายสอบเทียบ ไม่ได้มีแค่หลักสูตรภาคปกติเท่านั้นอีกต่อไป เพราะหลักสูตรอินเตอร์หลายหลักสูตรก็เป็นที่นิยมในหมู่เด็กเจนซีไม่แพ้กัน คะแนนยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์บางหลักสูตร สามารถใช้ยื่นติดมหาวิทยาลัยระดับท็อปของโลกได้เลย  คะแนนสอบเข้าหลักสูตรอินเตอร์หลายหลักสูตรค่อนข้างสูง น้อง ๆ อาจจะกังวลใช่ไหมคะ แต่หลักสูตรอินเตอร์ทุกหลักสูตร น้อง ๆ ทุกคนมีโอกาสสอบติดค่ะ เพราะคะแนนที่ใช้ในการยื่นเข้าหลักสูตรอินเตอร์ น้อง ๆ สามารถสอบได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี ยกเว้นการสอบ BMAT หากน้อง ๆ ได้มีการวางแผนการติวและการเตรียมสอบกับสถาบันที่เชี่ยวชาญด้านนี้อย่าง The Planner Education น้อง ๆ ก็สามารถสอบติดหลักสูตรอินเตอร์ในดวงใจได้แน่นอนค่ะ  แล้วน้อง ๆ รู้กันหรือไม่คะว่า “คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่หลักสูตรอินเตอร์กำหนดไว้ แต่ยังมีโอกาสสอบติด” หลักสูตรอินเตอร์แม้คะแนนจะสูง แต่ก็ไม่ได้ปิดโอกาสน้อง ๆ ไปเลยนะคะ ถึงน้องจะทำคะแนนได้ไม่ถึงสำหรับการยื่นเข้า แต่น้อง ๆ ก็ยังมีโอกาสติดอยู่ แต่โอกาสติดของน้อง ๆ ก็ไม่ได้ความหมายว่าน้อง ๆ จะทำคะแนนได้เท่าไหร่ก็ยื่นติดนะคะ แต่ละหลักสูตรมีเกณฑ์ของมัน ว่าถ้าไม่ถึงเกณฑ์ตั้งต้นที่คณะกำหนด[...]

SOP คืออะไร สำคัญยังไงกับการเข้าอินเตอร์

SOP คืออะไร สำคัญยังไงกับการยื่นเข้าคณะอินเตอร์ บทความนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปไขคำตอบของความลับของ SOP อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้น้อง ๆ ติดคณะอินเตอร์ SOP คืออะไร SOP ย่อมาจาก Statement of Purpose หากถามว่า SOP คืออะไร SOP ก็คือบทความแนะนำตัวที่บอกเล่าประวัติของน้อง ๆ ทั้งประสบการณ์การเรียน ความสำเร็จในอดีต เหตุผลที่อยากเรียนต่อในหลักสูตรนี้ รวมถึงเป้าหมายของน้อง ๆ โดยสำหรับระดับการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอีกส่วนที่สำคัญมาก ๆ ในการเขียน SOP คือการเขียนอธิบายว่าการเรียนในหลักสูตรที่น้อง ๆ สมัครเข้าไปจะช่วยให้น้อง ๆ บรรลุเป้าหมายของตัวเองได้ยังไง  เกร็ดควรรู้: บางหลักสูตรอินเตอร์นอกจากคะแนนที่ต้องทำให้ถึงเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดไว้แล้ว SOP นี่แหละตัวชี้วัดว่าจะทำให้น้อง ๆ สอบติดหรือไม่ การเขียน SOP จึงควรเขียนยังไงให้มีความน่าสนใจและต้องโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่น เพราะอาจารย์ที่ทำการคัดเลือกน้อง ๆ เคยอ่าน SOP ของผู้สมัครมาแล้วมากมายหลายฉบับ  [...]

สูตรลัด! ติดมหา’ลัยเร็ว ตั้งแต่อายุแค่ 16-17 ปี!!

เมื่อพูดถึง “มหาวิทยาลัย” ชื่อนี้ทุกคนคงทราบดีว่าเป็นแหล่งที่รวบรวมองค์ความรู้ทุกแขนง รวบรวมทุกโอกาส และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงานทั่วโลก น้อง ๆ ที่เพิ่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีอายุได้ 17 ย่าง 18 ปี จึงมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการเลือกสาขาที่ชอบ และยื่นคะแนนให้ติดมหาวิทยาลัยดี ๆ สักที่ แต่จะดีกว่านั้นไหม หากน้อง ๆ มีอายุแค่เพียง 16-17 ปี แต่สามารถเรียนจบ ม.6 และมีคะแนนพร้อมยื่นเข้ามหาวิทยาลัยที่ชอบได้แล้ว? บทความนี้จะขอพาน้อง ๆ ไปรู้จัก สูตรลัด! ที่พาน้อง ๆ ลูกศิษย์ The Planner ติดมหาวิทยาลัยเร็วมาแล้ว ด้วยอายุแค่ 16-17 ปี จะมีขั้นตอนน่าสนใจอย่างไรบ้าง เราไปอ่านพร้อม ๆ กันได้เลย ก่อนอายุ 16 ปี โอกาสนี้ต้องรีบคว้า! สำหรับน้อง ๆ ที่อยากติดมหาวิทยาลัยเร็ว โดยเฉพาะในหลักสูตรอินเตอร์ หรือ นานาชาติ การเตรียมคะแนนสอบไว้ก่อนตั้งแต่เนิ่น[...]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ สาย Medical และ Healthcare 9 มหา’ลัยดังไทย

หากน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่มีความฝันว่าอยากทำงานในสายแพทย์ หรือสายดูแลสุขภาพของประชาชน ไม่ว่าจะ แพทย์, ทันตแพทย์, สัตวแพทย์, เภสัช, หรือพยาบาล หลักสูตรการเรียนที่ตอบโจทย์และมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับ ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่น้อง ๆ ต้องให้ความสำคัญมากเป็นลำดับต้น ๆ   โดยเฉพาะหลักสูตรสาย Medical และ Heathcare ภาคอินเตอร์ในประเทศไทย ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับน้อง ๆ ที่สนใจเข้าศึกษา ได้มาค้นคว้าหาความรู้จากรูปแบบการสอนที่เป็นระบบนานาชาติ รวมไปถึงการได้ฝึกประสบการณ์จริงที่ต่างประเทศในบางหลักสูตรอีกด้วย บทความนี้ The Planner จึงได้รวบรวมหลักสูตรอินเตอร์ สาย Medical และ Heathcare 9 มหา’ลัยดังในไทย มาให้น้อง ๆ ได้รู้จักเพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจเรียนต่อในอนาคตกัน หลักสูตรแพทยศาสตร์ นานาชาติ 1.) CU-MEDi: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ CU-MEDi จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหลักสูตรที่รับเฉพาะผู้ที่จบปริญญาตรีแล้ว สาขาใดก็ได้ โดยนิสิตหลักสูตรนี้สามารถเรียนจบแพทย์ได้ใน 4 ปี[...]

เปิดเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ ยื่น TCAS รอบ 1 (Portfolio) ยื่นจุฬาฯ

ฤดูกาลแห่งการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของเด็กมัธยมเวียนมาถึงอีกหนึ่งปี ซึ่งฤดูกาลนี้ในเกาหลีเรียกว่า “ซูนึง” ในสหราชอาณาจักรเรียกว่า “UCAS” ส่วนในไทยเองเรียกฤดูการนี้ว่า “TCAS” หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า Thai University Center Admission System นั่นเองค่ะ และมหาวิทยาลัยที่นักเรียนไทยอยากเข้ามากที่สุด คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของไทย แล้วน้อง ๆ ล่ะ ถ้าเพิ่มโอกาสติดจุฬาฯของตัวเองให้มากขึ้นและเร็วกว่าเดิมจะดีไหมคะ ในบทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวิธีนั้นกันค่ะ  อยากรู้จัก TCAS ให้มากขึ้น ตามไปอ่านได้ที่ TCAS คืออะไร  TCAS รอบ 1 คืออะไร? TCAS รอบ 1 คือรอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดย TCAS รอบนี้เป็นรอบแรกของการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย หากน้อง ๆ ติดมหาวิทยาลัยในรอบนี้ น้อง ๆ ก็จะสบายใจ สบายสมอง เพราะเรา “มีที่เรียนแล้วจ้า” โดยรอบ[...]

ทำความรู้จัก ทันตแพทย์อินเตอร์ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง KMITL

ยังคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสายการเรียนที่จบไปแล้วมีงานที่มั่นคงและรายได้ที่ค่อนข้างสูงในประเทศไทย ยังคงเป็นการเรียนวิทยาศาสตร์สายสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ หรือเภสัชกร 4 อาชีพลำดับต้น ๆ ในใจของเด็กสายวิทย์และผู้ปกครอง โดยเฉพาะทันตแพทย์ การเป็นคุณหมอฟันนับว่าอีกหนึ่งอาชีพที่ทั้งมั่นคงและเงินเดือนสูงมากเลยทีเดียว คะแนนในการสอบเข้าเรียนต่อและอัตราการแข่งขันของคณะทันตแพทย์จึงสูงไม่ต่างจากคณะแพทยศาสตร์เลย แล้วน้อง ๆ รู้กันไหมคะว่าถ้าไม่ใช่การสอบกสพท.แล้ว ก็มีอีกเส้นทางที่ทำให้น้อง ๆ ติดคณะทันตแพทย์ได้เหมือนกัน บทความนี้เลยจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักอีกเส้นทางหนึ่งอย่างคณะทันตแพทย์ หลักสูตรนานาชาติ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะทันตแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ  ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรียกได้ว่าเป็นน้องใหม่แห่งวงการวิทย์สุขภาพ หลักสูตรนานาชาติเลยก็ว่าได้ ซึ่งตอนนี้ตัวหลักสูตรก็ได้รับรองสถาบันการศึกษาจากทันตแพทยสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลักสูตรนี้ต้องการสร้างทันตแพทย์ยุคใหม่ที่มีความสามารถและทักษะที่หลากหลาย มีทั้งทักษะด้านทันตกรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เพื่อให้นักศึกษาที่จบไปมีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่ยุค Digital Dentistry นั่นก็คือยุคที่นำเทคโนโลยีด้านทันตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้งานจริงนั่นเองค่ะ  ความพิเศษของตัวหลักสูตร จะได้เรียนกับอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ มีโอกาสได้ไปดูงานในต่างประเทศ ได้เรียนทันตกรรมที่มีเรื่องเทคโนโลยีมาเกี่ยวร่วมด้วย มีประสบการณ์การสร้าง Multi-disciplinary Innovation จะได้รับทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ เกณฑ์การรับสมัคร วุฒิการศึกษา: มัธยมศึกษาปีที่ 6, Grade 12,[...]

การทดสอบภาษาอังกฤษแต่ละตัว สอบกี่ครั้งต่อปี

น้อง ๆ ที่อยากเรียนต่อในคณะหลักสูตรนานาชาติ การเตรียมตัว เตรียมติวของน้อง ๆ อาจจะแตกต่างไปจากเพื่อนคนอื่นที่จะเข้าคณะในหลักสูตรไทย แต่อย่าเพิ่งกังวลว่าหากไม่มีเพื่อนรอบข้างอยากเข้าหลักสูตรนานาชาติเหมือนกัน น้องอาจจะกังวลว่าจะสับสนกับการเตรียมตัว เพราะไม่มีเพื่อนคอยให้คำปรึกษา เรื่องนี้น้อง ๆ ไม่ต้องกังวลกันไปก่อนเลยค่ะ เพราะว่าหลักสูตรนานาชาติในไทย การเตรียมตัวในการยื่นเข้าไม่ได้ยุ่งยากขนาดนั้น น้อง ๆ เตรียมตัวทำคะแนนสอบเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น และหลายตัวก็เปิดโอกาสในการสอบหลายครั้งต่อปี อีกทั้งน้อง ๆ ยังเตรียมตัวสอบเก็บคะแนนไว้ได้เลยตั้งแต่ตอนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือเตรียมตัวล่วงหน้าให้ได้เข้ามหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุ 17 ปี ผ่านวุฒิ GED ก็ได้นะคะ เพราะว่าวุฒิ GED สามารถยื่นเข้าได้แทบทุกหลักสูตรนานาชาติในไทยเลยก็ว่าได้ค่ะ  ในบทความนี้จะพาน้อง ๆ หลายคนไปคลายกังวลกับการเตรียมตัวสอบเข้าหลักสูตรนานาชาติ ว่าโอกาสของน้องมีไม่น้อยเลยทีเดียว น้องทุกคนสามารถสอบติดหลักสูตรนานาชาติที่น้องตั้งเป้าไว้ได้ ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษแต่ละตัวที่น้องมีโอกาสสอบได้มากกว่า 1 หนต่อปี  IELTS: ย่อมาจาก International English Language Testing System เป็นการทดสอบภาษาอังกฤษที่ได้รับการแพร่หลายไปทั่วโลก ใช้วัดทักษะภาษาอังกฤษทั้งหมด 4 ทักษะคือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน[...]

บริหารอินเตอร์ ม.เกษตรศาสตร์

หากนึกถึงมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในคณะด้านสายการเงินและธุรกิจ คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต้องเป็นอันดับต้น ๆ ในหัวของใครหลาย ๆ คน ทั้งอัตราการแข่งขัน คะแนนการสอบเข้า และคนมีชื่อเสียงที่เรียนจบจากที่นี่ ก็สามารถการันตีความเป็นผู้นำในไทยด้านคณะสายการเงินและธุรกิจอย่างคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ และหลักสูตรอินเตอร์ยอดฮิตอย่างบริหารอินเตอร์ หรือที่เราเรียกกันว่า BBA ในมหาวิทยาศาสตร์เกษตรศาสตร์ก็ไม่พลาดที่จะมีหลักสูตรนี้ แถมมีให้เลือกเรียนถึง 2 หลักสูตรบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ อย่างหลักสูตร BBA กับ KUBIM 2 หลักสูตรนี้แตกต่างกันยังไง ในบทความนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบของคำถามนั้นกันค่ะ BBA BBA ย่อมาจาก Bachelor of Business Administration หรือก็คือบริหารธุรกิจ โดยบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ ของเกษตรศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่ผลิตนิสิตที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของภาคธุรกิจ โดยจะเรียนการบริหารธุรกิจในเชิงมหภาค แบบกว้าง ๆ ก่อนที่ปี 3 จะมี Major ให้เลือก 2 Major คือ[...]

Timeline เตรียมรับมือ TCAS ฉบับ #DEK67 อินเตอร์

เริ่มปีการศึกษาใหม่ น้อง ๆ มัธยมปลายหลายคนก็ต้องปรับตัวและเตรียมพร้อม โดยเฉพาะน้อง ๆ สายการเรียนอินเตอร์ ที่กำลังเตรียมยื่นเข้าในระดับมหาวิทยาลัยในปี 2567 ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอบและการรับเข้าในหลาย ๆ อย่าง บทความนี้ The Planner จะขอมาสรุปไทม์ไลน์การเตรียมรับมือและยื่นเข้าศึกษาในระบบ TCAS67 สำหรับน้อง ๆ Dek67 อินเตอร์ ให้ได้รู้กัน จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? และมีกี่เส้นทางที่จะทำให้น้อง ๆ ไปถึงคณะในฝัน? ตามมาดูกันได้เลย FIRST STEP: ก่อน ส.ค. 2566 คะแนนสอบ “ควรพร้อม” ตั้งแต่ช่วงต้นปี น้อง ๆ Dek67 ควรเตรียมทั้งวุฒิการศึกษา ม.6 หรือเทียบเท่า และคะแนนสอบที่ต้องใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อให้พร้อม โดยคะแนนพื้นฐานที่หลักสูตรอินเตอร์ใช้ เช่น วุฒิ ม.6, วุฒิ GED, IGCSE, AS/A-LEVEL, SAT, IELTS, TOEFL, ACT, BMAT[...]

รวมหลักสูตรอินเตอร์จาก 10 มหาวิทยาลัย

การเรียนการสอนหลักสูตรอินเตอร์ในระดับอุดมศึกษา กำลังเป็นทางเลือกยอดนิยมของน้อง ๆ เจนใหม่อยู่ในขณะนี้ มหาวิทยาลัยของภาครัฐหลายแห่งจึงได้เปิดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรอินเตอร์อย่างหลากหลายหลักสูตร ในบทความนี้ The Planner จึงรวบรวมมาให้แล้วกับ 10 มหาวิทยาลัยภาครัฐยอดนิยมของไทย ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยเปิดสอนในหลักสูตรอินเตอร์หลักสูตรอะไรบ้าง เพื่อเป็นทางเลือกของน้อง ๆ ที่กำลังลังเลอยู่ว่าจะเข้าหลักสูตรอินเตอร์หลักสูตรอะไรดี แล้วมหาวิทยาลัยไหนบ้างที่เปิดสอนในหลักสูตรอินเตอร์ที่น้อง ๆ อยากเข้ากัน  หลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์ ปัจจุบันเปิดสอนทั้งหมด 14 หลักสูตร 1. EBA เศรษฐศาสตร์ 2. BSAC เคมีประยุกต์ 3. BBTech Biotechnology 4. INDA การออกแบบสถาปัตยกรรม 5. CommDe การออกแบบนิเทศศิลป์ 6. CommArts การจัดการการสื่อสาร 7. BAScii นวัตกรรมบูรณาการ 8. BALAC ภาษาและวัฒนธรรม 9. PGS การเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา 10. JIPP จิตวิทยา 11. BBA พาณิชยศาสตร์และการบัญชี[...]