SOP คืออะไร สำคัญยังไงกับการเข้าอินเตอร์

SOP คืออะไร สำคัญยังไงกับการยื่นเข้าคณะอินเตอร์ บทความนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปไขคำตอบของความลับของ SOP อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้น้อง ๆ ติดคณะอินเตอร์ SOP คืออะไร SOP ย่อมาจาก Statement of Purpose หากถามว่า SOP คืออะไร SOP ก็คือบทความแนะนำตัวที่บอกเล่าประวัติของน้อง ๆ ทั้งประสบการณ์การเรียน ความสำเร็จในอดีต เหตุผลที่อยากเรียนต่อในหลักสูตรนี้ รวมถึงเป้าหมายของน้อง ๆ โดยสำหรับระดับการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอีกส่วนที่สำคัญมาก ๆ ในการเขียน SOP คือการเขียนอธิบายว่าการเรียนในหลักสูตรที่น้อง ๆ สมัครเข้าไปจะช่วยให้น้อง ๆ บรรลุเป้าหมายของตัวเองได้ยังไง  เกร็ดควรรู้: บางหลักสูตรอินเตอร์นอกจากคะแนนที่ต้องทำให้ถึงเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดไว้แล้ว SOP นี่แหละตัวชี้วัดว่าจะทำให้น้อง ๆ สอบติดหรือไม่ การเขียน SOP จึงควรเขียนยังไงให้มีความน่าสนใจและต้องโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่น เพราะอาจารย์ที่ทำการคัดเลือกน้อง ๆ เคยอ่าน SOP ของผู้สมัครมาแล้วมากมายหลายฉบับ  [...]

สูตรลัด! ติดมหา’ลัยเร็ว ตั้งแต่อายุแค่ 16-17 ปี!!

เมื่อพูดถึง “มหาวิทยาลัย” ชื่อนี้ทุกคนคงทราบดีว่าเป็นแหล่งที่รวบรวมองค์ความรู้ทุกแขนง รวบรวมทุกโอกาส และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงานทั่วโลก น้อง ๆ ที่เพิ่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีอายุได้ 17 ย่าง 18 ปี จึงมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการเลือกสาขาที่ชอบ และยื่นคะแนนให้ติดมหาวิทยาลัยดี ๆ สักที่ แต่จะดีกว่านั้นไหม หากน้อง ๆ มีอายุแค่เพียง 16-17 ปี แต่สามารถเรียนจบ ม.6 และมีคะแนนพร้อมยื่นเข้ามหาวิทยาลัยที่ชอบได้แล้ว? บทความนี้จะขอพาน้อง ๆ ไปรู้จัก สูตรลัด! ที่พาน้อง ๆ ลูกศิษย์ The Planner ติดมหาวิทยาลัยเร็วมาแล้ว ด้วยอายุแค่ 16-17 ปี จะมีขั้นตอนน่าสนใจอย่างไรบ้าง เราไปอ่านพร้อม ๆ กันได้เลย ก่อนอายุ 16 ปี โอกาสนี้ต้องรีบคว้า! สำหรับน้อง ๆ ที่อยากติดมหาวิทยาลัยเร็ว โดยเฉพาะในหลักสูตรอินเตอร์ หรือ นานาชาติ การเตรียมคะแนนสอบไว้ก่อนตั้งแต่เนิ่น[...]

วิศวกรรมชีวการแพทย์ อินเตอร์ ม.มหิดล VS ม.ลาดกระบัง ต่างกันยังไง? มาเทียบให้ดู

“วิศวะ ชีววิทยา และการแพทย์” สามหลักสูตรที่ใครก็คงพอทราบว่ามีเป้าหมายทางการศึกษาที่ค่อนข้างแตกต่างกัน แต่รู้หรือไม่? ปัจจุบัน 3 หลักสูตรนี้ เราสามารถเรียนไปพร้อมกันได้แล้วนะ แถมความต้องการในตลาดแรงงานยังมีมากด้วย หลักสูตรนั้นมีชื่อว่า วิศวกรรมชีวการแพทย์ และสำหรับภาคอินเตอร์ ในประเทศไทยเราเปิดสอนเพียงแค่ 2 สถาบันเท่านั้น คือที่มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ คืออะไร? จบไปทำอะไรได้บ้าง? และหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ นานาชาติ ระหว่าง ม.มหิดล และ ม.ลาดกระบัง จะมีความแตกต่างกันอย่างไร? ใครกำลังหาข้อมูลหลักสูตรนี้อยู่ The Planner สรุปข้อมูลมาให้ได้อ่านกันแล้ว หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ คืออะไร?  วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering) คือ คือหลักสูตรที่รวบรวมศาสตร์ของ “วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) และแพทยศาสตร์” เข้าไว้ด้วยกัน จุดประสงค์เพื่อพัฒนา “นวัตกรรม-เทคโนโลยีทางการแพทย์” อย่างที่ทราบกันดีว่าเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน และเทคโนโลยีทันสมัยที่ตอบโจทย์กับการรักษาโรคในปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อวงการการแพทย์และการบำบัดรักษาทั่วโลก เพราะจะช่วยให้การรักษาเป็นไปด้วยความราบรื่น แม่นยำ ทุ่นแรงบุคลากรทางการแพทย์ และยังสร้างความหวังใหม่ให้กับผู้ป่วยที่มีกระบวนการรักษาพิเศษกว่าปกติด้วย[...]

เปิดเกณฑ์คะแนนยื่นอินเตอร์จุฬาฯ Inter CU ปี 2024

มหาวิทยาลัยรั้วจามจุรีอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่จุฬาฯกลับขึ้นชื่อเรื่องหลักสูตรอินเตอร์เป็นอย่างมาก ทั้งนักเรียนไทยและนักเรียนต่างชาติ ต่างก็มีอินเตอร์ จุฬาฯ เป็นเป้าหมายอันดับต้น ๆ ในการเลือกเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกณฑ์คะแนนที่ใช้ยื่นเข้าอินเตอร์จุฬาฯ ค่อนข้างที่จะสูง The Planner ที่เป็นสถาบันเฉพาะทางด้านการติวเข้าคณะอินเตอร์ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะส่งน้อง ๆ ไปถึงเป้าหมาย “นิสิตหลักสูตรอินเตอร์ของจุฬาฯ” นั่นเองค่ะ  หลักสูตรนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกหลักสูตร ยกเว้นหลักสูตร CU-MEDI หรือหลักสูตรแพทย์อินเตอร์ เปิดรับทั้งหมด 2 รอบ คือ รอบแรก Early Admission: เปิดรับสมัคร 27 พฤศจิกายน ถึง 21 ธันวาคม 2023 รอบสอง Admission: เปิดรับสมัคร 21 กุมภาพันธ์ ถึง 27 มีนาคม 2024 หมายเหตุ: อาจมีรอบรับเพิ่มเติมหากจำนวนนิสิตยังไม่ครบตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ วันนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปดู Requirement[...]

ส่งคะแนน SAT ไปยื่นมหาวิทยาลัยยังไง?

“ส่งคะแนน SAT ไปที่มหาวิทยาลัยต้องทำยังไงบ้าง?” คำถามนี้คงเป็นข้อสงสัยที่อยู่ในหัวของน้อง ๆ หลังจากสอบ SAT จบ จนได้คะแนนที่ตัวเองเพิ่งพอใจแล้ว เรื่องต่อมาที่น้อง ๆ ต้องศึกษากันคือเรื่องการส่งคะแนน SAT ไปที่คณะหรือหลักสูตรที่น้อง ๆ ต้องการยื่น ซึ่งขั้นตอนไม่ได้ยุ่งยากอะไรมากเลยค่ะ ตามมาอ่านวิธีการส่งคะแนน SAT ได้ในบทความนี้เลยค่ะ ก่อนอื่นน้อง ๆ ต้องรู้ก่อนว่าหลักสูตรที่น้อง ๆ ต้องการยื่นต้องส่งคะแนน SAT แบบส่งจาก College Board หรือ สามารถปริ้นคะแนน SAT ออกมาและไปยื่นกับตัวคณะได้เลย หากคณะที่น้อง ๆ ต้องการยื่น สามารถส่งคะแนนแบบปริ้นคะแนนออกมายื่นได้ แบบนี้จะไม่ยุ่งยากหรือต้องทำอะไรมากเลยค่ะ แต่หากทางคณะต้องการให้ส่งผ่าน College Board จะมีขั้นตอนที่น้อง ๆ ต้องรู้เข้ามาเพิ่มเล็กน้อย ในบทความนี้จะอธิบายขั้นตอนการยื่นคะแนนผ่าน College Board วิธีการยื่นคะแนน SAT เข้าไปที่เว็บ www.Collegeboard.org จากนั้นล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบ จากนั้นก็กดเข้าไปที่ My SAT[...]

ELECTORAL COLLEGE คืออะไร? เรียน GED SOCIAL STUDIES ควรรู้!

ตามสถิติถามเด็กไทยกี่คนกี่คนต่างก็ไม่ค่อยมีคนถูกใจในวิชาสังคมศึกษานัก ทำให้อนุมานกันได้ว่าน้อง ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจติว GED หรือกำลังเตรียมตัวสอบ GED อยู่วิชาที่น้อง ๆ ต่างกลัวและไม่ค่อยถูกใจในความยากของมันก็คงหนีไม่พ้น Social Studies หรือก็วิชาสังคมศึกษาของอเมริกานั่นเองค่ะ ในบทความนี้ The Planner เลยจะพาน้อง ๆ ไปเอาตัวรอดกับ GED Social Studies ผ่านความรู้เรื่อง “Electoral College”  ในข้อสอบ GED Social Studies เรื่องที่ออกข้อสอบในหมวดนี้มากที่สุดคือ Civil and government ซึ่งออกในข้อสอบมากถึง 50% การจะเอาตัวรอดในวิชานี้ให้ได้ การติวและหมั่นฝึกทำข้อสอบในหมวดนี้ให้คล่อง ก็การันตีในการก้าวขาหนึ่งข้างผ่านเส้นยาแดง เข้าใกล้การสอบผ่าน GED Social Studies แล้วค่ะ  Electoral College อีกหนึ่งเรื่องที่ออกในข้อสอบ GED Social Studies ในพาร์ทของ Civil and government ซึ่งถ้าน้อง ๆ[...]

เคล็ดลับทำยังไงให้สอบ GED Social Studies ผ่าน!

ถ้าพูดถึงข้อสอบ GED วิชาที่น้อง ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจสอบ GED หรือกำลังติว GED อยู่ เป็นกังวลมากที่สุดคงหนีไม่พ้นข้อสอบ GED RLA หรือไม่ก็ข้อสอบ GED Social Studies ใช่ไหมคะ ถ้าน้อง ๆ กำลังเป็นกังวลกับข้อสอบของ GED Social Studies อยู่ล่ะก็ บทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปคลายกังวลกับวิธีเอาตัวรอดในการสอบ GED Social Studies  ทำไมนักเรียนไทยถึงเป็นกังวลกับ GED Social Studies GED Social Studies คือวิชาสังคมศึกษาของสหรัฐอเมริกาจึงเป็นความรู้ใหม่ที่เด็กไทยหลายคนไม่เคยเรียนมาก่อน วิชานี้สำหรับหลายคนจึงเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์ เนื้อหาของตัวข้อสอบที่ค่อนข้างเยอะและกว้างมาก ๆ จึงทำให้อาจอ่านไม่ตรงกับจุดที่ออกข้อสอบ เด็กหลายคนไม่ถนัดวิชาที่ต้องอาศัยการท่องจำ คำศัพท์ภาษาอังกฤษในหมวดนี้ค่อนข้างเป็นคำศัพท์เฉพาะ ทำให้ยากพอสมควร เคล็ดลับการเอาตัวรอดในการสอบ GED Social Studies รู้ภาพรวมและสัดส่วน Topic ที่ออกสอบ ข้อสอบ Social Studies[...]

SAT กับ AP ต่างกันยังไง? เข้าคณะอินเตอร์สอบตัวไหนดี?

สำหรับการยื่นคะแนนเข้าหลักสูตรนานาชาติ คะแนนสอบ SAT หรือ Digital SAT จาก College Board คงเป็นคะแนนแรก ๆ ที่น้อง ๆ จะนึกถึง แต่น้อง ๆ รู้กันไหมว่า ยังมีอีกหนึ่งคะแนนสอบ ที่หลาย ๆ หลักสูตรอินเตอร์ในมหาวิทยาลัยใช้รับพิจารณาเข้าศึกษาด้วยนั่นคือ คะแนนสอบ AP ซึ่งก็อยู่ในการดูแลของ College Board เช่นกัน แล้วข้อสอบ SAT กับ AP แตกต่างกันอย่างไร? ยื่นคะแนนเข้าคณะอินเตอร์ต้องเลือกสอบตัวไหนดี? บทความนี้ The Planner มาอธิบายและเปรียบเทียบให้ได้รู้กันแล้ว SAT คืออะไร?  SAT (Scholastic Aptitude Test หรือ Scholastic Assessment Test) คือ การสอบวัดความถนัดในวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics) และภาษาอังกฤษ (Reading & Writing) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[...]

GED Social Studies: Liberty Bonds คืออะไร

“Shall we be more tender with our dollars than with the lives of our sons” น้อง ๆ ที่กำลังติว GED หรือเรียน GED อาจจะคุ้น ๆ กับประโยคข้างต้นกันมาบ้าง เพราะประโยคข้างต้นหรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับประโยคข้างต้น มักจะมีให้เห็นในการเตรียมตัวสำหรับสอบเทียบ GED ในวิชา GED Social Studies นั่นเอง สังคมศึกษาของอเมริกามีหลากหลายเรื่องราวให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นของอเมริกา ในบทความนี้ The Planner จะพาไปรู้ที่มาของประโยคที่ว่า “เราจะยอมแลกเงินดอลลาร์กับชีวิตของลูกเราได้แน่หรือ” อย่างเหตุการณ์พันธบัตรเสรีภาพ หรือ Liberty Bonds พันธบัตรเสรีภาพคืออะไร ถ้าถามว่าพันธบัตรเสรีภาพ คืออะไร คงต้องเล่าย้อนความกันไปก่อนว่า สมัยก่อนเวลาประเทศตกอยู่ในสภาวะสงครามหรือประเทศกำลังจะประกาศสงคราม จำเป็นต้องใช้เงินสำหรับสงครามเป็นจำนวนมาก สิ่งที่รัฐบาลทำคือการระดมทุนจากประชาชนในประเทศ พันธบัตรเสรีภาพจึงถือว่าเป็นสัญญาเงินกู้ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน โดยที่ประชาชนคือผู้ให้กู้ จะต้องได้รับเงินต้นที่ถูกยืมไปและดอกเบี้ยเงินกู้ คืนจากรัฐบาล [...]

รวมหลักสูตรอินเตอร์ สาย Medical และ Healthcare 9 มหา’ลัยดังไทย

หากน้อง ๆ เป็นคนหนึ่งที่มีความฝันว่าอยากทำงานในสายแพทย์ หรือสายดูแลสุขภาพของประชาชน ไม่ว่าจะ แพทย์, ทันตแพทย์, สัตวแพทย์, เภสัช, หรือพยาบาล หลักสูตรการเรียนที่ตอบโจทย์และมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับ ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่น้อง ๆ ต้องให้ความสำคัญมากเป็นลำดับต้น ๆ   โดยเฉพาะหลักสูตรสาย Medical และ Heathcare ภาคอินเตอร์ในประเทศไทย ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับน้อง ๆ ที่สนใจเข้าศึกษา ได้มาค้นคว้าหาความรู้จากรูปแบบการสอนที่เป็นระบบนานาชาติ รวมไปถึงการได้ฝึกประสบการณ์จริงที่ต่างประเทศในบางหลักสูตรอีกด้วย บทความนี้ The Planner จึงได้รวบรวมหลักสูตรอินเตอร์ สาย Medical และ Heathcare 9 มหา’ลัยดังในไทย มาให้น้อง ๆ ได้รู้จักเพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจเรียนต่อในอนาคตกัน หลักสูตรแพทยศาสตร์ นานาชาติ 1.) CU-MEDi: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ CU-MEDi จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหลักสูตรที่รับเฉพาะผู้ที่จบปริญญาตรีแล้ว สาขาใดก็ได้ โดยนิสิตหลักสูตรนี้สามารถเรียนจบแพทย์ได้ใน 4 ปี[...]

เปิดเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ ยื่น TCAS รอบ 1 (Portfolio) ยื่นจุฬาฯ

ฤดูกาลแห่งการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของเด็กมัธยมเวียนมาถึงอีกหนึ่งปี ซึ่งฤดูกาลนี้ในเกาหลีเรียกว่า “ซูนึง” ในสหราชอาณาจักรเรียกว่า “UCAS” ส่วนในไทยเองเรียกฤดูการนี้ว่า “TCAS” หรือชื่อเต็ม ๆ ว่า Thai University Center Admission System นั่นเองค่ะ และมหาวิทยาลัยที่นักเรียนไทยอยากเข้ามากที่สุด คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของไทย แล้วน้อง ๆ ล่ะ ถ้าเพิ่มโอกาสติดจุฬาฯของตัวเองให้มากขึ้นและเร็วกว่าเดิมจะดีไหมคะ ในบทความนี้จะพาน้อง ๆ ไปรู้จักกับวิธีนั้นกันค่ะ  อยากรู้จัก TCAS ให้มากขึ้น ตามไปอ่านได้ที่ TCAS คืออะไร  TCAS รอบ 1 คืออะไร? TCAS รอบ 1 คือรอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดย TCAS รอบนี้เป็นรอบแรกของการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย หากน้อง ๆ ติดมหาวิทยาลัยในรอบนี้ น้อง ๆ ก็จะสบายใจ สบายสมอง เพราะเรา “มีที่เรียนแล้วจ้า” โดยรอบ[...]

ทำความรู้จัก ทันตแพทย์อินเตอร์ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง KMITL

ยังคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสายการเรียนที่จบไปแล้วมีงานที่มั่นคงและรายได้ที่ค่อนข้างสูงในประเทศไทย ยังคงเป็นการเรียนวิทยาศาสตร์สายสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ หรือเภสัชกร 4 อาชีพลำดับต้น ๆ ในใจของเด็กสายวิทย์และผู้ปกครอง โดยเฉพาะทันตแพทย์ การเป็นคุณหมอฟันนับว่าอีกหนึ่งอาชีพที่ทั้งมั่นคงและเงินเดือนสูงมากเลยทีเดียว คะแนนในการสอบเข้าเรียนต่อและอัตราการแข่งขันของคณะทันตแพทย์จึงสูงไม่ต่างจากคณะแพทยศาสตร์เลย แล้วน้อง ๆ รู้กันไหมคะว่าถ้าไม่ใช่การสอบกสพท.แล้ว ก็มีอีกเส้นทางที่ทำให้น้อง ๆ ติดคณะทันตแพทย์ได้เหมือนกัน บทความนี้เลยจะพาน้อง ๆ ไปรู้จักอีกเส้นทางหนึ่งอย่างคณะทันตแพทย์ หลักสูตรนานาชาติ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะทันตแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ  ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรียกได้ว่าเป็นน้องใหม่แห่งวงการวิทย์สุขภาพ หลักสูตรนานาชาติเลยก็ว่าได้ ซึ่งตอนนี้ตัวหลักสูตรก็ได้รับรองสถาบันการศึกษาจากทันตแพทยสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลักสูตรนี้ต้องการสร้างทันตแพทย์ยุคใหม่ที่มีความสามารถและทักษะที่หลากหลาย มีทั้งทักษะด้านทันตกรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เพื่อให้นักศึกษาที่จบไปมีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่ยุค Digital Dentistry นั่นก็คือยุคที่นำเทคโนโลยีด้านทันตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้งานจริงนั่นเองค่ะ  ความพิเศษของตัวหลักสูตร จะได้เรียนกับอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ มีโอกาสได้ไปดูงานในต่างประเทศ ได้เรียนทันตกรรมที่มีเรื่องเทคโนโลยีมาเกี่ยวร่วมด้วย มีประสบการณ์การสร้าง Multi-disciplinary Innovation จะได้รับทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ เกณฑ์การรับสมัคร วุฒิการศึกษา: มัธยมศึกษาปีที่ 6, Grade 12,[...]

การทดสอบภาษาอังกฤษแต่ละตัว สอบกี่ครั้งต่อปี

น้อง ๆ ที่อยากเรียนต่อในคณะหลักสูตรนานาชาติ การเตรียมตัว เตรียมติวของน้อง ๆ อาจจะแตกต่างไปจากเพื่อนคนอื่นที่จะเข้าคณะในหลักสูตรไทย แต่อย่าเพิ่งกังวลว่าหากไม่มีเพื่อนรอบข้างอยากเข้าหลักสูตรนานาชาติเหมือนกัน น้องอาจจะกังวลว่าจะสับสนกับการเตรียมตัว เพราะไม่มีเพื่อนคอยให้คำปรึกษา เรื่องนี้น้อง ๆ ไม่ต้องกังวลกันไปก่อนเลยค่ะ เพราะว่าหลักสูตรนานาชาติในไทย การเตรียมตัวในการยื่นเข้าไม่ได้ยุ่งยากขนาดนั้น น้อง ๆ เตรียมตัวทำคะแนนสอบเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น และหลายตัวก็เปิดโอกาสในการสอบหลายครั้งต่อปี อีกทั้งน้อง ๆ ยังเตรียมตัวสอบเก็บคะแนนไว้ได้เลยตั้งแต่ตอนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือเตรียมตัวล่วงหน้าให้ได้เข้ามหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุ 17 ปี ผ่านวุฒิ GED ก็ได้นะคะ เพราะว่าวุฒิ GED สามารถยื่นเข้าได้แทบทุกหลักสูตรนานาชาติในไทยเลยก็ว่าได้ค่ะ  ในบทความนี้จะพาน้อง ๆ หลายคนไปคลายกังวลกับการเตรียมตัวสอบเข้าหลักสูตรนานาชาติ ว่าโอกาสของน้องมีไม่น้อยเลยทีเดียว น้องทุกคนสามารถสอบติดหลักสูตรนานาชาติที่น้องตั้งเป้าไว้ได้ ผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษแต่ละตัวที่น้องมีโอกาสสอบได้มากกว่า 1 หนต่อปี  IELTS: ย่อมาจาก International English Language Testing System เป็นการทดสอบภาษาอังกฤษที่ได้รับการแพร่หลายไปทั่วโลก ใช้วัดทักษะภาษาอังกฤษทั้งหมด 4 ทักษะคือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน[...]

Adaptive Testing คืออะไร? ทำไมก่อนสอบ Digital SAT ต้องรู้จัก

สำหรับการเข้าสอบ Digital SAT หลายคนคงรู้กันดีอยู่แล้วว่าเป็นการสอบ Aptitude Test ที่เปลี่ยนจากการสอบในกระดาษ มาเป็นการสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และสิ่งหนึ่งที่น้อง ๆ จะไม่รู้จักไม่ได้เลย นั่นคือ “ระบบการสอบที่เป็น Adaptive Testing” ซึ่งพลิกโฉมการสอบแบบเดิม ๆ ออกไปอย่างสิ้นเชิงเลย Adaptive Testing คืออะไร? มีผลยังไงกับคนที่สอบ Digital SAT และน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมสอบ SAT อยู่ควรต้องรู้อะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง บทความนี้ The Planner มีข้อมูลดี ๆ มาฝากกัน Adaptive Testing คืออะไร?  Adaptive Testing คือ การทดสอบแบบปรับอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ หรือข้อสอบที่มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทดสอบตามความสามารถหรือคุณลักษณะแฝงของผู้สอบแบบ realtime ซึ่งคำนวณจาก Performance ของผู้สอบในข้อก่อนหน้านี้ โดยข้อสอบแบบ Adaptive Testing ปัจจุบันนิยมสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ลักษณะเดียวกัน ที่สามารถใช้โปรแกรมเข้ามาคำนวณข้อสอบได้ เช่น Laptop, Tablet[...]

อัปเดตล่าสุด! ศูนย์สอบ Digital SAT มีที่ไหนบ้าง? กรุงเทพฯและทั่วประเทศไทย

หลายคนคงทราบมาแล้วว่าปัจจุบันการทดสอบ SAT เพื่อเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เดิมที่เป็นการสอบรูปแบบกระดาษ ปัจจุบันถูกเปลี่ยนไปเป็นการสอบ Digital SAT หรือการสอบด้วยแอปพลิเคชั่นในคอมพิวเตอร์/แท็บเล็ตแล้ว แน่นอนว่าวิธีการสอบหลาย ๆ อย่างถูกเปลี่ยนแปลงไปด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่น้อง ๆ ยังคงต้องปฏิบัติตามอยู่นั่นคือการไปเข้าสอบด้วยตัวเองที่ศูนย์สอบ หรือสนามสอบ Digital SAT ในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ที่สะดวก สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังมองหาศูนย์สอบ Digital SAT หรือสนามสอบ Digital SAT อยู่ The Planner จึงขอมาบอกข้อมูลศูนย์สอบ Digital SAT ในกรุงเทพฯและทั่วประเทศไทย ฉบับอัปเดตล่าสุดให้น้อง ๆ ได้รู้กัน จะมีที่ไหนบ้าง? และแต่ละพื้นที่หรือจังหวัดใกล้เคียงของน้อง ๆ จะมีศูนย์สอบเปิดใหม่เพิ่มเข้ามาบ้างหรือไม่? บทความนี้มีข้อมูลดี ๆ มาให้ได้เช็กกันจ้า ศูนย์สอบ Digital SAT กรุงเทพฯ มี 20 แห่ง Harrow International School[...]

บริหารอินเตอร์ ม.เกษตรศาสตร์

หากนึกถึงมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในคณะด้านสายการเงินและธุรกิจ คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต้องเป็นอันดับต้น ๆ ในหัวของใครหลาย ๆ คน ทั้งอัตราการแข่งขัน คะแนนการสอบเข้า และคนมีชื่อเสียงที่เรียนจบจากที่นี่ ก็สามารถการันตีความเป็นผู้นำในไทยด้านคณะสายการเงินและธุรกิจอย่างคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ และหลักสูตรอินเตอร์ยอดฮิตอย่างบริหารอินเตอร์ หรือที่เราเรียกกันว่า BBA ในมหาวิทยาศาสตร์เกษตรศาสตร์ก็ไม่พลาดที่จะมีหลักสูตรนี้ แถมมีให้เลือกเรียนถึง 2 หลักสูตรบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ อย่างหลักสูตร BBA กับ KUBIM 2 หลักสูตรนี้แตกต่างกันยังไง ในบทความนี้ The Planner จะพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบของคำถามนั้นกันค่ะ BBA BBA ย่อมาจาก Bachelor of Business Administration หรือก็คือบริหารธุรกิจ โดยบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ ของเกษตรศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่ผลิตนิสิตที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของภาคธุรกิจ โดยจะเรียนการบริหารธุรกิจในเชิงมหภาค แบบกว้าง ๆ ก่อนที่ปี 3 จะมี Major ให้เลือก 2 Major คือ[...]

ทำความรู้จัก Bill of Rights หัวข้อน่าสนใจที่ออกสอบใน GED Social Studies

เราคงพอจะทราบกันมาบ้างแล้วว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกในปัจจุบัน จะค่อนข้างสนับสนุนและให้ความสำคัญกับเรื่อง “การมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก” ค่อนข้างมาก เช่น ประชาชนจะสามารถเลือกโหวตสิ่งที่เห็นด้วย หรือออกมาประท้วงต่อต้านในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าไม่ถูกต้องก็ได้ ภายใต้ระเบียบกฎหมาย ซึ่งเหตุผลที่พลเมืองสหรัฐอเมริกาสามารถแสดงออกและมีเสรีภาพในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย ก็เพราะพวกเขาเหล่านั้นได้รับการปกป้องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitution) อยู่นั่นเอง และกฎหมายนี้เกี่ยวข้องกับหัวข้อ Bill of Rights อย่างไร? Bill of Rights คืออะไร และจะเกี่ยวข้องกับ GED Social Studies ในจุดไหน? เรามาดูคำตอบกัน Bill of Rights เพราะเสรีภาพและการแสดงออกเป็นของทุกคน ย้อนกลับไปในสมัยที่อเมริกาเพิ่งก่อตั้งประเทศสำเร็จหลังจากสามารถเอาชนะเจ้าอาณานิคมอย่างจักรวรรดิอังกฤษ ก็ได้เกิดความพยายามรวมอำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลาง และเกิดงานประชุมหารือเพื่อร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐขึ้น (The Constitutional Convention)  ในงานประชุมนี้กลุ่มผู้ต่อต้านการรวมอำนาจของรัฐบาลกลาง (Anti-Federalist) ได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม เนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาในตอนแรกยังไม่ได้ระบุและปกป้องสิทธิของประชาชนเอาไว้ ซึ่งจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้มีการเพิ่มเติมร่าง บัญญัติว่าด้วยสิทธิพลเมือง (Bill of Rights) เข้าไปในปี 1791 เพื่อรับประกันสิทธิของประชาชน โดยบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนี้มีจำนวนทั้งหมด 10[...]